ไฟฟ้า-สัญญาณ 4-20mA

  เนื่องจากระบบควบคุมในอุตสาหกรรมประกอบด้วย อุปกรณ์ควบคุมหลายชนิดต่อพ่วงกัน เป็นระบบ และอุปกรณ์เหล่านี้จำเป็นต้องมีการส่งและรับสัญญาณวัดแบบ Analog ระหว่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานสัญญาณวัดแบบ Analog ให้เป็นสากล เพื่อที่บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ควบคุม จะได้ยึดถือเป็นมาตรฐานในการออกแบบอุปกรณ์ของตน ให้สามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์อื่นๆได้ สัญญาณมาตรฐานมี 2 ชนิดคือ 1. สัญญาณกระแสไฟฟ้ามาตรฐาน เป็นการส่งสัญญาณในรูปของกระแสตรง (DC. Current) มาตรฐานที่นิยมใช้คือ 4-20 mAหมายความว่า เมื่อค่าวัดเป็น 0% เท่ากับกระแส 4 mA และค่าวัดเป็น 100 % เท่ากับกระแส 20 mA และค่าวัดซึ่งอยู่ในช่วง 0-100 % จะสัมพันธ์เป็นเชิงเส้นกับกระแส 4-20 mA         2. สัญญาณแรงดันไฟฟ้ามาตรฐาน เป็นการส่งสัญญาณในรูปของแรงดันไฟฟ้า (DC Voltage) มาตรฐานที่นิยมใช้คือ 1-5 Vdc หมายความว่า เมื่อค่าวัดเป็น 0% เท่ากับ แรงดัน 1 V และค่าวัด เป็น […]

ไฟฟ้า-ระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม

โรงงานอุตสาหกรรมแต่ละประเภท แต่ละขนาด จะมีการออกแบบระบบไฟฟ้าแตกต่างกันไป แม้แต่โรงงานประเภทเดียวกันก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีระบบไฟฟ้าเหมือนกัน ปัจจัยต่างๆที่นำมาพิจารณาดังนี้ ขนาดของโรงงาน, กำลังไฟฟ้าที่ต้องใช้ ลักษณะหรือกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม ประเภทของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในโรงงาน ปัจจัย ทุน/ ความเสี่ยงในการหยุดการผลิต ขนาดของโรงงาน การไฟฟ้าทั้งสามคือ กฟผ., กฟน. และ กฟภ. ได้นิยามขนาดของโรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจพาณิชยกรรมตามปริมาณกำลังไฟฟ้าที่ขอใช้ดังนี้ โรงงาน / ธุรกิจขนาดเล็ก ความต้องการพลังไฟฟ้าไม่เกิน 30 KVA. โรงงาน / ธุรกิจขนาดกลาง ความต้องการพลังไฟฟ้า สูงสุด 30-1999 KVA. โรงงาน / ธุรกิจขนาดใหญ่ ความต้องการพลังไฟฟ้าตั้งแต่ 2 MVA. กระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมบางประเภทมีกระบวนการผลิตที่ต่อเนื่อง continuous flow เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรม petro chem เป็นต้น คุณภาพของไฟฟ้ามีผลกระทบต่อผลผลิตของโรงงานสูง การออกแบบระบบไฟฟ้าของโรงงานต้องคำนึงถึง reliability มาก บางอุตสาหกรรมการใช้ไฟฟ้ามีลักษณะกระชากเป็นช่วง ๆ เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก […]

ไฟฟ้า-มาตรฐานสัญญาณไฟฟ้า(ย้ายแล้ว

2.8 มาตรฐานสัญญาณไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า (Voltage) หน่วย V (Volt) กระแสสลับ = 220 VAC , 110 VAC , 24 VAC ,12 VAC กระแสตรง = 5 VDC , 12 VDC , 24 VDC , 36 VDC , 48 VDC Supply จ่ายพลังงาน   กระแสตรง = 0-10 VDC  , 0-5VDC Signal ได้ทั้ง Input และ Output (กระแสสลับ = ไม่มีใช้เป็น Signal) กระแสไฟ (Current) […]

ไฟฟ้า-ทําไมสัญญาณกระแสไฟ 4-20 mA จึงถูกใช้แทนสัญญาณแรงดันไฟฟ้า

ทําไมสัญญาณกระแสไฟ 4-20 mA จึงถูกใช้แทนสัญญาณแรงดันไฟฟ้า สัญญาณแรงดันไฟฟ้า  สัญญาณไฟฟ้าสามารถส่งสัญญาณได้สองวิธี   สัญญาณปัจจุบันและ สัญญาณแรงดันไฟฟ้า สัญญาณแรงดันไฟฟ้าเมื่อส่งผ่านทางไกลจะทําให้แรงดันไฟฟ้าลดลงในสายไฟ  อาจมีความแตกต่างแรงดันไฟฟ้าขนาดใหญ่ระหว่างปลายส่งและปลายรับ สิ่งนี้นําไปสู่ข้อผิดพลาดในการวัดเนื่องจากกระบวนการอ่านตัวแปรของเราอยู่ในรูปแบบแรงดันไฟฟ้า  ดังนั้นโดยทั่วไปสัญญาณแรงดันไฟฟ้าจะไม่ใช้เนื่องจากข้อผิดพลาดในการวัดมากขึ้น   สัญญาณปัจจุบัน ในทางกลับกันสัญญาณปัจจุบันไม่ได้รับผลกระทบจากแรงดันไฟฟ้าตกในสายลูป ความแม่นยําในการวัดของการส่งสัญญาณปัจจุบันนั้นดีกว่าสัญญาณส่ง สัญญาณแรงดันไฟฟ้า  เครื่องส่งสัญญาณที่ผลิตเพื่อระบบอัตโนมัติสามารถส่งออกสัญญาณ 0-20mA หรือ 4-20 mA ต้องการสัญญาณ 4-20 mA มากกว่า 0-20 สัญญาณ mA เนื่องจากสามารถตรวจจับสายที่เสียได้อย่างง่ายดายด้วยการใช้สัญญาณ 4-20 mA  หากสังเกตกระแสไฟฟ้าเป็นศูนย์ในเครื่องส่งสัญญาณ 4-20 mA เครื่องส่งสัญญาณจะส่งสัญญาณข้อผิดพลาด สัญญาณปัจจุบันสามารถส่งสัญญาณได้โดยไม่ผิดพลาดไปยังระยะทาง 1,000 เมตร   ทําไมต้องใช้สัญญาณกระแสไฟ 4-20 mA เครื่องส่งสัญญาณโดยทั่วไปจะขับเคลื่อนแบบวนรอบด้วยแหล่งจ่ายไฟ 24 โวลต์ เครื่องส่งสัญญาณที่มีการจัดเรียงนี้เรียกว่าเครื่องส่งสัญญาณ 2 สาย สัญญาณกระบวนการสามารถวัดได้โดยการเชื่อมต่อแอมป์มิเตอร์ในซีรีส์กับแหล่งจ่าย 24 โวลต์ การตอบสนองของสัญญาณปัจจุบันเป็นเส้นตรงมากกว่าการตอบสนองของสัญญาณแรงดันไฟฟ้าและดังนั้นสัญญาณปัจจุบันเป็นที่ต้องการมากกว่าสัญญาณแรงดันไฟฟ้า เป็นที่ปรารถนาว่าสัญญาณจะต้องทําซ้ําที่ระบบควบคุมสิ้นสุดสิ่งที่ผลิตที่ปลายเครื่องส่งสัญญาณเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายอ่านและแสดงค่าเดียวกัน  […]

ไฟฟ้า-Circuit Breaker

  Circuit Breaker เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ในการตัดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเมื่อเกิดความผิดปกติในระบบ เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสายไฟ และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ทั้งภายในบ้าน อารคาร หรือ โรงงานอุตสาหกรรม เช่น ไฟฟ้ารัดวงจรทำให้เกิดไฟไหม้ , กระแสไฟฟ้าโหลดเกิน             เบรกเกอร์สามารถแบ่งตามขนาดเป็น 3 ประเภท 1.1 MCB : Miniature Circuit Breaker (เบรกเกอร์ลูกย่อย) มีค่ากระแสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 A ส่วนใหญ่ใช้ภายในบ้านพักอาศัย ติดตั้งภายในตู้ Consumer หรือตู้ Load Center     1.2 เบรกเกอร์ MCCB (Molded Case Circuit Breaker) เป็นเบรกเกอร์ชนิดหนึ่งที่เป็นทั้งสวิตช์เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า และเปิดวงจรเมื่อมีกระแสเกินหรือไฟลัดวงจร เบรกเกอร์ชนิดนี้ใช้กับกระแสไฟตั้งแต่ 100 – 2,300 A […]

ไฟฟ้า-Button , Lamp , Selector

Push Button Switch สวิตซ์ปุ่มกด เป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ตัดและ ต่อวงจรทางไฟฟ้า และใช้ในการควบคุมการทำงานของมอเตอร์ หรือการทำงานของเครื่องจักรต่างๆ เป็นเหมือนอุปกรณ์พื้นฐาน ใช้ได้กับอุตสาหกรรมทั่วไป มีหลายสีให้เลือกใช้ และจะมีหน้าสัมผัส 2 แบบ คือ nc กับ no ดังรูป Push button Switch สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ – แบบกดติดปล่อยดับแบบกดติดปล่อยดับ หรือ ที่เรียกว่าแบบสปริงรีเทิร์น เป็นประเภทที่นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจากมีฟังก์ชันการทำงานที่ไม่ยุ่งยาก นิยมใช้กับ ตู้ MDB ตู้ DB และ ตู้ control เครื่องจักร เป็นต้น            หลักการทำงานแบบ กดติดปล่อยดับ เมื่อมีการกด Push button Switch หน้าสัมผัสดังกล่าวจะเปลี่ยนสถานะ จาก NO เป็น […]

แก้ปัญหา-วิธีการหาท่อน้ำรั่วในบ้าน ควรเริ่มต้นจากจุดไหน ?

“บ่อยครั้งที่ต้องจ่ายค่าน้ำเกินจริง ทั้งๆที่ใช้น้ำในปริมาณเท่าเดิม” ถือเป็นปัญหาสำคัญ ที่ค่อนข้างถูกมองข้าม เนื่องจากผู้ที่เข้ามาอยู่อาศัยมักมองว่า ท่อน้ำแค่สามารถจ่ายน้ำได้ก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว ซึ่งกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นเรื่องสำคัญ ก็ต้องสูญเสียค่าน้ำเพิ่มขึ้นไปเยอะกว่าเดิมมาก ซึ่งท่อน้ำเหล่านี้ ถ้าไม่ได้มีการจ่ายน้ำที่มีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม(เช่นเบาลง หรือไม่ไหล) ก็จะไม่เห็นค่าในการดูแลรักษา ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำ “วิธีการหาท่อน้ำรั่วภายในบ้าน” ควรเริ่มจากจุดไหน ?     ท่องอใต้ดินที่ตั้งมาตร                                                                          […]

เครื่องจักร-ประเภทของปั๊มและการใช้งาน

ประเภทของปั๊มและการใช้งาน: – ปั๊มเป็นอุปกรณ์เชิงกลที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายของเหลวหรือของเหลวจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยการเพิ่มพลังงานกลของของเหลวหรือสารละลาย เนื่องจากพลังงานถูกส่งไปยังปั๊มเพื่อให้ปั๊มทำงานได้จึงเรียกว่าอุปกรณ์ดูดซับพลังงาน พวกเขาเพิ่มพลังงานให้กับของเหลวและในกระบวนการนี้จะกดดันของเหลว เครื่องสูบน้ำแบ่งออกเป็นสองประเภท ปั๊มดิสเพลสเมนต์บวกและปั๊มไดนามิก ในปั๊มแทนที่เชิงบวกของเหลวจะถูกส่งไปยังปริมาตรปิดและขอบเขตของปริมาตรปิดจะเคลื่อนที่ในลักษณะที่พวกมันขยายตัวหรือหดตัวเพื่อรับและระบายของเหลว ในปั๊มแบบไดนามิกไม่มีปริมาตรปิด แต่มีใบพัดหมุนที่เรียกว่าใบพัดใบพัดซึ่งป้อนพลังงานในของเหลว Positive Displacement Pumps ปั๊มแทนที่เชิงบวกส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นสองชั้น; ปั๊มลูกสูบบวกแบบหมุนและลูกสูบ A.ปั๊มเคลื่อนแบบหมุน คุณสมบัติที่กำหนดของปั๊มเหล่านี้คือมีกลไกการหมุน กลไกการหมุนนี้จะสร้างสูญญากาศและขับเคลื่อนของเหลวภายในปั๊ม สามารถจัดการของเหลวที่มีความหนืดสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปั๊มเคลื่อนแบบหมุนบางประเภท ได้แก่ ปั๊มใบพัดหมุนปั๊มสกรูและปั๊มเฟือง   ปั๊มใบพัดหมุน ปั๊มเหล่านี้ประกอบด้วยใบพัดที่ติดตั้งอยู่บนโรเตอร์ โรเตอร์วางอยู่ในโพรงที่หมุนเพื่อดึงของเหลว ใบพัดเหล่านี้อาจมีความยาวผันแปรได้และใบพัดอาจติดตั้งในลักษณะที่สัมผัสกับผนังของปลอกปั๊ม   ปั๊มสกรู   ปั๊มเหล่านี้ใช้สกรูเพื่อเคลื่อนย้ายของเหลว สามารถใช้สกรูตัวเดียวที่หมุนและของเหลวจะเคลื่อนไปตามแนวแกนตามสกรู นอกจากนี้ยังสามารถใช้สกรูคู่ได้ในกรณีที่หากสกรูตัวหนึ่งหมุนตามเข็มนาฬิกาอีกตัวหนึ่งจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา ข้อดีในการใช้ปั๊มดังกล่าวเพื่อขับเคลื่อนของเหลวที่มีความหนืดคือการก่อตัวของโฟมจะไม่เกิดขึ้น   ปั๊มเกียร์ ประกอบด้วยสองเกียร์ เฟืองมีระยะห่างที่แน่นมากหมายความว่าช่องว่างระหว่างเฟืองและปลอกปั๊มอยู่ในหน่วยไมโครเมตร ช่องว่างที่แน่นนี้จะป้องกันการไหลย้อนกลับของน้ำ เมื่อเกียร์หมุนสูญญากาศจะถูกสร้างขึ้นที่อินพุตของปั๊มซึ่งขับเคลื่อนของเหลวภายในปั้ม B.ปั๊มแทนที่ลูกสูบบวก คุณสมบัติที่กำหนดของปั๊มแบบลูกสูบคือมีส่วนประกอบที่สั่นซึ่งทำให้ของเหลวเคลื่อนที่ผ่านปั๊ม ส่วนประกอบการสั่นอาจเป็นประเภทลูกสูบลูกสูบหรือไดอะแฟรม ปั๊มที่สอดคล้องกับส่วนประกอบเรียกว่าปั๊มลูกสูบปั๊มลูกสูบและปั๊มไดอะแฟรม   ปั๊มลูกสูบและกระบอกสูบ ในปั๊มลูกสูบเรามีลูกสูบที่เลื่อนขึ้นและลงเพื่อเคลื่อนย้ายของเหลว ซีลแรงดันสูงอยู่นิ่ง ในปั๊มลูกสูบลูกสูบมีหน้าที่ในการขับเคลื่อนของเหลวซีลแรงดันสูงจะตอบสนองกับลูกสูบ   ปั๊มไดอะแฟรม ปั๊มไดอะแฟรมประกอบด้วยเมมเบรนแบบสั่น ไดอะแฟรมทั้งสองข้างมีวาล์วตรวจสอบ เมื่อไดอะแฟรมเคลื่อนที่ไปด้านใดด้านหนึ่งความดันจะลดลงที่อีกด้านหนึ่งและดึงออกมาเป็นของเหลว       2.ปั๊มแบบไดนามิก ปั๊มแบบไดนามิกเป็นประเภทของปั๊มที่เพิ่มความเร็วของของเหลวเมื่อของเหลวถูกขับเคลื่อนภายในปั๊ม แต่เมื่อปั๊มถึงทางออกพลังงานจลน์ที่เพิ่มขึ้นนี้จะแปลงเป็นพลังงานศักย์ ในกรณีนี้หมายถึงความดันที่เพิ่มขึ้น ประเภทของปั๊มแบบไดนามิก ได้แก่ ปั๊มหอยโข่งปั๊มไหลตามแนวแกนและปั๊มไหลแบบผสม A. […]

อุปกรณ์-ไขข้อข้องใจการออกแบบและเลือกใช้งานเฟืองส่งกำลัง !!??

สวัสดีเพื่อนๆทุกคนครับ วันนี้ทางปาโก้เอ็นจิเนียริ่งจะพาเพื่อนๆมาทบทวนความรู้เกี่ยวกับเรื่องของเฟืองกันอีกแล้วว แต่ในวันนี้เราจะว่ากันด้วยเรื่องของการออกแบบของเฟืองและฟันเฟือง การหาค่าโมดุล (Module) ของฟันเฟือง และการเลือกใช้งานของเฟืองส่งกำลังกันครับผมมม เข้ามาหาข้อมูลเพิ่มเติม ความรู้ไว้ศึกษากันได้เลยครับบบ 😀 😀 การออกแบบและเลือกใช้งานเฟือง รูปร่างและสัดส่วนต่างๆที่สำคัญของเฟือง ∅da = วงกลมยอดฟัน ∅d = วงกลมพิต ∅df = วงกลมโคนฟัน P = ระยะพิต ha = ความลึกยอดฟัน hf = ความลึกโคนฟัน h = ความลึกฟันทั้งหมด b = ความหนาฟันเฟือง a = ระยะห่างศูนย์กลางเฟือง วิธีการบอกขนาดฟันเฟือง ระบบอังกฤษ บอกเป็นไดมิทรัลพิต (diametral pitch) DP เป็นค่าอัตราส่วนระหว่างจำนวนฟันเฟืองต่อขนาดความโตวงกลมพิต โดยหาค่าได้จากสูตร DP = N/PD DP = Diametral pitch […]

อุปกรณ์-เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ (Vernier Calipers)

คาลิเปอร์ (Caliper) หรือก้ามปู เป็นเครื่องมือวัดสำหรับใช้วัดความกว้างระหว่างสองด้านของวัตถุ เช่น ความหนาของแผ่นเหล็ก ความกว้างของนอตสกรู ฯลฯ ในอดีตพัฒนามาจากคีมที่มีด้านหนึ่งสำหรับหนีบวัตถุ อีกด้านเป็นมาตรวัด คาลิเปอร์มีใช้มากในวงการออกแบบวิศวกรรมตลอดจนการวัดอย่างอื่น คาลิเปอร์มีได้หลายรูปแบบตามหลักการทำงานและการนำไปใช้งาน เช่น แวร์นีเยคาลิปเปอร์ (หรือ เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์) ไมโครมิเตอร์ คาลิเปอร์แบบเข็ม คาลิเปอร์แบบดิจิตอล ฯลฯ คาลิเปอร์สมัยแรก ๆ ถูกค้นพบในซากเรือกรีกโบราณ ใกล้เกาะจิลิโอ (Giglio) นอกฝั่งประเทศอิตาลี ซึ่งมีอายุราว 1 ศตวรรษก่อนพุทธศักราช คาลิเปอร์สมัยนั้นเป็นเพียงคีมทำด้วยไม้ธรรมดาเท่านั้น ต่อมาคาลิเปอร์ได้แพร่หลายไปยังชาวโรมัน ในฐานะเครื่องมือเพื่อความสะดวกในการวัดอีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 552 สมัยราชวงศ์ซิน ชาวจีนโบราณได้คิดค้นคาลิเปอร์ทำด้วยสำริดขึ้น บนคาลิเปอร์ดังกล่าวจารึกว่า ทำขึ้นในวันกุ้ยอิ้ว ซึ่งเป็นวันแรมหนึ่งค่ำ เดือนเจียงปีที่หนึ่ง ยุคสื่อเจี้ยนกั๋ว คาลิเปอร์ที่ชาวจีนสร้างนี้เป็นต้นแบบของคาลิเปอร์ที่ใช้ในปัจจุบัน เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ บางคนอาจเรียก เวอร์เนียร์ หรือ คาลลิปเปอร์  ซึ่งทั้งหมดนี้คืออันเดียวกัน ซึ่งเวอร์เนียร์คาลลิปเปอร์ เป็นเครื่องมือวัด ที่ถูกเลือกใช้อย่างเเพร่หลายในกาารวัดความยาว หรือวัดขนาดของชิ้นงาน  เพราะภายในเวอรเนียร์สามารถวัดได้ทั้งความยาว ความกว้าง หรือ ความลึกของชิ้นงาน  โดยเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์มักนิยมใช้กับงานหลากหลายประเภทเช่น การวัดความหนาของเเผ่นเหล็ก การวัดความกว้างของน๊อตสกรู การวัดความลึกของรู ฯลฯ […]

อุปกรณ์-เฟือง (Gear) มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีการทำงานอย่างไร

เฟือง (Gear) อุตสาหกรรม เป็นเครื่องกลที่ทำงานโดยการหมุน ใช้ในการส่งกำลังในระยะสั้น ใช้สำหรับการส่งกำลังในลักษณะของแรงบิด (Torque) โดยการหมุนของตัวเฟืองที่มีฟันอยู่ในแนวรัศมี โดยการส่งกำลังจะสามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีฟันเฟืองตั้งแต่สองตัวขึ้นไป เป็นอุปกรณ์ที่มีความแข็งแรงสูงและมีความปลอดภัย เฟือง (Gear) อุตสาหกรรม แบ่งได้ 8 ประเภท 1. เฟืองตรง (Spur Gears) เฟืองตรง (Spur Gears) เป็นเฟืองที่มีใช้งานกันมากที่สุดในบรรดาเฟืองชนิดต่าง ๆ เป็นเฟืองที่มีฟันขนานกับแกนหมุนและใช้ในการส่งกำลังการหมุนจากเพลาหนึ่งไปยังอีกเพลาหนึ่ง อัตราทด (Ratio) ของเฟืองแต่ละตัว เฟืองตรงส่วนมากจะนำมาใช้ในระบบส่งกำลัง (Transmission Component) เช่น ชุดเฟืองทดลองของเครื่องกลึงเพื่อเดินกลึงอัตตราโนมัติ หรือชุดเฟื่องทดลองของเครื่องจักรกลการเกษตรที่ความเร็วรอบต่ำๆ ข้อดีของเฟื่องตรงขณะใช้งานจะไม่เกินแรงในแนวแกน ประสิทธิภาพในการทำงานสูง หน้ากว้างของเฟืองตรงสามารถเพิ่มได้เพื่อให้เกิดผิวสัมผัสที่มากขึ้น เพื่อลดการสึกหรอให้น้อยลง 2. เฟืองสะพาน (Rack Gears) เฟืองสะพาน (Rack Gears) หน้าที่ของเฟืองสะพานคือใช้ในการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่จากการเคลื่อนที่ในลักษณะการหมุนหรือการเคลื่อนที่เชิงมุมเป็นการเคลื่อนที่เชิงเส้นหรือการเคลื่อนที่เชิงเส้นหรือการเคลื่อนที่กลับไปกลับมา  เฟืองสะพาน (Rack) มีลักษณะเป็นแท่งยาวตรง สามารถมุมกลับลำตัวได้ประมาณ 90 องศา และมีฟันเฟืองอยู่ด้านบนขบอยู่กับส่วนที่เป็นฟันเฟือง (Gear) เช่น เฟื่องสะพานของเครื่องกลึงยันศูนย์ ที่ช่วยให้แท่นเลื่อนเคลื่อนที่ […]

อุปกรณ์-เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องกลึง

ในบทความที่แล้ว เราได้ไปทำความรู้จักกับเครื่องกลึง เครื่องกลึงชนิดต่างๆ รวมถึงส่วนประกอบของเครื่องกลึงไปแล้วนะคะ (ท่านใดยังไม่ได้อ่านสามารถติดตามได้ ที่นี่) ในบทความนี้ เราจะมากล่าวถึง  เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องกลึง กันค่ะ อุปกรณ์ของเครื่องกลึงและหน้าที่การใช้งาน อุปกรณ์ของเครื่องกลึงยันศูนย์มีหลายอย่าง  แต่ละอย่างทำหน้าที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการใช้ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1.  หัวจับเครื่องกลึง  (Chuck) หัวจับเครื่องกลึงมี 2 ชนิด คือ หัวจับชนิด 3 จับ ฟันพร้อม (A Three-Jaw Universal Geared Scroll Chuck)  และหัวจับชนิด 4 จับฟันอิสระ  (A Four-Jaw Independent Chuck)  หัวจับทั้ง 2 ชนิดทำหน้าที่ในการจับชิ้นงานกลึง  ซึ่งหัวจับชนิด  3  จับฟันพร้อมสามารถจับชิ้นงานได้รวดเร็ว  เช่น  จับชิ้นงานกลม  ชิ้นงาน 6 เหลี่ยม  และชิ้นงาน  3  เหลี่ยมด้านเท่าเป็นต้น  ส่วนหัวจับชนิด  4  จับฟันอิสระสามารถจับชิ้นงานได้ทุกรูปแบบ  ดังรูป […]

อุปกรณ์-เครื่องมือวัดและตรวจสอบมีชนิดใดบ้าง

สาระน่ารู้จากปาโก้มีมาให้เพื่อนๆอ่านกันอีกแล้วครับผมมม ในเรื่องของการวัดความกว้าง ความยาว ความสูงของตัวชิ้นงาน ถ้าจะให้ใช้แค่ไม้บรรทัดวัดอย่างเดียวก็คงจะไม่แม่นยำใช่มั้ยล่ะครับ 55 วันนี้ ทางปาโก้จึงมาแนะนำเกี่ยวกับเครื่องมือวัดและตรวจสอบให้เพื่อนๆได้อ่านกันครับบ 😀 เครื่องมือวัดคืออะไร? เครื่องมือวัดและตรวจสอบ คืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดขนาดความกว้าง ความยาว และความหนาของชิ้นงานเพื่อให้ได้ขนาดตามที่เราต้องการ หน่วยวัดในประเทศไทยจะมีสองระบบ ได้แก่ 1.ระบบอังกฤษ ใช้กันในประเทศสหรัฐอเมริกา มีหน่วยวัดเรียงจากสั้นสุดไปถึงยาวสุดครับบ (12นิ้ว = 1ฟุต,3ฟุต = 1หลา,1760หลา = 1ไมล์) 2.ระบบเมตริก ปัจจุบันเป็นระบบวัดสากล (10มิลเมตร = 1เซนติเมตร,10เซนติเมตร = 1เดซิเมตร,10เดซิเมตร = 1เดคาเมตร,10เดคาเมตร = 1เฮกโดเมตร,10เฮกโดเมตร = 1กิโลเมตร) 1.บรรทัดวัดเหล็ก (Steel Ruler)     บรรทัดเหล็กในระบบเมตริกจะแบ่งเป็นเซนติเมตรและใน 1 เซนติเมตร จะแบ่งเป็น 10 มิลลิเมตร และใน 1 มิลลิเมตร จะแบ่งขีดย่อยเป็น 0.5 […]

อุปกรณ์-เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด ( 7 QC Tools)

สวัสดีค่ะ วันนี้ ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง มีสาระความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาด้านคุณภาพและกระบวนการมาฝากกัน ซึ่งก็มีหลากหลายวิธี สำหรับใช้ศึกษาปัญหาเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเองค่ะ . เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาทางด้านคุณภาพในกระบวนการทำงาน ซึ่งช่วยศึกษาสภาพทั่วไปของปัญหา การเลือกปัญหา การสำรวจสภาพปัจจุบันของปัญหา การค้นหาและวิเคราะห์สาเหตุแห่งปัญหา ที่แท้จริงเพื่อการแก้ไขได้ถูกต้องตลอดจนช่วยในการจัดทำมาตรฐานและควบคุมติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ • แผ่นตรวจสอบ (Check Sheet) • แผนผังพาเรโต (Pareto Diagram) • กราฟ (Graph) • แผนผังแสดงเหตุและผล (Cause & Effect Diagram) • แผนผังการกระจาย (Scatter Diagram) • แผนภูมิควบคุม (Control Chart) • ฮิสโตแกรม (Histogram) . 1. แผ่นตรวจสอบ (Check Sheet) คือ แบบฟอร์มที่มีการออกแบบช่องว่างต่างๆ ไว้เรียบร้อย เพื่อจะใช้ในการบันทึกข้อมูลได้ง่ายและสะดวก ถูกต้อง ไม่ยุ่งยาก ในการออกแบบฟอร์มทุกครั้งต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน […]

อุปกรณ์-อุปกรณ์ในระบบหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนําความร้อน

          โรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภทที่ต้องการใช้ความร้อนในกระบวนการผลิต  โดยทั่วไปแล้วมักจะใช้ไอน้ำเป็นสื่อนําความร้อน ไอน้ำจะมีข้อจํากัดเรื่องความดันที่แปรผันตรงกับอุณหภูมิไอน้ำอิ่มตัว และเมื่อใช้ไอน้ำภายใต้ ความดันสูง เรามารู้จัดกับอุปกรณ์ในระบบหม้อต้มกันดีกว่า           อุปกรณ์ในระบบหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนําความร้อน มีดังนี้   1) หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนําความร้อน (Hot oil boiler) จะมีท่อขดน้ํามัน (Heating coil) ติดตั้งอยู่ภายในเปลือกของหม้อต้ม ซึ่ง เป็นบริเวณของห้องเผาไหม้ (Combustion chamber or furnace) ภายนอก หุ้มทับด้วยฉนวนกันความร้อน วัสดุที่ใช้ทําขดท่อน้ำมันจะต้องสามารถทนอุณหภูมิได้สูงประมาณ 350 องศาเซลเซียส และ สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี ขนาดของขดท่อน้ำมันต้องออกแบบให้เหมาะสมกับปริมาณความร้อนที่ต้องการ และเมื่อติดตั้งสร้างเสร็จต้องตรวจทดสอบความปลอดภัยขดท่อนั้น โดยใช้ก๊าซไนโตรเจนอัดที่ความดันประมาณ 1.3-1.5 เท่าของความดันออกแบบ แล้วใช้น้ำสบู่ตรวจสอบเพื่อหารอยรั่ว               2) หัวเผา […]

อุปกรณ์-อุปกรณ์แปลงสัญญาณมาตรฐาน (Transmitters)

อุปกรณ์แปลงสัญญาณมาตรฐาน (Transmitters) ก่อนอื่นจะขออธิบายถึง สัญญาณมาตรฐาน (Transmitters) และประโยชน์ของสัญญาณมาตรฐานที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม เพื่อให้เข้าใจ อุปกรณ์แปลงสัญญาณมาตรฐาน (Transmitters) ได้ดียิ่งขึ้นดังนี้ เนื่องจากระบบควบคุมในอุตสาหกรรมประกอบด้วย อุปกรณ์ควบคุมหลายชนิดต่อพ่วงกันเป็นระบบ และอปุกรณ์เหล่านี้จำเป็นต้องมีการส่งและรับสัญญาวัดแบบ Analog ระหว่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานสัญญาณวัดแบบ Analog ให้เป็นสากล เพื่อที่บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ควบคุมจะได้ยึดถือเป็นมาตรฐานในการออกแบบอุปกรณ์ของตน เพื่อให้สามารถต่อพ่วงกับอปุกรณ์อื่น ๆ ได้โดยทั่วไปสัญญาณมาตรฐานมี 2 ชนิดคือ รูปที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าวัดและสัญญาณกระแสมาตรฐาน เป็นการส่งสัญญาณในรูปของกระแสตรง (DC Current) มาตรฐานที่นิยมใช้คือ 4-20mA หมายความว่าเมื่อค่าวัดเป็น 0% ก็จะเท่ากับกระแส 4 mA และหากวัดค่าได้เป็น 100% เท่ากับ 20 mA โดยค่าวัดได้จะอยู่ในช่วง 0-100% จะสัมพันธ์เชิงเส้นกับกระแส 4-20mA ข้อดีของการส่งสัญญาณเป็นกระแส คือ สามารถส่งสัญญาณไปได้ระยะไกล ๆ ความต้านทานของสายส่งสัญญาณ จะไม่ทำให้ค่าวัดผิดพลาด และการถูกสัญญาณรบกวนจะน้อยกว่าการส่งสัญญาณ จะไม่ทำให้ค่าวัดผิดพลาด และการถูกสัญญาณรบกวนจะน้อยกว่าการส่งเป็นแรงดันไฟฟ้า นอกจากมาตรฐาน 4-20mA […]

อุปกรณ์-วิธีการเก็บรักษาท่อพีวีซีแข็ง

การเก็บรักษาท่อพีวีซีเพื่อรอการใช้งานนั้น ไม่ใช่ว่าจะเก็บไว้ที่ใดก็ได้ เพราะโดยปกติแล้ว มักจะวางเป็นลักษณะแบบทับซ้อนเรียงตามแนวยาวของท่อ ที่ไม่เป็นระเบียบแบบแผน ไม่มีการวางไม้รองรับท่อ และหนุนสลับขวางเพื่อเปิดช่องว่างให้เกิดการระบายของอากาศ จึงทำให้ อีกทั้งการวางไว้กลางแจ้ง หรือแม้แต่เอาผ้าใบมาวางทับไว้ ตัวท่อนั้นจะเกิดการสะสมความร้อน และอาจจะทำให้ผุพัง หรือ แตกหักได้ เมื่อต้องการนำมาใช้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาในการใช้งานตามมา วันนี้ทาง Pako เราจึงมีความรู้เรื่อง วิธีการเก็บรักษาท่อพีวีซีแข็งมาฝากกันจ้าา พื้นที่ๆจะวางเก็บท่อ ต้องไม่มีของแหลมคมใดๆยื่นออกมา เช่นก้อนหิน หรือมุมขอบปูนต่างๆที่จะมาทำให้ท่อเกิดแตกหักหรือทะลุได้ ต้องมีไม้รองรับกองท่อ ขนาดหน้ากว้างไม่น้อยกว่า 7.5 มิลลิเมตร ไว้ขวางรองท่อ โดยมีระยะห่าในแต่ละช่วงไม่เกิน 1.50 เมตร โดยปกติถ้าเป็นท่อความยาวมาตรฐาน 4 เมตร ต้องมีไม้รองท่อไว้อย่างน้อยๆ 3 จุด ท่อ 6 เมตรต้องมี อย่างน้อย 4 จุด ซึ่งหากจัดให้ช่องห่างมากกว่านี้ ตัวท่ออาจจะโก่งเสียรูปได้ง่าย วิธีกองท่อซ้อนกันของท่อปลายบานชนิดต่อด้วยแหวนยาง มี 2 แบบคือ การกองท่อแบบซ้อนขนานสลับหัว และการกองท่อแบบผสมสลับหัวและวางไขว้สลับแนว ต้องกองซ้อนกันสูงไม่เกิน 2 เมตร […]

อุปกรณ์-มิเตอร์น้ำ พัง ดูยังไง?

องค์ประกอบของมิเตอร์น้ำที่จะต้องตรวจสอบหลักๆ ประกอบด้วย 1. วาล์วปิด-เปิด จากมิเตอร์เข้าบ้าน 2. มิเตอร์น้ำ เป็นตัววัดปริมาณการใช้น้ำ ปกติจะมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร 3. วาล์วปิด-เปิด น้ำจากการประปา เข้ามิเตอร์ ตัวเลขที่มิเตอร์น้ำไม่หมุน ในขณะที่มีการใช้น้ำ การใช้ประเภทของมิเตอร์น้ำหรือขนาดของมิเตอร์น้ำที่ไม่เหมาะสมกับปริมาณของน้ำที่ต้องการจะวัดค่า เช่น ปริมาณน้ำที่ใช้ น้อยมาก แต่มิเตอร์มีขนาดใหญ่ มิเตอร์น้ำประเภทที่มีความละเอียดในการวัดค่าไม่มากพอที่จะสามารถตรวจจับปริมาณการใช้น้ำได้ กระแสน้ำที่ไหลผ่านมาตรวัดน้ำมีแรงดันสูงมาก จนทำให้มาตรวัดน้ำเสียหายได้ สิ่งสกปรกที่ปะปนอยู่ในน้ำประปาพัดเข้าไปในมิเตอร์น้ำและไปเกาะที่ใบพัดของมิเตอร์น้ำ ทำให้ใบพัดไม่สามารถหมุนได้ส่งผลให้มิเตอร์น้ำชำรุด พบว่ามีน้ำรั่วซึม ออกมาจากมิเตอร์น้ำ ถ้าพบว่าน่าจะมีน้ำรั่วซึมออกมาจากมิเตอร์น้ำ, หน้าปัดมิเตอร์น้ำร้าว หรือมีน้ำเข้าไปในหน้าปัด อาจเป็นไปได้ว่ามีการเกิดแรงกระแทกของกระแสน้ำทำให้มาตรวัดน้ำเกิดความเสียหาย สัญญาณความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับมิเตอร์น้ำ ตัวเลขที่มิเตอร์น้ำหมุนถอยหลัง อาจเป็นไปได้ว่าได้ติดตั้งมาตรวัดน้ำผิดด้าน ให้สังเกตุลูกศรที่มาตรวัดน้ำว่าชี้ไปทิศทางใด และติดตั้งให้มาตรวัดน้ำอยู่ตรงกับทิศทางการไหลของน้ำ ตัวเลขที่มิเตอร์น้ำเพิ่ม ในขณะที่ไม่มีการใช้น้ำ เมื่อพบเหตุการณ์ดังกล่าว ให้อ่านค่าที่มิเตอร์น้ำ หลังจากนั้นให้ปิดก็อกทุกจุดของบ้าน รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆที่มีการใช้น้ำ ตรวจสอบว่ามีการลืมปิดสายยาง ก็อก หรือมีจุดใดที่ยังมีการใช้น้ำหรือไม่ และให้หยุดการใช้น้ำในทุกจุดของบ้านสักประมาณ 1 ชั่วโมง และมาอ่านค่าที่มิเตอร์น้ำอีกครั้ง ถ้าตัวเลขบนหน้าปัดมิเตอร์น้ำยังหมุนอยู่แสดงว่ามีจุดที่น้ำรั่วไหล สามารถสอบถามช่างประปาเพื่อมาตรวจสอบว่ามีจุดรั่วที่ใดหรือไม่ ในกรณีที่เป็นมิเตอร์ตามที่อยู่อาศัยควรแจ้งเจ้าหน้าที่การประปาให้ทราบถึงปัญหา ไม่ควรดำเนินการซ่อม แก้ไข หรือทำการดัดแปลงใดใด เนื่องจากมิเตอร์น้ำถือว่าเป็นทรัพย์สินของการประปา […]

อุปกรณ์-ประแจปอนด์ Torque Wrench

ประแจปอนด์ Torque Wrench คือ ประแจที่สามารถตั้งค่าแรงบิด Torque ได้ มันจะล็อคค่าแรงบิด เมื่อถึงแรงบิดถึงค่าที่ต้องการ ( เวลาที่เราตั้งแรงบิด Torque ไว้ เมื่อบิดประแจจนได้แรงตึงมือที่ต้องการ มันจะรูดดังแกร็กๆ ประแจปอนด์ Torque Wrench  การเลือกใช้ ประแจปอนด์ ต้องทราบ ขนาด หัวน็อตใหญ่สุด ที่จะขัน มี่ ตั้งแต่  1/4″  3/8″  1/2″  3/4″  1″ ( มี ชุดAdapter-ลูกบ็อกซ์ รวมอยู่ในชุด ) ระบบมาตราที่จะใช้วัด เป็น ระบบสากล Metric ( Nm ) หรือ ระบบเครือจักรภพ Imperial ( Ft-Lbs ) ช่วงแรงบิดหัวน็อต ที่ใช้ 5 – 980 Nm  หรือ 15 – 700 Ft-lbs ฯลฯ งานที่ใช้ประแจปอนด์ ถ้าจะเลือก ประแจปอนด์ Torque Wrench ต้องคำนึงถึงเรื่อง สเปค ค่าแรงบิดหัวน็อต Stud Bolt ก่อน ว่าต้องการค่าแรงบิดหัวน็อตเท่าไร? จึงจะสั่งประแจปอนด์ได้ เพราะมีหลายขนาด ตามค่าแรงบิด แรงบิดน้อย […]

อุปกรณ์-ตลับลูกปืน หรือ bearing

ในบทความก่อนหน้านี้ เราได้พูดถึงเรื่องการหล่อลื่น โดยใช้น้ำมันหล่อลื่นและจารบีกันไปแล้ว ในครั้งนี้เราจะมาพูดถึงอุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงเสียดทานอีกชนิดหนึ่ง ที่เรามักพบเห็นได้ในเครื่องยนต์กลไกต่างๆ นั่นก็คือ ตลับลูกปืน หรือ Bearing นั่นเองค่ะ แบริ่งหรือตลับลูกปืน เป็นองค์ประกอบสำคัญของเครื่องจักรที่ต้องการ การหล่อลื่น และแทบจะกล่าวได้ว่าเครื่องจักรเกือบทุกเครื่องจะต้องมี แบริ่ง  “แบริ่ง” คือสิ่งที่ช่วยรองรับหรือช่วยยึดชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจักรที่มีการหมุนไห้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง แบริ่ง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ แบริ่งกาบ (Plain bearings) และ แบริ่งลูกปืน (Rolling Bearing) แบริ่งกาบ (Plain bearings) มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลวงโดยมีแกนหมุนอยู่ภายใน ส่วนของแกนหมุนหรือเพลาที่หมุนอยู่ภายใน ส่วนของแกนหมุนหรือเพลาที่หมุนอยุในแบริ่งเร่ยกว่า เจอร์นอล (Joumal) ส่วนรูปทรงกระบอกกลวงเรียกว่า เจอร์นอลแบริ่ง (Journal bearing) ซึ่งมักทำด้วยโลหะหรือส่วนผสมของโลหะที่มีเนื้ออ่อนกว่าเจอร์นอล แบริ่งกาบ ยังสามารถแบ่งออกเป็น ทรัสต์แบริ่ง (Trust Bearing) ซึ่งตัวเจอร์นอลได้รับแรงกดและหมุนอยู่ภายใน เจอร์นอลแบริ่ง กับ ไกด์แบริ่ง (Guide Bearing) […]

อุปกรณ์-ชิลเลอร์/chiller คืออะไร

ชิลเลอร์/chiller คืออะไร ชิลเลอร์เป็นเครื่องทำความเย็นเป็นเครื่องที่เอาความร้อนจากของเหลวผ่านไออัดหรือการดูดซึมทำความเย็นวงจร ของเหลวนี้จะถูกแพร่สะพัดไปทั่วแลกเปลี่ยนความร้อนให้เย็นอุปกรณ์หรือสตรีมกระบวนการอื่น (เช่นอากาศหรือกระบวนการน้ำ) ในฐานะที่เป็นผลพลอยได้จำเป็นทำความเย็นสร้างความร้อนเหลือทิ้งที่จะต้องหมดไปล้อมรอบหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น, การกู้คืนเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ความร้อน ความกังวลในการออกแบบและการเลือกของชิลเลอร์รวมถึงประสิทธิภาพในการใช้ประสิทธิภาพการบำรุงรักษาและวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชิลเลอร์/ciller นำไปทำอะไรบ้าง ใช้ในเครื่องปรับอากาศ  น้ำเย็นโดยทั่วไปจะมีการกระจายไปยังเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนหรือขดลวดในหน่วยจัดการอากาศหรือชนิดอื่น ๆ ของอุปกรณ์ปลายทางที่อากาศเย็นในพื้นที่ของตน  น้ำก็จะหมุนเวียนกลับไปทำความเย็นที่จะระบายความร้อนอีกครั้ง เหล่านี้ขดลวดทำความเย็นถ่ายเทความร้อนที่เหมาะสมและความร้อนแฝงจากอากาศลงไปในน้ำเย็นจึงระบายความร้อนและมักจะลดความชื้นกระแสอากาศ เครื่องทำความเย็นโดยทั่วไปสำหรับการใช้งานเครื่องปรับอากาศจัดอยู่ในอันดับระหว่าง 15 และ 2,000 ตันและอย่างน้อยหนึ่งในผู้ผลิตสามารถผลิตชิลเลอร์ที่มีความสามารถได้ถึง 8,500 ตันของการทำความเย็น. อุณหภูมิน้ำเย็นในช่วง 35-45 ° F (2-7 ° C) ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้. เมื่อชิลเลอร์สำหรับระบบเครื่องปรับอากาศไม่ได้กระทำหรือพวกเขาอยู่ในความต้องการของการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนชิลเลอร์ฉุกเฉินอาจจะใช้ในการจัดหาน้ำเย็น ชิลเลอร์ให้เช่าติดตั้งอยู่บนรถพ่วงเพื่อให้พวกเขาสามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็วไปยังเว็บไซต์ ขนาดใหญ่ท่อน้ำเย็นที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างชิลเลอร์เช่าและระบบปรับอากาศ   การใช้ในอุตสาหกรรม ในการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำเย็นหรือของเหลวอื่น ๆ จากการทำความเย็นที่มีการสูบผ่านกระบวนการหรืออุปกรณ์ห้องปฏิบัติการ ชิลเลอร์อุตสาหกรรมที่ใช้สำหรับการระบายความร้อนของผลิตภัณฑ์ควบคุมกลไกและเครื่องจักรโรงงานในช่วงกว้างของอุตสาหกรรม พวกเขามักจะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกฉีดและเป่าขึ้นรูปโลหะทำงานน้ำมันตัด, เครื่องเชื่อม, หล่อตายและเครื่องจักรเครื่องมือประมวลผลทางเคมีสูตรยา, อาหารและเครื่องดื่มในการประมวลผลและการประมวลผลกระดาษปูนซีเมนต์ระบบสูญญากาศ X- เรย์เลนส์, อุปกรณ์ไฟฟ้าและสถานีผลิตกระแสไฟฟ้า, อุปกรณ์วิเคราะห์เซมิคอนดักเตอร์, เครื่องบีบอัดและระบายความร้อนก๊าซ พวกเขายังใช้ให้เย็นรายการเฉพาะความร้อนสูงเช่นเครื่อง MRI และเลเซอร์และในโรงพยาบาล, โรงแรมและมหาวิทยาลัย . ชิลเลอร์สำหรับงานอุตสาหกรรมสามารถส่วนกลางที่ […]

อุปกรณ์-ชนิดและส่วนประกอบของเครื่องกลึง

งานกลึง คือ การตัดโลหะโดยให้ชิ้นงาน (work piece) หมุนรอบตัวเองโดยมีดกลึงเคลื่อนที่เข้าหาชิ้นงาน การกลึงมีสองลักษณะใหญ่คือ การกลึงปาดหน้า คือ การตัดโลหะโดยให้มีดตัดชิ้นงานไปตามแนวขวาง การกลึงปอก คือ การตัดโลหะโดยให้มีดตัดเคลื่อนที่ตัดชิ้นงานไปตามแนวขนานกับแนวแกนของชิ้นงาน เครื่องกลึง  (Lathe)  เป็นเครื่องจักรกลที่มีความสำคัญมาก  มีใช้กันอย่างตั้งแต่ยุคต้น ๆ เป็นเครื่องมือกลประเภทแปรรูปโลหะทรงกระบอกเป็นหลัก  สำหรับกลึง  เจาะ  คว้านรูได้มากมาย  เพื่อผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรเครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ สำหรับงานผลิตและงานซ่อม  งานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนต้องมีเครื่องกลึงเป็นหลัก  เครื่องกลึงจึงได้ชื่อว่า  ราชาเครื่องกล  (The  King  of  all  Machines) เครื่องกลึง ทำงานโดยการจับยึดชิ้นงานให้แน่นและหมุน ขณะที่ชิ้นงานหมุน ชิ้นงานจะถูกตัดเฉือนด้วยมีดกลึง ซึ่งจะเคลื่อนไปตามความยาวของชิ้นงาน เรียกว่า การกลึงปอกหรือมีดกลึงเคลื่อนที่ตัดเฉือนชิ้นงานตามแนวขวาง เรียกว่า การกลึงปาดหน้า (Facing)งานกลึงเป็นกรรมวิธีแปรรูปงานขั้นพื้นฐาน ที่มีความสำคัญในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ช่างเทคนิคที่ปฏิบัติงานในสายกระบวนการผลิต จะต้องศึกษาส่วนประกอบและหน้าที่ของเครื่องกลึงตลอดจนมีดกลึงที่ใช้ปฏิบัติที่ใช้ปฏิบัติงานลักษณะต่าง ๆ เพื่อสามารถปฏิบัติงานตามแบบสั่งงานได้อย่างมีคุณภาพและบำรุงรักษาเครื่องกลึงได้ถูกต้องด้วย การกลึงหยาบ คือการกลึงงานลึก ๆ ป้อนหยาบ ๆ เท่าที่มีดกลึงกับเครื่องกลึงจะทำได้ เพื่อประหยัดเวลาในการทำงาน การกลึงละเอียด คือการกลึงงานโดยป้อนลึกน้อย ๆ ป้อนทางด้านข้างช้า ๆ ใช้ความเร็วสูงกว่า […]

อุปกรณ์-ชนิดของเครื่องมือวัด (Measuring Tool)

เครื่องมือวัด (Measuring Tool) คือ เครื่องมือสำหรับใช้ในการวัดเพื่อบ่งชี้บอกระยะหรือขนาดในการกำหนดตำแหน่ง ตรวจสอบระยะหรือขนาดความกว้าง ความยาว ความสูงหรือความหนาของวัสดุชิ้นงาน ฯลฯ เครื่องมือวัดมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะ รูปร่างที่แตกต่างกันตามประโยชน์ใช้งาน 1. ฟุตเหล็ก หรือบรรทัดเหล็ก (Stainless Steel Ruler) ทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม ทนต่อการสึกหรอ และคราบน้ำมัน ใช้วัดขนาดที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก 2. เวอร์เนียคาลิเปอร์( Vernier Caliper) ใช้วัดงานละเอียดได้ถึง 0.01 ม.ม. หรือ 0.001 นิ้ว วัดได้ทั้ง วัดนอก วัดใน และวัดความลึก ระยะกว้างสุดวัดได้ถึง 6 นิ้ว หรือ 120 ม.ม. 3. ไมโครมิเตอร์คาลิเปอร์ (Micrometer Caliper) วัดได้ละเอียดกว่าเวอร์เนีย ฯ ใช้หลักการเคลื่อนที่ของเกลียวในการวัดระยะ เมื่อหมุนไมโคร ฯ 1 รอบ จะได้ระยะเคลื่อนที่เท่ากับระยะ พิช (Pitch) ของเกลียว 4.ฟีลเลอร์เกจ (Feeler […]

อุปกรณ์-การเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นอุตสาหกรรม

เครื่องจักรกลทุกชนิดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆที่เคลื่อนไหว การเสียดสีของผิวโลหะย่อมก่อให้เกิดความร้อนและการสึกหรอ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นจึงมีบทบาทที่จะช่วยขจัดปัญหาเหล่านั้นได้ การเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นอุตสาหกรรม กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆนั้น เครื่องจักรกลต้องได้รับการหล่อลื่นด้วยน้ำมันที่ถูกต้อง(ทั้งชนิดและความหนืด) ในตำแหน่งที่ถูกต้องและในเวลาที่ถูกต้องอีกด้วย น้ำมันหล่อลื่นต้องทำหน้าที่ให้การหล่อลื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการเสียดสี การสึกหรอกัดกร่อน และสามารถรับแรงกดกระแทกสูงได้ อีกทั้งหลังการหล่อลื่นยังต้องมีคุณสมบัติในการป้องกันสนิม เพื่อให้เครื่องจักรเหล่านั้นสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ประหยัดค่าบำรุงรักษา การเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นสำหรับงานอุตสาหกรรม มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญคือ 1.เลือกชนิดหรือประเภทของน้ำมันหล่อลื่นให้ถูกต้องเหมาะสมกับงาน ห้องเกียร์ที่มีสภาพการทำงานที่มีแรงกด แรงกระแทกสูง ควรเลือกใช้น้ำมันเกียร์ที่มีสารรับแรงกดสูง ชนิด EP แต่ถ้าห้องเกียร์เป็นชนิดที่มีความเร็วรอบสูง ไม่มีแรงกดกระแทก ก็อาจเลือกใช้เป็นน้ำมันเทอร์ไบน์ น้ำมันอาร์แอนด์โอหรือน้ำมันหล่อลื่นแบบหมุนเวียน ระบบไฮโดรลิคที่มีแรงดันน้ำมันสูงมาก ใช้งานหนัก ก็ควรเลือกใช้น้ำมันไฮโดรลิคคุณภาพดี มีสารต้านทานการสึกหรอ เครื่องกังหันก็ควรใช้น้ำมันหล่อลื่นชนิด น้ำมันเทอร์ไบน์ ที่มีสารต้านทานการทำปฏิกิริยากับอากาศ Anti Oxidant เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม ก็ควรเลือกชนิดน้ำมันหล่อลื่นให้ถูกกับชนิดของระบบของเครื่องที่ใช้ เช่น เครื่องอัดอากาศระบบโรตารี่ ก็ควรเลือกใช้น้ำมันคอมเพรสเซอร์ สำหรับระบบโรตารี่ แบบระบบลูกสูบ ก็ควรเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นเครื่องอัดอากาศ สำหรับระบบลูกสูบ   2. เลือกเบอร์ความหนืดให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน เครื่องจักรที่มีความเร็วรอบสูง ควรใช้น้ำมันหล่อลื่นที่มีความหนืดน้อยกว่าเครื่องจักรที่มีความเร็วรอบต่ำกว่า เครื่องจักรที่มีภาระการใช้งานหนัก แรงกดสูง ควรใช้น้ำมันที่มีความหนืดมากกว่าเครื่องจักรที่มีภาระงานเบากว่า เครื่องจักรที่มีอุณหภูมิสูง ตำแหน่งที่ต้องการหล่อลื่นก็มีอุณหภูมิสูง ควรเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นที่มีความหนืดมากกว่าการใช้งานในที่ๆ […]

อุปกรณ์-การบำรุงรักษามาตรวัดน้ำ

สวัสดีครับผมมวันนี้ทางปาโก้เอ็นจิเนียริ่งมีข้อแนะนำในเรื่องของการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษา การป้องกันที่อาจก่อให้เกิดการชำรุดและเสียหายของมาตรวัดน้ำมาฝากครับผมมม ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่ามาตรวัดน้ำนั้นไม่ได้มีประสิทธิภาพการวัดถูกต้องแม่นยำถาวรคงที่อยู่เสมอครับ เมื่อนำมันมาติดตั้งใช้งานแล้ว ไม่ว่าการทำงานของมันจะถูกใช้งานมาก หรือน้อยแค่ไหน ก็สามารถเสื่อมสภาพได้ตามกาลเวลาครับผม มาตรวัดอัตราการไหลนั้นมักจะถูกหลงลืมที่จะรับการซ่อมบำรุงรักษาอยู่เสมอ การบำรุงรักษาที่เหมาะสมของอุปกรณ์การวัดอัตราการไหล เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานที่ถูกต้องตามคุณสมบัติของมันและมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้บริโภคที่มีปริมาณการใช้น้ำจำนวนมากและมาตรวัดควบคุมการถ่ายโอนเป็นกลุ่ม (Master meter) มาตรทั้งหมดต้องการการบำรุงรักษาแม้ว่าเพื่อนๆบางคนอาจมีความต้องการการใช้น้ำที่ต่ำกว่าคนอื่น ๆ ในส่วนใหญ่ผู้ผลิตมาตรนั้น จะมีการแนะนำการบำรุงรักษาและการทดสอบ ในคู่มือการใช้งานของพวกเขาสำหรับมาตรเหล่านั้นครับ การบำรุงรักษามาตรวัดน้ำ เพื่อนๆต้องกระทำในส่วนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่มีความสำคัญเช่น การทำความสะอาดตัวกรอง (Strainers)  ซ่อมแซมกล่องมาตร ซ่อมการรั่วของอุปกรณ์ เปลี่ยนชุดบันทึกข้อมูลที่ได้รับความเสียหาย และฝาครอบคลุมชุดบันทึกข้อมูล ในบางกรณีมาตรจะต้องมีการถอดออกจากที่ตั้งและทำการบำรุงรักษาก่อนที่จะถูกนำกลับเข้าไปในระบบ ที่เป็นมาตรขนาดใหญ่ ควรจะเปิดและตรวจสอบภาพการทำงานของกลไกของมาตรร่องรอยของความเสียหายหรือการสึกหรอของอุปกรณ์ด้วยครับผมม   ปัญหาที่พบบ่อยของมาตรวัดน้ำในภาคสนาม 1. สารแขวนลอยในน้ำสามารถที่ก่อให้เกิดการจับพอกและส่งผลกระทบกับกลไกของมาตร หรือความเสียหาย และ Strainers ได้รับการอุดตันจากของแข็งเข้าสู่ระบบเหล่านี้ ส่วนใหญ่มักจะมีสาเหตุเนื่องจาก – การระเบิดของท่อขนาดใหญ่ – ล้างทำความสะอาดของท่อไม่เพียงพอหลังการติดตั้งหรือการซ่อมแซม – ความเร็วสูงของอัตราการไหลปลุกตะกอนที่สะสมรวมไว้ด้านล่างให้ลอยขึ้นในระบบของท่อ – การบำบัดน้ำดิบไม่เพียงพอ หรืออุปกรณ์การบำบัดน้ำดิบทำงานผิดปกติ – การหยุดนิ่งของกระแสน้ำในระบบ ทำให้อนุภาคของสารแขวนลอยที่ปนอยู่ในน้ำสามารถจับรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนในรูปของตะกอนสนิมแล้วตกลงสู่พื้นหรือเกาะตามผนังหรือชิ้นส่วนต่างๆของท่อและอุปกรณ์ระบบประปาและมาตรวัดน้ำ 2. การบริการ จากการร้องเรียน หลังการเปลี่ยนมาตร หรือ การบำรุงรักษาที่เกิดจาก – […]

อุปกรณ์-การจับยึดชิ้นงาน, สลักเกลียว, อุปกรณ์จับยึด, เกียว

ในครั้งที่แล้วเราได้นำเสนอเรื่องของสกรูและนัทหรือน๊อตกันไปแล้ว ซึ่งส่วนที่น่าสนใจในเรื่องนี้ก็คือ ชิ้นส่วนที่ใช้สำหรับการจับยึดชิ้นงาน ซึ่งการจับยึดชิ้นงานนั้น มีหลายแบบด้วยกัน ในบทความนี้ เราจะนำเสนอเรื่องการจับยึดชิ้นงานที่ใช้สลักเกลียว (bolt) และแป้นเกลียว (nut) เท่านั้น อย่างไรก็ดีผู้เรียนก็จะได้ทราบรูปแบบการจับยึดอื่น ๆ ที่ใช้เกลียวด้วย เช่น stud และ screw เป็นต้น พร้อมทั้งจะได้เรียนรู้คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเกลียวและโครงสร้างของเกลียว ส่วนหัวข้ออื่นที่จะ กล่าวถึงก็คือหลักการในการวาดชิ้นส่วนสำหรับการจับยึดเหล่านี้ การบอกขนาด รวมถึงการใช้งานสลัก เกลียวและแป้นเกลียวอย่างถูกต้องเหมาะสม 11.1 การจับยึดชิ้นงานรูปแบบต่าง ๆ เราสามารถแบ่งลักษณะการจับยึดได้ 2 แบบใหญ่ ๆ คือ การจับยึดแบบถาวร และการจับ ยึดแบบชั่วคราว สำหรับตัวอย่างการจับยึดแบบถาวรนั้นได้แก่ การเชื่อม การจับยึดด้วยกาว หรือการใช้ rivet ดังแสดงในรูป การจับยึดชิ้นงานแบบถาวร ส่วนการจับยึดแบบชั่วคราวก็ยังสามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 แบบ คือ การจับยึดที่ใช้เกลียว ซึ่ง ประกอบไปด้วย bolt, nut, stud และ screw […]

อุปกรณ์-Temp Conversion ตารางแปลงอุณหภูมิ

ตารางแปลงอุณหภูมินะจ๊ะ มีสูตรดังนี้ สูตรการแปลงอุณหภูมิ แปลงจาก ไปเป็น สูตร องศาฟาเรนไฮต์ องศาเซลเซียส °C = 5/9 (°F – 32) องศาเซลเซียส องศาฟาเรนไฮต์ °F = (9/5 × °C) + 32 เคลวิน องศาเซลเซียส °C = K – 273.15 องศาโรเมอร์ องศาเซลเซียส °C = °R × 1.25 องศาเซลเซียส องศาโรเมอร์ °R = °C × 0.8 องศาเซลเซียส เคลวิน K = °C + 273.15 เคลวิน องศาฟาเรนไฮต์ °F = […]

อุปกรณ์-Pressure Conversion Table ตารางแปลงหน่วยแรงดัน

ตารางแปลงหน่วยแรงดัน วิธีการดูให้ดู แนวนอนไปก่อน แล้วไปใช้ตัวเลขในหน่วยที่ต้องการ เช่น ต้องการแปลง psi->kpa ให้คูณด้วย 6.894757 จ้า ตัวอย่างการแปลง 10bar ต้องการแปลงเป็น psi ก็ให้เอา 10×14.5038 = 145.038 psi นั่นเอง Designation psi kPa kg/cm2 bar mbar Mpa cm of H2O feet of H2O inches of Hg mm of Hg inches of H20 ounces per square inch atmospheres psi 1 6.894757 0.070306958 0.06894757 68.9476 0.00689 70.306927 […]

อุปกรณ์-HART Protocol ระบบลูกผสม (อนาล็อก กับ ดิจิตอล)

HART Protocol การนำดิจิตอลมาใช้ ในงานเครื่องมือวัดและควบคุม HART Protocal (ฮาร์ท) ย่อมาจาก Highway Addressable Remote Transducer เป็นระบบที่เป็นลูกผสมระหว่าง สัญญาณ อนาล็อก กับ ดิจิตอล ในการส่งผ่านข้อมูลไปยังชุดควบคุมระบบ ซึ่งมีข้อเต่นเลยคือ สามารถส่งผ่านสายสัญญาณอนาล็อกแบบเดิม คือ 4-20 mA ได้ ทำให้อุปกรณ์ที่เคยเดินสายไว้ ไม่ต้องทำการเปลี่ยนสายใหม่ไปยังแผงควบคุม หรือ PLC ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก การเปลี่ยนยุค (Renovation) ของสัญญาณทางเครื่องมือวัดในอุตสาหกรรมจากการใช้ลม (Pneumatic 3-15 psi) มาสู่การใช้สัญญาณไฟฟ้า (Electrical 4-20 mA) ดังเช่นที่เป็นอยู่ทุกวันนี้นั้น กำลังเกิดคลื่นการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยมีการพัฒนาระบบการสื่อสารที่ใช้อยู่กับอุปกรณ์วัดชนิดต่าง ๆ ที่เรียกว่า สมาร์ต (Smart) ให้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันและกันได้มากกว่าที่จะเป็นแค่เพียงตัวเซ็ตค่า (Configuration Tools) จาก แฮนเฮลด์ (Handheld) ที่รู้จักกันในชื่อ HART Communication […]

อุปกรณ์-Gate valve และ Globe valve แตกต่างกันอย่างไร ?

