สูตรล้างไขมันสะสมในลำไส้ และการป้องกันภาวะไขมันพอกตับ
สุขภาพร่างกายเราเป็นเรื่องสำคัญ อย่าละเลยที่จะดูแลตัวเอง เพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง โทษที่เกิดจากการที่ไขมันที่เกาะในผนังลำไส้ กระเพาะอาหาร ซึ่งหากสะสมมาจะทำให้เกิดข้อบกพร่องและเป็นผลทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น 1. ถุงน้ำดี ทำให้นอนไม่หลับ อารมณ์ฉุนเฉียว นิ่วในไต สายตาเสื่อม ปวดเมื่อยตามร่างกาย 2. เลือดเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้มึนศีรษะ 3. ไตเสื่อม ทำให้ความจำลดลงและเป็นคนขี้หนาว 4. ม้ามชื้น ทำให้อาหารที่กินเข้าไปแปรสภาพเป็นไขมันเป็นผลทำให้อ้วนง่าย 5. ม้ามโต ทำให้เหนื่อยง่ายเพราะม้ามไปเบียดปอด 6. ถ้าไขมันเกาะลำไส้เล็กมากๆ จะทำให้ลำไส้เล็กไม่สามารถดูดซึมวิตามินซีได้ เป็นผลทำให้เป็นหวัดในตอนเช้าหรือหวัดเรื้อรัง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เกิดโรคภูมิแพ้ ทำให้จามในตอนเช้า 7. ถ้าไขมันในตับสูง การสร้างเม็ดเลือดจะลำบาก ฉะนั้นการดื่มตามสูตรนี้ นอกจากช่วยลดหน้าท้อง ยังส่งผลให้อาการป่วยทั้ง 7 ประการนี้หายไป ด้วย หน้าท้องเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่จะบ่งบอกถึงว่า ตอนนี้สภาพร่างกายคุณเป็นอย่างไร นั้นก็หมายถึงอาหารที่คุณกินเข้าไปมันเข้ามันสะสมจนทำให้คุณมีไขมันหน้าท้องมาก และจะทำให้คุณกลายเป็นคนอ้วนไปในที่สุด และหน้าท้องเมื่อมีไขมันสะสมแล้วก็ลดยากเสียด้วยพอ ๆ กับไขมันที่สะโพกนั่นแหละ เราจึงมีวิธีทำสูตรนี้มาแนะให้ทำกันค่ะ สูตรลดหน้าท้องนี้ […]
ชวนสำรวจตัวเอง ถ้าตัดสินใจทิ้งของไม่ได้ ระวังเข้าข่าย “โรคทิ้งของไม่ลง”
Hoarding disorder เป็นโรคที่เพิ่งถูกเพิ่มเข้าไปใหม่ในเกณฑ์วินิจฉัยโรคทางจิตเวช (DSM V) เมื่อปี พ.ศ. 2556 นี้เอง โดยก่อนหน้านี้ยังไม่มีเกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้มาก่อน เดิมเชื่อว่าเป็นอาการแบบหนึ่งในโรคกลุ่มย้ำคิดย้ำทำ ด้วยเหตุว่าเป็นโรคใหม่ในภาษาไทยจึงไม่มีศัพท์ใช้เรียกอย่างเป็นทางการ การศึกษาในต่างประเทศพบว่าโรคนี้พบได้ประมาณ 2-5% ในคนทั่วไป และพบได้เท่าๆกันทั้งผู้ชายและผู้หญิง คนที่เป็นส่วนใหญ่มักเป็นคนโสด (ถ้าอ่านอาการแล้ว จะเข้าใจครับว่าทำไมส่วนใหญ่ถึงโสด) โดยอาการมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่วัยรุ่น และเป็นต่อเนื่องไปตลอด โรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เนื่องจากเป็นโรคที่ค่อนข้างใหม่จึงมีข้อมูลการศึกษาน้อยมากเมื่อเทียบกับโรคทางจิตเวชอื่นๆ แต่จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า พันธุกรรมน่าจะมีส่วนต่อการเกิดโรค เนื่องจาก 80% ของผู้ป่วยจะมีญาติสายตรงที่มีอาการคล้ายๆกัน การศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สมองพบว่า สมองบางส่วน (ส่วน cingulate cortex และ occipital lobe) ของผู้ที่เป็นโรคนี้มีการทำงานลดลง ซึ่งน่าจะส่งผลต่อการคิดและการตัดสินใจ ผู้ป่วยโรคเก็บสะสมของจะมีลักษณะอาการต่อไปนี้ -เก็บของไว้มากเกินไปแม้ว่าของนั้นจะดูไม่ค่อยมีประโยชน์ หรือมีโอกาสใช้ประโยชน์น้อยมาก -มีความยากลำบากในการทำใจที่จะทิ้งของ (ตัดใจทิ้งของไม่ได้) โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากความคิดว่า “ยังอาจจำเป็นต้องใช้” “อาจจะได้ใช้” หรือทิ้งแล้วจะรู้สึกไม่สบายใจ -ของที่สะสมเยอะมากจนรบกวนการใช้ชีวิต หรือทำให้เกิดอันตราย เช่น วางบนพื้นห้องจนไม่มีที่เดิน กองวางท่วมล้นบนโต๊ะทำงานจนทำงานบนโต๊ะไม่ได้ หรือของเยอะจนทำให้เจ็บป่วยบ่อย โดนของที่สะสมโค่นทับ เป็นต้น […]