Pressure Transmitter เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดความดันและแปลงสัญญาณออกมาเป็นสัญญาณมาตรฐานเพื่อ นำไปควบคุมกระบวนการต่างๆ Pressure Transmitter นั้นสามารถวัดได้ทั้งของของเหลว เช่น แก๊ส น้ำ น้ำมัน เป็นต้น และรวมไปถึงการวัดความดันของ Pneumatic หรือลม
ปัจจุบันมีการนำอุปกรณ์ตรวจวัดแรงดันมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, อาหารและยา, เคมี, ยานยนต์ เป็นต้น เพื่อวัดและควบคุมแรงดันในระบบ เช่น การวัดแรงดันนํ้ามันในกระบอกไฮดรอลิก, วัดความดันลม, วัดแรงดันน้ำของปั๊มนํ้า, วัดแรงดันไอนํ้าในหม้อนํ้า (Boiler) เป็นต้น เพื่อนำไปควบคุมและแสดงผลค่าของแรงดันที่ต้องการจะวัดของกระบวนการต่าง ๆ ในระบบ โดย Pressure Transmitter มีหน่วยในการแสดงผลของค่าแรงดันที่วัดได้ เช่น Bar, mbar, kpa, psi, mmHg เป็นต้น
Pressure Transmitter จะปลี่ยนแรงดันทางกลผ่านชุด Transducer (ชนิด Strain Gauge) ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าในรูปแบบของอนาล็อก เช่น 0-20mA, 4-20mA , Voltage 0-5 Vdc, 0-10 Vdc เป็นต้น และ Pressure Transmitter สามารถนำมาต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์แสดงผลหรือควบคุมอื่น เช่น มิเตอร์ (Meter), คอนโทรลเลอร์ (Controller) หรือพีแอลซี (PLC) เป็นต้น เพื่อแสดงค่าแรงดันในการนำไปควบคุมในระบบได้
Pressure Transmitter แบ่งประเภทย่อย ตามหลักการทำงานได้ดังนี้
- Strain Gauge: หลักการทำงานคืออาศัยการยืดหดตัวของ Strain gauge ที่ยึดติดอยู่กับแผ่นไดอะแฟรมและต่อวงจรไปยังวงจร วิทสโตนบริดจ์ (Wheatstone Bridge) เพื่อแปลงความดัน (pressure) ไปเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า
- Thin Film: เป็นเซ็นเซอร์ลักษณะแผ่นฟิล์มบางๆ ที่จะรับแรงกดแล้วแสดงค่าแรงดันออกมา นิยมใช้กับงานที่มีแรงดันต่ำ
- Thick Film: ไดอะแฟรมจะผลิตจากวัสดุ เช่น เซรามิก เหมาะกับงานที่แรงดันสูง มีความแข็งแรงมากกว่าประเภท Thin Film นิยมใช้ในงานไฮดรอลิค