#Gate valve#เกตวาล์ว#Globe valve#โกลบวาล์ว#Valve #วาล์ว#ของไหล #เปิด#ปิด#วาล์วประตูน้ำ ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง ปาโก้จำหน่ายวาล์วและสินค้าเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น  โฟลมิเตอร์ โรตามิเตอร์ วัดการไหล เกจวัดแรงดัน Pressure_gauge เพรชเชอร์เกจ valvecontrol valveคอนโทรลวาล์ววาล์วติดหัวขับเซฟตี้วาล์วโซลินอยด์วาล์ว บริการให้คำปรึกษา แนะนำสินค้าที่เหมาะกับลักษณะการใช้งานของท่าน และจัดหาสินค้าให้ท่านตามต้องการค่ะ ทำความรู้จัก PAKO ENGINEERING บริการจัดส่งทั่วประเทศ เริ่มการเขียน หรือพิมพ์เครื่องหมายทับ (/) เพื่อเลือกบล็อก สนใจ Product เพิ่มเติมติดต่อเราได้ทางFACEBOOK : Pako Engineering Well FlowmeterPressure gauge OCTA  เข้าชมเว็บไซต์ของเราได้ที่   www.pako.co.th  www.pakoengineering.com Line ID   : @pakoengTel.            : 0-2041-5092,09-4690-4630 Fax            : 0-2041-5093 E-Mail    : sales@blog.pako.co.th 

อุกรณ์ท่อเชื่อมตะเข็บ ( WELDED PIPE หรือ SEAM PIPE )

ท่อเชื่อมตะเข็บ ( Welded Pipe หรือ Seam Pipe ) ท่อชนิดนี้ผลิตโดยการนำแผ่นเหล็กมาม้วน แล้วเชื่อมรอยต่อ ซึ่งวิธีม้วนทำได้ทั้งม้วนตามแนวยาว หรือ ม้วนแบบ Spiral ท่อเชื่อมตะเข็บแบ่งประเภทตามวิธีการเชื่อมตะเข็บ เช่น Electric Resistance Welding (ERW) เป็นวิธีการเชื่อมตะเข็บท่อโดยอาศัยแรงดัน ในขณะที่ตะเข็บหลอมละลายด้วยความร้อนที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า โดยไม่มีการอาร์ค กรรมวิธีผลิตเริ่มต้นด้วยการคลี่เหล็กแผ่นออกจากคอยล์ จากนั้นจะค่อยๆๆม้วนเหล็กแผ่นให้เป็นรูปทรงกระบอกอย่างต่อเนื่อง ผ่านลูกรีดหลายแท่นโดยไม่ต้องใช้ความร้อน แล้วทำการผ่านกระแสไฟฟ้าตกครอมระหว่างขอบทั้งสองของตะเข็บ ความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าจะทำให้ขอบของเหล็กร้อนแดงที่อุณหภูมิระหว่าง 1200 องศา ถึง1400 องศาแล้วจึงกดอัดให้ตะเข็บติดกัน ท่อที่ผลิตด้วยวิธีนี้จะมีตะเข็บตรง ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการให้ความร้อนบริเวณตะเข็บท่อด้วยเทคโนโลยีการ เหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าความถี่สูง ซึ่งสามารถควบคุมความร้อนได้ดีกว่าแบบ ERW แต่อย่างไรก็ตามในการผลิตท่อจะยังคงกล่าวถึงท่อที่เชื่อมตะเข็บด้วย วิธีการ HFI ว่าท่อ ERW เช่นเดิม 2.Butt Welding (BW) หรือ Continuous Butt Welding (CBW) เป็นวิธีการเชื่อมโดยอาศัยแรงอัด ในขณะที่ตะเข็บร้อนแดงด้วยความร้อนจากเตาเผา กรรมวิธีผลิตเริ่มต้นด้วยการคลี่แผ่นเหล็กออกจากคอยล์ จากนั้นป้อนแผ่นเหล็กผ่านเตาเพื่อทำการให้ความร้อนโดยแผ่นเหล็กจะได้รับความ […]

วัสดุ-แร่เหล็ก ( IRON ORE )

แร่เหล็กเกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยทั่วไปจะไม่พบแร่เหล็กบริสุทธิ์ในธรรมชาติ แต่จะพบในรูปของสารประกอบ เช่น อยู่ในรูปของออกไซด์ ได้แก่ แร่ฮีมาไทด์ ( Hematite ) มีสูตรทางเคมีว่า Fe2O3 และแร่แมกนีไทต์ ( Magnetite ) มีสูตรทางเคมี Fe3O4  แร่เหล่านี้จะถูกใช้เป็นวัตถุดิบในการถลุงเป็นโลหะเหล็กต่อไป 2.โลหะเหล็ก ( Iron ) โลหะเหล็กได้จากการถลุงแร่เหล็กด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้ – การถลุงแร่เหล็กด้วยเตาพ่นลม ( blast furnace ) โลหะเหล็กที่ได้จากกระบวนหารนี้ เรียกว่า เหล็กถลุง หรือเหล็กดิบ ( pig iron ) – โดยวิธีลดออกซิเจนโดยตรง ( direct reduction process ) โลหะเหล็กที่ได้จากกระบวนการนี้เรียกว่า เหล็กพรุน (  sponge iron ) 3.เหล็กหล่อ ( Cast lron ) เหล็กหล่อเป็นเหล็กที่มีส่วนผสมของคาร์บอนในเนื้อเหล็กเกินกว่า 2.0%  โดยน้ำหนักเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเหล็กกล้า […]

วัสดุ-เหล็กหล่อ (Cast iron) คืออะไร ?

สวัสดีจ้าเพื่อนๆ เคยสงสัยกันไหม วัสดุ  cast iron มันคืออะไร ใครรู้บ้าง มันมีทั้งหมด 6 ชนิด แต่ละชนิดมีลักษะยังไงกันน้าาา แล้วในแต่ละอุตสาหกรรม เขาใช้อะไรกันบ้าง มีส่วนประกอบอะไรบ้าง มาไขความลับจากบทความนี้กันได้เลย Cast iron คือ เหล็กหล่อ  เป็นโลหะผสมของเหล็ก ซิลิคอน และคาร์บอน cast iron มีความเข้มข้นของคาร์บอนอยู่ระหว่าง 3-4% โดยน้ำหนัก ซึ่งส่วนใหญ่ปรากฏอยู่ในรูปของแข็งไม่ละลาย (เช่น Graphite flakes หรือ nodules) เหล็กหล่อสองชนิดหลักๆ ได้แก่เหล็กหล่อเทา (grey cast iron) และเหล็กหล่อเหนียว (nodular (ductile) cast iron) ความต้านทานการกัดกร่อนของเหล็กหล่อใกล้เคียงกับเหล็กกล้า หรือบางครั้งอาจจะดีกว่า  ในการเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนให้กับเหล็กหล่อนั้น สามารถผสมด้วยซิลิคอน 13-16% โดยน้ำหนักหรือนิกเกิล(Ni-resist) 15-35% โดยน้ำหนัก เหล็กหล่อหลายประเภทถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในวาล์ว เครื่องสูบน้ำ ท่อ […]

วัสดุ-เหล็กกล้าไร้สนิม และ เหล็กกล้าชุบเคลือบสังกะสี เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ถาม : เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel) และเหล็กกล้าชุบเคลือบสังกะสี (Galvanized steel) เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ? ตอบ : หล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel) และเหล็กกล้าชุบเคลือบสังกะสี (Galvanized steel) เป็นเหล็กกล้าที่ทนต่อการกัดกร่อนได้ดีเหมือนกัน แต่ต่างกันที่กระบวนการผลิต อายุการใช้งาน และความทนทาน เป็นที่ทราบกันดีว่า ‘เหล็กกล้า (Steel)’ เป็นโลหะผสม (Alloy) ระหว่างเหล็กที่เป็นองค์ประกอบหลักกับคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบรอง โดยทั่วไปโลหะผสมจะมีส่วนผสมของคาร์บอนประมาณ 0.2 ถึง 2.1 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักซึ่งปริมาณของคาร์บอนจะเป็นตัวบ่งบอกเกรดของเหล็กกล้า อย่างไรก็ตาม นอกจากคาร์บอนแล้วในกระบวนการผลิตอาจมีการปรับปรุงสมบัติของเหล็กกล้าด้วยการเติมธาตุต่างๆ เช่น ทังสเตน โครเมียม แมงกานีส และวาเนเดียมเข้าไปเพื่อทำให้เหล็กกล้ามีสมบัติที่เหมาะกับการใช้งานตรงตามวัตถุประสงค์มากขึ้น สำหรับเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel) หรือที่มักนิยมเรียกทับศัพท์ว่า ‘สเตนเลสสตีล’ นั้นเป็นเหล็กกล้าที่มีการเติมธาตุโครเมียมลงในส่วนผสมไม่ต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์โดยมวลเพื่อปรับปรุงให้เหล็กกล้ามีสมบัติทนต่อการกัดกร่อนได้ดี โดยโครเมียมที่เติมลงไปในเนื้อของเหล็กกล้านั้นจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศเกิดเป็นฟิล์มบางซึ่งเป็นชั้นของโครเมียมออกไซด์เคลือบผิวโลหะเอาไว้ไม่ให้น้ำและอากาศผ่านเข้าไปทำลายเนื้อโลหะจนเกิดการกัดกร่อนขึ้นได้ ทั้งนี้ชั้นฟิล์มดังกล่าวยังสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้อย่างรวดเร็วเมื่อผิวโลหะเกิดการขูดขีดอีกด้วย ภาพ 1. แสดงถึงชั้นของโครเมียมออกไซด์บนผิวโลหะที่สามารถป้องกันเหล็กกล้าไร้สนิมจากการกัดกร่อนซึ่งมีความหนาเพียง 130 อังสตรอมหรือประมาณ13 นาโนเมตร […]

วัสดุ-วัสดุท่อ-วาล์ว-อุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรม

 วัสดุที่ใช้งานท่อ,วาล์ว,ข้อต่อ วัสดุที่ทำจากโลหะ (Metal Material) เหล็ก (Steel , Iron) Cast Iron เหล็กหล่อ Cast Steel Carbon Steel เหล็กกล้า Ductile Iron เหล็กหล่อเหนียว สแตนเลน (Stainless) Stainless 304 , 304L สแตนเลส เกรด 304 , 304L Stainless 316 ,316L สแตนเลส เกรด 316 , 316L วัสดุที่ทำจากพลาสติก (Plastic) PC Polycarbonate PSU Polysulfone PVC Polyvinyl chloride uPVC cPVC PA Acrylic ABS Acrylonitrile butadiene styrene […]

วัสดุ-พลาสติก ABS

พลาสติก ABS คืออะไร เอบีเอส (ABS) เป็นชื่อย่อของ อะคริโลไนไตรล์-บิวทาไดอีน-สไตรีน (acrylonitrile-butadiene-styrene)  ซึ่งเป็นเทอร์โมพลาสติก* ชนิดหนึ่ง เราพบและ “สัมผัส”พลาสติกชื่อเหมือนระบบเบรกของรถยนต์ชนิดนี้ได้บ่อยมากอย่างไม่ทันสังเกต  เนื่องจากมันเป็นส่วนประกอบในเครื่องใช้ไฟฟ้าหลากหลายชนิดที่ใช้ในชีวิตประจำวันตั้งแต่สินค้าไฮเทคอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ ไดร์เป่าผมเรื่อยไปจนกระทั่งของเด็กเล่นอย่างตัวต่อเลโก้ (lego) เป็นต้น คุณสมบัติของพลาสติก  โดยทั่วไปพลาสติกที่มีความแข็ง จะมีลักษณะแข็งแต่เปราะ หรือหากมีสมบัติแข็งเหนียวก็จะมีลักษณะอ่อนนิ่มร่วมด้วย แต่เอบีเอสแตกต่างจากพลาสติกทั่วไป เพราะเป็นพลาสติกที่มีความสมดุลทั้งในเรื่องความแข็ง (hardness) และความเหนียว (toughness) ทำให้พลาสติกมีสมบัติทนแรงกระแทก (impact resistance) ดี นอกจากนี้เอบีเอสยังมีสมบัติเด่นอีกหลายเรื่อง เช่น ทนต่อแรงเสียดสี (abrasion) คงสภาพรูปร่างได้ดี (dimension stability) ทนความร้อน ทนสารเคมี มีช่วงอุณหภูมิใช้งานกว้าง (ตั้งแต่ -20 ?C -80 ?C) และสามารถขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายวิธี โครงสร้างกับสมบัติทางกายภาพ เอบีเอสเป็นเทอร์โมพลาสติก (thermoplastic) ที่ได้จากการทำปฏิกิริยาการเกิดโพลิเมอร์ของโมโนเมอร์ 3 ชนิด คือ […]

วัสดุ-ทำไมต้อง SS316 ในโรงงานอาหาร

ทำไมต้อง 316 ในโรงงานอาหาร คงเป็นที่ทราบกันดีในวงการช่างอย่างเราๆ ว่าในการออกแบบระบบน้ำ ระบบท่อ วาล์ว หรือชิ้นส่วนเครื่องจักรต่างๆ ของโรงงานอาหารและเครื่องดื่มนั้น จะต้องใช้ ฟูด เกรด (Food grade) เท่านั้น ท่านๆ ก็คงสงสัยไม่น้อย โดยเฉพาะฝ่ายจัดซื้อที่เพิ่งเริ่มทำงาน (และอดนึกในใจไม่ได้ว่า เอ้ ทำไมโรงงานนี้ เรื่องมากจัง) ทีนี้ จากประสบการณ์ของ ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง ที่จำหน่ายวาล์ว โฟลมิเตอร์ เครื่องมือวัดต่างๆ ให้อุตสาหกรรมนี้ ก็ต้องอธิบาย กันแบบนี้คะ เนื่องจากว่า ในไลน์การผลิตอาหาร เครื่องดื่มที่ดีนั้น จะต้องมีมาตรฐาน GMP HACCP ISO และอื่นๆ อีกมากมาย อีกเพียบ ซึ่งทำให้โรงงานต้อง มีการส่งตัวอย่างของอาหารตามช่วงเวลา ที่ทำการผลิต เพื่อให้ห้องแล็บตรวจเชื้อจุลินทรีย์ ที่เป็นอันตรายประมาณ 10 กว่าชนิด ทั้งเชื้อแกรมบวก แกรมลบ (นี้ยังไม่รวมพวกเชื้อไวรัสอีก มากมายที่เกิดใหม่กันเลยทีเดียว) ดังนั้น ทำอย่างไรละ […]

วัสดุ-ทองเหลืองกับสแตนเลส คุณสมบัติต่างกันอย่างไร ?

ทองเหลืองและสแตนเลส เป็นวัสดุที่พบเห็นได้ทั่วไปในแทบจะทุกๆงาน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ หรือแม้แต่ในอุปกรณ์โรงงานเองก็ตาม แต่คงมีคนไม่ทราบว่าทั้งสองแบบนั้นแตกต่างกันอย่างไร ? แบบไหนใช้กับอะไรดี ? ปาโก้มีบทความเกี่ยวกับเรื่องความแตกต่างของทองเหลืองและสแตนเลสมาฝากกันจ้า ทองเหลือง (Brass) เป็นโลหะที่เกิดจากการผสมระหว่างทองแดงและสังกะสี แต่จะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป เพราะปริมาณของสังกะสีที่ผสมแล้วได้เปลี่ยนไปอยู่ที่ประมาณ 5-45% โดยการค้นพบทองเหลืองนั้น คาดว่าน่าจะเป็นยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะมีการนำทองเหลืองมาใช้ประโยชน์ในยุคสำริด และยังถูกเรียกว่าเป็นโลหะที่แข็งแกร่งที่สุดในยุคสำริดอีกด้วย โดยมีชื่อเรียกในตำนานว่า “โอริคัลคุม” ลักษณะของทองเหลือง ทองเหลือง เป็นโลหะที่มีสีเหลืองและมีบางส่วนที่คล้ายกับทองคำเป็นอย่างมาก แถมยังมีคุณสมบัติในการต่อต้านการเกิดสนิมได้เป็นอย่างดี จึงมักจะมีการนำทองเหลืองมาทำเป็นเครื่องประดับเพื่อตกแต่งในบ้านเรือนและเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ด้วย สำหรับการค้นพบทองเหลืองนั้น คาดว่าน่าจะมีการค้นพบมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีการนำเอาทองแดงมาหลอมละลายกับแร่คาลาไมน์ เพื่อดูดเอาสังกะสีออกมา แล้วผสมเข้ากับทองแดงจนกลายมาเป็นเป็นทองเหลืองในที่สุด คุณสมบัติของทองเหลือง ทองเหลือง ก็คือ โลหะที่มีการผสมระหว่างทองแดงและสังกะสีเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ก็เพราะสังกะสีสามารถละลายในทองแดงได้ ซึ่งปริมาณของสังกะสีที่ใส่ลงไปในทองแดงนั้นจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ผลิตเอง โดยจะทำให้ทองเหลืองที่ได้ มักมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ไม่สามารถกำหนดคุณสมบัติอย่างตายตัวได้ แต่สำหรับคุณสมบัติที่ดีนั้น จะต้องมีคุณสมบัติหลักๆ ดังนี้ คือ สามารถทนต่อการกัดกร่อนและสภาพอากาศได้ดี ทั้งมีความแข็งแรงทนทานและทนต่อรอยขีดข่วนได้อย่างดีเยี่ยม ข้อดีของทองเหลืองต่ออุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ทองเหลือง สามารถนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมได้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการนำมาประกอบกับเครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ของรถยนต์ และอุปกรณ์สำคัญอื่นๆ อีกมากมาย […]

วัสดุ-ทองเหลือง (Brass)

ทองเหลือง (Brass) เป็นโลหะผสม (alloy) ระหว่างทองแดงกับสังกะสีเป็นหลัก อัตราส่วนที่ใช้ ผสมขึ้นกับความต้องการในการใช้งาน โดยทั่วไปจะผสมทองแดงลงในอัตราส่วน 5-45% หรือเพิ่มตามต้องการ ส่วนที่เหลือเป็นสังกะสี และโลหะเจือปนอื่นเล็กน้อย ซึ่งจะได้โลหะทองเหลืองที่มีความแข็ง และเหมาะแก่การใช้งานแตกต่างกันไป และหากใช้ทองแดงผสมมากกว่า 50% เรียกว่า ทองเหลือง และใช้ทองแดงผสมมากกว่า 72% หรือมีสังกะสี 5-15% เรียกว่า ทอมแบก (Tombac)  คุณสมบัติของทองเหลือง ผิวแวววาว มีความแข็งสูง– ทนต่อแรงกระแทกได้ดี ทนต่อการกัดกร่อนได้สูง– มีจุดหลอมเหลวไม่สูง สามารถทำขึ้นได้ในระดับครัวเรือนที่ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน การใช้งานทนทาน   ชนิด และส่วนผสมทองเหลือง ในอุตสาหกรรมผลิตทองเหลืองจะแยกมาตรฐานทองเหลืองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. ทองเหลืองรีดเป็นแท่งหรือเป็นแผ่น (Wrough Copper Alloys) 2. ทองเหลืองรีดเป็นแท่งหรือเป็นแผ่น (Wrough Copper Alloys) ส่วนการแยกชนิดทองเหลืองตามส่วนผสม ได้แก่ 1. Alpha brass เป็นทองเหลืองที่มีส่วนผสมของทองแดงมากกว่า 61% มีโครงสร้างเป็นสารละลายของของแข็ง (solid solution) […]

วัสดุ-จาระบี (Grease)

  จาระบี (Grease) คือ ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นที่มีลักษณะกึ่งของแข็งและกึ่งของเหลว เป็นส่วนผสมของน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน สารเพิ่มคุณภาพทางเคมีและสบู่ น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานที่ใช้ทำจาระบีมักเป็นพวกที่มีดัชนีความหนืดสูง เพื่อให้สามารถใช้ได้ทั้งอุณหภูมิสูงและต่ำในบางที่ที่ไม่สามารถใช้น้ำมันหล่อลื่นได้  คุณสมบัติของจาระบี ความอ่อนแข็ง (Consistency) ความอ่อนหรือแข็งของจาระบี วัดได้โดยการปล่อยให้เครื่องมือรูปกรวยปลายแหลมจมลงในเนื้อจาระบีที่อุณหภูมิ 25°C เป็นเวลา 5 วินาที และวัดความลึกเป็น 1/10 ของมิลลิเมตร ถ้ากรวยจมลงได้ลึกมากก็แสดงว่าจาระบีอ่อนมาก สถาบันจาระบีในสหรัฐฯ (National Lubricating Grease Institute ชื่อย่อ NLGI) ได้กำหนดเบอร์ของจาระบีไว้ดังนี้ https://bit.ly/2m5l3mo เบอร์จาระบี จะแสดงว่าเมื่อเบอร์จาระบีสูงขึ้น จาระบีจะมีสภาพแข็งขึ้น ส่วนระยะจมนั้นแสดงถึงความลึกของกรวยที่จมลงในจาระบี ถ้าระยะจมมาก แดสงว่าจาระบีมีสภาพอ่อนนิ่มกว่าระยะจมน้อย ความอ่อนแข็งของจาระบีขึ้นกับเปอร์เซนต์ของสบู่และความหนืดของน้ำมันพื้นฐาน ภาพแสดงเครื่องทดสอบความอ่อนแข็ง จุดหยด (Drop Point) คือ อุณหภูมิที่จาระบีหมดความคงตัว กลายเป็นของเหลวจนไหลออก ดังนั้นจุดหยด จึงเป็นจุดบ่งบอกถึงอุณหภูมิสูงสุดที่จาระบีทนได้ โดยทั่วไปอุณหภูมิใช้งานจะต่ำกว่าจุดหยด 40° – 65°C การใช้จาระบีในที่อุณหภูมิสูงๆจึงต้องพิจารณาถึงจุดหยดด้วย สารเพิ่มคุณภาพ (Additives) สารเคมีเพิ่มคุณภาพที่ผสมลงในจาระบี จะมีผลต่อสภาพการใช้งาน […]

วัสดุ-คุณสมบัติของสแตนเลส (Stainless)

เหล็กกล้าไร้สนิม หรือ สเตนเลส (อังกฤษ: Stainless steel) นั้น ในทางโลหกรรมถือว่าเป็นโลหะผสมเหล็ก ที่มีโครเมียมอย่างน้อยที่สุด 10.5%  เนื่องจากโลหะผสมดังกล่าวไม่เป็นสนิมที่มีสาเหตุจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง ออกซิเจนในอากาศกับโครเมียมในเนื้อสเตนเลส  เกิดเป็นฟิล์มบางๆเคลือบผิวไว้ ทำหน้าที่ปกป้องการเกิดความเสียหายให้กับตัวเนื้อสเตนเลสได้เป็นอย่างดี  ปกป้องการกัดกร่อน และไม่ชำรุดหรือสึกกร่อนง่ายอย่างโลหะทั่วไป สำหรับในสหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการบิน นิยมเรียกโลหะนี้ว่า corrosion resistant steel เมื่อไม่ได้ระบุชัดว่าเป็นโลหะผสมชนิดใด  และคุณภาพระดับใด  แต่ในท้องตลาดเราสามารถพบเห็น สเตนเลสเกรด 18-8 มากที่สุด ซึ่งเป็นการระบุถึง ธาตุที่เจือลงในในเนื้อเหล็กคือ โครเมียมและ นิเกิล ตามลำดับ สแตนเลสประเภทนี้จัดเป็น Commercial Grade คือมีใช้ทั่วไปหาซื้อได้ง่าย มักใช้ทำเครื่องใช้ทั่วไป ซึ่งเราสามารถจำแนกประเภทของสเตนเลสได้จากเลขรหัสที่กำหนดขึ้นตามมาตรฐาน AISI เช่น 304 304L 316 316L เป็นต้น ซึ่งส่วนผสมจะเป็นตัวกำหนดเกรดของสเตนเลส ซึ่งมีความต้องการในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ปกติ Stainless steel จะไม่เป็นสนิมเพราะที่ผิวของมันจะมีฟิล์มโครเมียมออกไซด์ บางๆเคลือบผิวอยู่อันเนื่องมาจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง Cr ใน […]

วัสดุ-ความแตกต่างระหว่าง PTFE และ Teflon?

        ความแตกต่างระหว่าง PTFE และ Teflon?            บางครั้งก็ยากมากที่จะหาคำตอบว่า“ แท้จริงแล้วหมายถึงอะไร” PTFE vs Teflon เป็นตัวอย่าง จักรวาลของเราเต็มไปด้วยศัพท์แสงทางเทคนิคคำย่อและชื่อทางการค้า ดังนั้นหากต้องการทราบความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง PTFE และ Teflon และแบบไหนดีกว่ากันระหว่าง Teflon กับ PTFE เรามาทำความเข้าใจกันว่า PTFE และ Teflon เกี่ยวข้องกับอะไรกัน   PTFE คืออะไร? PTFE เป็นคำย่อหรือรูปแบบย่อของ polytetrafluoroethylene ซึ่งเป็นโพลีเมอร์สังเคราะห์ที่ประกอบด้วยคาร์บอนและฟลูออรีน PTFE มีต้นกำเนิดมาจาก tetrafluoroethylene และใช้กันอย่างแพร่หลายในการใช้งานที่หลากหลายเนื่องจากคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์หลายประการ   คุณสมบัติของ PTFE คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ที่ทำให้ PTFE เป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายคือ จุดหลอมเหลวสูง: PTFE มีจุดหลอมเหลวประมาณ 327 ° […]

วัสดุ-ข้อดีวาล์วUPVC วาล์วควบคุมพลาสติก กับวาล์วเหล็กหรือโลหะ

สวัสดีคะ ท่านผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน หลังจากที่สถานการณ์เรื่องโรคระบาดเริ่มคลี่คลายลงบ้างนะคะ  วันนี้แอดมินนำบทความมาฝากคะนั่นก็คือการใช้วาล์วUPVC ทดแทนวาล์วโลหะคะ ซึ่งหลายๆท่านพี่ๆ โอเปอร์ หรือสายโรงงาน นักออกแบบระบบเริ่มเห็นการใช้งานที่มากขึ้นกันบ้างแล้วนะคะ ระบบส่งสารผ่านท่อ ส่วนใหญ่มีส่วนประกอบ เช่น ท่อ ตัวระบาย ตัวกรอง มาตรวัดน้ำ และวาล์วควบคุม ซึ่งถูกสร้างขึ้นจากโลหะ เหล็กหล่อ เหล็กเหนียว อย่างไรก็ตามแนวโน้มในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นถึงการใช้พลาสติก วาล์วUPVC มากขึ้นเรื่อยๆ เหตุใดผู้ออกแบบระบบน้ำ ระบบสารเคมี จึงเลือกวาล์วUPVC วาล์วควบคุมแบบพลาสติกมากขึ้น มากกว่าชิ้นส่วนโลหะ หรือวาล์วเหล็กที่เคยใช้ในอดึตและยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน อาจเป็นเพียงเรื่องของการลดต้นทุนหรือที่จริงแล้วมันมีอะไรมากกว่านั้นนะ? วันนี้แอดมินชวนคิด 6 เหตุผลที่ วาล์ว UPVC ได้เปรียบ วาล์วเหล็กกันคะ   ทำไมต้องใช้วาล์วUPVC วาล์วควบคุมพลาสติก ? เรามาดูสาเหตุหลัก ๆ ที่นักออกแบบหลายคนเลือกใช้วาล์ว UPVC วาล์วพลาสติกเทียบกับโลหะเป็นวัสดุก่อสร้างสำหรับควบคุมการให้น้ำ เคมี หรือสารไหลในระบบกันคะ ความทนทานต่อสารเคมี: (Chemical Resistance, Corrosion Resistance) ข้อดีอย่างหนึ่งของส่วนประกอบโพลีเมอร์ พลาสติก […]

วัสดุ-กรรมวิธีผลิตท่อเหล็กกล้า (STEEL PIPES MANUFACTURING PROCESS)

กรรมวิธีผลิตท่อเหล็กกล้า ( steel Pipe Manufacturing Process ) ท่อเหล็กกล้าที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน แบ่งตามกรรมวิธีการผลิตได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ ท่อเชื่อมตะเข็บ ( welded pipe ) และท่อไร้ตะเข็บ  (seamless pipe ) 1.ท่อเชื่อมตะเข็บ ( Welded Pipe หรือ  Seam Pipe ) ท่อชนิดนี้ผลิตโดยการนำแผ่นเหล็กมาม้วน – เชื่อม ซึ่งวิธีม้วนทำได้ทั้งม้วนแนวยาว หรือม้วนแบบ spiral ท่อเชื่อมตะเข็บแบ่งประเภทตามวิธีการเชื่อมตะเข็บ ดังนี้ Electric Resistance Welding (ERW) เป็นวิธีการเชื่อมตะเข็บท่อโดยอาศัยแรงอัด (pressing) ในขณะที่ตะเข็บหลอมละลายด้วยความร้อนที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า โดยไม่มีการอาร์ค ( arc ) กรรมวิธีผลิตเริ่มต้นด้วยการคลี่เหล็กแผ่นออกจากคอยล์ จากนั้นจะค่อยๆม้วน เหล็กแผ่นหั้ยเป็นรูปทรงกระบอกอย่างต่อเนื่อง ผ่านลูดรัดหลายแท่นโดยไม่ต้องใช้ความร้อน ( cold forming) […]

วัสดุ-Aluminum กับ Aluminum Alloys ต่างกันอย่างไร

Aluminum เป็นโลหะผสมที่ประกอบด้วยธาตุ ทองแดง (Copper/Cu), แมกนีเซียม (Magnesium/Mn), แมงกานีส (Manganese/Mg), ซิลิกอน (Silicon/Si) และสังกะสี (Zinc/Zi) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มหลักดังนี้ 1. อลูมิเนียมหล่อผสมอัลลอย (Casting Alloys) แบ่งหมวดย่อย Heat-Treatable / Non Heat-Treatable 2. อลูมิเนียมผสมอัลลอย (Wrought Alloys) แบ่งหมวดย่อย Heat-Treatable / Non Heat-Treatable ประมาณ 85% ของอลูมิเนียมใช้ทำแผ่นรีดฟอยล์ และบีดอัดเป็นท่อน (Extrusions) อลูมิเนียมผสมอัลลอย(Casting Alloys) เป็นผลิตภัณฑ์ที่คุ้มค่าใช้จ่ายเนื่องจากมีจุดหลอมเหลวต่ำ แต่โดยปกติจะมีความแข็งแรงน้อยกว่า อลูมิเนียมผสมอัลลอย (Wrought Alloys) และที่สำคัญที่สุดของระบบผสมอัลลอยคือ ปริมาณของอลูมิเนียม (Al) ซิลิกอน (Si) ที่ระดับสูงของซิลิกอน (4.0% ถึง 13%) นำไปสู่การหล่ออลูมิเนียมที่มีคุณภาพดี […]

ระบบท่อ-เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับงานท่อ

“ท่อ” เป็นอีกหนึ่งสื่งสำคัญในระบบงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย วันนี้เรามาเรียนรู้เรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานท่อกันค่ะ จะได้เลือกใช้ท่อกับงานของท่านได้อย่างเหมาะสม . คำศัพท์เกี่ยวกับท่อและความหมาย (Terminology) การแปลคำศัพท์เทคนิคภาษอังกฤษเป็นภาษาไทย ให้กระชับและเข้าใจง่าย เป็นเรื่องที่มีปัญหามาโดยตลอด  บางครั้งอาจทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนหรือเข้าใจผิด  ดังนั้นจึงขอให้ท่านผู้อ่านใช้คำแปลและ/หรือความหมาย  ที่ได้อธิบายต่อไปนี้  ในการทำความเข้าใจเนื้อหาข้อมูล และตาราง กรรมวิธีผลิตท่อเหล็ก (Steel Pipe Manufacturing Process) ท่อเหล็กกล้าที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน แบ่งตามกรรมวิธีการผลิตได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ ท่อเชื่อมตะเข็บ (Welded pipe) และท่อไร้ตะเข็บ (Seamless pipe) 1.ท่อเชื่อมตะเข็บ (Welded pipe) ท่อชนิดนี้ผลิตโดยการนำแผ่นเหล็กมาม้วน – เชื่อม ซึ่งวิธีการม้วนทำให้ทั้งม้วนตามแนวยาว หรือม้วนแบบ Spiral ท่อตะเข็บแบ่งประเภทตามวิธีการเชื่อมตะเข็บดังต่อไปนี้ Electric  Resistance  Welding  (ERW)  เป็นวิธีการเชื่อมโดยอาศัยแรงอัด (pressing) ในขณะที่ตะเข็บหลอมละลายด้วยความร้อนที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า โดยไม่มีการอาร์ค (arc) กรรมวิธีผลิตเริ่มต้นด้วยการคลี่เหล็กแผ่นออกจากคอยล์ จากนั้นจะค่อยๆม้วนเหล็กแผ่นให้เป็นรูปทรงกระบอกอย่างต่อเนื่อง ผ่านลูกรีดหลายแท่นโดยไม่ต้องใช้ความร้อน […]

ระบบท่อ-ปัญหาที่พบในระบบท่อ ตอนที่ 3 ปัญหาเสียงดัง

ปัญหาเสียงดัง การลดแรงดันของก๊าซหรือไอน้ำผ่านวาล์วจะทำให้เกิดการไหลปั่นป่วนที่ทางออกของวาล์ว ส่งผลให้เกิดเสียงดัง ในการแก้ปัญหาดังกล่าวสามารถทำได้โดยการติดตั้งตัวระงับเสียงที่มีลักษณะรูพรุน โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะช่วยลดเสียงความถี่ต่ำและกลาง แต่จะเพิ่มความถี่สูง นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดการไหลอย่างราบเรียบตลอดหน้าตัดท่อมากยิ่งขึ้นด้วย แก้ปัญหาเสียงดังในท่อประปาจากแรงดันน้ำ           การเปลี่ยนปั๊มน้ำให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม อาจส่งผลให้เกิดการไหลกระแทกของน้ำในเส้นท่ออย่างแรงที่เรียกกันว่า “Water Hammer Effect” ซึ่งจะส่งผลกระทบกับระบบเส้นท่อประปาและข้อต่อต่างๆ ที่อาจเกิดการแตกร้าวและรั่วซึมตามมา การแก้ปัญหาด้วยการสร้างจุดรับแรงกระแทกกระทันหัน จะช่วยลดและสลายแรงกระแทกไป          ปฏิกิริยาที่เรียกกันว่า “Water Hammer Effect” ซึ่งแปลความมาจากอาการที่เกิดการไหลกระแทกของน้ำในเส้นท่ออย่างแรง จากการหยุดการไหลของน้ำที่ปลายทางออกอย่างกระทันหัน ถ้าหากระบบเส้นท่อประปาในบ้านส่วนใดที่ไม่ได้ยึดแน่นติดตรึงกับตัวบ้าน ส่วนนั้นจะเกิดอาการสะบัดและกระแทกกับวัสดุรอบข้างทำให้เกิดเสียง สำหรับอาการที่เป็นหนักๆ ก็จะเกิดเสียงน้ำกระแทกเวลาที่ปิดก๊อกราวกับว่ามีใครเอาค้อนมาตีที่เส้นท่อ             แรงกระแทกนี้นอกจากสร้างความรำคาญแล้วยังจะก่อปัญหาเรื่องแรงดันที่ไปกระแทกดันให้ข้อต่อต่างๆ ในจุดที่เชื่อมต่อไม่ดีเกิดการหลุดรั่วไหลได้ หรือทำให้พวกข้อต่อ-เส้นท่อที่แกว่งสะบัดเกิดการแตกร้าวและรั่วซึมจากการกระแทกที่สะสมซ้ำๆ เป็นเวลานาน หนักสุดคือก่อความเสียหายให้กับชิ้นส่วนพวกวาล์วปิด-เปิดของตัวก๊อก หรือวาล์วน้ำต่างๆ ทำให้เกิดอาการที่ว่า ปิดน้ำไม่อยู่ น้ำไหลในลักษณะที่เป็นหยดแม้จะปิดสุดแล้วก็ตาม ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง ปาโก้จำหน่ายวาล์วและสินค้าเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น  โฟลมิเตอร์ โรตามิเตอร์ วัดการไหล เกจวัดแรงดัน Pressure_gauge เพรชเชอร์เกจ valvecontrol valveคอนโทรลวาล์ววาล์วติดหัวขับเซฟตี้วาล์วโซลินอยด์วาล์ว […]

ระบบท่อ-ปัญหาที่พบในระบบท่อ ตอนที่ 2 วอเตอร์แฮมเมอร์ หรือค้อนน้ำ (Water Hammer)

วอเตอร์แฮมเมอร์ หรือค้อนน้ำ (Water Hammer) เป็นปรากฏการณ์ที่ความดันในท่อมีการเปลี่ยนเเปลงอย่างรุนเเรงและฉับพลัน โดยมีความดันเพิ่มขึ้นและลดลงจากความดันเดิมในลักษณะเป็นคลื่นขึ้นลงสลับกันไปเป็นอนุกรม                 สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดค้อนน้ำ ก็คือมีการเปลี่ยนเเปลงความเร็วของการไหลในท่ออย่างกระทันหัน เช่น ปิดประตูน้ำอย่างกะทันหัน เป็นต้น เมื่อมีการเปลี่ยนเเปลงความเร็วในลักษณะดังกล่าว โมเมนตัมของของเหลวจะถูกเปลี่ยนไปกลายเป็นแรงกระเเทกบนประตูน้ำและผนังของท่อ แรงกระแทกที่เกิดขึ้นถ้าหากมากเกินกว่าความสามารถของท่อจะรับได้ก็จะทำให้ท่อระเบิดหรือทำให้ระบบท่อเเละอุปกรณ์เสียหายอย่างรุนแรงขึ้นได้ ระดับความเสียหายเนื่องจากวอเตอร์เเฮมเมอร์ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและความยืดหยุ่น (EIasticlty) ของท่อ ความเร็วของการไหล อัตราการเปลี่ยนเเปลงความเร็วการไหล ลักษณะการยึดท่อให้อยู่กับที่ และระบบป้องกันวอเตอร์แฮมเมอร์ที่ติดตั้งไว้ เป็นต้น การป้องกันค้อนน้ำ วิธีป้องกันไม่ให้ค้อนน้ำที่เกิดขี้นมีความรุนเเรงมากจนทำความเสียหายให้แก่ระบบท่อนั้นทำโดยการลดความดันที่เกิดขึ้นให้เหลือยู่ในระดับที่ยอมให้โดย 1) เพิ่มระยะในการปิดประตูน้ำ หรือเปลี่ยนแปลงความเร็วโดยใช้เวลาให้มากกว่าเวลาวิกฤติ (crltlcaI time) Tc มากๆ 2) โดยการให้น้ำไหลออกมาจากท่อบ้างในขณะที่เกิดความดันมาก ๆ 3) โดยใช้ทั้งสองวิธีข้างต้นร่วมกัน อุปกรณ์ป้องกันค้อนน้ำ           การป้องกันวอเตอร์แฮมเมอร์จากการหยุดเดินเครื่องสูบน้ำอาจทำได้โดยการลดความเร็วของเครื่องยนต์ลงทีละน้อยเป็นขั้นๆจนอัตราการไหลน้อยมากแล้วจึงดับเครื่องยนต์     ในกรณีที่ต้นกังลังเป็นมอเตอร์ซึ่งมีรอบการหมุนคงที่ก็ให้ใช้วิธีปิดประตูจ่ายน้ำลงทีละน้อยเป็นขั้นๆ เช่นเดียวกันจนกระทั่งปิดสนิทหรือเกือบสนิทแล้วจึงปิดสวิทช์  การเริ่มเดินเครื่องสูบน้ำก็ทำในลักษณะเดียวกันแต่ย้อนขั้นตอน   อย่างไรก็ตาม บางครั้งมีความจำเป็นต้องหยุดเดินเครื่องอย่างกะทันหัน  หรืออาจมีสาเหตุมาจากกระแสไฟฟ้าขัดข้อง    เครื่องยนต์เสีย เป็นต้น    ดังนั้นในระบบที่มีโอกาสเกิดวอเตอร์แฮมมอร์ได้ง่ายจึงควรมีอุปกรณ์ป้องกันช่วย  เช่น   pressure Rellef valve    ,   […]

ระบบท่อ-ปัญหาที่พบในระบบท่อ ตอนที่ 1 >>> ปัญหาการเกิดโพรงอากาศ (Cavitation)

ทำความรู้จักกับ การเกิดโพรงอากาศ (Cavitation) กันดีกว่า           เมื่อของเหลวไหลผ่านวาล์วที่ปิดลงบางส่วนทำให้ความดันจลน์เพิ่มขึ้นและความดันสถิตของของเหลวลดลงซึ่งอาจลดลงถึงความดันไอของของเหลวทำให้ของเหลวในย่านความดันต่ำเริ่มกลายเป็นฟองไอและรวมตัวกันกลายเป็นโพรงไอ เมื่อของเหลวและโพรงไอเลื่อนตัวออกห่างจากวาล์วความดันจลน์เริ่มลดลงความดันสถิตเพิ่มมากขึ้นทำให้โพรงไอดังกล่าวยุบตัวลงอย่างรวดเร็ว จากปรากฏการดังกล่าวทำให้เกิดการกระแทกกันของอนุภาคของเหลวบริเวณที่โพรงไอยุบตัวทำให้แรงดับบริเวณดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นในช่วงสั้น ๆ ถ้าแรงดันดังกล่าวเกิดใกล้กับผนังท่อหรือวาล์วจะทำให้เกิดการสึกหรอได้ ปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดในระบบท่อคอนเดนเซทเนื่องจากน้ำมีอุณหภูมิสูงความดันไอของของเหลวจะเพิ่มขึ้นทำให้เกิดฟองไอได้ง่าย Cavitation หรือปรากฏการณ์การเกิดโพรงไอ หรือโพรงอากาศ เป็นปรากฏการณ์ในการเปลี่ยนสถานะของน้ำจากของเหลวเป็นไอและมีปริมาตรเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายตัวและยุบตัวลงในภายหลังเนื่องมาจากเมื่อน้ำไหลผ่านส่วนต่างๆของปั้มนั้น น้ำจะเปลี่ยนแปลงความเร็วในการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาอันเนื่องมาจากพื้นที่หน้าตัดที่เปลี่ยนแปลงหรือรูปร่างลักษณะของปั้มและสถานการณ์อื่น ๆ ที่ส่งผลให้แรงดันของน้ำเพิ่มขึ้นและลดลงอยู่ตลอดเวลา การเกิด Cavitation นั้นเกิดจากการที่มีฟองอากาศเกิดขึ้นในปั๊ม(Pump) ขณะปั๊มทำงาน โดยผลของการเกิด Cavitation นั้นจะทำให้ชิ้้นส่วนของปั๊ม เกิดความเสียหาย เช่นการเกิด Cavitation Pitting หรือการเกิด Dry Running ทำให้ Shaft Seal เกิดการรั่ว การเกิด Cavitation นั้นเกิดมาจากหลายสาเหตุ NPSH(A) < NPSH(R) การใช้งานปั๊มใกล้กับอุณหภูมิจุดเดือดของของเหลว การเลือกปั๊มไม่เหมาะสมเช่น ปั๊มทำ flow ได้สูงเกินไป การใช้งานขณะที่ด้าน suction มีการทำ vacuum กลไกสำคัญในการเกิด Cavition คือการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงความดัน […]

