What is a Pneumatic Actuator?
A pneumatic actuator is a device that converts compressed air pressure into mechanical force which can be used for actuating or moving a desired mechanism. Air actuators are also known as pneumatic cylinders, air cylinders, air valves or pneumatics. They are gas-operated devices that work on the principle of compressed air being able to exert more force than an equivalent length and strength of wire. Pneumatics is the branch of mechanics concerned with the production, conversion and transmission of energy by means of pressurized air. Pneumatic actuators are one type of pneumatic instruments used in different industrial applications because they have a number of advantages over electric, hydraulic and other types of actuation systems:
Control Valve-Solenoid valve สำหรับหัวขับลม-04-Solenoid Valve 3/2 สําหรับหัวขับลมแบบ Single Acting
Solenoid Valve 3/2 Solenoid 3/2 Way ใช้กับหัวขับลมแบบ Pneumatic Single Acting มีลักษณะการทำงานดังภาพ
Control Valve-Solenoid valve สำหรับหัวขับลม-03-Solenoid Valve 5/2 สําหรับหัวขับลมแบบ Double
Solenoid 5/2 Way Solenoid 5/2 Way ใช้กับหัวขับลมแบบ Pneumatic Double Acting มีลักษณะการทำงานดังภาพ
Control Valve-Solenoid valve สำหรับหัวขับลม-02-หลักการทำงาน
Solenoid Valve สำหรับ หัวขับลมใช้อยู่ 2 ลักษณะ 1. Solenoid 5/2 Way ใช้กับหัวขับลมแบบ Pneumatic Double Acting มีลักษณะการทำงานดังภาพ 2. Solenoid 3/2 Way ใช้กับหัวขับลมแบบ Pneumatic Single Acting มีลักษณะการทำงานดังภาพ หน้าตา Solenoid Valve สำหรับ หัวขับลม เราสามารถใช้ Solenoid Valve สำหรับหัวขับลมซึ่งมีหลายหน้าตาดังนี้ Solenoid Valve Namur จะต้องเป็นแบบติดตั้งด้านข้าง ถึงจะเรียกว่า Namur Namur เป็นรูปแบบ Interface อย่างหนึ่ง ไม่ใช่ลักษณะการเรียกของ Solenoid 2. Solenoid Valve ธรรมดา ในท้องตลาดมี 2/2 Way , 3/2 Way […]
Control Valve-Solenoid valve สำหรับหัวขับลม-01
Solenoid valve สำหรับหัวขับลม โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) คือ วาล์วที่ทำงานด้วยไฟฟ้ามีทั้งแบบ 2/2, 3/2, 4/2, 5/2 และ 5/3 ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึง โซลีนอยด์แบบ 3/2, และ 5/2 ทางสำหรับติดกับหัวขับลม หรือที่เราเรียกว่า Solenoid valve Namur( โซลีนอยด์แบบนามัวร์) Solenoid valve 3/2 way (โซลินอยด์วาล์ว 3/2 ทาง) หรือโซลินอยด์วาล์ว แบบ 3 รูใช้งาน 2 ตำแหน่ง ลักษณะวาล์วเป็นทรงสี่เหลี่ยมมีคอยด์อยู่ด้านใดด้านหนึ่งของวาล์ว และมีสปูนอยู่ภายใน วาล์วประกอบไปด้วยรู Pจ่ายลม (Port P) รู Aใช้งาน (Port A) รู Rระบายลม […]
Control Valve-Shaft uPVC Ball valve (แกนวาล์วของ ยูพีวีซี บอลวาล์ว)
Shaft uPVC Ball valve (แกนวาล์วของ ยูพีวีซี บอลวาล์ว) Shaft (แกนวาล์ว) มีไว้เพื่อติดตั้งหัวขับไฟฟ้าหรือหัวขับลมเข้ากับ Ball Valve เพลาสามารถหมุนได้ 45 หรือ 90 องศา ทำให้ เป็น Automatic Valve สะดวกในการใช้งานเปิด/ปิด หรือโรงงานขนาดใหญ่ ที่ต้องเปิด/ปิด Valve พร้อม ๆ กัน Ball Valve uPVC (uPVC ที่มีชื่อย่อมาจาก Unplasticized Polyvinyl Chloride) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้วัสดุ มีความแข็งแรงทนทาน ใช้ในงานเดินระบบน้ำทิ้ง ระบายน้ำเสีย ทนสารเคมีกรด-ด่างบางชนิด ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเคมี หรือ เป็นระบบเดินของเหลวที่มีสารเคมีเจือปน สามารถทนอุณหภูมิได้ 60 องศาเซสเซียส มีลักษณะ สีเทาเข้ม/สีเทาอ่อน อุปกรณ์ยูพีวีซี สามารถใช้กาวทาท่อ PVC หรือ กาว uPVC ในการเชื่อมต่อ ซึ่งมีความรวดเร็วและง่ายต่อการติดตั้ง ———————-Shaft ที่ต้องใช้อุปกรณ์เสริม (กล่อง&บูช) เพื่อติดตั้งหัวขับไฟฟ้าหรือหัวขับลม——————————— […]
Control Valve-POSITIONER-06-Positioner Rotary Type และ การเซตค่า Zero , Span
Model : YTC 1000 หลักการทำงานพร้อมกับวิธีตั้งค่า Zero และ Span กดที่นี่
Control Valve-POSITIONER-05-ติด Positioner แล้วไม่ต้องติด Solenoid Valve
Positioner การที่จะให้วาล์วควบคุมปิด-เปิดได้ตามตำแหน่งที่ต้องการนั้นวาล์วควบคุมจะต้องมีอุปกรณ์ตัวอื่นมาช่วย เช่น Valve Positioner ในการควบคุมตำแหน่งร่วมกับวาล์วควบคุมอีกทีหนึ่ง ซึ่งในอดีตเรามีการใช้ตัวควบคุมที่เป็นระบบไฟฟ้า (สัญญาณอนาลอก 4-20 mAdc) อยู่ (ในช่วงเริ่มใช้เป็นระบบไฟฟ้าแล้ว) แต่วาล์วควบคุมเป็นระบบลม ดังนั้นช่วงแรกๆ เราจะใช้ตัวแปลงสัญญาณจากสัญญาณอนาลอกมาเป็นสัญญาณลมก่อนซึ่งเราเรียกว่า I-To-P Converter เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ใกล้กับวาล์วควบคุมซึ่งเป็นระบบ Open Loop Control ส่วนการทำงานนั้นเราจะไม่รู้เลยว่าวาล์วเปิดตามตำแแหน่งนั้นจริงหรือไม่(ตามสัญญาณเอาต์พุตของตัวควบคุมหรือเปล่า) ซึ่งตรงนี้เองวาล์วควบคุมในสมัยใหม่เราจึงพัฒนาให้เป็นแบบการควบคุมแบบป้อนกลับ (Feed Back Control) โดยมีการตรวจจับค่าของตำแหน่งของก้านวาล์วที่เคลื่อนตัวไปแล้วนำมาเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย (ได้จากสัญญาณจากตัวควบคุม) ซึ่งเราเรียกว่า ตัวควบคุมตำแหน่งของวาล์ว (Valve Positioner) (ส่วนใหญ่ติดที่ด้านข้างของ Yoke หรือที่ด้านบนของ Actuator) โดยที่ตัวควบคุมตำแหน่งจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 1. ทำให้วาล์วควบคุมทำงานตามค่าของสัญญาณควบคุมได้ถูกต้อง 2. ทำให้วาล์วควบคุมทำงานตามการตอบสนองของสัญญาณได้รวดเร็วขึ้น 3. ทำให้วาล์วควบคุมรักษาเสถียรภาพของกระบวนการ 4. ทำให้วาล์วควบคุมทำงานตามเงื่อนไขของระบบควบคุม อุปกรณ์ประกอบที่มีใช้เป็นส่วนมาก คือ Valve Positioner ซึ่งมีใช้งานหลายชนิดด้วยกันขึ้นอยู่กับสัญญาณอินพุดเช่น Pneumatic-to-Pneumatic Positioner (P/P Positioner) […]
Control Valve-POSITIONER-04-Positioner แบบ Linear vs Rotate
Positioner กับรูปแบบการเปิด ปิด Linear Motion ลักษณะการเคลื่อนที่ของก้านวาล์วซึ่งต่อเชื่อมไปยังลิ้นวาล์วเป็นเส้นตรง อาจเป็นแนวดิ่งหรือแนวเอียง ลักษณะการเปิดปิด เปรียบเทียบลักษณะของการเปิด Valve 1.1. Globe Valve 1.2. Gate Valve 1.3. Diaphragm Valve 1.4. Pinch or Clamp Valve Rotary Motion ลักษณะการเคลื่อนที่ของก้านวาล์วซึ่งต่อเชื่อมไปยังลิ้นวาล์วเป็นการหมุนของก้านวาล์วเพียง 90 องศา ลิ้นวาล์ว หมุนเข้าและหมุนออกเพื่อปิดหรือเปิดช่องทางการไหล เหมาะสำหรับ การเปิดปิด วาล์วในลักษระ การหมุน เปรียบเทียบลักษณะของการเปิด Valve 2.1. Ball Valve 2.2. Butterfly Valve 2.3. Plug Valve
Control Valve-POSITIONER-03-Positioner แต่ละประเภทมีอะไรบ้าง
Positioner คืออะไร Positioner ถือเป็นตัวควบคุมวาล์ว (Controller) ตัวหนึ่ง ทำหน้าที่เปรียบเทียบสัญญาณที่อยู่ในรูปความดันอากาศ (Pneumatic Signal) หรือสัญญาณไฟฟ้า (Electronic Signal)กับตัวควบคุมหลักกับสัญญาณของตำแหน่ง ก้านลิ้นวาล์ว ที่ต่างกัน Positioner ส่งแรงดันจากอากาศไปกระตุ้น Actuatorให้เคลื่อนที่ไปตำแหน่งที่ต้องการ จนกว่า ไม่ผลต่าง ของสัญญาณนั้น ๆ หรือ ควบคุมการเปิดปิด ตามสัญญาณนั้นเอง มีความแม่นยำ เที่ยงตรง เคลื่อนที่เพื่อเปิดและปิด ได้รวดเร็ด Positioner สามารถใช้ระบบ Pneumatic หรือ ระบบ Electric ได้ Positioner จึงนำมาใช้ประโยชน์ เข้ากับอุปกรณ์ Actuator ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการทำงาน ควบคุมการเปิดปิด ลดผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อความแม่นยำพื้นฐาน ของวาล์วควบคุมต่าง ๆ ประเภทของ Positioner ชนิดของ Positioner เนื่องจาก Valve Positioner […]
Control Valve-POSITIONER-02
Positioner Positioner มีหน้าที่สำหรับ ทำให้วาล์วติดหัวขับลมทำงานอย่าง Linear โดยอาศัยสัญญาณในการควบคุม ประเภทของ Positioner 1. Electro – Pneumatic Positionerคือ ใช้สัญญาณไฟฟ้าในการควบคุมการเร่งหรี่ และใช้ลมเป็น Supply 2. Pneumatic – Pneumatic Positioner คือ สัญญาณลมในการควบคุมการเร่งหรี่ และใช้ลมเป็น Supply 3. Smart Positioner คือ ใช้สัญญาณไฟฟ้าในการควบคุมการเร่งหรี่ และใช้ลมเป็น Supply ความแตกต่างแบบ Positioner แบบปกติคือ สามารถโปรแกรมการทำงานของ Positioner ได้หลากหลาย และสามารถตั้งค่าแบบ PI , PID ได้ 4. Option สำหรับ Positionerคือรุ่นที่สามารถเพิ่ม […]
Control Valve-POSITIONER-01
ชื่อภาษาอังกฤษ Control Valve Positioner ชื่อภาษาไทย คอนโทรลวาล์ว โพสิชันเนอร์ การใช้งาน ตัวควบคุมตำแหน่งวาล์วให้อยู่ในตำแหน่งการทำงานที่ถูกต้องตามสัญญาณควบคุม ข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้ ยี่ห้อ ROTORK , POWER-GENEX Other.. รุ่น YT -1000, YT- 3000 ,YT-3300 SERIES , EPL SERIES Other Motion Rotay type , Linear type ประเภท 1. Pneumatic-Pneumatic Valve Positioner (P/P Positioner) 2. Analog Electro-Pneumatic ValvePositioner (E/P Positioner) 3. Smart Valve Positioners Explosion proof Non-Explosiojn proof […]
Control Valve-Pneumatic Actuator-09-การตั้งความเร็วเปิด-ปิด หัวขับลม
หัวขับลม เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งเข้ากับวาล์ว เพื่อให้วาล์วทำงานอัตโนมัติ หลักการทำงานของหัวขับลม โดยการจ่ายลมเข้าเพื่อเปิด และจ่ายลมเข้าเพื่อปิด เราสามารถปรับความเร็ว เปิด/ปิดได้ โดยใช้ วาล์วควบคุมอัตราการไหล (Flow control vales) ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณการไหลของลมที่จะส่งไปยัง ระบบนิวเมติกส์ให้คงที่ สามารถควบคุมความเร็วของก้านสูบในขณะทำงานได้ โดยติดตั้งทางลมอัดที่ต่อเข้า กับโซลินอยด์วาล์ว ดูคลิปวีดีโอคลิก
Control Valve-Pneumatic Actuator-08-ค่า Torque สําหรับ Single Acting
หัวขับ Single Acting เป็นการทำงานรูปแบบการใช้ แรงดันลมสั่งทำการ เปิด และ ใช้แรงของสปริงสั่งทำการปิด วาล์ว ดังนั้น จำเป็นต้องเลือกค่า Torque ให้เหมาะสมกับวาล์ว เพื่อให้วาล์วทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาวาล์วเปิดไม่สุด หรือปิดไม่สนิท Single Acting : หลักการเลือกคือ a. เลือก Torque สำหรับขาไป (0” –> 90”) แรงบิดที่เกิดจากการป้อนลม b. เลือก Torque สำหรับขากลับ (90” –> 0”) แรงบิดที่เกิดจากสปริงที่ดีดกลับ ตัวอย่างการเลือกหัวขับ : ค่า Torque อย่างน้อยของวาล์วตัวหนึ่ง เท่ากับ 8Nm ใช้แรงดันลมที่ 5 bar วิธีการเลือก 1. ให้เผื่อค่า Safety factor ไว้ที่ 25% = 10 […]
Control Valve-Pneumatic Actuator-07-ค่า Torque สําหรับ Double Acting
หัวขับ Double Acting เป็นการทำงานรูปแบบการใช้ แรงดันลมสั่งทำการ เปิด และ ปิด วาล์ว ดังนั้น จำเป็นต้องเลือกค่า Torque ให้เหมาะสมกับวาล์ว เพื่อให้วาล์วทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาวาล์วเปิดไม่สุด หรือปิดไม่สนิท Double Acting : หลักการเลือกคือจะต้องเลือกค่า Torque ให้มีค่ามากกว่าค่า Torque ของวาล์วประมาณ 25% ขึ้นไป ตัวอย่างการเลือกหัวขับ : ค่า Torqueอย่างน้อยของวาล์วตัวหนึ่ง เท่ากับ 8Nm ใช้แรงดันลมที่ 5 bar วิธีการเลือก : ให้เผื่อค่า Safety factor ไว้ที่ 25% = 10 Nm จากนั้นให้ดูค่า Torque ที่ช่อง 5 bar จะพบว่าค่า Torque ที่ครอบคลุมคือ 14.8Nm ดังนั้นหัวขับที่เหมาะสมสำหรับวาล์วตัวนี้คือ […]
Control Valve-Pneumatic Actuator-06-หัวขับลม Double vs Single Acting
