มาตรฐาน-ระบบนิวเมติกส์(Pneumatic)
ระบบนิวเมติกส์ หมายถึง ระบบที่ใช้อากาศเป็นตัวทำงานในการส่งกำลังในการขับเคลื่อนอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องจักรต่างๆ ให้ทำงานหรือเกิดการเคลื่อนที่ เช่น กระบอกสูบหรือมอเตอร์ลม ข้อดีของระบบนิวเมติกส์ ลมอัดมีปริมาณไม่จำกัด ลมอัดสามารถส่งผ่านไปตามท่อที่มีระยะทางไกลๆ สามารถปล่อยทิ้งในบรรยากาศได้หลังจากใช้งานแล้ว สามารถกักเก็บลมอัดไว้ในถังเก็บได้ ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้ตามต้องการ ลมอัดไม่เกิดการระเบิดหรือติดไฟง่ายเมื่อมีการรั่วซึม ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องมีอุปกรณ์พิเศษราคาแพงเพื่อใช้ในการป้องกันการะเบิด ลมอัดไม่มีความไวต่อการเบี่ยงเบนของอุณหภูมิ มีความแน่นอนในการทำงานสูง แม้จะอยู่ในสภาวะอุณหภูมิสูงมากก็ตาม เครื่องมือและอุปกรณ์ในระบบนิวแมติกส์มีโครงสร้างแบบง่าย ทำให้มีราคาถูก ทนทาน และซ่อมบำรุงรักษาได้ง่าย ลมอัดมีความเร็วสูง ดังนั้นอัตราความเร็วในการทำงานก็จะสูงด้วย สามารถควบคุมความเร็ว ความดัน และแรงของลมอัดในระบบนิวแมติกส์ได้ตามต้องการ เครื่องมือและอุปกรณ์ของระบบนิวแมติกส์สามารถใช้งานเกินกำลังได้โดยไม่เกิดการเสียหาย การเคลื่อนที่ในทางตรงสามารถทำงานได้โดยตรง ข้อเสียของระบบนิวเมติกส์ ลมอัดมีความชื้นและฝุ่นละออง ดังนั้นจึงต้องมีอุปกรณ์กรองความชื้นและฝุ่นละอองก่อนนำไปใช้งาน ลมอัดมีเสียงดังเมื่อระบายทิ้งออกสู่บรรยากาศเพราะฉะนั้นจึงต้องมีอุปกรณ์เก็บเสียง (silencer) ลมอัดจะประหยัดเฉพาะที่ใช้แรงขยายถึงจุดหนึ่งเท่านั้น โดยปกติแล้วใช้ความดันที่ 600 kpa ( 6 bar ) ข้อจำกัดของแรงอยู่ที่ 20,000 – 30,000 นิวตัน ขึ้นอยู่กับความเร็วและระยะทางที่ใช้งาน ระบบ นิวแมติกส์ จะมีความดันที่ใช้งานเพียง 4-7 bar ลมอัดเป็นตัวกลางที่ค่อนข้างแพงเมื่อเปรียบเทียบกับระบบการเปลี่ยนแปลงพลังงานอื่นๆ […]
PRESSURE MEASUREMENT-20-ไซฟอน (Syphon) คืออะไร
ไซฟอน (Syphon) หรือ ไส้ไก่, หางหมู เป็นอุปกรณ์ที่ไว้ติดตั้งพร้อมกับเกจวัดแรงดัน เพื่อช่วยในการลดอุณหภูมิของไหลก่อนเข้าถึงเกจวัดแรงดัน (Pressure Gauge) ป้องกันไม่ให้เกจวัดแรงดันเสียหาย เหมาะสำหรับงานที่ใช้ความร้อนสูงหรืองานที่ใช้ไอน้ำ (Stream) สามารถติดกับเกจวัดแรงดันได้โดยตรงหรือสามารถติดกับไดอะแฟรมได้ (Diaphragm) โดยไซฟอนอาศัยหลักการใช้แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล
PRESSURE MEASUREMENT-17-ข้อดีและข้อเสียของ Digital Pressure Gauge
ในปัจจุบัน แม้เทคโนโลยีในการผลิตจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม แต่ในการใช้งานบางอย่าง ระบบดิจิตอลก็ยังไม่ได้ตอบโจทย์ในการใช้งานมากนัก วันนี้เราจึงขอยกตัวอย่างของใช้ที่ค่อนข้างจะใกล้ตัว คือ Pressure Gauge ในแบบ Digital มาให้ชมกันว่า มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันเช่นไร ข้อดี สามารถเก็บค่าที่วัดได้อย่างรวดเร็ว และในบางครั้งสามารถส่งข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ได้เลย สามารถแสดงความละเอียดที่สูงมากๆได้ เพราะตัวเลขสามารถแสดงได้ถึง 0.001 มม เนื่องจากมีตัวเลขแสดงที่หน้าจอ จึงสามารถอ่านค่าได้เลย ไม่ต้องนับรอบ แม้ติดตั้งในที่ๆมีการสั่นสะเทือนสูง ก็ยังสามารถอ่านค่าได้ ข้อเสีย มีราคาที่แพงกว่าค่อนข้างมาก แต่ส่วนต่างของกำลังที่ได้กลับน้อยลง การทำงานต้องใช้แบตเตอรี่ ซึ่งส่วนใหญ่ค่อนข้างมีราคาแพง และยุ่งยากในการเปลี่ยน ไม่สามารถอ่านค่าที่ไม่คงที่ และไม่เห็นค่าการเปลี่ยนแปลงของแรงดัน ต้องระวังเรื่องความชื้น และสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เพราะจะทำให้เครื่องเกิดความเสียหายได้ ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง ปาโก้จำหน่ายวาล์วและสินค้าเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น โฟลมิเตอร์ โรตามิเตอร์ วัดการไหล เกจวัดแรงดัน Pressure_gauge เพรชเชอร์เกจ valvecontrol valveคอนโทรลวาล์ววาล์วติดหัวขับเซฟตี้วาล์วโซลินอยด์วาล์ว บริการให้คำปรึกษา แนะนำสินค้าที่เหมาะกับลักษณะการใช้งานของท่าน และจัดหาสินค้าให้ท่านตามต้องการค่ะ ทำความรู้จัก PAKO ENGINEERING บริการจัดส่งทั่วประเทศ เริ่มการเขียน หรือพิมพ์เครื่องหมายทับ (/) เพื่อเลือกบล็อก สนใจ Product เพิ่มเติมติดต่อเราได้ทางFACEBOOK : Pako Engineering Well FlowmeterPressure gauge […]
PRESSURE MEASUREMENT-08-ประเภทและหลักการ Pressure Sensor ว่าเป็นอย่างไรบ้าง
ประเภทและหลักการ Pressure Sensor สวัสดีครับ ทางปาโก้ นำความรู้มามอบให้ทุกคน มาทำความเข้าใจเกี่ยวประเภทและหลักการ Pressure Sensor กันครับ ปาโก้ มีคำตอบ เชิญทุกท่านมาศึกษาพร้อมๆกับปาโก้เลยครับ ประเภทของ Pressure Sensor ในงานอุตสาหกรรม 1. Pressure Gauge (เกจวัดความดัน) สามารถวัดความดันได้ทั้งความดันเกจ ความดันสัมบูรณ์ และสุญญากาศ โดยจะแสดงผลเป็นแบบอนาล็อคหรือแบบเข็ม ข้อดีคือ มีราคาถูก ติดตั้งง่าย แต่ข้อเสียคือ อ่านค่าได้อย่างเดียว ไม่ละเอียด และไม่สามารถประยุกต์ใช้งานอย่างอื่นได้ เกจวัดความดันจะอาศัยหลักการยืดตัว/โก่งตัวของวัสดุที่มีสมบัติยืดหยุ่นหรือเรียกว่า “เครื่องมือวัดความดันแบบอิลาสติก” ทำงานโดยอาศัยการแปลงความดันที่อุปกรณ์ได้รับให้อยู่ในรูปการเคลื่อนที่ ประเภทของเกจวัดความดัน มีดังนี้ https://www.youtube.com/watch?v=0msD-sSOLaw&t=123s 2. Pressure Switch คือ สวิตซ์ควบคุมความดัน โดยใช้การตัดหรือต่อวงจรไฟฟ้าเมื่อความดันถึงจุดที่เรากำหนดไว้ Pressure switch นี้สามารถใช้งานควบคุมแรงดันทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น การตัดต่อการทำงานของปั้มนํ้า Pressure Switch Sensor ประเภทนี้ไม่ต้องอาศัยแรงดันไฟเลี้ยงเนื่องโดยส่วนใหญ่ใช้ระบบกลไก (Mechanic) ในการทำงานโดยจะมีสัญญาณ Output เป็น Contact On/Off ใช้เพื่อตัดต่อระบบเพียงเท่านั้น ซึ่งแบ่งหลักการทำงานนี้ได้เป็นสองแบบ 3. Pressure […]