ระบบท่อ-ต้องเข้าใจ ก่อนทำระบบน้ำในบ้าน >>>ระบบจ่ายน้ำ

๐ ระบบจ่ายน้ำภายในบ้าน  “ระบบน้ำดี หรือ ระบบประปา”           ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญไม่แพ้ส่วนประกอบอื่นๆ ภายในบ้าน แต่การเลือกใช้อุปกรณ์ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนวิธีการติดตั้ง มักจะเป็นปัญหาสำคัญสำหรับมือใหม่หัดสร้างบ้านอย่างเราๆ เสมอ  เลือกอย่างไร???  ปัจจุบันแบ่งระบบได้เป็น 2 ประเภท ระบบที่ 1 ระบบจ่ายน้ำขึ้น (UP FEED SYSTEM)             เป็นระบบจ่ายน้ำที่นิยมใช้ตามบ้านเรือนทั่วไป เหมาะกับอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 3 ชั้น เป็นระบบที่นิยมกันมาก โดยติดตั้งปั๊มน้ำกับแท็งก์น้ำที่อยู่ชั้นล่าง อาจตั้งไว้หน้าบ้านหรือหลังบ้านก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมในการเดินท่อน้ำเข้าสู่ตัวบ้าน โดยหลักการเราจะตั้งแท็งก์เพื่อเก็บน้ำที่ผ่านจากมิเตอร์หน้าบ้าน แล้วจึงต่อมายังปั๊มน้ำเพื่อเพิ่มแรงดันน้ำ ให้สามารถจ่ายน้ำขึ้นไปยังชั้นที่อยู่สูงขึ้นไปได้ ระบบนี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิดตามประเภทของการจ่ายน้ำ คือ  ๐ การจ่ายตรงจากท่อน้ำประปาหลัก (Direct Feed Up) ๐ การจ่ายผ่านปั๊มน้ำ (Pump Feed Up)     […]

ระบบท่อ-ความแตกต่างของวาล์วระบายแรงดัน “RELIEF VALVE, SAFETY VALVE และ SAFETY RELIEF VALVE”

ทุกคนเคยเจอปัญหาหรือสงสัยกันไหมครับ ว่าวาล์แต่ละตัวที่ชื่อเรียกมันค่อนข้างจะคล้ายกันแบบนี้                            “RELIEF VALVE, SAFETY VALVE, SAFETY RELIEF VALVE”  มันจะมีหน้าที่หรือการทำงานที่แตกต่างกันอย่างไร? ผมเชื่อว่าทุกๆคนคงอยากที่จะคลายข้อสงสัยกันแล้ว  งั้นเอาอย่างนี้นะครับ!! วันนี้ทาง Pako engineering เราจะมาเล่าให้ฟังกันง่ายๆเลยครับ ว่าวาล์ระบายความดันแต่ละแบบ แต่ละชื่อเนี่ยมันมีหน้าที่อะไรบ้าง ซึ่งวาล์ระบายความดันจะมีลักษณะการเปิดระบายไม่เหมือนกัน หน้าวาล์วจะถูกออกแบบให้เปิดเพื่อระบายแรงดันส่วนเกินและปิดเมื่อแรงดันลดลงต่ำกว่าที่กำหนด โดยมีลักษณะการเปิดอย่างรวดเร็ว (pop action) หรือค่อย ๆ เปิดตามสัดส่วนแรงดันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบครับ ทุกคนน่าจะอยากรู้กันแล้วใช่ไหมครับว่ามันแตกต่างกันอย่างไร  อ้าว!! แล้วจะรอช้าอยู่ทำไมกันมารู้ไปพร้อมๆกันเลยครับ 1. RELIEF VALVE  หน้าที่หลักของวาล์ชนิดนี้คือ จำกัดความดันระบบหรือป้องกันอันตรายจากความดันในระบบที่สูงเกินไปให้มีค่าตามกำหนด RELIEF VALVE  มีโครงสร้าง 2 ลักษณะคือ โครงสร้างแบบพอพเพต  ข้อดีของโครงสร้างแบบพอพเพตคือมีช่วงชักสั้น จึงมีผลทำให้การตอบสนองต่อการทำงานได้รวดเร็วและป้องกันการกระพือของพอพเพตจึงติดตั้งอุปกรณ์ด้านการกระพือที่เรียกว่า แดมปิ้ง […]

ระบบท่อ-Water Hammer ทำไมน้ำถึงกลายเป็นค้อน

วอเตอร์แฮมเมอร์ (water Hammer) เป็นปรากฏการณ์ที่ความดันในท่อมีการเปลี่ยนเเปลงอย่างรุนเเรงและฉับพลัน โดยมีความดันเพิ่มขึ้นและลดลงจากความดันเดิมในลักษณะเป็นคลื่นขึ้นลงสลับกันไปเป็นอนุกรม สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดวอเตอร์แฮมเมอร์ ก็คือมีการเปลี่ยนเเปลงความเร็วของการไหลในท่ออย่างกระทันหัน เช่น ปิดประตูน้ำอย่างกะทันหัน เป็นต้น เมื่อมีการเปลี่ยนเเปลงความเร็วในลักษณะดังกล่าวโมเมนตัมของของเหลวจะถูกเปลี่ยนไปกลายเป็นแรงกระเเทกบนประตูน้ำและผนังของท่อ แรงกระแทกที่เกิดขึ้นถ้าหากมากเกินกว่าความสามารถของท่อจะรับได้ก็จะทำให้ท่อระเบิดหรือทำให้ระบบท่อเเละอุปกรณ์เสียหายอย่างรุนแรงขึ้นได้ ระดับความเสียหายเนื่องจากวอเตอร์เเฮมเมอร์ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและความยืดหยุ่น (EIasticlty) ของท่อ ความเร็วของการไหล อัตราการเปลี่ยนเเปลงความเร็วการไหล ลักษณะการยึดท่อให้อยู่กับที่ และระบบป้องกันวอเตอร์แฮมเมอร์ที่ติดตั้งไว้ เป็นต้น ในขณะที่วาล์วกำลังถูกปิดหรือเปิดเพื่อเปลี่ยนอัตราการไหล พลังงานจลน์ของลำของไหลจะถูก เปลี่ยนเป็นแรงดันสถิตในท่อ ซึ่งแรงดันสถิตจะทำให้เกิดการกระแทกกับวาล์วหรือผนังท่อก่อให้เกิดการ สั่นสะเทือนและเกิดเสียงดังภายในท่อ การเปลี่ยนแปลงความดันจลน์เป็นแรงดันสถิตไม่ได้เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดตลอดเส้นท่อ แต่เป็นการคืบคลานจากจุดที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลอย่างทันทีทันได โดยส่วนใหญ่จะเกิดที่วาล์ว ขณะที่เกิดแรงดันสถิตที่วาล์วของเหลวที่ต้นทางยังคงมีความเร็วและไหลเข้าสู่ท่อ อยู่จนกระทั่งแรงดันสถิตเคลื่อนตัวมาถึงท่อต้นทางของเหลวทั้งหมดในท่อจึงจะหยุดนิ่ง แรงดันสถิตที่เพิ่มขึ้นในระบบท่อมากกว่าแรงดันสถิตปกติ  ดังนั้นของเหลวในระบบท่อจะไหลส่วนทางออกโดยแรงดันสถิต จะลดลงเข้าสู่ภาวะปกติโดยเริ่มต้นจากท่อต้นทางจนถึงวาล์วปลายทางอีกครั้งหนึ่ง การป้องกันวอเตอร์แฮมเมอร์ วิธีป้องกันไม่ให้วอเตอร์แฮมเมอร์ที่เกิดขี้นมีความรุนเเรงมากจนทำความเสียหายให้แก่ระบบท่อนั้นทำโดยการลดความดันที่เกิดขึ้นให้เหลือยู่ในระดับที่ยอมให้โดย 1 ) เพิ่มระยะในการปิดประตูน้ำ หรือเปลี่ยนแปลงความเร็วโดยใช้เวลาให้มากกว่าเวลาวิกฤติ (crltlcaI Time) Tc มากๆ 2) โดยการให้น้ำไหลออกมาจากท่อบ้างในขณะที่เกิดความดันมาก ๆ 3) โดยใช้ทั้งสองวิธีข้างต้นร่วมกัน อุปกรณ์ป้องกันวอเตอร์แฮมเมอร์ การป้องกันวอเตอร์แฮมเมอร์จากการหยุดเดินเครื่องสูบน้ำอาจทำได้โดยการลดความเร็วของเครื่องยนต์ลงทีละน้อยเป็นขั้นๆจนอัตราการไหลน้อยมากแล้วจึงดับเครื่องยนต์     ในกรณีที่ต้นกังลังเป็นมอเตอร์ซึ่งมีรอบการหมุนคงที่ก็ให้ใช้วิธีปิดประตูจ่ายน้ำลงทีละน้อยเป็นขั้นๆ เช่นเดียวกันจนกระทั่งปิดสนิทหรือเกือบสนิทแล้วจึงปิดสวิทช์   การเริ่มเดินเครื่องสูบน้ำก็ทำในลักษณะเดียวกันแต่ย้อนขั้นตอน   อย่างไรก็ตาม บางครั้งมีความจำเป็นต้องหยุดเดินเครื่องอย่างกะทันหัน  หรืออาจมีสาเหตุมาจากกระแสไฟฟ้าขัดข้อง    เครื่องยนต์เสีย เป็นต้น    ดังนั้นในระบบที่มีโอกาสเกิดวอเตอร์แฮมมอร์ได้ง่ายจึงควรมีอุปกรณ์ป้องกันช่วย  เช่น   pressure Rellef valve    ,   Air lnlet-relief valve  ,  Airchamber   , surge suppressor และ surge Tank  เป็นต้น pressure Relief valve  Pressure Relief valve เป็นวาล์ว ที่ทำหน้าที่ในลักษณะเดียวกันกับวาล์วนิรภัย (safety valve) กล่าวคือเมื่อความดันในท่อสูงกว่าที่กำหนดไว้ มันก็จะ เปิดกว้างออกและระบายน้ำทิ้งเพื่อลดความดันลง ความดันที่ตั้งไว้อาจควบคุมโดยสปริงหรือน้ำหนักก็ได้ อุปกรณ์แบบนี้เหมาะสำหรับท่อที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ซึ่งการระบายน้ำทิ้งจะมีผลช่วยให้ลดความดันในท่อลงไดับ้าง ชมสินค้า Pressure Relief valve  Air lnlet-relief valve  เป็นวาล์วที่จะเปิดให้อากาศไหลเข้ามาในท่อโดยอัตโนมัติเมื่อความดันในท่อต่ำกว่าความดันของบรรยากาศ  ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้ท่อแบนลง   อุปกรณ์ดังกล่าวนี้ยังใช้สำหรับระบายอากาคออกจากท่อด้วย โดยการติดตั้งไว้หลังท่อในบริเวณที่อยู่สูงกว่าแนวท่อส่วนอื่น อากาศที่ติดมากับน้ำก็จะไหลเข้าไปในอุปกรณ์นี้แล้วทำให้ลูกลอยลดระดับลงวาล์วเปิดและอากาศก็จะถูกระบายออกไป     การที่จำเป็นต้องระบายอากาศในท่อออกไปก็เพราะว่าถ้าความเร็วของการไหลไม่มากพอโพรงอากาศในท่อจะเป็นสิ่งกีดขวางการไหลโดยทำให้การไหลในช่วงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการไหลในทางน้ำเปิดแทนที่จะเป็นการไหลเต็มท่อ Air chamber  […]

ระบบ โปรแกรม-โปรแกรมและแพลตฟอร์ม ที่ใช้ใน SMEs

  ระบบโปรแกรมและแพลตฟอร์มของ PAKO               ทุกธุรกิจต่างพึ่งพาระบบหรือโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อให้งานสำเร็จ โดยการเลือกใช้ระบบนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงาน ต้นทุนในการใช้ระบบรวมไปถึงประสิทธิภาพของระบบนั้น ๆ โดย ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง มีระบบสำหรับการดำเนินงานดังนี้ Odoo WordPress Microsoft Platform Google Platform Line Social Media E-Commerce Platform    Odoo      คือ หนึ่งใน ERP (Enterprise Resource Planing) ระบบจัดการทางธุรกิจที่บูรณาระบบในองค์กรให้เป็นหนึ่งเดียว ยกตัวอย่างกิจกรรมทางธุรกิจเช่น การเสนอราคา, ติดตามการสั่งซื้อ, การเปิดบิล, การจัดส่ง เป็นต้น ทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งของการดำเนินงานที่รวมอยู่ในระบบ ERP  ตัวอย่าง “Odoo” WordPress     […]

ระบบ โปรแกรม-คุณสมบัติของ SCADA

คุณสมบัติของ SCADA คุณสมบัติที่สำคัญของ SCADA มีดังต่อไปนี้: การจัดการสัญญาณเตือน รูปแบบเส้นโค้งเทรนด์ การเข้าถึงและการดึงข้อมูล ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการประมวลผล   การจัดการสัญญาณเตือน การจัดการสัญญาณเตือนประกอบด้วยการเตือนแบบประทับเวลาเป็นหลักถึงความแม่นยำ 1 มิลลิวินาที เครือข่ายเดียวรับทราบและควบคุมการเตือนด้วยการแบ่งปันและการแสดงสัญญาณเตือนไปยังไคลเอนต์ทั้งหมดตามลำดับเวลา ดำเนินการจัดสรรหน้าการเตือนแบบไดนามิกและติดตามการเบี่ยงเบนและอัตราการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงสำหรับการเตือนแบบอะนาล็อก มีตัวเลือกของการเตือนภัยทางประวัติศาสตร์และการบันทึกเหตุการณ์ มีความสามารถในการปิดใช้งานการเตือนภัยออนไลน์และการปรับเปลี่ยนเกณฑ์ด้วยตัวเลือกในการเตรียมการเตือนภัยที่เรียกใช้เหตุการณ์และรายงานที่กระตุ้นด้วยสัญญาณเตือน   แนวโน้ม เส้นโค้งและรูปแบบของเทรนด์ประกอบด้วยการซูมเทรนด์และการแสดงข้อมูล ดำเนินการส่งออกและจัดเก็บข้อมูลแนวโน้มในอดีตด้วยแนวโน้มตามเหตุการณ์สำหรับการแสดงแนวโน้มระยะสั้นและระยะยาว มีตัวเลือกในการเปลี่ยนฐานเวลาออนไลน์และการดึงข้อมูลแนวโน้มในอดีตที่เก็บถาวร   การเข้าถึงและการจัดเก็บและการจัดการฐานข้อมูลแบบเรียลไทม์ การเข้าถึงและการดึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ประกอบด้วยการเข้าถึงข้อมูลโดยตรงแบบเรียลไทม์โดยผู้ใช้เครือข่ายใด ๆ ตลอดจนการเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ของบุคคลที่สาม มีความเข้ากันได้ของเครือข่ายสำหรับการอ่านเขียนและดำเนินการไปยังจุดอุปกรณ์ I / O ทั้งหมด รองรับคำสั่ง Direct SQL หรือการรายงานระดับสูง   เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการประมวลผล เครือข่ายคอมพิวเตอร์และด้านการประมวลผลรองรับเครือข่ายและโปรโตคอลที่เข้ากันได้ทั้งหมด มีการแจ้งเตือนแนวโน้มและการประมวลผลรายงานจากส่วนกลาง – ข้อมูลที่มีอยู่จากทุกที่ในเครือข่ายและเครือข่ายคู่สำหรับความซ้ำซ้อนของ LAN เต็มรูปแบบ การออกแบบสถาปัตยกรรมแบบเปิดพร้อมการทำงานหลายอย่างพร้อมกันแบบเรียลไทม์เป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่รองรับไคลเอนต์ / เซิร์ฟเวอร์อย่างเต็มที่ด้วยการอัปเดตโปรเจ็กต์แบบกระจายและการรองรับโหนดการแสดงผลหลายโหนดพร้อมกัน     ประโยชน์ของระบบ SCADA อายุการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของอุปกรณ์ที่ใช้โดยความรู้ทันทีเกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบ ลดต้นทุนแรงงานที่จำเป็นสำหรับการแก้ไขปัญหาหรือบริการ เพิ่มการปฏิบัติตามหน่วยงานกำกับดูแลผ่านการสร้างรายงานอัตโนมัติ […]

มาตรฐาน-อักษรย่อ ที่มักพบบนวาล์ว Valve abbravation

​อักษรย่อที่มักพบบนตัววาล์ว  เช่น 1000 WOG หมายถึงยังไงนะ ก็จะมีความหมายตามด้านล่างเลยจ้า 1000 WOG จะใช้คู่กับแรงดัน หมายถึงสามารถทนแรงดันได้ 1000 kpa ใช้ได้กับงานน้ำ งานน้ำมัน งานลม ก๊าซ Abbreviation Type of Valve BB Bolted Bonnet BC Bolted Cap BV Ball Valve BWE Butt Weld End CV Check Valve CWP Cold Working Pressure DD Double Disc DI Ductile Iron DWV Drainage, Waste, Vent Fitting FE Flange End FF […]

มาตรฐาน-หน้าแปลน(ลบ)

2.4  มาตรฐานหน้าแปลน ( Flange Standard) ลักษณะและชื่อเรียก     มาตราฐานที่ใช้เป็นประจำ   Standard Rating Standard Rating Standard Rating DIN PN10 ANSI ANSI 125 JIS JIS5k DIN PN16 ANSI ANSI 150 JIS JIS10k DIN PN25 ANSI ANSI 300 JIS JIS16k DIN PN40 ANSI ANSI 600 JIS JIS20k                       […]

มาตรฐาน-หน่วยวัด(ย้ายแล้ว)

2.1 หน่วยวัดต่างๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ https://www.unitconverters.net/   2.2 หน่วยวัดแรงดัน Pressure or mechanical stress unit, p Symbol Definition atmosphere (standard) atm – atmosphere (technical) atm ≡ 1 kgf / cm² bar bar – barye (cgs unit) – ≡ 1 dyn/cm² centimetre of mercury cmHg ≡ 13 595.1 kg / m³ × 1 cm × g centimetre of water […]

มาตรฐาน-ระบบไฮดรอลิค (Hydraulic) คืออะไร มีการทำงานอย่างไร

คือ ระบบการสร้างควบคุมและถ่ายทอดพลังงานโดยอัดน้ำมันไฮดรอลิกให้มีความสูงเพื่อให้แรงมาก ไปให้อุปกรณ์เปลี่ยนความดันของน้ำมันไฮดรอลิก(Hydraulic Oil) เป็นพลังงานกล (Actuator) หรือ (Hydraulic Cylinder) ข้อดีของระบบไฮดรอลิก 1. อุปกรณ์ทำงาน (Actuator)      มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบากว่าอุปกรณ์ทางไฟฟ้าและกลไก และสามารถออกแบบให้ตัวเครื่องมีแรงมากได้เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของเครื่องจักร โดยออกแบบให้แรงดันของน้ำมันไฮดรอลิกสูง ในกรณีที่ต้องการแรงมาก                             เปรียบเทียบระหว่างอุปกรณ์ไฮดรอลิกและอุปกรณ์ทางกล                                              […]

มาตรฐาน-ระบบนิวเมติกส์(Pneumatic)

  ระบบนิวเมติกส์  หมายถึง ระบบที่ใช้อากาศเป็นตัวทำงานในการส่งกำลังในการขับเคลื่อนอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องจักรต่างๆ ให้ทำงานหรือเกิดการเคลื่อนที่ เช่น กระบอกสูบหรือมอเตอร์ลม ข้อดีของระบบนิวเมติกส์ ลมอัดมีปริมาณไม่จำกัด ลมอัดสามารถส่งผ่านไปตามท่อที่มีระยะทางไกลๆ สามารถปล่อยทิ้งในบรรยากาศได้หลังจากใช้งานแล้ว สามารถกักเก็บลมอัดไว้ในถังเก็บได้ ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้ตามต้องการ ลมอัดไม่เกิดการระเบิดหรือติดไฟง่ายเมื่อมีการรั่วซึม ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องมีอุปกรณ์พิเศษราคาแพงเพื่อใช้ในการป้องกันการะเบิด ลมอัดไม่มีความไวต่อการเบี่ยงเบนของอุณหภูมิ มีความแน่นอนในการทำงานสูง แม้จะอยู่ในสภาวะอุณหภูมิสูงมากก็ตาม เครื่องมือและอุปกรณ์ในระบบนิวแมติกส์มีโครงสร้างแบบง่าย ทำให้มีราคาถูก ทนทาน และซ่อมบำรุงรักษาได้ง่าย ลมอัดมีความเร็วสูง ดังนั้นอัตราความเร็วในการทำงานก็จะสูงด้วย สามารถควบคุมความเร็ว ความดัน และแรงของลมอัดในระบบนิวแมติกส์ได้ตามต้องการ เครื่องมือและอุปกรณ์ของระบบนิวแมติกส์สามารถใช้งานเกินกำลังได้โดยไม่เกิดการเสียหาย การเคลื่อนที่ในทางตรงสามารถทำงานได้โดยตรง ข้อเสียของระบบนิวเมติกส์ ลมอัดมีความชื้นและฝุ่นละออง ดังนั้นจึงต้องมีอุปกรณ์กรองความชื้นและฝุ่นละอองก่อนนำไปใช้งาน ลมอัดมีเสียงดังเมื่อระบายทิ้งออกสู่บรรยากาศเพราะฉะนั้นจึงต้องมีอุปกรณ์เก็บเสียง (silencer) ลมอัดจะประหยัดเฉพาะที่ใช้แรงขยายถึงจุดหนึ่งเท่านั้น โดยปกติแล้วใช้ความดันที่ 600 kpa ( 6 bar ) ข้อจำกัดของแรงอยู่ที่ 20,000 – 30,000 นิวตัน ขึ้นอยู่กับความเร็วและระยะทางที่ใช้งาน ระบบ นิวแมติกส์ จะมีความดันที่ใช้งานเพียง 4-7 bar ลมอัดเป็นตัวกลางที่ค่อนข้างแพงเมื่อเปรียบเทียบกับระบบการเปลี่ยนแปลงพลังงานอื่นๆ […]

มาตรฐาน-ระบบ ISO มีทั้งหมดกี่ระบบ?

ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบันได้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันกันอย่างสูงเพื่อให้ธุรกิจของตนได้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการบริการ อุตสาหกรรมการผลิต เป็นต้น บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ คำว่า ISO ว่ามันคืออะไร และมีบทบาทสำคัญมากน้อยแค่ไหนในเชิงธุรกิจ ไอเอสโอจริง ๆ แล้ว เป็นชื่อของหน่วยงานหนึ่ง ตั้งอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์เมื่อพูดคำว่า ISO ออกมาแล้ว คนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในวงการนี้ แต่อาจจะพอเห็น หรือได้ยินมาบ้างทาง โทรทัศน์ ตามป้ายโฆษณา หรือตาม web site ต่าง ๆ ก็ดี คงจะนึกไปถึงอะไรที่มันเกี่ยวกับสินค้า, เกี่ยวกับโรงงาน, เกี่ยวกับการผลิต ซึ่งจริง มันก็ใช่ แต่ก็ไม่ถูกต้องไปทั้งหมดเสียทีเดียว ISO มาจากคำว่า International Standardization and Organization มีชื่อว่าองค์การมาตรฐานสากลหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ.1946 หรือพ.ศ.2489 มีสำนักงานอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีวัตถุประสงค์คล้ายๆกับองค์การการค้าอื่นๆของโลก คือจัดระเบียบการค้าโลกด้วยการสร้างมาตรฐานขึ้นมา   ช่วงที่ ISO ก่อตั้งขึ้น เป็นช่วงสงครามโลกก็เพิ่งจะจบลงใหม่ๆดังนั้นประเทศต่างๆก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก ต่างคนต่างขายของโดยมีระบบมาตรฐานไม่เหมือนกันจนกระทั่งในปี 2521 เยอรมนีเป็นตัวตั้งตัวตีให้ทั่วโลกมีมาตรฐานคุณภาพสินค้าเดียวกันส่วนองค์กรมาตรฐานโลกก็จัดตั้งระบบ ISO/TC176 ขึ้นต่อมาอีก1ปีอังกฤษพัฒนาระบบคุณภาพที่เรียกว่า BS5750 ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ จากนั้นในปี 2530 ISO จึงจัดวางระบบการบริหารเพื่อการประกันคุณภาพที่สามารถตรวจสอบได้ผ่านระบบเอกสารหรือที่เรียกว่า อนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 เป็นมาตรฐานที่กำหนดใช้ในทุกประเทศทั่วโลก วัตถุประสงค์ขององค์การ ISO ก็เพื่อส่งเสริมการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจ […]

มาตรฐาน-รวมเรื่องการแปลงหน่วย

รวมเรื่องการแปลงหน่วย สำหรับช่าง ที่ปฏิบัติหน้างาน ก็คงจะพบว่าจะต้องมีการแปลงหน่วย ไปๆ มาๆ กดเครื่องคิดเลขกันให้งุนงงไปหมด ปาโก้เราจึงได้รวบรวม Link ไว้ให้เพื่อความสะดวกในการใช้งานกันเลย สำหรับการใช้งาน ก็ให้กดไปที่แต่ละหัวข้อ จากนั้น ท่านสามารถพิมพ์ตัวเลข ลงในช่องทางด้านซ้ายมือ จากนั้นท่านจะได้ ค่าที่ผ่านการแปลงเป็นหน่วยต่างๆ มากมาย และสามารถนำไปใช้งานกันได้เลยค่ะ ในกรณีที่ แปลงออกมาแล้ว มีเลขเป็นจำนวนมาก เช่น 1,234,000 ระบบจำเขียนเป็น 1.234e+6 หมายถึง 1.234 คูณกับ 10 ยกกำลัง 6 นะคะ ตามแบบวิทยาศาสตร์ คะ หน่วยทั่วไป ความยาว เช่น เซนติเมตร เมตร กิโลเมตร ฟุต นิ้ว หลา ไมล์ น้ำหนัก เช่น กิโลกรัม ปอนด์ ออนซ์ เมตริกซ์ตัน ตัน(UK) ตัน(US) เกรน แกรม ปริมาตร เช่น คิว ลูกบาศก์เซนติเมตร ลูกบาศก์เมตร ลิตร […]

มาตรฐาน-มารู้จักเกลียวแบบต่างๆกัน

เกลียวนั้นถ้านับกันตามจริงแล้วมีมากมายหลายประเภทมากๆ หลายคนอาจจะมีขอสงสัย ว่ามันมีความแตกต่างกันอย่างไร หน้าตาเป็นแบบไหน วันนี้ปาโก้เลยถือโอกาสนำความรู้เรื่องเกลียวมาฝากทุกคนกัน มาตรฐานเกลียวทั่วโลกที่ใช้กัน จะแบ่งเป็นสองมาตรฐาน คือ มาตรฐานอเมริกา และมาตรฐานทางยุโรปและเอเชีย ซึ่งจะแบ่งชนิดและประเภทได้ดังนี้ 1.เกลียว NPT (National Pipe Thread Taper) (เกลียวสโลพ) เป็นเกลียวมาตรฐานอเมริกา ชื่อรุ่น เช่น ½” NPT 2.เกลียว BSP,BSPP (British Standard Pipe-Parallel) (Straight) (เกลียวตรง) เป็นเกลียวมาตรฐานของอังกฤษ ชื่อรุ่นเช่น G ¾” 3.เกลียว BSPT (British Standard Pipe-Taper) (เกลียวสโลพ) เป็นเกลียวมาตรฐานอังกฤษ ชื่อรุ่นเช่น R ¼” 4.เกลียว PF (JIS Standard Pipe) (Parallel) เป็นเกลียวตรง มาตรฐานญี่ปุ่น ชื่อรุ่นเช่น ½”PF 5.เกลียว […]

มาตรฐาน-มาตรฐานป้องกันน้ำ IP67, IP68 ตัวเลขเหล่านี้คืออะไร ??

  หลายท่านคงเคยได้ยินกันมาบ้างกับสมาร์ทโฟนรุ่นที่กันน้ำต่างๆ กับตัวเลขเหล่านี้ทั้ง “IP67″ และ “IP68″ คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าตัวเลขเหล่านี้มันมีความหมายว่าอย่างไร ?? วันนี้เรานำข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขเหล่านี้มาฝากกันให้หายสงสัยกัน อยากรู้แล้วไปชมกันเลย IP (Ingress Protecion Ratings) คือ มาตรฐานที่ใช้วัดความสามารถในการปกป้องสิ่งที่อยู่ภายในของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกทั้งหลาย มาตรฐานนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย European Committee for Electro Technical Standardization (CENELEC) (NEMA IEC 60529 Degrees of Protection Provided by Enclosures – IP Code), ซึ่งการจัดอันดับของการป้องกันจะแสดงด้วยตัวเลข 2 หลัก โดยหลักแรกจะแสดงความสามารถในการป้องกันของแข็ง และหลักที่สองจะเป็นความสามารถในการป้องกันของเหลว รูปแบบการแสดงมาตรฐานจะเป็น IPXX ซึ่ง XX คือตัวเลขดังกล่าว เช่น IP67, IP68 เป็นต้น ความหมายของตัวเลขหลักแรก 0 = ไม่ป้องกันอะไรเลย 1 = สามารถป้องกันของแข็งที่มีขนาดไม่เกิน 50 มิลลิเมตร […]

มาตรฐาน-ตารางไอน้ำ

ตารางไอน้ำ Steam Table คุณสมบัติของไอน้ำ (Properties of Steam) ในเทอร์โมไดนามิกส์นั้น งานที่ได้ส่วนใหญ่ได้มาจากการขยายตัวของแก๊สเป็นส่วนมาก มนุษย์ได้นิยามแก๊สในอุดมคติที่ (Ideal gas) มาเพื่อแสดงสมการเกี่ยวกับก๊าซออกมาซึ่งเป็นสมการของสภาวะ (Equation of state) ได้แต่ในความเป็นจริงแล้วแก๊สต่าง ๆ นั้นไม่สามารถแสดงสภาวะเหมือนสมการง่าย ๆ ดังเช่นแก๊สในอุดมคติ ซึ่งจะเรียกแก๊สเหล่านั้นว่า “แก๊สจริง (Real gas)” สำหรับวัฏจักรผลิตกำลังโดยทั่วไปจะกล่าวถึงไอน้ำ (Steam) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งความสัมพันธ์ทางสภาวะของไอน้ำค่อนข้างที่จะยุ่งยากซับซ้อน เนื่องจากไม่สามารถแสดงออกมาในรูปสมการสภาวะอย่างง่ายได้ ดังนั้นส่วนมากจึงนิยมแสดงโดยใช้แผนภาพ หรือตาราง กราฟ T-V ของน้ำเเละกระบวนการให้ความร้อนแก่น้ำเมื่อความดันคงที่ จากแผนภาพ T-V ณ ที่ความดันคงที่ สถานะของน้ำในช่วงต่าง ๆ มีดังนี้ – น้ำ (ของเหลว)  เมื่อได้รับความร้อน ปริมาตรจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง แต่อุณหภูมิของน้ำจะเพิ่มขึ้น (สภาวะที่ 1 ไปยังสภาวะที่ 2 ) โดยน้ำที่สภาวะนี้จะเรียกว่า ของเหลวอัด (Compressed […]

มาตรฐาน-ตารางแปลงอัตราการไหลแบบมวล

kilogram/second [kg/s]: gram/second [g/s]: gram/minute [g/min]: gram/hour [g/h]: gram/day [g/d]: milligram/minute [mg/min]: milligram/hour [mg/h]: milligram/day [mg/d]: kilogram/minute [kg/min]: kilogram/hour [kg/h]: kilogram/day [kg/d]: exagram/second [Eg/s]: petagram/second [Pg/s]: teragram/second [Tg/s]: gigagram/second [Gg/s]: megagram/second [Mg/s]: hectogram/second [hg/s]: dekagram/second [dag/s]: decigram/second [dg/s]: centigram/second [cg/s]: milligram/second [mg/s]: microgram/second [µg/s]: ton (metric)/second [t/s]: ton (metric)/minute [t/min]: ton (metric)/hour [t/h]: ton (metric)/day […]

มาตรฐาน-ตารางแปลงหน่วยแรงดัน

pascal [Pa]: exapascal [EPa]: petapascal [PPa]: terapascal [TPa]: gigapascal [GPa]: megapascal [MPa]: kilopascal [kPa]: hectopascal [hPa]: dekapascal [daPa]: decipascal [dPa]: centipascal [cPa]: millipascal [mPa]: micropascal [µPa]: nanopascal [nPa]: picopascal [pPa]: femtopascal [fPa]: attopascal [aPa]: newton/square meter: newton/square centimeter: newton/square millimeter: kilonewton/square meter: bar: millibar [mbar]: microbar [µbar]: dyne/square centimeter: kilogram-force/square meter: kilogram-force/sq. centimeter: kilogram-force/sq. millimeter: […]

มาตรฐาน-ตารางแปลงหน่วยแรง

newton [N]: exanewton [EN]: petanewton [PT]: teranewton [TN]: giganewton [GN]: meganewton [MN]: kilonewton [kN]: hectonewton [hN]: dekanewton [daN]: decinewton [dN]: centinewton [cN]: millinewton [mN]: micronewton [µN]: nanonewton [nN]: piconewton [pN]: femtonewton [fN]: attonewton [aN]: dyne [dyn]: joule/meter [J/m]: joule/centimeter [J/cm]: gram-force [gf]: kilogram-force [kgf]: ton-force (short) [tonf (US)]: ton-force (long) [tonf (UK)]: ton-force (metric) [tf]: […]

มาตรฐาน-ตารางแปลงหน่วยเวลา

second [s]: millisecond [ms]: microsecond [µs]: nanosecond [ns]: picosecond [ps]: femtosecond [fs]: attosecond [as]: shake: minute [min]: hour [h]: day [d]: week: month: month (synodic): year [y]: year (Julian): year (leap): year (tropical): year (sidereal): day (sidereal): hour (sidereal): minute (sidereal): second (sidereal): fortnight: decade: century: millennium: septennial: octennial: novennial: quindecennial: quinquennial: Planck time: www.unitconversion.org

มาตรฐาน-ตารางแปลงหน่วยอัตราเร่ง

decimeter/square second: meter/square second: kilometer/square second: hectometer/square second: dekameter/square second: centimeter/square second: millimeter/square second: micrometer/square second: nanometer/square second: picometer/square second: femtometer/square second: attometer/square second: gal [Gal]: galileo [Gal]: mile/square second: yard/square second: foot/square second [ft/s2]: inch/square second [in/s2]: Acceleration of gravity [g]: www.unitconversion.org

มาตรฐาน-ตารางแปลงหน่วยอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง

meter/liter [m/L]: exameter/liter [Em/L]: petameter/liter [Pm/L]: terameter/liter [Tm/L]: gigameter/liter [Gm/L]: megameter/liter [Mm/L]: kilometer/liter [km/L]: hectometer/liter [hm/L]: dekameter/liter [dam/L]: centimeter/liter [cm/L]: mile (US)/liter [mi/L]: nautical mile/liter [n.mile/L]: nautical mile/gallon (US): kilometer/gallon (US): meter/gallon (US): meter/gallon (UK): mile/gallon (US): mile/gallon (UK): meter/cubic meter [m/m3]: meter/cubic centimeter: meter/cubic yard [m/yd3]: meter/cubic foot [m/ft3]: meter/cubic inch [m/in3]: meter/quart (US): […]

มาตรฐาน-ตารางแปลงหน่วยอัตราการไหลแบบปริมาตร

cubic meter/second [m3/s]: cubic meter/day [m3/d]: cubic meter/hour [m3/h]: cubic meter/minute: cubic centimeter/day: cubic centimeter/hour: cubic centimeter/minute: cubic centimeter/second: liter/day [L/d]: liter/hour [L/h]: liter/minute [L/min]: liter/second [L/s]: milliliter/day [mL/d]: milliliter/hour [mL/h]: milliliter/minute [mL/min]: milliliter/second [mL/s]: gallon (US)/day [gal (US)/d]: gallon (US)/hour [gal (US)/h]: gallon (US)/minute: gallon (US)/second: gallon (UK)/day [gal (UK)/d]: gallon (UK)/hour [gal (UK)/h]: […]

มาตรฐาน-ตารางแปลงหน่วยพื้นที่

square meter [m2]: square kilometer [km2]: square hectometer [hm2]: square dekameter [dam2]: square decimeter [dm2]: square centimeter [cm2]: square millimeter [mm2]: square micrometer [µm2]: square nanometer [nm2]: hectare [ha]: are [a]: barn [b]: square mile [mi2]: square mile (US survey): square yard [yd2]: square foot [ft2]: square foot (US survey): square inch [in2]: circular inch: […]

มาตรฐาน-ตารางแปลงหน่วยพลังงาน

joule [J]: gigajoule [GJ]: megajoule [MJ]: kilojoule [kJ]: millijoule [mJ]: microjoule [µJ]: nanojoule [nJ]: attojoule [aJ]: megaelectron-volt [MeV]: kiloelectron-volt [keV]: electron-volt [eV]: erg: gigawatt-hour [GW*h]: megawatt-hour [MW*h]: kilowatt-hour [kW*h]: kilowatt-second [kW*s]: watt-hour [W*h]: watt-second [W*s]: newton meter [N*m]: horsepower hour [hp*h]: horsepower (metric) hour: kilocalorie (IT) [kcal (IT)]: kilocalorie (th) [kcal (th)]: calorie (IT) [cal […]

มาตรฐาน-ตารางแปลงหน่วยปริมาตร

cubic meter [m3]: cubic kilometer [km3]: cubic decimeter [dm3]: cubic centimeter [cm3, cc]: cubic millimeter [mm3]: liter [L, l]: exaliter [EL]: petaliter [PL]: teraliter [TL]: gigaliter [GL]: megaliter [ML]: kiloliter [kL]: hectoliter [hL]: dekaliter [daL]: deciliter [dL]: centiliter [cL]: milliliter [mL]: microliter [µL]: nanoliter [nL]: picoliter [pL]: femtoliter [fL]: attoliter [aL]: cc [cc, cm3]: drop: […]

มาตรฐาน-ตารางแปลงหน่วยน้ำหนัก

kilogram [kg]: gram [g]: exagram [Eg]: petagram [Pg]: teragram [Tg]: gigagram [Gg]: megagram [Mg]: hectogram [hg]: dekagram [dag]: decigram [dg]: centigram [cg]: milligram [mg]: microgram [µg]: nanogram [ng]: picogram [pg]: femtogram [fg]: attogram [ag]: dalton: kilopound [kip]: kip: slug: pound-force sq. second/foot: pound [lb]: pound (troy or apothecary): ounce [oz]: ounce (troy or apothecary): poundal […]

มาตรฐาน-ตารางแปลงหน่วยความเร็ว

meter/second [m/s]: meter/hour [m/h]: meter/minute [m/min]: kilometer/hour [km/h]: kilometer/minute [km/min]: kilometer/second [km/s]: centimeter/hour [cm/h]: centimeter/minute [cm/min]: centimeter/second [cm/s]: millimeter/hour [mm/h]: millimeter/minute [mm/min]: millimeter/second [mm/s]: foot/hour [ft/h]: foot/minute [ft/min]: foot/second [ft/s]: yard/hour [yd/h]: yard/minute [yd/min]: yard/second [yd/s]: mile/hour [mi/h]: mile/minute [mi/min]: mile/second [mi/s]: knot [kt, kn]: knot (UK) [kt (UK)]: Velocity of light in vacuum [c]: […]

มาตรฐาน-ตารางแปลงหน่วยความหนาแน่น

kilogram/cubic meter: kilogram/cubic centimeter: gram/cubic meter [g/m3]: gram/cubic centimeter: gram/cubic millimeter: milligram/cubic meter: milligram/cubic centimeter: milligram/cubic millimeter: exagram/liter [Eg/L]: petagram/liter [Pg/L]: teragram/liter [Tg/L]: gigagram/liter [Gg/L]: megagram/liter [Mg/L]: kilogram/liter [kg/L]: hectogram/liter [hg/L]: dekagram/liter [dag/L]: gram/liter [g/L]: decigram/liter [dg/L]: centigram/liter [cg/L]: milligram/liter [mg/L]: microgram/liter [µg/L]: nanogram/liter [ng/L]: picogram/liter [pg/L]: femtogram/liter [fg/L]: attogram/liter [ag/L]: pound/cubic inch [lb/in3]: pound/cubic […]

มาตรฐาน-ตารางแปลงหน่วยความยาว

meter [m]: exameter [Em]: petameter [Pm]: terameter [Tm]: gigameter [Gm]: megameter [Mm]: kilometer [km]: hectometer [hm]: dekameter [dam]: decimeter [dm]: centimeter [cm]: millimeter [mm]: micrometer [µm]: micron [µ]: nanometer [nm]: picometer [pm]: femtometer [fm]: attometer [am]: megaparsec [Mpc]: kiloparsec [kpc]: parsec [pc]: light year [ly]: astronomical unit [AU, UA]: league [lea]: nautical league (UK): nautical […]

มาตรฐาน-ตารางแปลงหน่วยกำลังงาน

watt [W]: exawatt [EW]: petawatt [PW]: terawatt [TW]: gigawatt [GW]: megawatt [MW]: kilowatt [kW]: hectowatt [hW]: dekawatt [daW]: deciwatt [dW]: centiwatt [cW]: milliwatt [mW]: microwatt [µW]: nanowatt [nW]: picowatt [pW]: femtowatt [fW]: attowatt [aW]: horsepower [hp, hp (UK)]: horsepower (550 ft*lbf/s): horsepower (metric): horsepower (boiler): horsepower (electric): horsepower (water): pferdestarke (ps): Btu (IT)/hour [Btu/h]: Btu […]

มาตรฐาน-ตารางเหล็ก สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างและวิศวกร

วันนี้ ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง มี ตารางเหล็กสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างและวิศวกรมาฝากกันค่ะ ดาวน์โหลดคลิก ที่นี่  ขอขอบคุณ : TumCivil.com  

มาตรฐาน-ชื่อเรียกหน่วยแรงดันและตารางแปลงหน่วยความดัน

ตารางแปลงหน่วยความดัน ชื่อเรียก หน่วยแรงดัน psi :  ปอนด์ต่อตารางนิ้ว kPa : กิโลปาสคาล kg/cm2 : กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร cm of H2O : น้ำเซนติเมตร inches of Hg : นิ้วปรอท mm of Hg : มิลลิเมตรปรอท inches of H2O : นิ้วน้ำ atmospheres : บรรยากาศมาตรฐาน bar : บาร์ mbar : มิลลิบาร์ Mpa : เมกะปาสคาล     สามารถดูสินค้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  www.pakoengineering.com โทร : 09-4690-4630, 02-041-5092 อีเมล : Sales@blog.pako.co.th facebook […]

มาตรฐาน-ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหน่วยความยาว นิ้ว หุน มิลลิเมตร

หุน หมายความว่า ชื่อมาตราวัด หรือชั่งของจีนมาตราวัด 1 หุน หมายถึง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 ใน 16 ของนิ้ว และมาตราชั่ง 5 หุน เท่ากับ 1 เฟื้อง นิ้ว หมายความว่า มาตราวัดของอังกฤษ 1 นิ้ว เท่ากับ 2.5 เซนติเมตร,12 นิ้ว เป็น 1 ฟุต มิลลิเมตร หมายความว่า ชื่อมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ 1 ใน 1,000 ของ 1 เมตร     เราสามารถวัดขนาดเกลียวของสกรูโดยใช้ 2 ระบบ คือ 1. ระบบเมตริก (Metric) หรือ “เกลียวมิล” วัดจากระยะห่างระหว่างเกลียว (pitch) โดยใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตร ระบบนี้เป็นระบบที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งเราสามารถเอาไม้บรรทัดมาวัดระยะห่างของเกลียวและอ่านค่าได้ทันทีเลยครับ […]