หัวขับลม Double vs Single Acting หัวขับลมเป็นหัวขับที่ใช้ควบคุมการเปิด-ปิดของวาล์วด้วยลม ไม่มีการใช้ไฟฟ้าในการควบคุม (ยกเว้น การใช้โซลินอยด์ในการควบคุม) สามารถใช้ได้กับบอลวาล์ (Ball Valve) และ วาล์วผีเสื้อ (Butterfly Valve) หัวขับลมเป็นหัวขับวาล์วที่ใช้แรงดันอากาศเป็นแรงขับเคลื่อนกลไกในการเปิดปิดของวาล์ว เหมาะที่จะใช้กับชนิดของวาล์วที่มีองศาการเปิด/ปิด 0-90 องศา หรือ Quarter –Turn วาล์ว หัวขับลม (Pneumatic Actuator)นี้ อาจมีการติดตั้งสปริงร่วมด้วย และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของแรงดันอากาศ หัวขับลม (Pneumatic Actuator)จะเริ่มทำงานสั่งการให้เปิดหรือปิดวาล์วได้ 1.การทำงานแบบ Double Acting : […]
Control Valve-Pneumatic Actuator-05-ทิศทางการหมุนของหัวขับ
Actuators Direction ทิศทางการหมุนของหัวขับ หัวขับลมประเภท Rack & Pinion pneumatic actuators สามารถปรับการหมุนได้ทั้งหมด 4 แบบ ดังนี้ ในการบิดแต่ละครั้ง เราสามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้เปิดหรือปิดกี่องศา โดยการตั้งค่าระยะชักของลูกสูบที่หัวขับ
Control Valve-Pneumatic Actuator-04-ส่วนประกอบของ หัวขับลม
ส่วนประกอบของ หัวขับลม
Control Valve-Pneumatic Actuator-03-Actuator Pneumatic
ชื่อภาษาอังกฤษ Pneumatic Actuator ชื่อภาษาไทย หัวขับลม การใช้งาน สำหรับเปิด-ปิดวาล์ว โดยใช้ลมในการควบคุมให้ปิด – เปิดวาล์ว ข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้ ยี่ห้อ KLQD , SIRCA , VALBIA Other รุ่น AP SERIES , AT SERIES Supply หน้างานใช้แรวดันลมซัพพลายกี่บาร์ (ปกติจะใช้ 3-8 Bar) แล้วแจ่หน้างานขิงลูกค้า Acting Single , Double ขนาดวาล์ว เพื่อรู้ค่า Torque รูปตัวอย่าง ประเภทของหัวขับลม Rack & pinion pneumatic actuators Schotch yoke pneumatic actuators pneumatic actuator diaphragm
Control Valve-Pneumatic Actuator-02-หัวขับลมแบบ Rack and pinion
Rack & Pinion actuator คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเปิดและปิดวาล์ว “ Rack & Pinion actuator ” เป็นคำศัพท์ทั่วไปสำหรับคู่ของเกียร์ที่แปลงการเคลื่อนที่เชิงเส้นเป็นการเคลื่อนไหวแบบหมุน แถบเฟืองเชิงเส้นเรียกว่า “ชั้นวาง” ประกอบฟันบนเฟืองแบบกลมที่เรียกว่า “เฟือง” แรงเชิงเส้นที่กระทำกับชั้นวางจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่แบบหมุนของปีกนก ในการบิดเบี้ยวครั้งเดียวเราตั้งค่าได้ว่าจะให้เปิดหรือปิดกี่องศาโดยการตั้งระยะชักของลูกสูบที่หัวขับ ตัวขับเคลื่อนแบบแร็คแอนด์พิเนียนเหมาะสำหรับระบบอัตโนมัติและการทำงานของวาล์วแบบปิด – ปิดเช่นวาล์วผีเสื้อและวาล์วที่ใช้ในอุตสาหกรรมเช่นเคมี, ยา, การแปรรูปน้ำ, น้ำมันและก๊าซ
Control Valve-Pneumatic Actuator-01
Pneumatic Actuator (หัวขับลม) หัวขับเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมให้สามารถเปิด-ปิดวาล์วได้อย่างอัตโนมัติ สาเหตุต่างๆที่วาล์วต้องอาศัยหัวขับวาล์วในการควบคุมมีดังนี้ – วาล์วที่มีขนาดใหญ่ เกินกว่าที่กำลังคนจะสามารถเปิด-ปิดได้ – วาล์วที่ต้องมีการกำหนดเวลาในการเปิด-ปิดบ่อยครั้ง – วาล์วที่ต้องการให้มีการเปิด-ปิดในช่วงเวลาที่ไม่สะดวกจะใช้กำลังคน – วาล์วที่มีสถานที่ติดตั้งห่างไกลหรือสถานที่ที่ไม่สามารถใช้กำลังคนเข้าไปควบคุมการเปิด-ปิดวาล์วได้อย่างสะดวก – วาล์วที่ติดตั้งภายในโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการออกแบบให้ทำงานสอดคล้องกันเป็น ระบบ ฯลฯ หัวขับจึงกลายเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ใช้ในการควบคุมการเปิด-ปิดวาล์วที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ ในปัจจุบัน Pneumatic Actuator ถูกนำมาใช้กับวาล์บแบบ Quarter turn (หมุนเปิด-ปิดได้ในระยะ 90 องศา) เช่น Ball valve , Butterfly valve ประเภทของหัวขับลมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ หัวขับลมประเภท Rack & Pinion pneumatic actuators มีการทำงานอยู่ 2 แบบคือ การเลือกหัวขับลมแบบ Single Acting การเลือกค่า Torque สำหรับ Rack & […]
Control Valve-LIMIT SWITCH สวิตช์จำกัดระยะคืออะไร ??
วันนี้ทางปาโก้เอ็นจิเนียริ่งจะพามารู้จักกับสวิตช์จำกัดระยะ หรือ Limit switch กันครับ ซึ่งสวิตซ์จำกัดระยะนั้น เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากกก(กอไก่สิบตัว555)ชนิดหนึ่งที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมในระบบการควบคุมแบบอัตโนมัติครับบ ลิมิตสวิตช์ Limit switch เป็นสวิตช์ที่จำกัดระยะทาง การทำงานอาศัยแรงกดภายนอกมากระทำ เช่น วางของทับที่ปุ่มกดหรือลูกเบี้ยวมาชนที่ปุ่มกด และเป็นผลทำให้หน้าสัมผัสที่ต่ออยู่กับก้านชน เปิด-ปิด ตามจังหวะของการชนครับบ สัญลักษณ์ สวิตช์จำกัดระยะ (Limit switch) ดังนั้น จึงมีการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย เช่น ลิฟท์โดยสาร, ลิฟท์ขนของ, ประตูที่ทำงานด้วยไฟฟ้า, ระบบสายพานลำเลียง เป็นต้น และ ลิมิตสวิตช์ (Limit switch) นั้นสามารถมีคอนแทคได้หลายอันมีคอนแทคปกติปิดและปกติเปิดมีโครงสร้างคล้ายสวิตช์ปุ่มกด ข้อดีของลิมิตสวิตช์ (Limit switch) ติดตั้งง่าย สะดวกต่อการใช้งาน ไม่ต้องมีไฟเลี้ยงวงจรในการทำงาน การทำงานเชื่อถือได้ มีความแม่นยำในการทำงาน ราคาต่ำกว่าอุปกรณ์ตรวจจับชนิดอื่น Limit switch micro switch Limit switch กับ Micro switch ต่างกันหรือไม่ ในหลักการทำงานนั้นอาจจะเหมือนกันครับ แต่ก็มีส่วนที่ต่างกันคือตรงที่ขนาดกับการใช้งาน Limit switch ตัวใหญ่อาจสามารถใช้งาน โดยตรงกับ […]
Control Valve-Limit Switch Box-02
Limit Switch Box มีหน้าที่เป็นอุปกรณ์บอกสถานะของวาล์วว่า เปิดหรือปิดและ ภายในยังมี switch ซึ่งเป็น Dry contact สำหรับ ส่งสัญญาณ Output อีกด้วย Protect Type แบ่งได้ 2 ประเภท 1. Non Explosion Proof คือ แบบไม่กันระเบิด ใช้กับงานทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ใน Hazard Zone 2. Explosion Proof คือ แบบกันระเบิดใช้กับงานที่ป้องกันไม่ให้เกิดประกายไฟเช่น โรงงานเคมี , โรงงานที่มีสารระเหยติดไฟ
Control Valve-Limit Switch Box-01
ชื่อภาษาอังกฤษ Limit Switch Box ชื่อภาษาไทย กล่องลิมิตสวิตซ์ การใช้งาน บอกสถานะของวาล์วว่า เปิดหรือปิดและ ภายในยังมี switch ซึ่งเป็น สำหรับส่งสัญญาณ Output อีกด้วย ข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้ ยี่ห้อ HKC , YTC รุ่น APL SERIES Contact จำนวน Contact Option Explosion Proof , Non Explosion Proof รูปตัวอย่าง Protect Type แบ่งได้ 2 ประเภท Non Explosion Proof คือ แบบไม่กันระเบิด ใช้กับงานทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ใน Hazard Zone Explosion Proof คือ แบบกันระเบิด ใช้กับงานที่ป้องกันไม่ให้เกิดประกายไฟเช่น […]
Control Valve-24-Wiring Diagram สําหรับ Electric Actuator Quarter-turn
Wiring Diagram สำหรับ Electric Actuator Quarter-turn ในการต่อสายของหัวขับนั้น ทางผู้จำหน่ายจะต้องมีคู่มือสำหรับต่อสาย ซึ่งสามารถดาวโหลดได้จากเว็บไซต์ผู้จำหน่าย
Control Valve-23-ON-OFF vs Moderation หัวขับไฟฟ้า
– หัวขับไฟฟ้า ON-OFF คือ หัวขับไฟฟ้าแบบควอเตอร์เทิร์น (Quarter-turn electric actuator) ลักษณะรูปแบบการทำงาน จะเป็นการควบคุมสั่ง การเปิด/ปิด ของวาล์ว ซึ่งสามารถตั้งค่าองศาในการเปิดและปิดได้ แต่ต้องไม่เกิน 90 องศา – หัวขับไฟฟ้า Moderation คือ หัวขับไฟฟ้าแบบลิเนีย หัวขับไฟฟ้า ON-OFF ที่มีความสามารถควบคุมการเปิดและปิด ตามเปอร์เซ็นต์ในการเปิดที่ต้องการ เช่น ต้องการให้เปิด 40 เปอร์เช็นต์ จาก 100 เปอร์เช็นต์ โดยมีกระแสไฟฟ้า ที่เรียก Input+Output : 4-20 mA เป็นกำหนดฐานะ
Control Valve-22-Electric Actuator Quarter-turn
หัวขับ Electric Actuator Quarter-turn Electric Actuator Quarter-turn คือ หัวขับที่สามารถหมุนได้เพียง 90 องศา ซึ่งมี 2 ลักษณะการทำงานคือ 1. On-Off Controlคือ เปิด-ปิดเท่านั้นไม่สามารถเร่งหรี่ได้ แต่ในการเปิด-ปิด สามารถตั้งได้ว่าจะให้เปิดกี่องศา ปิดกี่ องศาด้วย Limit Switch ที่อยู่ภายในตัวหัวขับ 2. Modulating Control คือ สามารถเร่งหรี่ โดยใช้สัญญาณไฟฟ้ามาควบคุมภายในหัวขับจะมีวงจรควบคุมและPort สำหรับต่อรับสัญญาณ Torque สำหรับ Electric Actuator Quarter-turn การดูค่า Torque ของหัวขับไฟฟ้าจะมีความซับซ้อนกว่าหัวขับลมเนื่องจากSupply ของไฟมีหลายรูปแบบรวมถึงความถี่ ของสัญญาณไฟฟ้าด้วย สามารถเข้าไปดูค่า Torque ได้ที่นี่ คลิก
Control Valve-21-Electric Actuator มีอะไรบ้าง
Actuator Electric (CVAE) หัวไฟฟ้าแบ่งตามลักษณะการทำงาน หัวขับไฟฟ้านั้นมีให้เลือกทั้งแบบการทำงานแบบปกติ และแบบ Explosion-proof เนื่องจากมีไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง ** ทุกรุ่นของหัวขับจะมีพวงมาลัย หรือจุดหมุนสำหรับ manual ปิดวาล์วหากสัญญาณไฟฟ้าขัดข้อง ** 1. Electric Actuator Quarter-Turn a. Electric – Electric Quarter-Turn b. Electric – Spring Return (Fail-Safe) (ในที่นี้จะไม่พูดถึง) 2. Electric Actuator Linear (ในที่นี้จะไม่พูดถึง) Complete Set of Electric Actuator
Control Valve-20-การทำงานของ หัวขับ (Actuator)
หัวขับ (Actuator) มีไว้ใช้สำหรับควบคุมการเปิด-ปิดของวาล์วโดยเฉพาะ เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรม เพราะช่วยเรื่องความสะดวกในการใช้งานของวาล์ว ช่วยให้ประหยัดเวลาในการทำงานมากขึ้นและมีคุณสมบัติอีกหลากหลาย
Control Valve-20-2-ส่วนประกอบของวาล์วหัวขับ (Valve Actuator)
ส่วนประกอบของ วาล์วติดหัวขับ (Valve Actuator) มีส่วนประกอบที่สำคัญซึ่งจะช่วยทำให้การทำงานง่ายขึ้น มีรูปแบบที่หลายกหลายเพื่อให้เหมาะสมกับงานประเภทต่างๆ
Control Valve-19-คู่มือ วาล์วติดหัวขับ (Manual Actuator)
ศึกษาข้อมูลตามลิงค์ คลิกที่นี่
Control Valve-18-วาล์วควบคุมกับระบบมาตรวัดปริมาตรของเหลว (CONTROL VALVES IN DYNAMIC MEASURING SYSTEMS) ตอนที่ 6 (จบ)
เราสามารถควบคุมการทำงานของวาล์วให้ทำงานอัตโนมัติได้นั้นจำเป็นต้องติดตั้งส่วนที่เรียกว่า Valve Actuator หรือ “หัวขับวาล์ว” เข้ากับวาล์ว ดังนั้น Valve Actuator หรือ “หัวขับวาล์ว” ซึ่งถูกติดตั้งเข้ากับก้านลิ้นวาล์วโดยตรงหรือโดยอ้อมจึงทำหน้าที่ปรับตำแหน่งก้านลิ้นวาล์ว (โดยใช้พลังงานจากภายนอก) ให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการเพื่อให้สอดคล้องและให้มั่นใจว่าวาล์วควบคุม(Control Valve) ได้ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการหรือระบบมาตรวัดปริมาตรของเหลวได้ถูกต้องตามที่ได้รับการออกแบบไว้ ตำแหน่งของลิ้นวาล์วควบคุมจึงต้องอยู่ได้ในทุกตำแหน่งระหว่างตำแหน่ง “ปิด” จนถึงตำแหน่ง “เปิด” ดังนั้นเพื่อให้การทำงานของ Actuator มีประสิทธิภาพ ตัว Actuator จึงต้องมีพลังงานขับก้านลิ้นวาล์วที่มากเพียงพอ แม่นยำเพียงพอ และตอบสนองได้ไวต่อสัญญาณควบคุมที่ถูกส่งมาถึง Actuator และถ้าหากสัญญาณควบคุมที่ส่งมายังตัว Actuator เกิดล้มเหลวหรือขาดหายไป Actuator อาจขับก้านลิ้นวาล์วให้กลับไปอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ เช่น ตำแหน่ง “ปิด” หรือตำแหน่ง “เปิด” หรือให้อยู่ในตำแหน่งเดิมล่าสุดครั้งสุดท้าย เพื่อระบบความปลอดภัยการทำงานหรือด้วยเหตุผลทางเทคนิคใดๆของกระบวนการหรือระบบนั้นๆ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะกำหนดชนิดและขนาดของ Actuator เพื่อได้ได้ตามความต้องการของกระบวนการหรือระบบนั้นเป็นหลัก หรือด้วยเหตุผลอื่นๆประกอบกันไป เช่น ความน่าเชื่อถือของการทำงานของระบบ ความปลอดภัย การคุ้มทุนในการลงทุน ฯลฯ แต่ในบทนี้เราจะไม่ลงลึกถึงคำนวณหาขนาด Actuator เพราะเนื้อหาเท่านี้ก็ถือว่า “เหาะเกินกรุงลงกา” […]
