อุปกรณ์-อุปกรณ์ในระบบหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนําความร้อน
โรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภทที่ต้องการใช้ความร้อนในกระบวนการผลิต โดยทั่วไปแล้วมักจะใช้ไอน้ำเป็นสื่อนําความร้อน ไอน้ำจะมีข้อจํากัดเรื่องความดันที่แปรผันตรงกับอุณหภูมิไอน้ำอิ่มตัว และเมื่อใช้ไอน้ำภายใต้ ความดันสูง เรามารู้จัดกับอุปกรณ์ในระบบหม้อต้มกันดีกว่า อุปกรณ์ในระบบหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนําความร้อน มีดังนี้ 1) หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนําความร้อน (Hot oil boiler) จะมีท่อขดน้ํามัน (Heating coil) ติดตั้งอยู่ภายในเปลือกของหม้อต้ม ซึ่ง เป็นบริเวณของห้องเผาไหม้ (Combustion chamber or furnace) ภายนอก หุ้มทับด้วยฉนวนกันความร้อน วัสดุที่ใช้ทําขดท่อน้ำมันจะต้องสามารถทนอุณหภูมิได้สูงประมาณ 350 องศาเซลเซียส และ สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี ขนาดของขดท่อน้ำมันต้องออกแบบให้เหมาะสมกับปริมาณความร้อนที่ต้องการ และเมื่อติดตั้งสร้างเสร็จต้องตรวจทดสอบความปลอดภัยขดท่อนั้น โดยใช้ก๊าซไนโตรเจนอัดที่ความดันประมาณ 1.3-1.5 เท่าของความดันออกแบบ แล้วใช้น้ำสบู่ตรวจสอบเพื่อหารอยรั่ว 2) หัวเผา […]
การบำรุงรักษาและการตรวจเช็คหม้อไอน้ำ
การบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ มีดังนี้ 1 เกจวัดแรงดัน เมื่อทำกาเปรียบเทียบเกจวัดแรงดันไอของหม้อไอน้ำกับเกจวัดแรงดันไอตัวอื่นๆ ซึ่งต่อร่วมกันอยู่ในระบบเดียวกันอยู่เสมอๆ และถ้าหากสงสัยว่าเกจเกิดความไม่เทียงตรงจะต้องทำการตรวจสอบทันที ในการตรวจสอบให้กระทำอย่างน้อยปีละครั้ง หรือเมื่อครบกำหนดการตรวจหม้อไอน้ำ การเปรียบเทียบค่าอาจทำได้อีกวิธีหนึ่ง โดยเปรียบเทียบกับเกจของหม้อไอน้ำที่มีอยู่ข้างเคียง และหม้อไอน้ำนั้นเดินใช้งานที่แรงดันเท่ากัน สำหรับเกจวัดแรง ดันที่สัมผัสกับอุณหภูมิภายนอกที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง การใช้ขดลวดให้ความร้อนหรือท่อไอน้ำเล็กๆ ฝังไว้ใต้ฉนวนที่หุ้มอยู่จะช่วยทำให้แก้ปัญหาการแข็งตัวของน้ำในท่อที่เกจวัดแรงดันได้ และในขณะที่ทำการทดสอบให้ทำการติดตั้งเกจอยู่ในลักษณะที่เกจใช้งานอยู่เกจวัดแรงดันไอ ต้องไม่ต่อสัมผัสกับไอน้ำที่จะทำการวัดโดยตรงให้มีท่อโค้งงอเป็นรูปวงกลมซึ่งมีน้ำขังอยู่หรืออุปกรณ์อื่นๆ คอยเป็นตัวถ่ายทอดแรงดันอีกต่อหนึ่ง เกจวัดแรงดันควรมีข้อต่อหรือหน้าแปลนเพื่อให้สามารถถอดออกได้โดยสะดวกก่อนที่จะมีการทดสอบเกจวัดแรงดันว่าอ่านค่าได้เที่ยงตรงหรือไม่ ควรระบายน้ำที่ค้างในท่อโค้งออกเสียก่อนโดยทำการถอดข้อต่อออกและหลังจากท่อสอบแล้ว ก่อนที่จะติดตั้งเกจกับเข้าที่จะต้องทำการเติมน้ำลงในท่อโค้งที่ขดเป็นรูปวงกลมเพื่อไม่ให้ไอน้ำสัมผัสกับเกจวัดแรงดันโดยตรงดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น ในขณะทำการทดสอบหม้อไอน้ำด้วยการอัดแรงดันด้วยน้ำจึงนิยมที่จะระบายน้ำออกทางท่อที่ต่อกับเกจ ทั้งนี้เพื่อต้องการที่จะ ให้น้ำเกิดขังอยู่ในท่อโค้ง และขณะที่ประกอบเกจที่ถอดออกทดสอบกับข้าที่เดิม ให้ระมัดระวังตัวเรือนของเกจวัดแรงดันด้วย 2. หลอดแก้วชี้ระดับน้ำ เมื่อหม้อไอน้ำครบกำหนดการตรวจภายในหรือหยุดใช้งาน ให้ทำความสะอาดท่อต่อระหว่างหม้อไอน้ำกับกระบอกระดับน้ำทุกครั้ง การตรวจสอบความเที่ยงตรงของกระบอกระดับน้ำและหลอดแก้วชี้ระดับน้ำ ให้ทำการเปรียบเทียบกับเครื่องวัดอีกชุดหนึ่ง และถ้ามีเครื่องบันทึกระดับน้ำอยู่ด้วย หรือเป็นแบบที่ถ่ายทอดระดับน้ำ ให้ทำการเปรียบเทียบกับหลอดแก้ววัดระดับน้ำที่ติดตั้งอยู่ได้ สำหรับหม้อไอน้ำที่มีแรงดันไอมากกว่า 400 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ความถี่ห่างในการทดสอบเครื่องวัดระดับน้ำจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ เช่น ชนิดของกระบอกระดับน้ำ ชนิดของหลอดแก้วชี้ระดับน้ำดังนั้นจึงขอแนะนำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต ในกรณีที่เกิดหลอดแก้วชี้ระดับน้ำแตกให้ใช้โว่ชักปิดวาล์วให้สนิทนำชิ้นส่วนที่แตกออกแล้วค่อยๆเปิดวาล์วเพียงเล็กน้อยเพื่อไล่เศษที่ตกค้างอยู่ และก่อนใส่หลอดแก้วอันใหม่ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าวาล์วระบายน้ำที่หลอดแก้วชี้ระดับน้ำได้เปิดไว้แล้ว และต้องตรวจสอบความยาวของหลอดแก้วซึ่งต้องยาวเท่าเดิม เครื่องบันทึกระดับน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่อำนวยประโยชน์ยิ่งอย่างหนึ่ง ถ้าจะติดตั้งแนะนำให้ใช้ชนิดที่เมื่อ ไฟฟ้าดับก็ยังสามารถใช้งานได้เป็นปกติ และควรเป็นชนิดเข็มเดียวแยกใช้อิสระได้ไม่มีเข็มบันทึกค่าอื่นๆ และควรเป็นแบบมีสัญญาณเตือนเมื่อระดับน้ำสูงกว่าจุดที่ตั้งเอาไว้ […]
PRESSURE MEASUREMENT-20-ไซฟอน (Syphon) คืออะไร
ไซฟอน (Syphon) หรือ ไส้ไก่, หางหมู เป็นอุปกรณ์ที่ไว้ติดตั้งพร้อมกับเกจวัดแรงดัน เพื่อช่วยในการลดอุณหภูมิของไหลก่อนเข้าถึงเกจวัดแรงดัน (Pressure Gauge) ป้องกันไม่ให้เกจวัดแรงดันเสียหาย เหมาะสำหรับงานที่ใช้ความร้อนสูงหรืองานที่ใช้ไอน้ำ (Stream) สามารถติดกับเกจวัดแรงดันได้โดยตรงหรือสามารถติดกับไดอะแฟรมได้ (Diaphragm) โดยไซฟอนอาศัยหลักการใช้แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล
PRESSURE MEASUREMENT-19-เจาะลึก! ทำความรู้จักกับ Syphon “ไซฟอน”
Syphon “ไซฟอน” หรือที่หลายๆคนเรียกกันว่า “ไส้ไก่” “หางหมู” ประโยชน์ของมัน เอาไว้ ลดอุณหภูมิของของไหลก่อนเข้าถึงเครื่องมือวัด โดยทั่วไปแล้ว นิยมติดตั้งร่วมกับ Pressure Gauge เมื่อต้องการวัดความดันของของไหลที่อยู่ในสถานะไอหรือไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูง ซึ่งมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ และวัสดุ มาดูกันเลยยยย Syphon “ไซฟอน” มีแบบใดบ้าง syphon หลายแบบ ได้แก่ 1. แบบขดลวด ( Coil Pipe Syphon ) ไซฟอนแบบขดลวด จะเป็นแบบที่มีพื้นที่ผิวสำหรับถ่ายเทความร้อนมาก การลดอุณหภูมิในการใช้ไซฟอนแบบขดจะขึ้นอยู่กับ 5 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของขดไซฟอน , ขนาดความยาวรวมของขด, ความหนาของท่อไซฟอน , อุณหภูมิรอบรอบตัวไซฟอน , และสภาพการถ่ายเทอากาศของห้อง (Ventilation) 2. แบบแทงก์ (Tank Syphon) แบบแทงก์นี้ผลการใช้งานจะด้อยกว่าแบบขด ก่อนการใช้งานต้องเติม Fluid ลงไปในแทงก์ก่อนเพื่อทำหน้าที่เป็นซีลไปด้วย คือช่วยป้องกันไม่ให้ Fluid ในระบบเข้าไปถึงตัววัดความดัน […]
PRESSURE MEASUREMENT-17-ข้อดีและข้อเสียของ Digital Pressure Gauge
ในปัจจุบัน แม้เทคโนโลยีในการผลิตจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม แต่ในการใช้งานบางอย่าง ระบบดิจิตอลก็ยังไม่ได้ตอบโจทย์ในการใช้งานมากนัก วันนี้เราจึงขอยกตัวอย่างของใช้ที่ค่อนข้างจะใกล้ตัว คือ Pressure Gauge ในแบบ Digital มาให้ชมกันว่า มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันเช่นไร ข้อดี สามารถเก็บค่าที่วัดได้อย่างรวดเร็ว และในบางครั้งสามารถส่งข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ได้เลย สามารถแสดงความละเอียดที่สูงมากๆได้ เพราะตัวเลขสามารถแสดงได้ถึง 0.001 มม เนื่องจากมีตัวเลขแสดงที่หน้าจอ จึงสามารถอ่านค่าได้เลย ไม่ต้องนับรอบ แม้ติดตั้งในที่ๆมีการสั่นสะเทือนสูง ก็ยังสามารถอ่านค่าได้ ข้อเสีย มีราคาที่แพงกว่าค่อนข้างมาก แต่ส่วนต่างของกำลังที่ได้กลับน้อยลง การทำงานต้องใช้แบตเตอรี่ ซึ่งส่วนใหญ่ค่อนข้างมีราคาแพง และยุ่งยากในการเปลี่ยน ไม่สามารถอ่านค่าที่ไม่คงที่ และไม่เห็นค่าการเปลี่ยนแปลงของแรงดัน ต้องระวังเรื่องความชื้น และสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เพราะจะทำให้เครื่องเกิดความเสียหายได้ ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง ปาโก้จำหน่ายวาล์วและสินค้าเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น โฟลมิเตอร์ โรตามิเตอร์ วัดการไหล เกจวัดแรงดัน Pressure_gauge เพรชเชอร์เกจ valvecontrol valveคอนโทรลวาล์ววาล์วติดหัวขับเซฟตี้วาล์วโซลินอยด์วาล์ว บริการให้คำปรึกษา แนะนำสินค้าที่เหมาะกับลักษณะการใช้งานของท่าน และจัดหาสินค้าให้ท่านตามต้องการค่ะ ทำความรู้จัก PAKO ENGINEERING บริการจัดส่งทั่วประเทศ เริ่มการเขียน หรือพิมพ์เครื่องหมายทับ (/) เพื่อเลือกบล็อก สนใจ Product เพิ่มเติมติดต่อเราได้ทางFACEBOOK : Pako Engineering Well FlowmeterPressure gauge […]
PRESSURE MEASUREMENT-15-ไดอะแฟรมซีล (Diaphragm Seal) คืออะไร?
ไดอะแฟรมซีลเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคู่กับ เกจวัดแรงดัน (pressure gauge) เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมมีหลากหลายประเภทสามารถเลือกใช้งานตามความเหมาะสม
PRESSURE MEASUREMENT-13-กลีเซอรีนคืออะไร ? ทำไม Pressure Gauge ต้องเติมกลีเซอรีน
กลีเซอรีน เป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืด และมีรสหวาน โดยปกติมาจากน้ำมันของพืช ซึ่งโดยทั่วไปคือ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม กลีเซอรีนสามารถละลายได้ดีในแอลกอฮอล์และน้ำ แต่ไม่ละลายในไขมัน เนื่องจากกลีเซอรีนมีคุณสมบัติทางเคมีที่หลากหลายจึงสามารถนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารเคมีอื่นๆได้ ด้วยคุณสมบัติที่สามารถละลายในแอลกอฮอล์และน้ำได้นี่เอง จึงนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ซึ่งกลีเซอรีนบริสุทธิ์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายรูปแบบ เช่น ใช้เป็นส่วนผสมหรือเป็นตัวช่วยในกระบวนการผลิตเครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำและสุขอนามัยส่วนบุคคล อาหาร ยาสีฟัน ยาสระผม และนิยมใช้มาหในอุตสาหกรรมสบู่ เพราะกลีเซอรีนเป็นส่วนช่วยหล่อลื่นเหมือนมอยซ์เจอร์ไรเซอร์เพื่อปกป้องผิวไม่ให้แห้งและดูดซับความชื้นเมื่อสัมผัสกับอากาศซึ่งจะทำให้รู้สึกว่าผิวมีความชุ่มชื้น อ่อนโยนต่อผิว ขจัดความสกปรกที่ฝังแน่น ไม่ทำให้อุดตันรูขุมขน รวมทั้งปลอดภัยต่อผิวหนัง การที่กลีเซอรีนเป็นสารที่ไม่มีพิษในทุกๆรูปแบบของการประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะใช้เป็นสารตั้งต้นหรือสารเติมแต่ง ทำให้กลีเซอรีนเป็นสารเคมีที่ได้รับความสนใจและนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ด้วยการทำยาเหน็บทวาร ใช้เป็นยาระบาย และยังสามารถใช้เป็ฯยาเฉพาะที่สำหรับปัญหาทางผิวหนังหลายชนิด รวมถึง โรงผิวหนัง ผื่น แผลไฟลวก แผลกดทับ และบาดแผลจากของมีคม กลีเซอรีนถูกใช้เพื่อรักษาโรคเหงือกได้ด้วย เนื่องจากกลีเซอรีนสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องได้ กลีเซอรีน (glycerine) อาจจะเรียกได้หลายชื่อ เช่น glycerol, glycerin, หรือ 1,2,3-propanetriol สามารถเขียนสูตรโมเลกุลทางเคมีได้เป็น CH 2 OHCHOHCH 2 OH เป็นสารไม่มีกลิ่น(odorless) […]
PRESSURE MEASUREMENT-11-การติดตั้งเพรสเชอร์เกจในระบบน้ำเพื่อการเกษตร
โดยทั่วไป Pressure Gauges จะติดตั้งบนงานท่อน้ำของเครื่องจักรหลัก เช่น งานน้ำ,งานลม,งานแก๊ส และอื่นๆ หน้าที่สำคัญของ เพรสเชอร์เกจส์ได้แก่ใช้วัดประสิทธิภาพของเครื่องจักรหลักที่ทำหน้าที่สร้างแรงดันของไหลในระบบ ซึ่งได้แก่ เครื่องสูบน้ำ (Water Pump), เครื่องกำเนิดไอน้ำ (Boiler), เครื่องอัดอากาศ (Air-Compressor) เป็นต้น เพรสเชอร์เกจส์ ที่ติดตั้งทางด้านท่อดูด จะทราบว่าหัวกะโหลกตันมีเศษขยะอุดตันหรือท่อทางด้านดูดมีการรั่วซึม รวมถึงใบพัดปั๊มน้ำเกิดการอุดตันหรือไม่ ทั้งนี้ในการติดตั้งระบบปั๊มน้ำและเพรสเชอร์เกจส์ครั้งแรก จะต้องอ่านค่าครั้งแรกเอาไว้เพื่อเทียบความแต่ต่างกับ กรณีที่เราใช้งานไปนานๆแล้วค่าตัวเลขของเพรสเชอร์เกจส์มีการอ่านค่าผิดไปจากเดิม เพรสเชอร์เกจส์ ที่ติดตั้งทางด้านท่อจ่ายจะบอกให้เกษตรกรรู้ว่าระบบท่อจ่ายรั่วซึมหรือชำรุดหรือไม่ประสิทธิภาพของปั๊มน้ำยังคงทำงานได้ดีหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ติดตั้งระบบปั๊มน้ำครั้งแรก อ่านค่าจากเพรสเชอร์เกจส์ทางด้านท่อจ่ายได้ 3 บาร์ เมื่อมีการใช้งานไปได้สักระยะหนึ่งความดันที่อ่านได้คือ 1บาร์ ตรงนี้ให้เกษตรกรรู้ได้เลยว่าจะต้องมีการรั่วซึมในระบบทางด้านท่อจ่ายหรือมอเตอร์ปั๊มน้ำมีการอุกตันในใบพัดเป็นต้น ข้อแนะนำในการติดตั้งเพรสเชอร์เกจส์ จะต้องติดตั้ง เพรสเชอร์เกจส์ทั้ง2 ด้าน คือด้าน ท่อดูดและด้าน ท่อจ่าย ตำแหน่งที่ติดตั้งต้องอยู่บริเวณหน้าแปลนของเครื่องสูบน้ำ ซึ่งโรงงานผู้ผลิตได้เจาะรูและอุดปลั๊กมาให้แล้ว ห้ามติดตั้งหลังอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ข้อต่ออ่อนหรือ วาล์วโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ค่าความดันที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไปวัดความดันรวม ความดันตกคร่อม ของอุปกรณ์อื่นๆ ไว้ด้วย ต้องจัดทิศทางของหน้าปัทม์ให้อยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้สะดวกในการอ่านค่าความดัน สเกลของ เพรสเชอร์เกจส์ที่ใช้ต้องขึ้นอยู่กับแรงดันใช้งานของระบบ ตำแหน่งเข็มของเพรสเชอร์เกจส์ขณะใช้งานควรอยู่ระหว่างกึ่งกลางถึง 60% ของสเกล สเกลของ […]
PRESSURE MEASUREMENT-09-ชนิดของความดัน Pressure
ความดัน (อังกฤษ: pressure; สัญลักษณ์ p หรือ P) เป็นปริมาณชนิดหนึ่งในทางฟิสิกส์ หมายถึง อัตราส่วนระหว่างแรงที่กระทำตั้งฉากซึ่งทำโดยของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ต่อพื้นที่ของสารใด ๆ (ของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส) ความดันเป็นปริมาณสเกลาร์ ซึ่งเป็นปริมาณที่มีแต่ขนาดไม่มีทิศทาง ชนิดของความดัน ความดันอากาศ หรือความกดอากาศ ความดันไอ ความดันของเหลว ความดันอากาศ หรือความกดอากาศ แรงดันอากาศบนพื้นที่ขนาดไม่เท่ากัน จะมีค่าไม่เท่ากัน ถ้าพื้นที่มากแรงดันอากาศที่กระทำต่อพื้นที่นั้นก็มากด้วย ค่าของแรงดันอากาศต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่รองรับนั้น เรียกว่า ความดันอากาศ ในการพยากรณ์อากาศนิยมเรียกความดันอากาศว่า ความกดอากาศ ความกดอากาศแบ่งเป็น 2 ประเภท ความกดอากาศสูง หมายถึง บริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่าบริเวณข้างเคียง บริเวณที่มีความกดอากาศสูงจะมีท้องฟ้าแจ่มใส และอากาศหนาวเย็น กระแสลมจะพัดเวียนออกจากศูนย์กลางในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ความกดอากาศต่ำ หมายถึง บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่าบริเวณข้างเคียง บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ท้องฟ้าจะมีเมฆมากกระแสลมจะพัดเข้าหาศูนย์กลางคล้ายก้นหอยในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ประโยชน์ของความดันอากาศ การดูดน้ำออกจากขวดโดยใช้หลอดดูด การดูดของเหลวเข้าหลอดหยดหรือเข็มฉีดย การเจาะกระป๋องนมต้องเจาะ 2 รู เพื่อให้อากาศในกระป๋องนมมีความดันอากาศเท่ากับความดันภายนอกกระป๋องนมทำให้สามารถเทนมออกจากกระป๋องนมได้ การถ่ายของเหลวโดยสายยางจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่งที่อยู่ต่างระดับกัน เรียกว่า กาลักน้ำ การใช้แป้นยางดูดติดกับกระจกเพื่อยึดสิ่งของให้ติดกับกระจก ความดันไอ คือ ความดันของไอ (ไอนี้เกิดจากโมเลกุลหรืออะตอมหนีจากของเหลวหรือของแข็ง) ที่อุณหภูมิกำหนดสำหรับสารเฉพาะ มีความดันที่ซึ่งไอของสารนั้นอยู่ในจุด สมดุล กับสถานะที่เป็น ของเหลว หรือ ของแข็งของมัน นี่คือ ความดันไอสมดุล (equilibrium vapor pressure) หรือ ความดันไออิ่มตัว (saturation […]
PRESSURE MEASUREMENT-08-ประเภทและหลักการ Pressure Sensor ว่าเป็นอย่างไรบ้าง
ประเภทและหลักการ Pressure Sensor สวัสดีครับ ทางปาโก้ นำความรู้มามอบให้ทุกคน มาทำความเข้าใจเกี่ยวประเภทและหลักการ Pressure Sensor กันครับ ปาโก้ มีคำตอบ เชิญทุกท่านมาศึกษาพร้อมๆกับปาโก้เลยครับ ประเภทของ Pressure Sensor ในงานอุตสาหกรรม 1. Pressure Gauge (เกจวัดความดัน) สามารถวัดความดันได้ทั้งความดันเกจ ความดันสัมบูรณ์ และสุญญากาศ โดยจะแสดงผลเป็นแบบอนาล็อคหรือแบบเข็ม ข้อดีคือ มีราคาถูก ติดตั้งง่าย แต่ข้อเสียคือ อ่านค่าได้อย่างเดียว ไม่ละเอียด และไม่สามารถประยุกต์ใช้งานอย่างอื่นได้ เกจวัดความดันจะอาศัยหลักการยืดตัว/โก่งตัวของวัสดุที่มีสมบัติยืดหยุ่นหรือเรียกว่า “เครื่องมือวัดความดันแบบอิลาสติก” ทำงานโดยอาศัยการแปลงความดันที่อุปกรณ์ได้รับให้อยู่ในรูปการเคลื่อนที่ ประเภทของเกจวัดความดัน มีดังนี้ https://www.youtube.com/watch?v=0msD-sSOLaw&t=123s 2. Pressure Switch คือ สวิตซ์ควบคุมความดัน โดยใช้การตัดหรือต่อวงจรไฟฟ้าเมื่อความดันถึงจุดที่เรากำหนดไว้ Pressure switch นี้สามารถใช้งานควบคุมแรงดันทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น การตัดต่อการทำงานของปั้มนํ้า Pressure Switch Sensor ประเภทนี้ไม่ต้องอาศัยแรงดันไฟเลี้ยงเนื่องโดยส่วนใหญ่ใช้ระบบกลไก (Mechanic) ในการทำงานโดยจะมีสัญญาณ Output เป็น Contact On/Off ใช้เพื่อตัดต่อระบบเพียงเท่านั้น ซึ่งแบ่งหลักการทำงานนี้ได้เป็นสองแบบ 3. Pressure […]
PRESSURE MEASUREMENT-06-เกจวัดแรงดันดิจิตอล VS เกจวัดแรงดันแบบเข็ม
เกจวัดแรงดันที่มีใช้ในอุตาสาหกรรมมีหลากหลายแบบ โดยส่วนมากจะขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเกจวัดแรงดันแบบเข็มหรือเกจวัดแรงดันแบบดิจิตอล
Fitting-13-PRESSURE SNUBBER
โอ้โหห แรงดันกระชากมาที Pressure gauge พังเลยฮะ แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะ ที่จะไม่ให้แรงกระชาก ก่อเกิดความเสียหายกับตัว Pressure Gauge วันนี้ปาโก้ มีตัว PRESSURE SNUBBER มาให้เพื่อนๆศึกษากันจ้า PRESSURE SNUBBER คืออะไร ? PRESSURE SNUBBER เพรจเชอร์สนับเบอร์ หรือ สนับเบอร์ ทำหน้าที่ รับแรงดันกระชากจากระบบ เพื่อป้องกัน ไม่ให้แรงดันที่กระชาก เข้ามาก่อความเสียหายกับตัวอุปกรณ์ เช่น PRESSURE GAUGE PRESSURE SNUBBER มีทั้งหมด 2 แบบ สามารถดูสินค้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pakoengineering.com PAKO ENGINEERING