โรคทิ้งของไม่ลง
โรคชอบเก็บสะสมสิ่งของหรือที่เรียกว่า Hoarding Disorder เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะรู้สึกอยากเก็บของทุกอย่างเอาไว้ ไม่สามารถตัดใจทิ้งสิ่งไหนลงได้เลย โดยแรงจูงใจที่ทำให้อยากเก็บของนั้นไว้คือคิดว่าของเหล่านั้นยังมีประโยชน์ที่สามารถเก็บไว้ใช้งานในอนาคตได้ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีปัญหาในเรื่องของการแยกกลุ่งสิ่งของออกจากกัน บางสิ่งเก็บมาปนกันไม่มีหมวดหมู่ จนรกบ้านหรือกินพื้นที่ใช้สอยในบ้านไปหมด ไม่มีที่นั่ง ที่เดิน ที่นอน หรือไม่มีเหลือพื้นที่ไว้ใช้สอยอื่นๆ เลยเพราะมีของอยู่เต็มพื้นที่ไปหมด จนกระทั่งรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของตนเองและคนในครอบครัว บางครั้งส่งกลิ่นเหม็นที่ทำให้เกิดปัญหาไปยังบ้านข้างๆ อีกด้วย สาเหตุของโรคปัจจุบันมีงานวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้น้อยมาก แต่พบปัจจัยที่ทำให้เกิดบางประการ ได้แก่ โรคทางพันธุกรรม เนื่องจากร้อยละ 50 ของคนที่เป็นโรคพบว่าคนในครอบครัวก็เป็นโรคนี้ด้วย และอีกหนึ่งปัจจัยคือความบกพร่องทางสมองบางส่วน โดยตอนนี้ยังอยู่ในขั้นของการทำวิจัย สำหรับสิ่งของที่ผู้ป่วยเลือกเก็บ ก็จะเป็นสิ่งของทั่วไปไม่ได้มีค่าหรือมีราคาอะไร เช่น หนังสือ นิตยสาร เสื้อผ้า ขวดพลาสติก ขวดน้ำ ถุงพลาสติก เป็นต้น ข้อมูลเต็มๆจาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80/ คลิป https://youtu.be/cXvWX0-5MMU
ชวนสำรวจตัวเอง ถ้าตัดสินใจทิ้งของไม่ได้ ระวังเข้าข่าย “โรคทิ้งของไม่ลง”
Hoarding disorder เป็นโรคที่เพิ่งถูกเพิ่มเข้าไปใหม่ในเกณฑ์วินิจฉัยโรคทางจิตเวช (DSM V) เมื่อปี พ.ศ. 2556 นี้เอง โดยก่อนหน้านี้ยังไม่มีเกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้มาก่อน เดิมเชื่อว่าเป็นอาการแบบหนึ่งในโรคกลุ่มย้ำคิดย้ำทำ ด้วยเหตุว่าเป็นโรคใหม่ในภาษาไทยจึงไม่มีศัพท์ใช้เรียกอย่างเป็นทางการ การศึกษาในต่างประเทศพบว่าโรคนี้พบได้ประมาณ 2-5% ในคนทั่วไป และพบได้เท่าๆกันทั้งผู้ชายและผู้หญิง คนที่เป็นส่วนใหญ่มักเป็นคนโสด (ถ้าอ่านอาการแล้ว จะเข้าใจครับว่าทำไมส่วนใหญ่ถึงโสด) โดยอาการมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่วัยรุ่น และเป็นต่อเนื่องไปตลอด โรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เนื่องจากเป็นโรคที่ค่อนข้างใหม่จึงมีข้อมูลการศึกษาน้อยมากเมื่อเทียบกับโรคทางจิตเวชอื่นๆ แต่จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า พันธุกรรมน่าจะมีส่วนต่อการเกิดโรค เนื่องจาก 80% ของผู้ป่วยจะมีญาติสายตรงที่มีอาการคล้ายๆกัน การศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สมองพบว่า สมองบางส่วน (ส่วน cingulate cortex และ occipital lobe) ของผู้ที่เป็นโรคนี้มีการทำงานลดลง ซึ่งน่าจะส่งผลต่อการคิดและการตัดสินใจ ผู้ป่วยโรคเก็บสะสมของจะมีลักษณะอาการต่อไปนี้ -เก็บของไว้มากเกินไปแม้ว่าของนั้นจะดูไม่ค่อยมีประโยชน์ หรือมีโอกาสใช้ประโยชน์น้อยมาก -มีความยากลำบากในการทำใจที่จะทิ้งของ (ตัดใจทิ้งของไม่ได้) โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากความคิดว่า “ยังอาจจำเป็นต้องใช้” “อาจจะได้ใช้” หรือทิ้งแล้วจะรู้สึกไม่สบายใจ -ของที่สะสมเยอะมากจนรบกวนการใช้ชีวิต หรือทำให้เกิดอันตราย เช่น วางบนพื้นห้องจนไม่มีที่เดิน กองวางท่วมล้นบนโต๊ะทำงานจนทำงานบนโต๊ะไม่ได้ หรือของเยอะจนทำให้เจ็บป่วยบ่อย โดนของที่สะสมโค่นทับ เป็นต้น […]