หัวขับ (Actuator) มีไว้ใช้สำหรับควบคุมการเปิด-ปิดของวาล์วโดยเฉพาะ เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรม เพราะช่วยเรื่องความสะดวกในการใช้งานของวาล์ว ช่วยให้ประหยัดเวลาในการทำงานมากขึ้นและมีคุณสมบัติอีกหลากหลาย ซึ่งหัวขับที่มีใช้ในปัจจุบันจะเป็นหัวขับลม (Pneumetic Actuator) และหัวขับไฟฟ้า (Electric Actuator) ซึ่งมีการทำงานที่ต่างกันไม่มากนัก เรามาทำความรู้จักของหัวขับทั้งสองแบบให้มากขึ้นกันดีกว่า

การทำงานของหัวขับ

หัวขับลม (Pneumetic Actuator)

หัวขับลมเป็นหัวขับที่ใช้ควบคุมการเปิด-ปิดของวาล์วด้วยลม ไม่มีการใช้ไฟฟ้าในการควบคุม (ยกเว้น การใช้โซลินอยด์ในการควบคุม) สามารถใช้ได้กับบอลวาล์ (Ball Valve) และ วาล์วผีเสื้อ (Butterfly Valve)

การทำงานของหัวขับประเภทนี้ จะมี2แบบคือ

1.การทำงานแบบ Single Acting : ขาไปใช้ลมในการควบคุม ขากลับใช้สปริงในการควบคุม

โดยแกนในหัวขับจะมีรูลม1รูและสปริง หลักการทำงานคือหากต้องการให้วาล์วเปิด ต้องใช้ลมปล่อยเข้าไปด้านในเเพื่อให้ลูกสูบดันขึ้นไปข้างหน้า โดยค่าลมที่เข้าไปต้องมีกำลังมากกว่าสปริงที่อยู่ด้านใน และเมื่อต้องการปิดวาล์วให้ทำการปล่อยลมด้านในออกมากโดยสปริงด้านในจะมีหน้าที่ในการให้ดันลูกสูบให้กลับที่เดิม

2.การทำงานแบบ Double Acting : ขาไปใช้ลมในการควบคุม ขากลับใช้ลมในการควบคุม

โดยแกนในหัวขับจะมีรูลม2รู หลักการทำงานคือหากต้องการให้วาล์วเปิด ต้องใช้ลมปล่อยเข้าไปด้านในรูแรกเพื่อลูกสูบดันไปข้างหน้า และเมื่อต้องการปิดวาล์วให้ทำการใส่ลมเข้าไปในรูที่สองและทำการปล่อยลมในรูแรก ลูกสูลจะดันเข้าที่เดิมตามปกติ

โดยมีแรงดันไว้คอยช่วยเปิด-ปิดวาล์ว ในส่วนของหัวขับลมเอง จะมีรูไว้สำหรับต่อโซลินอยด์โดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถควบคุมการเปิด-ปิดวาล์วแบบไฟฟ้าได้ 

ส่วนด้านบนของหัวขับ จะมีรูไว้สำหรับยึดกล่องลิมิตสวิตซ์และหัวขับไว้ด้วยกัน เพื่อช่วยบอกสถานะเปิด-ปิดการทำงานของวาล์ล

ส่วนด้านท้ายของหัวขับ จะมีรูไว้สำหรับประกอบวาล์วที่เราต้องการใช้ควบคุมเข้ากับหัวขับโดยที่ขนาดของหัวขับขึ้นอยู่กับค่าทอร์กที่เราใช้งาน ซึ่งจะมีบางกรณีที่ขนาดของวาล์วและหัวขับลมที่เรานั้นไม่เท่ากัน จะต้องมีการใส่ตัวปรับขนาด (หรือที่เรียกว่าสตาร์ Star) เพื่อลดเหลี่ยมและไซส์ให้สามารถใส่ร่วมกันได้อย่างพอดี 

 

คลิปด้านล่างนี้ เป็นการอธิบายถึงส่วนประกอบข้างในของหัวขับเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจการทำงานของหัวขับได้มากขึ้น

Credit : Yun Yang https://youtu.be/GM2SintL6Ak

จากคลิปด้านบนเราจะได้เห็นส่วนประกอบของหัวขับลมไปแล้วว่ามีอะไรบ้าง เราจะมาขยายเพิ่มเติมเกี่ยวกับส่วนประกอบหลักๆด้านในของหัวขับลมกัน

ลูกสูบ : ลูกสูบมีหน้าที่ในการขับเคลื่อนแกนกลางของหัวขับให้ทำการควบคุมไปยังทิศทางที่เราต้องการ จะมีลูกสูบอยู่ทั้งสองฝั่งของหัวขับโดยจะเคลื่อนตัวไปฝั่งตรงข้ามของกันและกัน เพื่อช่วยให้การเปิด-ปิดวาล์วนั้นเป็นไปได้อย่างเต็มที่ 

สปริง : สปริงด้านในมีหน้าที่ในการดันลูกสูบให้เปิด-ปิด โดยจะมีสปริงอยู่สองฝั่งของหัวขับเพื่อช่วยดันลูกสูบให้กลับเข้าที่ตามเดิม

การทำงานของหัวขับ

2.หัวขับไฟฟ้า (Electric Actuator)

หัวขับไฟฟ้ามีการควบคุมการเปิด-ปิดด้วยไฟฟ้าทั้งขาไปและขากลับ สามารถใช้กับวาล์วได้หลากหลาย

การทำงานของหัวขับไฟฟ้า 

หัวขับไฟฟ้าจะมีการทำงานโดยกระแสไฟฟ้าในการควบคุม โดยใช้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรง (220VAC)และไฟฟ้ากระแสสลับ (24VDC) และต้องรู้ค่าทอร์กเพื่อใช้ในการเลือกหัวขับที่เหมาะสำหรับติดตั้งวาล์วของผู้ใช้งานได้

เหมาะกับวาล์วที่มีรอบการทำงานที่มาก ข้อดีของหัวขับไฟฟ้าคือจะไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวนเหมือนหัวขับประเภทอื่น อีกทั้งยังมีความแม่นยำสูง สามารถใส่คำสั่งต่างๆได้และมีหน้าจอแสดงผลบอกถึงสถานะของวาล์ว
หัวขับไฟฟ้ายังสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

ในคลิปด้านล่างนี้จะเป็นการอธิบายถึงการเปิด-ปิดของหัวขับไฟฟ้า เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจการทำงานได้มากยิ่งขึ้น

https://youtu.be/T3sm55NzO3M

การเลือกใช้หัวขับในแต่ละแบบขึ้นอยู่กับหน้างานที่เราจะใช้ร่วมด้วย โดยหลักการทำงานของวาล์วทั้งสองแบบมีหน้าที่เหมือนกันคือเปิด-ปิดวาล์ว สิ่งที่สำคัญคือควรเลือกหัวขับให้เหมาะสมกับวาล์วที่เราจะใช้ร่วมด้วย หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจกลไกการทำงานของหัวขับทั้งสองแบบได้มากขึ้นจากบทความนี้

 

อย่าลืมแบ่งปันบทความดีๆให้คนรอบตัวกันนะคะ

หากสนใจจะหัวขับและมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่

? www.pakoengineering.com
? Inbox : m.me/pako.engineering
☎ : 09-4690-4630, 02-041-5092
?: mkt@blog.pako.co.th
Line : @pakoeng

ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจ ??

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *