Level-Measurement-02-การวัดระดับ (Level Measurement)

  การวัดระดับ Level Measurement ในงานอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภท จะมีงานวัดระดับแทรกอยู่เสมอ เช่น การวัดระดับน้ำมัน น้ำในถังพัก การวัดระดับน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องยนต์ โดยอาศัยวิธีการวัดโดยตรง ที่ใช้ลูกลอย หรือ ดิพสติก (Dipsticks) ซึ่งเป็นวิธีการวัดแบบง่ายๆ แต่ถ้าเป็นการวัดระดับในภาชนะที่มีความดันสูง อุณหภูมิสูง เป็นสารเคมีที่มีอันตราย หรือต้องการสัญญาณระดับเพื่อไปใช้ในงานอย่างอื่น เช่น เพื่อการควบคุม บันทึกค่า ดังนี้ จะใช้การวัดโดยตรงไม่ได้ จะต้องประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ เข้าช่วย เพื่อให้งานการวัดระดับบรรลุผลตามความมุ่งหมาย วันนี้ แอดมินเลยมีความรู้ดีๆ เกี่ยวกับการวัดระดับมานำเสนอกันค่ะ วิธีการวัดระดับพอจะแบ่งเป็นหลักการใหญ่ๆ ได้สองประเภทคือ วิธีการวัดโดยตรง (direct) วิธีการวัดโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์อย่างอื่นเข้าช่วย (Inferential) ในสภาพงานที่มีปัญหา เช่น การวัดระดับน้ำใต้ดินในการขุดเจาะบ่อบาดาล การวัดระดับของน้ำในหม้อไอน้ำที่มีความดันและอุณภูมิสูงเพื่อควบคุมการป้อนน้ำเลี้ยงในอัตราที่เหมาะสม หรือการวัดระดับของผงถ่าน เมล็ดพืชในถังเก็บ เหล่านี้จะต้องอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วย ในปัจจุบันที่มีใช้อยู่ในวงการอุตสาหกรรม ได้แก่ หลักการของแรงและความดัน (Force and Pressure) หลักการทางไฟฟ้า (Resistance & Capacitance) หลักการเดินทางของเสียง […]

Level-Measurement-01-อุปกรณ์วัดระดับชนิดลูกลอย (float)

อุปกรณ์วัดระดับชนิดลูกลอย (float) เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับการวัดระดับ (level measurement) ของเหลว อาศัยหลักการลอยตัวของลูกลอยบนของเหลว โดยน้ำหนักของลูกลอยที่กระทำกับแรงโน้มถ่วงโลกมีค่าเท่ากับน้ำหนักของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากับปริมาตรของลูกลอยส่วนที่จมอยู่ในของเหลว “WELL” Level Ball Float Valve  ลูกลอยที่ใช้ควรมีรูปร่างและขนาดที่ออกแบบให้รับแรงลอยตัวได้มากโดยมีพื้นที่ผิวน้อย และควรมีขนาดที่เหมาะสมเพื่อความไว (sensitivity) ในการวัด นั่นคือ ส่วนที่จมอยู่ในของเหลวควรมีปริมาตรเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาตรทั้งหมดของลูกลอย โดยทั่วไปรูปร่างมาตรฐานของลูกลอยเป็นทรงกลมหรือทรงกระบอก โดยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขึ้นอยู่กับคุณลักษณะและสมบัติของเหลวที่ต้องการวัดระดับ เช่น ลูกลอยที่มีขนาดใหญ่เหมาะสำหรับการวัดระดับของเหลวที่มีความหนาแน่นต่ำ และในทางกลับกันการวัดระดับของเหลวที่มีความหนาแน่นสูงควรใช้ลูกลอยที่มีขนาดเล็ก โดยทั่วไปขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลูกลอยอยู่ในช่วง 75 mm ถึง 175 mm ตัวอย่างรูปทรงของลูกลอยแต่ละแบบและการอ่านค่าระดับแสดงดังรูปที่ 1 ลูกลอยเป็นอุปกรณ์วัดระดับที่นิยมใช้ เนื่องจากมีโครงสร้างที่ง่าย ใช้งานง่าย สามารถใช้งานภายใต้สภาวะอุณหภูมิ (temperature) และความดันสูง (pressure) ได้ สะดวกต่อการปรับเทียบ (calibration) และมีความเที่ยงตรง (precision) สูง สามารถวัดระดับได้ทั้งแบบจุดและแบบต่อเนื่องโดยขึ้นอยู่กับลักษณะการออกแบบ และการเลือกใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม ตัวอย่างการวัดระดับด้วยลูกลอยอย่างง่ายที่สุดแสดงดังรูปที่ 2 เป็นการวัดระดับโดยตรง ผู้วัดสามารถอ่านค่าระดับของเหลวได้โดยตรงจากตำแหน่งของลูกลอยที่เปลี่ยนแปลงตามระดับความสูงของของเหลว ซึ่งเป็นการวัดเพื่อติดตามกระบวนการและการปฏิบัติงาน (monitoring processes and operations) […]