Control Valve-17-วาล์วควบคุมกับระบบมาตรวัดปริมาตรของเหลว (CONTROL VALVES IN DYNAMIC MEASURING SYSTEMS) ตอนที่ 5
การหาขนาดวาล์วควบคุมเป็นเรื่องสำคัญในฐานะวาล์วควบคุมเป็น Final Control Element จึงมีเรื่องสำคัญ 2 เรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเพื่อให้วาล์วควบคุมสามารถทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ ประการแรก ต้องหาข้อมูลในกระบวนการหรือระบบมาตรววัดปริมาตรของเหลวที่ถูกต้อง เช่น อัตราการไหลสูงสุดและต่ำสุดในแต่ละเงื่อนไขการทำงาน, ความดันตกคร่อมวาล์วที่มีได้ (Available Pressure Drop) ที่แต่ละเงื่อนไขการทำงาน (ดูรูปที่ 5-1), ความดันสูงสุดและอุณหภูมิสูงสุดทางเข้าวาล์วควบคุม, ความหนืดของเหลวที่อยู่ในกระบวนการหรือระบบนั้นๆ, การไหลเป็นแบบของเหลวสถานะเดียว (Single-Phase Flow) หรือ 2 สถานะ (Two-phase Flow), การเลือกความดันตกคร่อมวาล์วที่ถูกต้องทั้งนี้เพราะความดันสูญเสียในระบบท่อหรือคุณสมบัติการทำงานของแต่ละปั๊มจะแตกต่างกันในแต่ละสภาวะเงื่อนไข ดังในรูปที่ 5-2 ประการที่สอง การเลือกใช้สมการคำนวณหาขนาดวาล์วที่เหมาะสมกับสภาวะเงื่อนไขการทำงานของระบบหรือกระบวนการฯ โดยแยกแยะเงื่อนไขให้ชัดเจน ในกรณีการกำหนดวาล์วที่ใช้กับของเหลวอยู่ในเงื่อนไข 1.) Turbulent, Non-Choked, 2.) Turbulent, Choked, 3.) Satuated Flow, 4.) Laminar (Viscous), 5.) Non-Newtonian และ 6.) Two-Phase Flow เป็นต้น สำหรับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับวาล์วจะมี […]
Control Valve-16-วาล์วควบคุมกับระบบมาตรวัดปริมาตรของเหลว (CONTROL VALVES IN DYNAMIC MEASURING SYSTEMS) ตอนที่ 4
ปัจจัยที่กำหนดคุณลักษณะวาล์ว วาล์วเป็นอุปกรณ์หนึ่งในหลายอุปกรณ์ซึ่งทำงานร่วมกันในกระบวนการควบคุม กระบวนการผลิต หรือกระบวนการหนึ่งๆ ที่ถูกใช้ในการควบคุมการไหลของไหลภายในระบบท่อ เป็นต้น วิธีการควบคุมการไหลดังกล่าวได้ใช้หลักการเปลี่ยนแปลงความเสียดทานที่วาล์วสร้างขึ้นด้วยการเปลี่ยนระยะเคลื่อนที่ของก้านวาล์วที่ส่งผลไปยังลิ้นวาล์ว หรือ Flow Control Element เพิ่มเข้าไปหรือลดลงในระบบท่อที่ติดตั้งวาล์วนั้นๆ ดังนั้นเมื่อวาล์วเริ่มทำการปิด ความเสียดทานของระบบจะถูกกำหนดโดยวาล์วและความเสียดทานจะเพิ่มมากขึ้นจนสามารถปิดการไหลของไหลในระบบท่อได้นั้นเอง ด้วยเหตุนี้หากเราเลือกขนาดวาล์วไม่เหมาะสมและสอดรับกับระบบท่อของเราแล้วกระบวนการควบคุมก็ยากที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเลือกขนาดวาล์วที่ใหญ่กว่าความต้องการของกระบวนการผลตามมาคือการควบคุมการไหลของไหลกระทำได้ยาก แต่หากเลือกวาล์วที่มีขนาดเล็กกว่าความต้องการของระบบหรือขวนการนั้นๆ เราก็ต้องเสียเสียดความเสียดทานตกคร่อมวาล์วสูงมากกว่าได้อัตราการไหลที่ต้องการหรืออาจไม่ได้อัตราการไหลที่ต้องการก็ได้ ส่งผลกระทบไปยังปั๊มที่สร้างแรงดันให้ได้อัตราการไหลที่ต้องการต้องทำงานหนักขึ้น การเกิด Cavitation ภายในวาล์วก็เริ่มเป็นหัวข้อเรื่องที่น่าเป็นห่วงตามมาโดยอัตโนมัติในทันที การเปลี่ยนแปลงสิ่งหนึ่งสิ่งใดย่อมส่งผลต่ออีกหลายสิ่ง ส่วนจะมากน้อยเพียงใดก็ค่อยๆๆๆๆๆๆ ว่ากัน เพื่อให้เราสามารถเลือกวาล์วที่เหมาะสมกับระบบมาตรวัดปริมาตรของเหลว เราต้องเริ่มเรียนรู้ทำความเข้าใจปัจจัยที่กำหนดคุณลักษณะวาล์ว (Valve Parameters) ที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้ 1. Valve Flow Characteristic เป็นปัจจัยที่สำคัญมากปัจจัยหนึ่งในการเลือกวาล์ว เพื่อให้ได้ชนิดของวาล์ว (Valve Type) ที่เหมาะสมกับความต้องการใช้งานในกระบวนการหนึ่งๆ Flow Characteristic เป็นลักษณะประจำตัวของวาล์วที่มีอยู่ในวาล์วแต่ละชนิดที่แตกต่างกันในรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลผ่านวาล์ว (Flow Rate Through the Valve) เทียบกับระยะเคลื่อนที่ของก้านวาล์ว (Valve Stem) โดยคิดระยะเคลื่อนที่ก้านวาล์วเปลี่ยนจาก 0 % (ปิดสุด) – 100% (เปิดสุด) โดยวัดค่าความสัมพันธ์ดังกล่าวภายใต้เงื่อนไขเมื่อความดันตกคร่อมวาล์ว (Pressure Droop) […]
Control Valve-15-วาล์วควบคุมกับระบบมาตรวัดปริมาตรของเหลว (CONTROL VALVES IN DYNAMIC MEASURING SYSTEMS) ตอนที่ 3
การแบ่งชนิดของวาล์วกลุ่มลิ้นวาล์วเคลื่อนที่แนวเส้นตรง (Linear Motion) 1.Gate Valve ลิ้นวาล์ว หรือ Flow Control Element ของวาล์วชนิดนี้มีหลายชื่อเรียก ตัวอย่างเช่น “gate”, “wedge”, “slide” ดังนั้นในการทำงานของวาล์วเกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของลิ้นวาล์วไปขวางทางการไหลของไหลจากด้านข้างและตั้งฉากกับทิศทางการไหลของไหลจนกระทั่งลิ้นวาล์วเคลื่อนที่ปิดข่องทางการไหลในตัวเรือนวาล์วสนิท ทำให้การไหลหยุดลง (ดูรูปที่ 29) โดยลิ้นวาล์วเองก็ต้องรับแรงดันจากของไหลมากระทำต่อมันด้วยเช่นเดียวกับตัวเรือนวาล์ว ประกอบกับช่องทางการไหลของไหลผ่านตัวเรือนวาล์วอยู่ในแนวเดียวกับทิศทางการไหลของไหลทำให้สูญเสียแรงเสียดทานเนื่องจาการไหลของไหลมีค่าน้อย อีกทั้งวาล์วชนิดนี้ส่วนใหญ่มีลักษณะรูปร่างสมมาตรจึงสามารถสลับทิศทางการการใช้งานได้นั้นคือในแต่ละด้านสามารถเป็นได้ทั้งทางเข้าหรือทางออกโดยไม่มีข้อจำกัดหรือกำหนดทิศทางเข้า-ออกที่ชัดเจน ดังนั้นด้วยรูปแบบการทำงานและการควบคุมลิ้นวาล์วดังกล่าวทำให้ Gate Valve ถูกใช้งานเพื่อทำหน้าที่หยุดหรือเริ่มการไหลในระบบท่อ หรือที่เรียกในภาษาปะกิตว่า “Stop Valve” หรือ “Block Valve” ดูรูปที่ 30 เมื่อเราอ่านชื่อรูปก็จะทราบว่าเป็นชื่อที่บรรยายลักษณะครอบคลุมในรายละเอียดเกือบครบถ้วนกระบวนความที่เกี่ยวกับวาล์ว โดยเริ่มจากให้ข้อมูลแบบข้อต่อทั้ง 2 ด้านของวาล์วว่าเป็นแบบหน้าแปลนด้วยคำว่า “Flanged end”, มีการประกอบตัวเรือน (Body) เข้ากับ Bonnet ด้วย Bolts & Nuts ด้วยคำว่า “Bolted-bonnet”, บ่งบอกถึงการออกแบบก้านวาล์วถูกขับเคลื่อนด้วยสกรูที่ยื่นออกมาภายนอกตัวเรือนวาล์วและถูกประคองหรือยึดด้วย Yoke ที่ติดตั้งเป็นส่วนเดียวกับ Bonnet ด้วยคำว่า “Outside-screw-and-yoke”, สุดท้ายเป็นการบ่งบอกว่าเป็น Gate Valve ซึ่งถูกแบ่งชัดเจนด้วยการทำงานของลิ้นวาล์ว หรือ Flow Control Element ชนิด flex-wedge ด้วยคำว่า “flex-wedge, gate Valve” ก็มันเป็นเช่นนั้นเอง….. รูปที่ 30 Flanged end, bolted-bonnet, outside-screw-and-yoke, flex-wedge, gate Valve 1.1. Body-Bonnet Joint รูปแบบการประกอบตัวเรือนวาล์ว (Body) เข้ากับ Bonnet ที่เรามักพบเห็นบ่อยมีอยู่ด้วยกัน 5 รูปแบบ ได้แก่ 1.1.1. แบบเกลียว (Screwed […]
Control Valve-14-วาล์วควบคุมกับระบบมาตรวัดปริมาตรของเหลว (CONTROL VALVES IN DYNAMIC MEASURING SYSTEMS) ตอนที่ 2
เนื่องจากวาล์วประกอบด้วยชิ้นส่วนกลไกที่ถูกออกแบบมาเพื่อควบคุมการไหลของของไหลหลากหลายชนิดตั้งแต่ของไหลสถานะเดียว (Single Phase) คือถ้าของไหลเป็นของเหลวก็เป็นของเหลวเท่านั้น ถ้าเป็นก๊าซก็ต้องเป็นก๊าซอย่างเดียว ต้องไม่มีการผสมกันของเหลวกับก๊าซ หรือก๊าซผสมกับของเหลว ของไหล 2 สถานะ (2-Phase) คือของไหลที่มีทั้งของเหลวและก๊าซส่วนจะเป็นสัดส่วนเท่าใด สัดส่วนผสมกันคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาก็สุดแล้วแต่ ยังรวมไปถึงของไหลที่มีอนุภาคของแข็งแขวนลอย เช่น ในกรณีอนุภาคของแข็งไหลร่วมอยู่ในของเหลวเราเรียก “Slurries” จนถึง 3 สถานะ (3-Phase) ภายใต้ความดันและอุณหภูมิที่แตกต่างกันในระบบท่อซึ่งถูกออกแบบเพื่อใช้งานที่แตกต่างกันไปในแต่ละกระบวนการนั้นๆ แต่ในงานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฏหมาย (Legal Metrology) เราพิจารณาเฉพาะของไหลสถานะเดียว (Single Phase) เท่านั้น ดังนั้นการทำงานของวาล์วในภาพรวมในระบบหนึ่งหรือกระบวนการหนึ่งที่มีอุณหภูมิและความดันที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั้นจึงมีหน้าที่หลักๆ ได้แก่ ก. เพื่อการหยุดหรือเริ่มการไหลในระบบท่อ ข. ควบคุมเปลี่ยนแปลงปริมาณการไหล (Throttling) ในระบบท่อ ค. ควบคุมทิศทางการไหลในระบบท่อ ง. ควบคุมแรงดันในระบบท่อสำหรับกระบวนการทำงานหนึ่งๆ จ. ระบบความดันของระบบท่อเมื่อสูงกว่าค่าที่ตั้งไว้ อันนี้อาจกำกวมและทำให้นึกโยงไปถึง Safety Relief Valve ด้วยการนำชิ้นส่วนที่เรียกว่า “ลิ้นวาล์ว” หรือ “Flow Control Element” ไปขวางทางช่องทางการไหล (Port) ภายในตัววาล์ว ด้วยเหตุนี้จากธรรมชาติการทำงานของลิ้นวาล์วจึงนำไปสู่การกำหนดชนิดของวาล์วและการควบคุมการทำงานนั้นเอง เช่นวาล์วชนิด Gate Valve, Glob Valve, Butterfly Valve, Ball Valve หรือ Check Valve เป็นต้น นอกจากวาล์วต้องทำหน้าที่หลักๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น วาล์วแต่ละชนิดยังต้องทำหน้าที่สำคัญอีก 2 อย่างคือ ประการแรก ต้องไม่มีการรั่วไหลออกไปภายนอกตัววาล์ว เช่น รั่วไหลผ่านก้านวาล์วหรือรอยต่อชิ้นส่วนของตัววาล์ว ประการที่สอง […]
Control Valve-13-วาล์วควบคุมกับระบบมาตรวัดปริมาตรของเหลว (CONTROL VALVES IN DYNAMIC MEASURING SYSTEMS) ตอนที่ 2
เนื่องจากวาล์วประกอบด้วยชิ้นส่วนกลไกที่ถูกออกแบบมาเพื่อควบคุมการไหลของของไหลหลากหลายชนิดตั้งแต่ของไหลสถานะเดียว (Single Phase) คือ ถ้าของไหลเป็นของเหลวก็เป็นของเหลวเท่านั้น ถ้าเป็นก๊าซก็ต้องเป็นก๊าซอย่างเดียว ต้องไม่มีการผสมกันของเหลวกับก๊าซ หรือก๊าซผสมกับของเหลว ซึ่งนับเป็นของไหล 2 สถานะ (2-Phase) สัดส่วนผสมกันจะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาก็สุดแล้วแต่ ยังรวมไปถึงของไหลที่มีอนุภาคของแข็งแขวนลอย เช่น ในกรณีอนุภาคของแข็งไหลร่วมอยู่ในของเหลวเราเรียก “Slurries” จนถึง 3 สถานะ (3-Phase) ภายใต้ความดันและอุณหภูมิที่แตกต่างกันในระบบท่อซึ่งถูกออกแบบเพื่อใช้งานที่แตกต่างกันไปในแต่ละกระบวนการนั้นๆ แต่ในบทความนี้ เราพิจารณาเฉพาะของไหลสถานะเดียว (Single Phase) ก่อนเท่านั้น ดังนั้นการทำงานของวาล์วในภาพรวมในระบบหนึ่งหรือกระบวนการหนึ่งที่มีอุณหภูมิและความดันที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั้นจึงมีหน้าที่หลักๆ ได้แก่ ก. เพื่อการหยุดหรือเริ่มการไหลในระบบท่อ ข. ควบคุมเปลี่ยนแปลงปริมาณการไหล (Throttling) ในระบบท่อ ค. ควบคุมทิศทางการไหลในระบบท่อ ง. ควบคุมแรงดันในระบบท่อสำหรับกระบวนการทำงานหนึ่งๆ จ. ระบบความปลอดภัยด้านความดันของระบบท่อเมื่อสูงกว่าค่าที่ตั้งไว้ (อันนี้ให้นึกโยงไปถึง Safety Relief Valve, Safety Valve) ฉ. ระบายสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากระบบ เช่น Y-Strainer, Steam Trap ด้วยการนำชิ้นส่วนที่เรียกว่า “ลิ้นวาล์ว” หรือ “Flow Control Element” ไปขวางทางช่องทางการไหล (Port) ภายในตัววาล์ว ด้วยเหตุนี้จากธรรมชาติการทำงานของลิ้นวาล์วจึงนำไปสู่การกำหนดชนิดของวาล์วและการควบคุมการทำงานนั้นเอง เช่น วาล์วที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงการจะเป็นชนิด Gate Valve, Globe Valve, Butterfly Valve, Ball Valve หรือ Check Valve เป็นต้น นอกจากวาล์วต้องทำหน้าที่หลักๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น […]
Control Valve-12-วาล์วควบคุมกับระบบมาตรวัดปริมาตรของเหลว (CONTROL VALVES IN DYNAMIC MEASURING SYSTEMS) ตอนที่ 1
