หลักการ 4 สร้าง
โดย: ดร.พงศ์ศรันย์ พลศรีเลิศ ในฐานะที่ปรึกษา ผมมักจะได้ยินคำถามจากผู้ประกอบการ หรือผู้บริหารอยู่เสมอว่า ควรทำอย่างไร ถึงจะพัฒนาหัวหน้างานให้เป็นคนดี คนเก่ง ขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ได้บ้าง บางองค์กรมีการว่าจ้างที่ปรึกษาภายนอกเข้ามาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประสบความสำเร็จดังที่หวังก็มี ที่รู้สึกเสียดายเงินค่าจ้างที่ปรึกษาก็มี ผมก็มานั่งทบทวนว่า มีหลักการอะไรที่จะทำให้ผู้ประกอบการ และผู้บริหาร สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหัวหน้างานของตนเอง โดยไม่ต้องไปเสียเงินจ้างที่ปรึกษาจากข้างนอก คิดแบบนี้ คงจะกระทบถึงที่ปรึกษาหลายท่านรวมถึงตัวผมเอง ที่อาจต้องตกงานกันล่ะครับ แนวทางที่ผมรวบรวมความคิดไว้ ผมขอเรียกว่า “หลักการ 4 สร้าง 4 คิด” มีอะไรบ้างมาติดตามกันดูนะครับ หลักการ 4 สร้าง หัวหน้างานและผู้บริหาร ต้องเข้าใจกันให้ชัดเจนก่อนนะครับว่า อะไรคือ หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibility) ของหัวหน้างาน ที่มีต่อองค์กรที่ตนเองทำงานรับเงินเดือนค่าตอบแทนอยู่บ้าง ซึ่งมีหน้าที่สำคัญอยู่ 4 หมวด ใหญ่ๆ คือ 1) สร้างคน 2)สร้างทีม 3)สร้างงาน และ 4)สร้างคุณค่าต่อสังคม 1) สร้างคน หัวหน้างานต้องเข้าใจข้อเท็จจริงที่สำคัญประการหนึ่งว่า “ไม่มีใครเก่งมาแต่เกิด” แม้แต่ตัวเราเอง […]
สุดยอดผู้นำระดับ 5
แอดได้ทำการศึกษา รวบรวมข้อมูลด้านผู้นำในธุรกิจ เพื่อนำมาบอกเจ้านายสำหรับการพัฒนาองค์กร เลยนำมาฝากในเว็บด้วยคะ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจ องค์กรอย่าง ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง ถึงแม้เราจะเป็นเพียงผู้จำหน่าย โฟลมิเตอร์ อุปกรณ์วัดทางอุตสาหกรรม วาล์ว วาล์วติดหัวขับ แม้ยังมีขนาดองค์กรไม่ใหญ่มาก แต่เราก็ตั้งใจให้บริการกับลูกค้า ด้วยความจริงใจ และเราก็ยังต้องการผู้มีความสามารถ มีความเป็นผู้นำ เพื่อมาช่วยพัฒนาองค์กร สร้างความเติบโตอย่างยังยืน แอดเห็นว่าข้อมูลนี้มีประโยชน์มา ก็คือ ภาวะผู้นำ 5 ระดับ ของ Jim Collins ที่ได้ทำการวิจัยมาอย่างยาวนานกว่า 5 ปี “ความยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง? โครงการวิจัยที่ใช้ระยะเวลาถึง 5 ปีนี้ ได้พยายามค้นหาคำตอบให้กับคำถามดังกล่าว และได้ค้นพบกับสิ่่งที่อาจจะเปลี่ยนแนวความคิดของเรา ในเรื่องของความเป็นผู้นำโดยสิ้นเชิง ผู้บริหารที่มีพลังในการเปลี่ยนแปลงบริษัทได้มากที่สุดนั้น กลับเป็นผู้ที่มีลักษณะที่ผสมผสานกันระหว่าง 2 บุคคลิก ที่ไม่น่าจะมารวบรวมกันได้ ระหว่างความอ่อนน้อมถ่อมตน และความมุ่งมั่นในการทำงานอย่างแรงกล้า พวกเขาจะขี้อาจและไม่เกรงกลัวสิ่งใด พวกเขานั้นจะหาพบได้ยากและก็ไม่มีใครหยุดยั้งเขาได้” Jim Collins ได้ทำการศึกษาบริษัทกว่า 1,435 ราย พบว่ามีเพียง 11 รายเท่านั้นที่สามารถสร้างความยิ่งใหญ่ […]
ผู้ประกอบการขั้นเทพ – Advanced Entrepreneurship
ผู้ประกอบการขั้นเทพ – Advanced Entrepreneurship อะไรที่ทำให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จ? หลายต่อหลายท่านพยายามค้นหาคำตอบแต่ก็มีน้อยคนนักที่ค้นพบความจริงแล้วสามารถแยกแยะระหว่างผู้ประกอบการที่ดีกับผู้ประกอบการที่ยิ่งใหญ่ได้ จากสามทศวรรษที่ผ่านมาในการทำงานของผู้เขียนกับบริษัทก่อตั้งใหม่ในฐานะผู้ก่อตั้งหรือสมาชิกทีมงานก่อตั้งบริษัทกว่า 10 แห่ง(และเป็นที่คำปรึกษาอีกหลายบริษัท) ผู้เขียนเชื่อว่าผู้ประกอบการยิ่งใหญ่เข้าใกล้งานของพวกเขาด้วยความคิดที่แตกต่างกันมากกว่าผู้ประกอบการที่ดี ผู้ประกอบการที่ดีสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ แนวทางปฏิบัติที่ชาญฉลาดใน และการขับเคลื่อนธุรกิจที่ดีที่สุดในการสร้าง บริษัทของตน ผู้ประกอบที่ยิ่งใหญ่ก็ทำเช่นนี้ แต่พวกเขาก็รู้ด้วยว่าในระยะเริ่มต้นของ บริษัท บางครั้งต้องใช้วิธีการแบบเดิมๆให้น้อยลง พวกเขาเพิ่มวิธีการหรือชุดเครื่องมือของพวกเขาที่จัดการความวุ่นวายของการเริ่มต้นก่อตั้งบริษัทในช่วงเริ่มต้นขึ้นด้วย ในชุดของโพสต์บล็อกของผู้เขียนจะสำรวจกลยุทธ์เหล่านี้และวิธีการปลูกฝังความเป็นผู้ประกอบการที่ยิ่งใหญ่ เข้าไปในจิตใจ โดยเริ่มต้นในสัปดาห์นี้กับ รายละเอียดงาน (Job Description) ของผู้ประกอบการซีอีโอ (Entrepreneur CEO) ผู้ประกอบการเป็นซีอีโอโดยพฤตินัยอยู่แล้ว แต่โดยส่วนใหญ่ ซีอีโอ (และอาจหลายๆท่าน) ไม่ทราบจริงๆแล้วสิ่งนี้หมายถึงอะไรในแต่ละวัน ถ้าจะสังเกตสักหน่อย ซีอีโอต้องตัดสินตัวเองว่าพวกเขาใช้เวลาได้ดีเพียงใด บางคนใช้เวลาหาพื้นที่ทำงานที่สมบูรณ์แบบ คนอื่น ๆ หลงใหลในสเปรดชีตและคำนวณเงินที่จะได้ไม่กี่บาท หรือเงินที่เสียให้กับบาร์เทนเดอร์ของพวกเขาในพับหรือเรื่องไร้สาระอื่นๆ อีกทั้งเขายังมอบหมายงานรายละเอียดทางการเงินเหล่านั้นให้กับผู้อื่นและใช้เวลาทำข้อเสนอย่างยาวนานอีกด้วย แล้วอะไรที่ CEO ควรทำละ? สาระสำคัญของการทำงานของ CEO ต่อไปนี้คือสิ่งที่ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนได้: การกำหนดกลยุทธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารจะต้องมีบทสรุปสุดท้ายเกี่ยวกับกลยุทธ์ของ บริษัท กลยุทธ์ครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่การสร้างวิสัยทัศน์ของ บริษัท เพื่อตัดสินใจว่าจะเข้าสู่ตลาดใด แม้ว่าผู้อื่นจะให้คำแนะนำแก่ CEO […]
บริหารคนแบบนี้พนักงานดี ๆ ลาออกแน่
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมพนักงานถึงอยู่ไม่ทน โดยเฉพาะคนเก่ง มักเข้ามาได้ไม่นานก็ลาออก ปัญหาอาจไม่ใช่เพราะคนเก่งเหล่านี้ต้องการย้ายงานเพื่ออัพเงินเดือน แต่อาจเกิดจากการบริหารคนที่ขาดประสิทธิภาพก็ได้ ผิดพลาดตั้งแต่การปฐมนิเทศ ที่เน้นแต่การแจ้งกฎ ระเบียบ นโยบายบริษัท และแจกเอกสารน่าเบื่อ แต่ไม่บอกว่า คุณดีใจที่ได้เขามาร่วมงานด้วย ตอนนี้เขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรแล้ว และตำแหน่งงานของเขามีความสำคัญอย่างไร ควบคุมมากเกินไป คนเก่งยินดีที่จะได้รับคำแนะนำและ ชี้ทิศทางที่ถูกต้อง แต่ไม่ใช่การถูกครอบด้วยกฎเกณฑ์ที่เขาต้องเดินตามเส้นที่ขีดไว้ ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ละคนก็มีวิธีการของตนที่จะไปถึงเป้าหมายด้วยวิธีที่แตกต่างกัน คุณจึงควรให้โอกาสเขาแสดงฝีมือตามวิธีการของเขาเอง มองข้ามผลงานชิ้นโบว์แดงของเขา อย่ามองข้ามหลักจิตวิทยาเบื้องต้น หากต้องการให้เขาทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก ก็ต้องรีบให้รางวัลพนักงานทันทีจึงจะได้ผล หากปล่อยให้เลยจังหวะเวลาที่เหมาะสมแล้วการให้รางวัลนั้นก็เปล่าประโยชน์ ออฟฟิศไร้เสียงหัวเราะ ใครว่าเวลาทำงานทุกคนต้องคร่ำเคร่ง บรรยากาศที่เคร่งเครียดเกินไป ไร้เสียงหัวเราะ ไม่ช่วยทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงานได้แม้แต่น้อย เปลี่ยนมาสร้างบรรยากาศการทำงานให้สนุกสนาน และผ่อนคลายดีกว่า พนักงานจะได้มีความสุขและอยากมาทำงานทุกวัน ปิดบังเรื่องที่เขาควรรู้ ไม่ใช่แค่เรื่องดีเท่านั้น ที่ควรบอกให้พนักงานรู้ แต่รวมถึงเรื่องปัญหาและข่าวไม่ดีอื่น ๆ ด้วย หากเขารู้จากข่าวลือที่คนอื่น ๆ พูดกัน เขาจะมองว่าคุณไม่เห็นคุณค่าในตัวของพวกเขา สั่งอย่างเดียว ไม่รู้จักฟังเจ้านายที่เอาแต่ บอกว่าอยากให้เขาทำอะไร แต่ไม่บอกว่าทำไปทำไมและมันสำคัญอย่างไร ซ้ำยังไม่ถามความเห็นของเขา ซึ่งอาจจะมีวิธีการที่ดีกว่านี้ก็ได้ ไม่มีกลยุทธ์ในการรักษาพนักงาน หากอยากให้พนักงานอยู่นาน ๆ ก็ต้องเอาใจใส่เขาทุกวัน ควรมีสมุดสำหรับจดรายชื่อพนักงานที่คุณไม่อยากเสียไป พร้อมเขียนวิธีการที่คุณจะทำเพื่อรักษาเขาเอาไว้ด้วย ไม่เคยสัมภาษณ์พนักงานระหว่างยังทำงานอยู่ หากจะรอจนพนักงานเก่ง ๆ ลาออก แล้วค่อยทำ Exit Interview […]
คนเก่ง กับ คนดี ท่านจะเลือกใคร ?
. . . การสอนให้คนเก่งนี้ ถ้าดูเฉพาะบางแง่บางมุม อาจเห็นว่าดี ว่าสอดคล้องต้องกับสมัยเร่งรัดพัฒนา. แต่ถ้ามองให้ถี่ถ้วนรอบด้านแล้ว จะเห็นว่าการมุ่งสอนคนให้เก่งเป็นเกณฑ์ อาจทำให้เกิดจุดบกพร่องต่างๆ ขึ้นในตัวบุคคลได้ไม่น้อย. ที่สำคัญก็มี ข้อหนึ่ง บกพร่องในความคิดพิจารณาที่รอบคอบและกว้างไกล เพราะใจร้อนเร่งจะทำการให้เสร็จโดยเร็ว เป็นเหตุให้การงานผิดพลาด ขัดข้อง และล้มเหลว ข้อสอง บกพร่องในความนับถือและเกรงใจผู้อื่น เพราะถือว่าตนเป็นเลิศ เป็นเหตุให้เย่อหยิ่ง มองข้ามความสำคัญของบุคคลอื่น และมักก่อความขัดแย้งทำลายไมตรีจิตมิตรภาพตลอดจนความสามัคคีระหว่างกัน ข้อสาม บกพร่องในความมัธยัสถ์พอเหมาะพอดีในการกระทำทั้งปวง เพราะมุ่งหน้าแต่จะทำตัวให้เด่น ให้ก้าวหน้า เป็นเหตุให้เห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบ ข้อสี่ บกพร่องในจริยธรรมและความรู้จักผิดชอบชั่วดี เพราะมุ่งแต่จะแสวงหาประโยชน์เฉพาะตัวให้เพิ่มพูนขึ้น เป็นเหตุให้ทำความผิดและความชั่วทุจริตได้ โดยไม่รู้สึกสะดุ้งสะเทือน ผู้ที่มีจุดบกพร่องดังกล่าวนี้ เห็นกันอยู่ว่ามักจับเหตุจับผล จับหลักการไม่ถูก ส่วนใหญ่จึงประสบปัญหา และความผิดพลาด ไม่อาจสร้างความเจริญก้าวหน้าที่มั่นคงแท้จริงให้แก่ตนแก่บ้านเมืองได้ตามเป้าหมาย ดังนั้น นอกจากจะสอนคนให้เก่งแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอบรมให้ดีพร้อมกันไปด้วย ประเทศของเราจึงจะได้คนที่มีคุณภาพพร้อม คือทั้งเก่งทั้งดี มาเป็นกำลังของบ้านเมือง กล่าวคือ ให้ความเก่งเป็นปัจจัยและพลังสำหรับการสร้างสรรค์ ให้ความดีเป็นปัจจัยและพลังประคับประคองหนุนนำความเก่ง ให้เป็นไปในทางที่ถูก ที่ควร ที่อำนวยผลเป็นประโยชน์อันพึงประสงค์แต่ฝ่ายเดียว พระราชดำรัส ในพิธีทูลเกล้าฯ […]
5 นิสัยหัวหน้าที่ลูกน้องรัก
ในฐานะที่เป็นหัวหน้างาน ซึ่งต้องทำหน้าที่บริหารจัดการ บังคับใช้กฎระเบียบ และให้คำแนะนำที่บางครั้งอาจจะรุนแรงไปบ้าง ทำให้ผู้บริหารหลายคนหวั่นเกรงว่า การทำหน้าที่ของตนเองอาจจะกลายเป็นมารร้ายในสายตาของลูกน้องในทีม เบอร์นาร์ด มาร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร จึงแนะให้ผู้บริหารทั้งหลายสังเกต 5 นิสัยซึ่งเป็นสิ่งชี้วัดว่าพนักงานยังชื่นชอบและเคารพหัวหน้างานของตนเอง ดังนี้ 1 มีความสามารถด้านการสื่อสารเป็นเลศ เจ้านายที่ดีต้องสามารถสื่อสารกับลูกน้องในทีมได้อย่างเข้าใจตรงกัน มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินงานของทีมงานตนเองในอนาคต รวมถึงต้องมีประสิทธิภาพในการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดและรวดเร็ว รวมทั้งกล้าแอ่นอกรับผิดชอบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทุกกรณีอีกด้วย 2. นำพาทีมไปสู่เป้าหมายเดียวกัน เจ้านายที่ดีต้องพาทีมงานมุ่งไปในแนวทางเดียวกัน ด้วยความแน่วแน่ไม่หวั่นไหวต่อแนวทางที่ยึดมั่น รวมถึงต้องสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับพนักงานทุกคนในทีม เพื่อเดินหน้าไปสู่เป้าหมายเดียวกัน และกล้ายอมรับผลที่เกิดขึ้นในฐานะตัวแทนของทีม ไม่ว่าจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวก็ตาม 3. รู้จักไว้วางใจลูกน้อง เจ้านายที่ดีต้องไม่เป็น “คนหยุมหยิม” ต้องรู้จักเรียนรู้เกี่ยวกับความไว้วางใจ เมื่อมอบหมายงานแก่ลูกน้องแล้ว ต้องไม่เข้าไปยุ่งวุ่นวายในทุกรายละเอียดแบบนาทีต่อนาที หรือในทุกกระบวนการทำงาน เพียงแค่พิจารณาในภาพรวม แล้วปล่อยให้ลูกน้องแสดงความสามารถของตนเองก็เพียงพอ นอกจากนี้เจ้านายที่ดีก็ควรรู้จักมอบหมายและกระจายงานด้วย 4. ใส่ใจปัญหาและทุกข์สุขของคนในทีม เจ้านายที่ดีต้องใส่ใจพนักงานในทีมเป็นอันดับแรก โดยรู้จักสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการของบริษัท ลูกค้า และพนักงาน ให้เหมาะสม นอกจากนี้มาร์ยังเสนอแนะเพิ่มเติมด้วยว่า เจ้านายที่ดีนั้นต้องยินดีรับฟังและพูดคุยเกี่ยวกับทุกปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ร่วมทีม เพราะความสุขของพนักงานในทีมส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยตรง รวมทั้งต้องรู้จักแสดงความชื่นชมเมื่อลูกน้องทำงานได้ดี เพื่อให้ทีมงานรับรู้ถึงคุณค่าและความสามารถของตนเองในการเป็นส่วนหนึ่งของทีม […]
4 สุดยอดทักษะการขายสำหรับผู้ประกอบการ
สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ คือการขายสินค้า และบริการ ให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้สำเร็จ เพราะถึงแม้สินค้าของคุณจะดีเพียงใด แต่ถ้าไม่สามารถขายได้ ก็ขาดซึ่งเงินทุนหมุนเวียนทำให้ท้ายที่สุดกิจการต้องปิดตัวลง คนที่คิดจะเป็นผู้ประกอบการ พ่อค้า หรือแม่ค้า จึงจำเป็นจะต้องเรียนรู้ทักษะการขาย จากประสบการณ์ที่ผมได้ดูแลทีมขายมาเกือบ 10 ปี พบว่าสิ่งสำคัญของทักษะการขายที่คุณควรเรียนรู้มีดังต่อไปนี้ 1. ทักษะการฟัง สิ่งสำคัญที่สุดของนักขาย หรือคนที่คิดจะขายสินค้า ไม่ใช่ทักษะการพูด เราชอบยึดติดภาพของนักขายที่พูดเก่ง พูดจาโน้มน้าวน่าฟัง แต่แท้จริงแล้ว จากผลสำรวจมากมายพบว่าทักษะการฟังเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด เพราะถ้าคุณมัวแต่พูดกับลูกค้าแต่เพียงฝ่ายเดียว จะไม่เกิดการสื่อสารทั้ง 2 ทาง ทำให้ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าลูกค้าแท้จริงแล้วต้องการอะไร แล้วคุณก็ขายของไม่ได้ สิ่งที่ควรทำคือ รู้จักฟังความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ความต้องการของมนุษย์มีอยู่ 2 อย่าง อย่างแรกคือความต้องการที่พูด อย่างหลังคือความต้องการที่แท้จริง คุณจึงควรฟังให้ออกว่าความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า คืออะไร วิธีฝึกทักษะการฟัง ให้ลองสนทนากับคนรอบข้าง แล้วพยายามลดการพูดลง 50% พยายามใช้รูปแบบของคำถามให้มากขึ้น ฟังให้มากขึ้น หากสงสัยให้ทวนคำพูดของอีกฝ่าย คิดวิเคราะห์ระหว่างที่มีการสนทนา แต่ต้องสนใจกับการสนทนาอย่างแน่วแน่ ห้ามคิดนอกเรื่องเด็ดขาด 2. ทักษะการนำเสนอ หากฟังเก่ง รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร แต่นำเสนอไม่ถูก […]