นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
ผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ปัญหาขวัญและกำลังใจในองค์กรเห็นด้วยกับเราว่า ความพยายามในการทำเรื่องนี้ไม่ได้มีแค่หนทางเดียว และเราได้ยกตัวอย่าง 9 วิธีที่เป็นไปได้ในการผลักดันให้ทีมของคุณไปข้างหน้าซึ่งแทบไม่มีเงินเข้ามาเกี่ยวข้องเลย แต่ทั้งหมดนั้นเกี่ยวเนื่องกับความสัมพันธ์ และสภาพแวดล้อมทั้งในที่ทำงานและในสายงานบังคับบัญชา เอ่ยปากชม เป้าหมายของมนุษย์ทุกคนคือความสำเร็จในชีวิต ไม่ว่าความสำเร็จนั้นจะเป็นแค่การทำงานเล็กๆ ในหนึ่งวัน หรือหลักไมล์ใหญ่ๆ อย่างโปรเจคท์ขนาดหลายเดือนเดือนก็ตาม และหนึ่งในเครื่องมือวัดความสำเร็จนั่นก็คือคำชม แต่ปัญหาของการชมนั้นดูเหมือนจะย้อนกลับมาที่เราเองซึ่งต้องเป็นผู้เอ่ยชม โดยหลักการง่ายๆ คือทุกครั้งที่พนักงานของคุณมีการปรับปรุงหรือพัฒนาตัวเองหรืองานขึ้นมาได้สักระดับหนึ่ง นั่นคือโอกาสในการเอ่ยปากชื่นชม เริ่มจากต่อหน้าเพียงลำพัง และพัฒนาเป็นการชมต่อหน้าผู้อื่นได้ต่อไป ให้คุณค่าให้ความรับผิดชอบ ถ้าตลอดเวลาที่ผ่านมา การมีหัวหน้าทีมไม่ได้ทำให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น คุณอาจจะลองปรับผังการทำงานให้พนักงานของคุณทำงานร่วมกันสักโครงการโดยไม่ต้องมีผู้จัดการหรือคนดูแลหลัก แต่แบ่งงานและให้งานหมวดนั้นขึ้นตรงกับคนๆ หนึ่งไปเลย การปล่อยให้คนในห้องทำงานร่วมกันในระดับที่เท่าเทียมกัน นั่นคือการพิสูจน์คุณค่าเรื่องความเป็นทีมอย่างแท้จริง ผลงานที่ออกมานั้นจำเป็นจะต้องเกิดจากเวลาและหน้าที่ของผู้รับผิดชอบเรื่องนั้นซึ่งไม่มีใครสามารถมาออกรับแทนได้อีกต่อไป พลังแรงกายแรงใจทั้งหมดย่อมต้องถูกทุ่มเทลงมาอย่างไม่มีข้อแม้ ไม่ต้องสั่ง แค่ผลักดัน ไม่มีใครชอบคำสั่ง แต่แน่นอนว่าโดยวิธีในข้อนี้เรายังคงสั่งงาน แต่กลายเป็นการสั่งงานแบบอ้อมๆ ที่พนักงานรู้สึกว่าเขาได้ออกความคิดกับงานนั้นด้วย หรือไม่ก็เป็นแค่การบอกว่า “ผมต้องการได้…” แล้วเปิดช่องให้เขาคิดหาทางนำสิ่งนั้นมาให้คุณด้วยตัวเอง พูดอีกทางคือแทนที่คุณจะออกคำสั่ง คุณกลับทำแค่ผลักดันให้เขาสร้างคำสั่งให้ตัวเอง หรือผลักไอเดียของคุณให้กลายเป็นไอเดียของเขาไป “คุณว่าดีไหมถ้าเราทำแบบนี้?” ความรู้สึกดีเกิดขึ้นเพราะผู้รับคำสั่งรู้สึกว่าเขากำลังผลักดันตัวเขาเอง นี่เป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อยที่ให้พลังแตกต่างกันมหาศาลทีเดียว อย่าเสียเวลาตำหนิ แต่แนะวิธีแก้ไข ทุกคนมีโอกาสทำผิดพลาด แต่ไม่ค่อยมีใครสบายใจนักเวลารู้อย่างนั้น “คุณว่าเรื่องนี้มีวิธีทำแบบอื่นอีกไหมนะ?” หรือ “ลองดูอีกสักวิธีหน่อยได้ไหมว่าให้ผลต่างกันอย่างไร” ปล่อยให้เขาได้ใช้เวลากับความคิดใหม่ๆ เรียนรู้จากความผิดพลาด ที่ตัวเองทำลงไป […]
คุณลักษณะของพนักงานที่เป็นที่ต้องการขององค์กรสมัยใหม่
แอดมินขอนะบทความที่น่าสนใจมาแบ่งปันคะ เกี่ยวกับคุณลักษษ๊ณะของพนักงานสมัยใหม่ คุณลักษณะของพนักงานที่เป็นที่ต้องการขององค์กรสมัยใหม่ ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร: Think People Consulting จากประสบการณ์ที่ได้จัดทำระบบ Competency และระบบบริหารผลงานขององค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน มาพอสมควร ทำให้พบว่า องค์กรส่วนใหญ่ต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติที่ไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก แบบทั่วๆ ไป ยิ่งไปกว่านั้น ได้มีโอกาสอ่านงานวิจัยของฝรั่ง ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของคุณสมบัติของพนักงานที่เป็นที่ต้องการขององค์กร แล้ว ก็พบว่า มีความเหมือนกันอยู่มาก ก็เลยทำให้ต้องมาเขียนให้อ่านกัน ว่าโดยทั่วๆ ไปแล้วองค์กรต้องการพนักงานแบบไหน มีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อเข้ามาทำงานในองค์กร มีความรับผิดชอบสูง พนักงานที่มีความรู้สูง มีทักษะในการทำงานที่ดีมีอยู่เยอะ แต่ถ้าพนักงานคนนั้นขาดความรับผิดชอบ ไว้ใจให้ทำงานอะไรก็ไม่ได้ พนักงานแบบนี้ย่อมไม่มีใครอยากได้เข้ามาร่วมงานด้วย องค์กรส่วนใหญ่มากกว่า 90% ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ต้องการพนักงานที่มีความรับผิดชอบสูง มอบหมายงานอะไรให้ ก็พยายามที่จะทำงานนั้นให้สำเร็จ รวมทั้งสามารถเชื่อใจ และไว้ใจได้ในฐานะพนักงานของบริษัท ในการเข้ามาช่วยให้องค์กรไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ เรื่องของความรับผิดชอบนั้นยังหมายความรวมถึงการที่พนักงานคนนั้นสามารถที่จะคิดและหาวิธีการในการทำงานให้ไปสู่เป้าหมายได้ด้วยตนเอง โดยที่ไม่ต้องให้หัวหน้างานหรือผู้จัดการเข้ามาสั่งและบอกให้ทำทีละขั้นตอน นอกจากนั้นยังมองไปถึงเรื่องของการมุ่งมั่นทุ่มเททำงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ย่อท้อ เวลามีอุปสรรคเกิดขึ้น หรือมีปัญหาเกิดขึ้นในการทำงาน พนักงานคนนี้ก็ไม่เคยที่จะล้มเลิก และยังคงพยายามหาวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น เพื่อให้งานสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่กำหนด นี่แหละครับ ที่เรียกว่า “ความรับผิดชอบสูง” […]
คนเก่ง กับ คนดี ท่านจะเลือกใคร ?
. . . การสอนให้คนเก่งนี้ ถ้าดูเฉพาะบางแง่บางมุม อาจเห็นว่าดี ว่าสอดคล้องต้องกับสมัยเร่งรัดพัฒนา. แต่ถ้ามองให้ถี่ถ้วนรอบด้านแล้ว จะเห็นว่าการมุ่งสอนคนให้เก่งเป็นเกณฑ์ อาจทำให้เกิดจุดบกพร่องต่างๆ ขึ้นในตัวบุคคลได้ไม่น้อย. ที่สำคัญก็มี ข้อหนึ่ง บกพร่องในความคิดพิจารณาที่รอบคอบและกว้างไกล เพราะใจร้อนเร่งจะทำการให้เสร็จโดยเร็ว เป็นเหตุให้การงานผิดพลาด ขัดข้อง และล้มเหลว ข้อสอง บกพร่องในความนับถือและเกรงใจผู้อื่น เพราะถือว่าตนเป็นเลิศ เป็นเหตุให้เย่อหยิ่ง มองข้ามความสำคัญของบุคคลอื่น และมักก่อความขัดแย้งทำลายไมตรีจิตมิตรภาพตลอดจนความสามัคคีระหว่างกัน ข้อสาม บกพร่องในความมัธยัสถ์พอเหมาะพอดีในการกระทำทั้งปวง เพราะมุ่งหน้าแต่จะทำตัวให้เด่น ให้ก้าวหน้า เป็นเหตุให้เห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบ ข้อสี่ บกพร่องในจริยธรรมและความรู้จักผิดชอบชั่วดี เพราะมุ่งแต่จะแสวงหาประโยชน์เฉพาะตัวให้เพิ่มพูนขึ้น เป็นเหตุให้ทำความผิดและความชั่วทุจริตได้ โดยไม่รู้สึกสะดุ้งสะเทือน ผู้ที่มีจุดบกพร่องดังกล่าวนี้ เห็นกันอยู่ว่ามักจับเหตุจับผล จับหลักการไม่ถูก ส่วนใหญ่จึงประสบปัญหา และความผิดพลาด ไม่อาจสร้างความเจริญก้าวหน้าที่มั่นคงแท้จริงให้แก่ตนแก่บ้านเมืองได้ตามเป้าหมาย ดังนั้น นอกจากจะสอนคนให้เก่งแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอบรมให้ดีพร้อมกันไปด้วย ประเทศของเราจึงจะได้คนที่มีคุณภาพพร้อม คือทั้งเก่งทั้งดี มาเป็นกำลังของบ้านเมือง กล่าวคือ ให้ความเก่งเป็นปัจจัยและพลังสำหรับการสร้างสรรค์ ให้ความดีเป็นปัจจัยและพลังประคับประคองหนุนนำความเก่ง ให้เป็นไปในทางที่ถูก ที่ควร ที่อำนวยผลเป็นประโยชน์อันพึงประสงค์แต่ฝ่ายเดียว พระราชดำรัส ในพิธีทูลเกล้าฯ […]
คน 8 ประเภท ที่องค์กรต้องมี
ในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ก็ยังต้องมีความแตกต่างหลากหลายของแผนกและประเภทงานเป็นส่วนประกอบเพื่อ เกื้อหนุนกัน ในบริษัทขนาดเล็กแม้จะต่างที่จำนวนคน แต่โดยพื้นฐานมุมมองนั้นไม่ต่าง เราต้องการคนบุคลิกหลากหลาย ต่างความสามารถ แต่อุดมการณ์เหมือนกัน และเลือกใช้ชีวิตคล้ายๆ กันเพื่อเกื้อหนุนให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง คนทุกบุคลิกมีประโยชน์ต่อองค์กรไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเพราะเขาเหล่านั้นจะมีความ สามารถและแรงผลักในการทำงานไม่เหมือนกันเลย เราลองจำแนกความแตกต่างของคนเหล่านี้ออกมาเป็นกลุ่มๆ มาดูกันว่าคนกลุ่มไหนบ้างที่ยังไม่มี และกลุ่มไหนบ้างที่เราน่าจะมีไว้ช่วยให้ทีมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แน่นอนว่าการทำงานกับคนที่มีอุดมการณ์เดียวกันหรือความคิดเหมือนๆ กันย่อมทำงานด้วยได้ง่ายกว่า แต่ว่าถ้าหากไม่มีคนตั้งคำถามอะไรขึ้นมาบ้าง บางทีกว่าจะเกิดแนวคิดใหม่ๆ ที่แตกต่างเพื่อช่วยพัฒนาองค์กรให้ไปข้างหน้าได้แต่ละทีก็ดูเหมือนจะต้องรอ คอยนานเหลือเกิน เราต้องการคนที่ช่วยเราตั้งคำถาม ไม่ใช่ปฏิปักษ์ ซึ่งคนสองกลุ่มนี้ต่างกันในแง่การปฏิบัติพอสมควร ต้องพิจารณาให้ดี คนประเภทนี้คือคนที่ควรมีหัวทางด้านการตลาดมากๆ และรู้จักสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร รู้ว่าควรจะโปรโมทสินค้าและองค์กรอย่างไรเพื่อให้คนรู้จักองค์กรของเรา พร้อมทั้งทำให้คนเชื่อว่าองค์กรเรานั้นเป็นองค์กรที่ดี และเพื่อให้สินค้าและบริการนั้นขายได้ คน ประเภทนี้สำคัญมากในองค์กรขนาดเล็ก เพราะเราต้องการใครสักคนที่สามารถปลีกมากจากงานตัวเองเพื่อมาช่วยทำงานใน ด้านอื่นๆ ที่สำคัญกว่าในบริษัทได้เมื่อถึงเวลาที่จำเป็น ซึ่งคนประเภทนี้ต้องมีลักษณะเฉพาะตัวคือ รับได้ต่อความวุ่นวายของกระแสงานที่เข้ามาและต้องมีความกระตือรือร้นที่จะทำ งานอื่นๆ ในองค์กรที่ได้รับมอบหมายนอกเหนือจากงานตนเอง ใน ฐานะที่เราเป็นผู้บริหารไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องหาเวลาว่างมาคอยตัดสินใจ กับสิ่งต่างๆ ตลอดเวลา โดยเฉพาะกับปัญหาเล็กๆ ที่น่ายกให้จะเป็นหน้าที่ของคนกลุ่มนี้ได้ โดยคนประเภทนี้ต้องมีทักษะการวิเคราะห์ถึงปัญหาและมีความกล้าที่จะตัดสินได้ อย่างเด็ดขาด ลอง คิดดูว่าบริษัทเราจะยุ่งเหยิงสักแค่ไหนถ้าหากไม่มีคนคอยควบคุมจัดการคนและ จัดการงานต่างๆ คนประเภทนี้จะมีหน้าที่คอยควบคุมว่าแต่ละคนควรทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จ ตามเป้าหรือไม่ และจัดการว่างานหรือโปรเจ็คที่ดำเนินนั้นอยู่เป็นไปตามแผนหรือไม่ ทุก องค์กรต้องการคนที่มีความรอบคอบเพราะคนประเภทนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของ องค์กรลงได้ […]
กลยุทธ์การเลี้ยงเสือกับนกอินทรี
ในวรรณกรรม สามก๊ก ผู้เคยในดู หรือได้อ่าน ก็คงพอจะเคยได้ยินประโยคที่โจโฉ พูดว่า เลี้ยงคนก็เสมือน เลี้ยงเสือ กับอินทรี แอดมินเลยไปหาข้อมูลเพิ่มเติมมาแบ่งปันกันคะ (1) ชื่อ “กลยุทธ์การเลี้ยงเสือกับนกอินทรี” เป็นหลักคิดในการเลี้ยงคนของโจโฉ อดีตอัครมหาเสนาบดีในยุคปลายของราชวงศ์ฮั่นหรือในยุคสามก๊ก โดยโจโฉได้อธิบายหลักคิดในการใช้คนของตนต่อบรรดาแม่ทัพนายกองว่าการเลี้ยงเสือกับนกอินทรีนั้นจะเลี้ยงให้เหมือนกันไม่ได้ แต่ต้องใช้วิธีเลี้ยงที่แตกต่างกันจึงจะได้ผล โจโฉอธิบายว่าอันธรรมดาเสือนั้นต้องเลี้ยงให้อิ่มจึงจะไม่เป็นอันตรายแก่ผู้เลี้ยง เพราะถ้าหากเลี้ยงเสือให้อด ๆ อยาก ๆ แล้ว เสือนั้นก็จะดื้อถึงขนาดที่อาจกัดกินเจ้าของก็ได้ แต่ถ้าเลี้ยงให้อิ่มก็อาจฝึกสอนใช้สอยให้เสือทำการบางสิ่งบางอย่างได้ ในขณะที่การเลี้ยงนกอินทรีนั้นต้องเลี้ยงให้อด ๆ อยาก ๆ เพราะถ้าเลี้ยงให้อิ่มแล้วนกอินทรีนั้นก็จะไม่ทำงาน กระทั่งบินหนีไป หากเลี้ยงให้อด ๆ อยาก ๆ ก็จะสามารถใช้สอยนกอินทรีนั้นให้ไปล่าเหยื่อได้ และไม่หนีหายไปไหน เพราะต้องกลับคืนรังมากินอาหาร (2) หลักคิดของโจโฉดังกล่าวนี้แม้ดูผิวเผินช่างง่ายดายและเข้าใจได้ง่าย แต่ปมเงื่อนที่ยากลำบากยิ่งอยู่ตรงที่คนนั้นไม่ใช่เสือและไม่ใช่นกอินทรี แต่เป็นคนที่มีอัธยาศัยไม่ค่อยคงที่ หากผันแปรเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วยปัจจัยภายในและภายนอกมากหลาย ที่สำคัญที่สุดคือการหยั่งรู้หรือดูให้ออกว่าคนไหนเป็นเสือ และคนไหนเป็นนกอินทรี มิฉะนั้นแล้วก็จะไม่สามารถใช้กลยุทธ์อันเป็นหลักคิดของโจโฉนี้ได้เลย (3) นอกจากนั้น คนบางคนเลี้ยงเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักอิ่ม ซึ่งเป็นเรื่องที่แตกต่างกับสัตว์เดรัจฉาน เพราะสัตว์เดรัจฉานนั้นต้องการเฉพาะอาหาร การเลี้ยงให้อิ่มก็คือการเลี้ยงอาหารให้อิ่ม ไม่ต้องมีลาภ ยศ สุข […]
5 วิธีรักษาความสุขให้คงอยู่กับพนักงานนานแสนนาน
นายจ้างทุกคนต่างรู้ว่าวิธีที่ดีที่สุดที่จะรักษาพนักงานไว้ให้ได้นานแสนนานก็คือต้องทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน มีงานวิจัยบอกไว้ชัดเจนว่า พนักงานที่พึงพอใจในการทำงาน จะผลิตงานได้มากขึ้น รวมทั้งยังรู้สึกผูกพันและจงรักภักดีกับองค์กรมากขึ้นด้วย สิ่งที่นางจ้างจะทำให้พนักงานรู้สึกมีความสุขและอยากอยู่กับองค์กรไปนานแสนนาน นอกจากเรื่องการขึ้นเงินเดือน การจ่ายโบนัส และสวัสดิการต่าง ๆ แล้ว สิ่งที่ทำให้พนักงานรู้สึกมีความสุขยังมีอีกหลายอย่าง ได้แก่ 1. เมื่อทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย พนักงานควรได้รับรางวัลตอบแทน ได้รับการจดจำ และการยอมรับ สิ่งนี้จากผลการสำรวจพบว่าพนักงานต้องการอย่างมาก และถือเป็นแรงจูงใจที่ดีที่จะทำให้พนักงานอยากอยู่กับองค์กรนาน ๆ ดังนั้นเมื่อพนักงานคนใดก็ตามทำงานได้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยเฉพาะคนที่ทุ่มเท หรือแม้กระทั่งยอมเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายนั้น องค์กรควรประกาศเกียรติคุณ มอบรางวัล และยกย่องพนักงานคนนั้นให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป 2. ให้มากกว่ามาตรฐานที่ควรจะได้ การมอบสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่เกินกว่ามาตรฐาน จะช่วยสร้างความประทับใจให้กับพนักงานอย่างมาก เช่น การประกันชีวิตให้พนักงานและครอบครัว มอบทุนการศึกษาให้กับบุตรธิดาของพนักงาน ให้สิทธิพิเศษการทำฟัน ให้สิทธิพิเศษการทำแว่นสายตา สมาชิกสถานที่ออกกำลังกาย สมาชิกสปา บัตรชมภาพยนตร์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้พนักงานมีความสุข และสุขภาพดี ซึ่งทั้งหมดส่งผลดีโดยตรงกับองค์กร 3. นัดประชุมให้น้อยใช้เทคโนโลยีช่วยให้มาก นายจ้างควรรู้ไว้ว่าพนักงานส่วนใหญ่ในโลกนี้เบื่อหน่ายการประชุมเป็นที่สุด ยิ่งประชุมมากเท่าใดก็ยิ่งลดทอนความสุขพนักงานมากขึ้นเท่านั้น หากต้องการให้พนักงานมีความสุขก็คือจัดประชุมให้พอเหมาะ ไม่จำเป็นต้องนัดมาเจอกันในห้องประชุม แต่ใช้เทคโนโลยีช่วยเช่น สไกปป์ วิดิโอลิงค์ หากเป็นเรื่องเล็ก […]
5 ระดับภาวะผู้นำ ที่ผู้นำ 95 % ไม่รู้
5 ระดับภาวะผู้นำ ที่ผู้นำ 95 % ไม่รู้ ในโลกของการทำงาน ในชุมชน หรือแม้กระทั่งโลกของธุรกิจ คุณคงได้รู้แล้วว่า ผู้นำเท่านั้นที่จะเป็นผู้ที่ร่ำรวยไปด้วยเงินทอง และผู้นำเท่านั้นที่เขาจะมีอำนาจแม่เหล็ก ผู้นำเท่านั้นที่เป็นมนุษย์แม่เหล็ก ดึงดูดผู้คน ดึงดูดเงินทองให้หลั่งไหลเข้าหาเขาได้โดยที่ไม่ต้องออกแรกเท่าไหร่เลย ดังที่ผมได้เคยบอกไปแล้วใน บทความเรื่อง 2 ผู้นี้คุณว่าใครได้เงินมากกว่า คุณคงเคยเห็นนะครับว่าในหน่วยงานหรือในองค์กร ๆ หนึ่งบางคนไม่มีตำแหน่งใด ๆ เลย แต่เขากลับมีพลังดึงดูดผู้คนให้เชื่อฟังเขาได้ มากกว่าคนที่มีตำแหน่งเป็นผู้นำจริง ๆ ด้วยซ้ำไป เพราะอะไรน่ะเหรอครับ คำเดียวเท่านั้นครับ คือ เพราะเขามีภาวะผู้นำ เขาไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งใด ๆ เลย แต่เขาสามารถบอกให้ผู้คนทำอะไรได้ สามารถโน้มน้าวและผลักดันให้ผู้คนทำตามที่เขาต้องการได้ คุณคิดว่ามันน่าอัศจรรย์มากแล้วแน่ ๆ และวันนี้ผม(ปฏิญาณ)จะพาคุณมารู้จักกับคำว่าภาวะผู้นำ (Leadership ในแบบของ John C. Maxwell) ผู้มีภาวะผู้นำทีดี ไม่ใช่การทำให้ตัวเองก้าวหน้า แต่เป็นการทำให้ทีมก้าวหน้าต่างหาก คุณจะต้องคิดอยู่ในสมองตลอดเวลาเลยว่า คุณจะปรับปรุง พัฒนาทีมงานของคุณให้สร้างผลงานที่ดีขึ้นได้อย่างไร ภาวะผู้นำเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้คนและการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มคนนั้น ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา วันนี้อาจขี้เกียจ […]
5 พฤติกรรมแย่ๆของผู้นำ ที่บั่นทอนประสิทธิภาพการทำงานของทีม
ทุกวินาทีของช่วงเริ่มต้นกิจการ ผู้ประกอบการต้องดำเนินธุรกิจท่ามกลางทรัพยากรที่จำกัด และภายใต้แรงกดดันต่างๆ ที่ถูกบีบด้วยเวลา ทุกการตัดสินใจของคุณจะเป็นตัวกำหนดเส้นทางของธุรกิจว่าจะประสบความสำเร็จหรือว่าล้มเหลว สภาพแวดล้อมที่ตรึงเครียดยิ่งขึ้น ลูกน้องของคุณเองก็พร้อมจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อาจมีพนักงานบางคนไม่สามารถอดทนต่อความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยได้ หรือบางคนอาจจะลาออก ซึ่งแน่นอนว่ามันจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อแผนการธุรกิจในอนาคตที่คุณตั้งใจเอาไว้ สิ่งสุดท้ายที่คุณต้องเข้าใจคืออุปนิสัยที่ไร้เดียงสาของคุณเอง เริ่มรบกวนสภาพแวดล้อมในการทำงานของคุณหรือไม่ เราทุกคนล้วนมีนิสัยทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่แย่ แต่ในฐานะของผู้นำในธุรกิจ การกระทำของคุณจะเป็นตัวกำหนดสภาพขององค์กรและนิสัยเหล่านั้นจะมีน้ำหนักมากขึ้นเมื่อปรากฎออกมาเป็นพฤติกรรม ดังนั้น คุณควรจะเริ่มสำรวจพฤติกรรมการทำงานของคุณเองว่าคุณเป็นผู้นำแบบที่มี พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดการบั่นทอนประสิทธิภาพในการทำงานและสร้างความแตกแยกของทีมหรือเปล่า การจัดการงานอย่างละเอียดทุกขั้นตอน รูปแบบการบริหารที่เรียกว่า Micromanagement หรือ “การบริหารแบบจุลภาค” ที่หมายถึงการที่ผู้นำเข้าไปควบคุม บังคับบัญชาลูกน้องมากจนเกินไปจนถึงระดับทุกรายละเอียดของงาน ทุกขั้นตอน ทุกเม็ด ซึ่งแน่นอนว่า การเข้าไปควบคุมงานทุกรายละเอียดจะทำให้คุณและพนักงานของคุณต้องเสียเวลาเป็นอย่างมาก และหลายครั้งการเป็นผู้บริหารแบบนี้ก็สร้างความอึดอัดให้แก่ลูกน้อง บางทีคุณควรจะปล่อยให้ลูกน้องของคุณได้มีอำนาจการตัดสินใจในการดำเนินงานนั้นๆ บ้าง เพื่อพัฒนาความสามารถของตัวพวกเขาขึ้นมาบ้าง คุณไม่จำเป็นต้องเข้าไปจัดการงานทุกอย่างเพื่อจะเป็นผู้จัดการที่ดี แต่คุณควรจะมุ่งเน้นไปที่ส่วนงานคิดและการวางแผน กำหนดเป้าหมายในภาพรวมขององค์กรที่คุณต้องการให้พนักงานของคุณบรรลุเป้าหมายให้ได้ และปล่อยให้พวกเขากังวลกับวิธีการอย่างไรที่จะทำให้งานสำเร็จ ถ้าคุณไม่เชื่อมั่นในตัวลูกน้องของคุณว่าจะทำมันได้สำเร็จ นั่นก็แปลว่าคุณอาจจะมอบหมายงานให้ผิดคน เคยได้ยินประโยคที่กล่าวว่า “Put the Right Man to the Right Job” หรือเปล่า เชื่อไหมล่ะว่ามันยังใช้ได้ดีไม่ว่าคุณจะอยู่ในสถานการณ์แบบไหนก็ตาม ละเลยความเป็นปัจเจกบุคคล มันเป็นสิ่งที่ดีที่จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรในการทำงานให้ปรากฎกับคนที่คุณจะร่วมทำงานด้วย แต่คุณต้องไม่ลืมว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะทำงานในลักษณะเดียวกันหรือทางเดียวกันเสมอ ผู้จัดการฝ่ายบัญชีของคุณอาจจะได้ประโยชน์จากการเข้าพบปะกับหลายๆทีมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างความสนิทสนม […]
5 นิสัยหัวหน้าที่ลูกน้องรัก
ในฐานะที่เป็นหัวหน้างาน ซึ่งต้องทำหน้าที่บริหารจัดการ บังคับใช้กฎระเบียบ และให้คำแนะนำที่บางครั้งอาจจะรุนแรงไปบ้าง ทำให้ผู้บริหารหลายคนหวั่นเกรงว่า การทำหน้าที่ของตนเองอาจจะกลายเป็นมารร้ายในสายตาของลูกน้องในทีม เบอร์นาร์ด มาร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร จึงแนะให้ผู้บริหารทั้งหลายสังเกต 5 นิสัยซึ่งเป็นสิ่งชี้วัดว่าพนักงานยังชื่นชอบและเคารพหัวหน้างานของตนเอง ดังนี้ 1 มีความสามารถด้านการสื่อสารเป็นเลศ เจ้านายที่ดีต้องสามารถสื่อสารกับลูกน้องในทีมได้อย่างเข้าใจตรงกัน มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินงานของทีมงานตนเองในอนาคต รวมถึงต้องมีประสิทธิภาพในการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดและรวดเร็ว รวมทั้งกล้าแอ่นอกรับผิดชอบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทุกกรณีอีกด้วย 2. นำพาทีมไปสู่เป้าหมายเดียวกัน เจ้านายที่ดีต้องพาทีมงานมุ่งไปในแนวทางเดียวกัน ด้วยความแน่วแน่ไม่หวั่นไหวต่อแนวทางที่ยึดมั่น รวมถึงต้องสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับพนักงานทุกคนในทีม เพื่อเดินหน้าไปสู่เป้าหมายเดียวกัน และกล้ายอมรับผลที่เกิดขึ้นในฐานะตัวแทนของทีม ไม่ว่าจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวก็ตาม 3. รู้จักไว้วางใจลูกน้อง เจ้านายที่ดีต้องไม่เป็น “คนหยุมหยิม” ต้องรู้จักเรียนรู้เกี่ยวกับความไว้วางใจ เมื่อมอบหมายงานแก่ลูกน้องแล้ว ต้องไม่เข้าไปยุ่งวุ่นวายในทุกรายละเอียดแบบนาทีต่อนาที หรือในทุกกระบวนการทำงาน เพียงแค่พิจารณาในภาพรวม แล้วปล่อยให้ลูกน้องแสดงความสามารถของตนเองก็เพียงพอ นอกจากนี้เจ้านายที่ดีก็ควรรู้จักมอบหมายและกระจายงานด้วย 4. ใส่ใจปัญหาและทุกข์สุขของคนในทีม เจ้านายที่ดีต้องใส่ใจพนักงานในทีมเป็นอันดับแรก โดยรู้จักสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการของบริษัท ลูกค้า และพนักงาน ให้เหมาะสม นอกจากนี้มาร์ยังเสนอแนะเพิ่มเติมด้วยว่า เจ้านายที่ดีนั้นต้องยินดีรับฟังและพูดคุยเกี่ยวกับทุกปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ร่วมทีม เพราะความสุขของพนักงานในทีมส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยตรง รวมทั้งต้องรู้จักแสดงความชื่นชมเมื่อลูกน้องทำงานได้ดี เพื่อให้ทีมงานรับรู้ถึงคุณค่าและความสามารถของตนเองในการเป็นส่วนหนึ่งของทีม […]
10 คำถามที่ HR และผู้บริหารควรมีคำตอบที่ชัดเจน
หาก HR หรือ ผู้บริหารถูกตั้งคำถามต่อไปนี้ ผมก็ไม่แน่ใจว่า นัก HR และผู้บริหารของแต่ละองค์กรจะตอบว่าอย่างไรกันบ้าง ? บางคำถามอาจจะแปลกหูแปลกความรู้สึกไปบ้าง ขอท่านผู้อ่าน ลองเปิดใจกว้างๆ ทำใจเป็นกลาง คิดกว้างๆ แล้วลองหาคำตอบดู เผื่อจะได้ความคิดหรือแนวทางใหม่ๆ ไปปรับปรุงงาน หรือปรับปรุงองค์กรของท่านบ้างก็ได้นะครับ คำถามทั้ง 10 ข้อ ต่อไปนี้ ไม่มีเจตนาที่จะตำหนิ หรือท้าทายนัก HR และผู้บริหารแต่ประการใด เพียงแค่ต้องการจุดประกายความคิดเพื่อหาทางเลือกต่างๆ ไว้ตอบสนอง หรือรองรับความต้องการของลูกค้าภายใน ซึ่งก็คือ พนักงานในองค์กรของท่านนั่นเอง เอาละเรามาเริ่มต้นกันที่คำถามแรกกันเลยครับ . คำถามที่ 1 : ทำไมพนักงานต้องรูดบัตร / ตอกบัตร / เซ็นชื่อ เข้างานตามเวลาทุกวัน ? ทั้งๆ ที่งานบางตำแหน่งไม่จำเป็นต้องทำงานในสำนักงาน อาจจะทำงานที่บ้านของพนักงานเอง (Home-based office) หรือที่ไหนก็ได้ ทั้งๆ ที่บางตำแหน่งก็สามารถวางแผนกำหนดวันเวลาทำงานได้ล่วงหน้า เช่น เทรนเนอร์หรือวิทยากรภายใน ทั้งๆ ที่งานของบางคนไม่ต้องพบปะเพื่อนร่วมงานแผนกอื่นทุกวัน เช่น […]