วาล์วควบคุมกับระบบมาตรวัดปริมาตรของเหลว (Control Valves in Dynamic Measuring Systems) ตอนที่ 1 บททั่วไป ในกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพื่อทำการผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดนั้น อาจประกอบด้วยจำนวนกระบวนการผลิตขั้นตอนย่อยๆ ตั้งแต่หลักหน่วยจนถึงหลักพัน ซึ่งในแต่กระบวนการผลิตขั้นตอนย่อยๆ ดังกล่าวจะถูกออกแบบเพื่อควบคุมปัจจัยในกระบวนการผลิตที่สำคัญๆ เช่น อุณหภูมิ ความดัน อัตราการไหล ระดับความสูงของเหลวภายในถังเก็บ เป็นต้น เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการผลิตย่อยๆในแต่ละวงจรนั้นๆ ได้ทำการควบคุมปัจจัยในกระบวนการผลิตนั้นๆ และเมื่อสิ้นสุดกระบวนการผลิตๆย่อยแต่ละกระบวนการรวมกันแล้วจะให้ผลผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ วาล์วควบคุมหรือ Control Valve จึงเป็นอุปกรณ์หนึ่งในหลายอุปกรณ์ในกระบวนการควบคุมกระบวนการผลิตที่เป็นที่รู้จักกันมากชิ้นหนึ่ง วาล์วควบคุมมีหน้าที่จัดการการไหลของไหล (ของเหลว + ก๊าซ) ภายในกระบวนการผลิต เช่น ไอน้ำ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น เพื่อปรับ รักษาและชดเชยภาระงานของกระบวนการผลิตนั้นๆ อีกทั้งช่วยรักษาระดับค่าตัวแปรที่สำคัญและมีผลต่อกระบวนการผลิตในระบบควบคุมให้มีค่าตัวแปรในกระบวนการผลิตใกล้เคียงกับค่าที่ต้องการ (set point) ซึ่ง วาล์วควบคุมหรือ Control Valve หมายถึง อุปกรณ์ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยกำลังจากภายนอกเพื่อปรับเปลี่ยนอัตราการไหลของของไหลในระบบการควบคุมกระบวนการทำงานหนึ่ง วาล์วควบคุมจึงประกอบด้วย ตัววาล์วและอุปกรณ์เชื่อมต่อก้านลิ้นวาล์วกับกลไกการกระตุ้น (Actuator Mechanism) สามารถเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของชิ้นส่วนควบคุมการไหล (flow controlling element) ภายในตัววาล์วหรือตำแหน่งของลิ้นวาล์วตามสัญญาณที่ได้รับจากระบบควบคุม (Controlling System) โดยไม่รวมถึง Regulator, Relief valve และ Hand Valve ดังนั้นวาล์วควบคุมจึงประกอบ 3 […]
Control Valve-11-ทำความรู้จักกับ Control Valve
Control Valve คืออะไร ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ นั้นประกอบไปด้วย Control Loop ต่างๆมากมาย ตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพันลูป ซึ่งแต่ละลูปก็จะทำงานด้วยกัน เพื่อที่จะผลิตสินค้าได้ตามต้องการ ในแต่ละลูปเหล่านี้ ก็จะรักษาค่าตัวแปรที่สำคัญต่างๆ ไว้ เช่น แรงดัน(pressure), อัตราการไหล(flow), ระดับ(level), อุณหภูมิ(temperature) และอื่นๆ อีกมากมาย โดยแต่ละ Control Loop จะรับสัญญาณ จากภายนอกและสร้างสัญญาณรบกวนจากตัวอุปกรณ์เอง หรือรับสัญญาณรบกวนมาจากลูปอื่นๆ ก็มี การลดผลกระทบจากสัญญาณรบกวนที่มาจากโหลดเหล่านี้ ทั้งเซนเซอร์ และ ทรานสมิตเตอร์ จะคอยรวมรวมข้อมูลต่างๆ และส่งสัญญาณไปให้ตัวควบคุม (controller) เพื่อที่ตัวควบคุมจะได้เปรียบเทียบกับค่าที่ตั้งไว้(set point) หลังจากนั้นตัวควบคุมก็จะส่งสัญญาณไปควบคุม Final Control Element เป็นขึั้นตอนสุดท้าย เพื่อที่จะรักษาสภาพค่าที่ตั้งไว้(set point) ให้คงที่แม้ว่าจะมีสัญญาณรบกวนเข้ามา อุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่ใช้เป็น Final Control Element ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นก็คือ วาล์วควบคุม หรือ Control Valve นั่นเอง […]
Control Valve-10-หัวขับวาล์ว (Valve Actuator)
หัวขับวาล์ว (Valve Actuator) หรือเรียกอีกชื่อนึงว่า หัวขับ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมให้สามารถหมุนเปิดปิดวาล์วได้อย่างอัตโนมัติ โดยอาศัยการควบคุมจากสัญญาณไฟฟ้า หัวขับวาล์วจึงกลายเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ใช้ในการควบคุมการเปิด-ปิดวาล์ว ของอุตสาหกรรมต่างๆอย่างแพร่หลาย การใช้หัวขับวาว์ลในการควบคุม มีสาเหตุต่างๆ ดังนี้ วาล์วที่มีขนาดใหญ่ เกินกว่าที่กำลังคนจะสามารถเปิด-ปิดได้ วาล์วที่ต้องมีการกำหนดเวลาในการเปิด-ปิดบ่อยครั้ง อย่างสม่ำเสมอ วาล์วที่ต้องการให้มีการเปิดปิดในช่วงเวลาที่ไม่สะดวกที่จะใช้กำลังคน วาล์วที่มีสถานที่ติดตั้งอยู่ห่างไกลหรือสถานที่ที่ไม่สามารถใช้กำลังคนเข้าไปควบคุมการเปิดปิดวาล์วได้อย่างสะดวก วาล์วที่ติดตั้งภายในโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการออกแบบให้ทำงานสอดคล้องกันเป็นระบบ ฯลฯ หัวขับวาล์ว (Valve Actuator) ยังสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 1.หัวขับวาล์วแบบใช้มือ เปิด-ปิด (Manual Actuator) เป็นหัวขับที่มีก้านหรือพวงมาลัยต่อเข้ากับวาล์วเพื่อให้ควบคุมการเปิดปิดวาล์วด้วยมือโดยใช้แรงน้อยกว่าการเปิดปิดกับตัววาล์วโดยตรง เหมาะสำหรับวาล์วที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก และไม่ต้องการใช้ความรวดเร็วในการเปิดปิดวาล์ว 2.หัวขับวาล์วลม/หัวขับวาล์วอากาศ/หัวขับลม (Pneumatic Actuator) เป็นหัวขับวาล์วที่ใช้แรงดันอากาศเป็นแรงขับเคลื่อนกลไกในการเปิดปิดของวาล์ว เหมาะที่จะใช้กับชนิดของวาล์วที่มีองศาการเปิด-ปิด 0-90 องศา หรือ Quarter –Turn วาล์ว หัวขับวาล์วลม/หัวขับวาล์วอากาศ (Pneumatic Actuator)นี้ อาจมีการติดตั้งสปริงร่วมด้วย และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของแรงดันอากาศ หัวขับวาล์วลม/หัวขับวาล์วอากาศ […]
Control Valve-09-ค่า Safety Factor สําหรับหัวขับ