มาตรฐาน-ขนาด มิติ และความหนาท่อ ( PIPE SIZE AND DIMENSIONS )

1.ขนาดและมิติของท่อเหล็กกล้า ( Steel Pipe Size and Dimensions ) เมื่อกล่าวถึงขนาดและมิติของท่อเหล็กกล้า ความหมายในทางปฎิบัติจะครอบคลุมถึงทั้งทั้งท่อเหล็กกล้าคาร์บอน ( carbon steel pipe ) และท่อเหล็กกล้าผสม ( alloy steel pipe ) แต่จะไม่ครอบคลุมถึงท่อเหล็กกล้าไร้สนิม ( stainless steel pipe ) มาตรฐานที่กำหนดขนาดและมิติท่อเหล็กกล้ามีดังนี้ มาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดขนาดของท่อเหล็กกล้า ด้วย มาตรฐาน  ASME B 36.10  โดยระบุขนาดท่อด้วยค่า Nominal Pipe Size ( NPS ) ซึ่งมีข้อสังเกตคือ ท่อขนาดตั้งแต่ 14 นิ้วขึ้นไป NPS จะมีค่าเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก ส่วนท่อขนาดเล็กกว่า 14 นิ้วนั้น NPS มีค่าไม่เท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของท่อ เช่น ท่อ […]

มาตรฐาน-การสร้างเกลียว และเทคนิคการเขียนเกลียวแบบต่างๆ

การสร้างเกลียวนอกและเกลียวใน อุปกรณ์สำหรับการสร้างเกลียวนอกนั้นประกอบไปด้วย thread die และ die stock ซึ่งการใช้งานนั้นจะเริ่มจากการนำ thread die ใส่เข้าไปใน die stock แล้วล็อคให้แน่น จากนั้นนำไปสวมไว้ที่ปลายทรงกระบอกที่ต้องการสร้างเกลียวนอก แล้วเริ่มหมุน die และ die stock โดยใช้มือจับไปที่ด้ามจับ การหมุนไปมาเช่นนี้จะทำให้ฟันที่อยู่ด้านในของ die กัดเนื้อทรงกระบอกให้เป็นเกลียวตามที่ต้องการ การใช้ die และ die stock ในการสร้างเกลียวนอก อุปกรณ์ในการสร้างเกลียวในประกอบไปด้วย สว่าน, ดอกสว่าน (drill bit), tap และ tap wrench การสร้างเกลียวในด้วยอุปกรณ์ดังที่กล่าวข้างต้นนั้น จะเริ่มจากการใช้สว่านเจาะรูบนวัตถุที่ต้องการสร้างเกลียวก่อน จากนั้นนำ tap ติดตั้งลงไปใน tap wrench ติดตั้ง tap ใน tap wrench แล้วนำปลาย tap อีกด้านใส่เข้าไปในรูที่เจาะไว้ แล้วเริ่มหมุน tap กับ […]

มาตรฐาน-IP

  2.9 มาตรฐาน IP มาตรฐาน IP (อังกฤษ : IP Rating, IP Code, IP Standard) ชื่อเต็ม International Protection Standard ตามมาตรฐาน IEC 60529 หรือบางครั้งถูกตีความเป็น Ingress Protection Rating คือมาตรฐานที่บอกถึงระดับการป้องฝุ่นและน้ำของเครื่องจักร (mechanical casings) และอุปกรณ์ไฟฟ้า (electrical enclosures) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย IEC (International Electrotechnical Commission) เทียบเท่ากับมาตรฐานยุโรป EN 60529 Ref :                             […]

พื้นฐาน-คำศัพท์น่ารู้

2.12 คำศัพท์พื้นฐานสำหรับการทำงาน Above Ground บนดิน Accuracy ความเที่ยงตรง Acrylic อะคริลิก Actuator หัวขับ ขับเคลื่อน Adjust ปรับ,ปรับเปลี่ยน Air ลม,อากาศ Attribute คุณลักษณะ Automatic อัตโนมัติ Back หลัง,กลับหลัง Ball บอล,ลูกบอล Blind มืด บอด ตัน Boiler , boil เดือด,หม้อแรงดัน Bottom , lower ด้านล่าง ก้น ต่ำ Brand ยี่ห้อ Brass ทองเหลือง Bronze บรอนซ์(สำริด) Butterfly ผีเสื้อ Carbon steel เหล็กกล้าผสม Case กรณี,กรอบ Cast iron เหล็กหล่อ Check […]

พื้นฐาน-คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับมิเตอร์

  ในการวัดและการใช้เครื่องมือวัดประเภทต่างๆ จะมีคำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับมิเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก จึงควรที่จะเรียนรู้คำศัพท์เหล่านี้เพื่อที่จะได้ใช้เครื่องมือวัดได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพค่ะ . เครื่องวัดต่างๆมีการกำหนดสภาวะแวดล้อมในการใช้งาน เราต้องระมัดระวังการใช้เครื่องมือวัดต้องเป็นไปตามที่เครื่องระบุ มิฉะนั้นค่าที่วัดได้จะเกิดความคลาดเคลื่อนขึ้นได้  . Accuracy  (ความแม่นยำ) และ Precision (ความเที่ยงตรง) คือค่าความแม่นยำในการอ่านของเครื่องมือวัดว่าได้ใกล้เคียงกับค่าจริงเท่าใด ความแม่นยำ (Accuracy) ของเครื่องมือวัด เป็นความสามารถของอุปกรณ์ที่จะให้ค่าที่ใกล้เคียงกับค่าตามจริงได้เพียงใด ค่าความแม่นของอุปกรณ์สามารถทราบได้เมื่อเรานำอุปกรณ์นั้นไปสอบเทียบ (Calibrate) ผลต่างระหว่างค่าที่อ่านได้และค่าจริงก็คือความคลาดเคลื่อน (Error) ถ้าเปรียบเทียบกับการยิงปืน ความแม่นยำหมายถึง ความสามารถในการยิงปืนที่แม่นเข้าเป้าตรงกลาง ความเที่ยงตรง (Precision) ความสามารถของอุปกรณ์ที่จะอ่านค่าๆเดียว ภายใต้สภาพการทำงานเดียวกัน ซ้ำกันหลายๆครั้ง ค่าความเที่ยงตรง (Precision) จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าความแม่น (Accuracy) ถ้าเปรียบเทียบกับการยิงปืน ความเที่ยงคือ ความสามารถในการยิงปืนหลายครั้งโดยให้วิถีกระสุนเกาะกลุ่มกันการทดสอบค่าความเที่ยงนั้น ถ้าเป็นการทดสอบในช่วงสั้นๆจะเรียกค่าที่วัดได้ว่า Repeatability ถ้าเป็นการทดสอบในช่วงระยะเวลาที่นานจะเรียกค่าที่วัดได้ว่า Reproducibility ข้อแตกต่าง ความแม่นยำ (Accuracy) มีข้อแตกต่างจาก ความเที่ยงตรง (Precision) ที่ว่า การวัดหลายๆ ครั้งแล้วได้ค่าที่ตรงกันทุกครั้ง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นค่าที่ถูกต้องหรือเป็นค่าที่ใกล้เคียงความจริงที่สุดเสมอไป เพราะอาจเป็นค่าที่เกิดความผิดพลาดของมิเตอร์หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่มีผลต่อการวัดแต่กลับให้ค่าที่ตรงกันทุกครั้งที่วัดก็ได้ โดยการคำนวณค่าความถูกต้อง/ความแม่นยำใช้สมการ %Accuracy = 100 […]

พื้นฐาน-ความพอดีและพิกัดความเผื่อ

          ความพอดีและพิกัดความเผื่อ Fits and Tolerances สำหรับชิ้นงานที่ต้องมีการประกอบเข้าด้วยกันนั้น ขนาดและรูปร่างของชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมีความสำคัญต่อการใช้ งานร่วมกันของชิ้นงาน แต่เนื่องจากการผลิตชิ้นงานจำนวนมากๆนั้น เราไม่สามารถผลิตชิ้นงานให้ได้ตรงพอดี กันค่าที่ต้องการได้ ดังนั้นจะต้องมีการกำหนดความพิกัดความเผื่อของขนาดและรูปร่างที่ยอมรับได้จากการผลิต เช่นขนาดไม่ต่ำกว่าเท่าใดและไม่มากกว่าเท่าใด ความแตกต่างระหว่างขนาดสูงสุดและต่ำสุดนี้เราเรียกว่า ค่าพิกัด ความเผื่อ (tolerance) การให้ขนาดความเผื่อนี้เมื่อใช้ถูกต้องจะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้ดีและสามารถเลือก ใช้การผลิตมีราคาต่ำที่ที่สามารถผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการได้ ในทางปฏิบัติ เราจะให้ค่าพิกัดความเผื่อเท่าที่ จำเป็นเท่านั้น และให้ค่าความเผื่อให้มากที่สุด เท่าที่จะไม่รบกวนการใช้งาน ทั้งนี้เพื่อให้การผลิตมีต้นทุนต่ำที่สุด การกำหนดพิกัดความเผื่อนี้มีสองประเภท คือพิกัดของขนาด และ พิกัดของรูปร่าง เราจะศึกษาพิกัดของขนาดก่อน ค่าพิกัดความเผื่อนั้น ใช้กันมากที่สุดสำหรับชิ้นงานที่ต้องสวมเข้า ด้วยกัน เช่น เพลา (shaft) และ รูเพลา (hole) ค่าความเผื่อนั้นจะขึ้นกับการใช้งานของชิ้นงานที่มีเพลาและมีรู เพลานี้เราอาจต้องการให้เพลาหมุนอยู่ในรูเพลาได้โดยสะดวก ในกรณีนี้เราก็ต้องกำหนดให้มั่นใจได้ว่า ชิ้นงานที่ ได้จากการผลิตจะมีเพลาที่เล็กกว่าขนาดของรูเพลาแน่ๆ และมีช่องว่างระหว่างกันตามการใช้งาน เช่นถ้าการหมุน ไม่มีการสั่นสะเทือนที่ทำให้จุดสัมผัสระหว่างเพลาและรูเพลาเกิดการกระแทก ก็อาจให้มีช่องว่างมาก แต่สำหรับ เครื่องจักรที่มีการสะเทือนมากก็ต้องมีช่องว่างน้อยเพื่อลดการกระแทก หรือในประกอบเราอาจต้องการให้เพลา […]

พื้นฐาน-คณิตศาสตร์(ย้ายแล้ว)

2.10 พื้นฐานคณิตศาสตร์ บวก ( + ) ลบ ( – ) คุณสมบัติการสลับที่            ตัวอย่าง  บวก ( + ) ลบ ( – )คุณสมบัติในวงเล็บ                ตัวอย่าง  คูณ ( x ) คุณสมบัติการสลับที่          ตัวอย่าง คูณ ( x ) คุณสมบัติการคูณ                 ตัวอย่าง               หาร ( / ) คุณสมบัติการหาร               ตัวอย่าง หาร ( / ) คุณสมบัติ Unit function     ตัวอย่าง                Unit […]

พื้นฐาน-คณิตศาสตร์ พื้นฐาน Ratio (อัตราส่วน)

Ratio คือ อัตราส่วน วิธีการดู Ratio ก่อนอื่นต้องเข้าใจหลักคณิตศาสตร์อย่างง่าย นั่นคือ การหาร   วิธีการเขียนการหาร   จุดสังเกต   ตัวอย่าง น้ำมัน 1 ถังวิ่งได้ 1050 กิโลเมตร รถคันนี้เติมน้ำมันได้ 74 ลิตร ,ราคาน้ำมัน 25 บาท/ลิตร รถคันนี้กินน้ำมัน  กี่กิโลเมตร/ลิตร รถคันนี้ใช้น้ำมัน1ลิตรวิ่งได้กี่กิโลเมตร รถคันนี้มีกินน้ำมัน กิโลเมตรละกี่บาท รถคันนี้วิ่ง 1บาท วิ่งได้กี่กิโล ……… แชมพู 250ml / 199 บาท , 450ml /269 บาท อันไหนคุ้มกว่ากัน? ราคาขาย 1250 ต้นทุน 400 บาท  กำไรกี่% Ratio : UP / DOWN […]

ง่านช่าง-เทคนิคการเชื่อมโลหะ (Welding)

วันนี้ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง มีสาระความรู้ที่สำคัญ เกี่ยวกับ “การเชื่อมโลหะ” มาฝากกันค่ะ เพราะในปัจจุบันการก่อสร้างหลายสิ่ง หลายอย่างจำเป็นต้องมีโลหะเข้ามาเกี่ยวข้อง การเชื่อมโลหะก็เป็นวิทยาการด้านหนึ่งที่จำเป็น เพราะการเชื่อมเป็นการต่อ การยึดโลหะเข้าด้วยกัน และเป็นเนื้อเดียวกัน การเชื่อม หมายถึงขบวนการที่ทำให้โลหะหลอมละลายติดกัน โดยอาศัยความร้อนจากการอาร์ค (Arc) ที่จะเกิดขึ้นระหว่างโลหะงานกับลวดเชื่อม อุณหภูมิที่ใช้ในการเชื่อมโดยเฉลี่ยประมาณ 6,000 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้โลหะงานที่ถูกเชื่อมหลอมละลายพร้อมกับปลายของลวดเชื่อม และเป็นเนื้อเดียวกัน . การเชื่อมโลหะพื้นฐานสำหรับผู้เริ่มต้นฝึกหัดเชื่อมแบ่งออกได้ดังนี้ 1. การเชื่อมด้วยไฟฟ้า (Arc Welding) 2. การเชื่อมด้วยแก๊ส (Gas Welding) . . 1. การเชื่อมด้วยไฟฟ้า (Arc Welding) . การเชื่อมด้วยไฟฟ้าเป็นวิธีการวิธีเชื่อมโลหะ โดยการทำให้โลหะหลอมละลายพร้อม ๆ กับลวดเชื่อม ด้วยกระแสไฟฟ้า . เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมไฟฟ้ามีดังนี้ . 1.1 เครื่องเชื่อม (Generator) เครื่องเชื่อมมีหลายชนิด เช่น เครื่องเชื่อมแบบมอเตอร์ Motor Generator […]

งานช่าง-ประเภทของค้อน

ค้อนเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงานของเครื่องจักรกลเช่นเดียวกับการปฏิบัติทั่วไป ค้อนใช้เพื่อสร้างแรงกระแทกบนพื้นผิวของวัตถุหรือกำจัดเศษวัสดุ Hammer เป็นเครื่องมือมัลติทาสกิ้งที่มีช่วงฟังก์ชันที่แตกต่างกันมากตามประเภทของการดำเนินการ ไม่สามารถใช้ชุดเครื่องมือได้หากไม่มีค้อน โดยทั่วไปเป็นเครื่องมือมือที่ใช้กับวัตถุ ค้อนมาในรูปทรงที่แตกต่างกัน ขนาดและโครงสร้างขึ้นอยู่กับการใช้งาน   ค้อนประเภทต่างๆ ค้อนมีหลายประเภทและการใช้งาน รายการค้อนที่ใช้บ่อยที่สุดโดยมืออาชีพและอื่น ๆ มีดังต่อไปนี้ ค้อนทุบอิฐ Brick Hammer เป็นค้อนชนิดพิเศษสำหรับทุบอิฐออกเป็นสองชิ้นหรือหลายชิ้นตามต้องการ ค้อนทุบอิฐพร้อมสิ่วที่ปลายด้านหนึ่ง (ด้านข้าง) และหัวค้อนธรรมดาทั่วไปที่ด้านอื่น ๆ เป็นเครื่องมืออรรถประโยชน์ที่แสดงความสำคัญบ่อยที่สุดในวัตถุประสงค์ทางแพ่ง ค้อนก้ามปูโค้ง Curved claw hammer เป็นค้อนชนิดที่พบบ่อยที่สุดเท่าที่เคยมีการออกแบบมา เกือบทุกชุดเครื่องมือจะมีชุดเครื่องมือนี้อยู่ในชุด ปลายด้านหนึ่งโค้งและปลายอีกด้านหนึ่งเป็นส่วนหัวปกติที่สร้างขึ้นบนค้อนเพื่อจุดประสงค์ในการกระแทกและปลายโค้งมีไว้สำหรับการดึง (ฟังก์ชัน) ค้อนช่างตัวถัง Body mechanic hammer ค้อนชนิดนี้ถูกใช้ในอาชีพการทำฟันและการทาสีในรถยนต์ ค้อนสำหรับช่างตัวถังมีโครงสร้างสามเหลี่ยมที่ปลายด้านหนึ่ง โดยปกติจะใช้สำหรับการกำจัดรอยบุบออกจากร่างกายตามลำดับ ค้อนทุบลูก Ball peen hammer ค้อนทุบหัวบอลใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบอาชีพโลหะ ค้อนหัวกลมประกอบด้วยปลายด้านหนึ่งแบนในขณะที่อีกด้านหนึ่งมีรูปร่างคล้ายลูกบอล (วงกลมหรือวงรี) ในการใช้งานตามวัตถุประสงค์ระดับมืออาชีพที่เหมาะสมพวกเขามาพร้อมกับค้อนขนาดต่างๆภายในชุดของพวกเขา ค้อนทุบตาย Dead blow hammer ค้อนทุบตายมีขนาดใหญ่หนักและสำคัญที่สุดมีประสิทธิภาพในการรื้อถอนหรือทำลาย มีขนาดใหญ่น้ำหนักมากใช้ทุบผนังคอนกรีตได้อย่างง่ายดาย ค้อนวิศวกร Engineer hammer […]

ง่านช่าง-การติดตั้งประเก็น

ก่อนที่เราจะรู้เรื่องผลกระทบของ “ปะเก็นยาง” เราควรจะเรียนรู้พื้นฐานของมัน เพื่อสร้างความเข้าใจกับบทบาทความสำคัญของมัน การประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการทำงาน และรวมถึงมาตรฐานที่มันควรมี เนื่องจากปะเก็นนั้นมีต้นทุนที่ต่ำ และดูเหมือนจะใช้งานได้ง่าย จึงทำให้บทบาทความสำคัญของมันมักถูกมองข้าม และมักจะไม่ได้รับความสนใจมาก ซึ่งหลักการทำงานของปะเก็นคือ การป้องกันการรั่วซึมของก๊าซ หรือของเหลวตลอดช่วงอายุการใช้งาน ปะเก็นช่วยในเรื่องความไม่สมบูรณ์ระหว่างพื้นผิวในการประกอบเข้าด้วยกันจนปิดสนิท ซึ่งถ้าหากพื้นผิวของการประกอบเข้าด้วยกันของชิ้นงานสามารถปิดได้สนิทอยู่แล้ว และไม่ได้มีการเสียหาย ก็มีมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ประเก็น โดยปะเก็นทุกชิ้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่มีองค์ประกอบทั่วไปที่ต้องระบุเพื่อจะได้นำไปใช้ติดตั้งได้อย่างเหมาะสม ปะเก็นใช้ทำอะไร ? ปะเก็นใช้เพื่อป้องกันการรั่วซึมได้ ไว้ติดตั้งระหว่างชิ้นส่วนสองส่วนที่ไม่ได้ประกบกันสนิท การประกอบและป้องกันรักษากันรั่วไว้ในสภาพการใช้งานซึ่งอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับใช้ปะเก็น และหากสามารถรักษาความแน่นของหน้าแปลนที่ติดตั้งไว้ได้อย่างสมบูรณ์ตลอดช่วงการทำงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ปะเก็น แต่สิ่งนี้เป็นไปไม่ได้เลยเพราะ • ขนาดของคลีบท่อและ / หรือหน้าแปลน • ความยากในการบำรุงรักษาหน้าแปลนที่ราบเรียบมากๆ ในระหว่างการจัดการและการประกอบ และการใช้งาน • การกัดกร่อนและการทำให้สึกกร่อนของพื้นผิวหน้าแปลนระหว่างการใช้งาน ในกรณีส่วนใหญ่ปะเก็นจะรั่วเพราะการนำไปใช้สอดจากด้านภายนอก ซึ่งต้องคำนึงถึงข้อควรพิจารณา 3 ข้อสำคัญเพื่อให้ตัวประเก็นสามารถกันรั่วซึมได้ดี • ต้องมีแรงกดที่เพียงพอสำหรับตำแหน่งที่ติดตั้งปะเก็นก่อน และต้องติดตั้งประเก็นให้พอดีกับชิ้นส่วนที่ต้องการนำมาประกบกัน ซึ่งควรวัดให้ดี • แรงกดที่เพียงพอนั้นยังใช้เพื่อรักษาความเค้นตกค้างในปะเก็นระหว่างการทำงานเพื่อให้แน่ใจว่าปะเก็นจะอยู่ในการประกบกันสนิทอยู่ตลอดเพื่อป้องกันการรั่วซึมได้ดีอยู่เสมอ • การเลือกวัสดุปะเก็นก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำเพื่อให้ทนต่อแรงกดดันที่ปะทะกับปะเก็นได้ และสามารถทำให้ทนต่อช่วงอุณหภูมิทั้งหมดและทนต่อการกัดกร่อนของสื่อตัวกลางได้ ผลกระทบที่จะเจอจากปะเก็นกันรั่ว 1. การบีบอัด ที่บางทีอาจจะเกิดความแน่นจนเกินไป ซึ่งในจุดนี้ควรคำนึงถึงดีๆ 2. […]

ง่านช่าง-การจะเป็นช่างที่ดี ควรจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

การจะเป็นช่างที่ดีควรมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร มาดูกันเลยครับ                                                                                ตรงต่อเวลา     รักษาวินัย                        […]