ค่า Safety Factor สำหรับหัวขับ ค่า Safety Factor ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆสำหรับคนที่ไม่ได้เรียนหรือมีประสบการณ์ทางด้านวิศวกรรมก็คงต้องพูดว่า Safety factor คือ “ค่าความปลอดภัย” เวลาคำนวณให้คิดว่าที่หนักที่สุด เช่น ถ้าออกแบบระบบความเย็นในห้างก็ต้องอิงจากวันที่ร้อนที่สุดในหน้าร้อนและคนเยอะที่สุดซึ่งหากลองรับวันนั้นได้วันอื่นๆก็สบายใจแล้ว ซึ่งมีไว้ป้องกันกรณีที่วิศวกรออกแบบอะไรก็ตามจะต้องคำนวณเผื่อจากค่าที่พอดีเพิ่มมาอีกที (น่าจะ 15-20%) Actuator Fail Type Actuator Fail คือ สถานะที่หัวขับกระทำกับวาล์วขณะที่ทุกอย่างหยุดนิ่งคือ ไม่มีลมป้อนที่หัวขับแบ่งออกเป็น Single Acting Air Supply = NO Fail Close = วาล์ว-ปิด Single Acting Air Supply = NO Fail Open = วาล์ว-เปิด ค่าที่ควรรู้สำหรับการเลือกรุ่นหัวขับ สิ่งที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อให้เลือกหัวขับได้ถูกต้อง 1. Application (Media) […]
Control Valve-08-ค่า Difference Pressure
ค่า Difference Pressure ของ Butterfly Valve ค่าความดันดิฟเฟอเรนเชียล (Differential Pressure) เป็นการบอกค่าความแตกต่างของความดันระหว่างจุด 2 จุดความดันดิฟเฟอเรนเชียลจะมีค่าเป็นศูนย์ที่ความดันทั้ง 2 จุดที่วัดมีค่าเท่ากัน ค่าความดันแตกต่างจะมีตัวย่อต่อท้ายว่า “d “หรือ “D” เช่น Psid เป็นต้น บางครั้งอาจเรียกว่า delta P (ΔP) ในการเลือกหัวขับสำหรับ Butterfly Valve ค่า Difference Pressure มีผลต้องการเปิด-ปิดของวาล์วดังนั้น ก่อนที่จะทำการเลือก หัวขับต้องรู้ค่า Working Pressure ของวาล์วด้วย
Control Valve-07-Torque (แรงบิด)
แรงบิด (TORQUE) คืออะไร ทอร์กคือแรงที่พยายามจะหมุนมวล คุณสามารถสร้างทอร์กได้ด้วยตนเองโดยการใช้ประแจขันน๊อต แรงที่กระทํากับ ด้ามจับ คือทอร์กที่พยายามหมุนน๊อตให้แน่น แรงบิดคืออะไร (Torque) – แรงบิดคือ แรงบิดตัวของแกนหมุนใดๆ มีหน่วยวัดที่นิยม 3แบบ -ฟุต-ปอนด์ : โดยตัวเลขที่บอกจะเป็นความยาวของรัศมีการหมุนที่มีแรงผลัก 1 ปอนด์ -นิวตัน-เมตร : โดยตัวเลขที่บอกจะเป็นแรงผลักในหน่วย นิวตัน ที่มี รัศมีการหมุน 1 เมตร -กิโลกรัม-เมตร : โดยตัวเลขที่บอกจะเป็นแรงผลักในหน่วย กิโลกรัม ที่รัศมีการหมุน 1เมตร หน่วยอังกฤษของทอร์กคือ ปอนด์ – นิ้ว หรือ ปอนด์ – ฟุต หน่วย SI คือ นิวตัน – เมตร หน่วยของทอร์กเกิดจากแรงคูณด้วยระยะทาง ถ้าคุณจะหาทอร์ก คุณจะต้องคูณแรงที่กระทำกับระยะทางที่วัดห่างจากจุดหมุนในแนวตั้งฉาก ในกรณีของการขันน๊อต ถ้าประแจมีด้ามยาว 1 ฟุต […]
Control Valve-06-วาล์วที่ใช้ติดหัวขับ (Valve Actuator)
วาล์วหัวขับ (Valve Actuator) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้วาล์ว มีคุณสมบัติที่หลากหลาย เช่น ควบคุมวาล์วได้จากระยะไกล, ให้วาล์วทำงานได้แม้เป็นช่วงที่ไม่สะดวกใช้คน เป็นต้น โดยหัวขับมีทั้งแบบลม(Pneumatic)และแบบไฟฟ้า(Electric) เป็นสินค้าที่นิยมในสายการผลิต
Control Valve-05-Mounting Pad สําหรับ Ball valve และ Butterfly Valve และการติดตั้งหัวขับเข้ากับวาล์ว
Mounting Pad สําหรับ Ball valve และ Butterfly Valve Mounting Pad คือ ตำแหน่งจุดเชื่อมต่อสำหรับติดตั้งหัวขับ ซึ่งจะมีค่ามาตรฐาน SIO 5211 แต่วาล์วบางประเภทก็จะไม่มี มาตรฐาน ISO 5211 ซึ่งเราสามารถแปลงให้ใส่กับหัวขับได้ โดยเราจะมีชุดอุปกรณ์แปลง Mounting Pad 1. Mounting pad Ball Valve สำหรับวาล์วประเภท Ball valve ได้ออกแบบ Mounting pad สำหรับติดหัวขับ ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ 2. Mounting pad butterfly Valve วาล์วเกือบทุกยี่ห้อในท้องตลาด มี Mounting Pad เป็นแบบ ISO5211 ทั้งหมดและมี Stem Shaft ให้เลือก 2 แบบคือ Square Shaft […]
Control Valve-04-Mounting and Accessory for Actuator
Mounting and Accessory for Actuator ความสามารถการติดตั้งอุปกรณ์เสริมสำหรับวาล์วติดหัวขับตามตารางด้านล่าง Mounting Key&Bushing ในการประกอบวาล์วติดกับหัวขับนั้น ถ้าหากฐานวาล์วกับหัวขับมีมาตราฐานตรงกันก็สามารถขันน๊อตต่อเข้ากันได้เลย หากไม่ใช่มาตรฐานเดียวกันจำเป็นต้องใช้กล่องแปลง (Key) และ Bushing (บางที่เรียกว่า Adapter) หรือ Star Adapter
Control Valve-03-ISO5211 Mounting Dimension
มาตรฐาน หัวขับ ISO 5211 Mounting และ Dimension ISO 5211 คือมันอะไร มีประโยชน์อย่างไร และมันเป็นแบบไหน? ISO 5211 เป็นมาตรฐานยุโรปที่ระบุข้อกำหนดสำหรับการติดตั้งหัวขับ Part-Turn ทั้งแบบมีหรือไม่มีเกียร์ไปยังวาล์ว มาตรฐานInterfacระหว่างหัวขับ, วาล์ว, โซลินอยด์และ Positioner ซึ่งในมาตณฐานนี้ได้กำหนดระยะการติดตั้งวาล์วและหัวขับเอาไว้ด้วย (ตามรูปตัวอย่างและตารางด้านล่าง) มาตรฐานการติดตั้งนี้ให้ประโยชน์มากมายเช่น วาล์วประกอบมีการติดตั้งได้หลากหลายทั้งด้านการใช้งาน และเงื่อนไขนี้ส่งผลให้มีการออกแบบที่กำหนดเองขึ้นมามากมาย การทำความเข้าใจความเกี่ยวเนื่องระหว่างส่วนประกอบเหล่านี้จึงมีความสำคัญ ต่อทั้งอายุการใช้งานของอุปกรณ์,ความปลอดภัยและประสิทธิภาพการทำงานของวาล์ว มาตรฐานการติดตั้งนี้ ไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุนสินค้า ทั้งยังช่วยให้การบำรุงรักษา หรือซ่อมแซมเร็วขึ้น และช่วยให้สามารถเปลี่ยนยี่ห้อหรือหายี่ห้อทดแทนได้ เพราะแต่ละส่วนจะถูกปรับโดยมาตรฐานเดียวกัน
Control Valve-02-วขับวาล์วสำคัญอย่างไร??? ทำไมต้องรู้จัก มาศึกษาไปพร้อมกันเลย
#valve #Valve Actuator #Pneumatic Actuator #Electric Actuator #Hydraulic Actuator #Spring-based Actuator #Double Acting pneumatic actuator #Single Acting pneumatic actuator #หัวขับวาล์ว #หัวขับวาล์วแบบใช้มือเปิด-ปิด #หัวขับลม #หัวขับวาล์วแบบไฟฟ้า #หัวขับวาล์วไฮโดดรอลิค #หัวขับวาล์วแบบสปริง
Control Valve-01-ทำไมต้องใช้ วาล์วติดหัวขับ (Valve Actuator) ?
วาล์วติดหัวขับ (Valve Actuator) หรือเรียกอีกชื่อว่า หัวขับวาล์ว โดยทั่วไปแล้วหัวขับวาล์วจะมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ 1.หัวขับวาล์วแบบไฟฟ้า (Electric Actuator) 2.หัวขับวาล์วแบบลม (Pneumatic Actuatot)