วันอนุรักษ์น้ำโลก หรือ World Water Day ตรงกับวันที่ 22 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของมวลมนุษยชาติเลยทีเดียว เพราะมนุษย์เราต้องใช้ทรัพยากรน้ำในการดำรงชีวิต  ทางปาโก้นำข้อมูลมาฝาก

          ทั้งนี้ วันอนุรักษ์น้ำโลก มีจุดเริ่มต้นจากการประชุมเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ในวันที่ 22 มีนาคม ปี 1992 ที่มีเนื้อหาสำคัญโดยตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรน้ำของมนุษย์ จึงมีแนวคิดที่จะจัดกิจกรรมที่จะเป็นแผนแม่บทให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้เฝ้าระวังทรัพยากรน้ำในประเทศนั้น ๆ และในวันนั้นเองสมัชชาทั่วไปแห่งสหประชาชาติก็ได้ออกประกาศให้วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปี เป็นวัน World Water Day หรือ วันอนุรักษ์น้ำโลก
           โดยทางองค์การสหประชาชาติจะกำหนดธีม หรือหัวข้อประเด็นของวันอนุรักษ์น้ำโลกในแต่ละปีแตกต่างกันออกไป ซึ่งแม้การรณรงค์ในวันน้ำโลกจะไม่สามารถประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาได้ แต่การกำหนดหัวข้อของวันน้ำโลกในแต่ละปีนั้นถือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงประเด็นปัญหาสำคัญเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำที่เชื่อมโยงกับประชากรโลกได้เป็นอย่างดีในช่วงเวลานั้น เช่น 
 
          – ปี ค.ศ. 1994 ซึ่งเป็นวันน้ำโลกครั้งแรก ได้กำหนดหัวข้อว่า “Caring for our Water Resources is Everybody’s Business” หรือการรักษาดูแลแหล่งน้ำเป็นเรื่องของคนทุกคน ซึ่งสะท้อนถึงช่วงเวลานั้นเป็นอย่างดีว่า คนส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสำคัญที่จะดูแลรักษาแหล่งน้ำ
 
          – ปี ค.ศ. 1998 ได้มีการหยิบยกหัวข้อ “Groundwater – The Invisible Resource” ที่ให้ความสำคัญในการรักษาแหล่งน้ำใต้ดิน ซึ่งเวลานั้นประชากรโลกมากกว่าครึ่งอาศัยแหล่งน้ำใต้ดินเป็นแหล่งน้ำอุปโภคและบริโภคที่สำคัญมากสำหรับแหล่งธุรกิจจนถึงแหล่งทุรกันดาร และในขณะเดียวกัน น้ำใต้ดินในหลาย ๆ แห่งพบว่ามีการปนเปื้อนสารเคมีอันตรายจากการประกอบอุตสาหกรรม 
 
          – ปี ค.ศ. 2003 ได้มีการหยิบยกหัวข้อ “Water for Future” ที่เน้นการรณรงค์ให้รักษาคุณภาพแหล่งน้ำที่ส่งผลต่ออนาคตหรือความเป็นอยู่ของคนรุ่นต่อไปที่ต้องอาศัยทรัพยากรน้ำที่ดีพอเช่นกัน เนื่องจากข้อกังวลที่คนในยุคปัจจุบันกำลังใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ไม่ดูแลรักษา และผลกระทบจะตกอยู่กับคนรุ่นต่อไปซึ่งต้องรับผลร้ายจากที่คนรุ่นก่อนได้ทำไว้
 
          – ปี ค.ศ. 2004 เป็นปีที่มีการหยิบยกหัวข้อ “Water and Disasters” หรือน้ำและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นช่วงที่คนเริ่มตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำและสามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์จากเหตุการณ์ที่เกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิในมหาสมุทรอินเดีย
 
          – ปี ค.ศ. 2011 กับหัวข้อ “Water for cities: responding to the urban challenge” ที่กล่าวถึงเรื่องการเติบโตของเมืองที่มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชากรโลกจำนวนมากของโลกอยู่ในเมือง และส่วนใหญ่อยู่ในสลัมที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาด
 


           และในปี ค.ศ. 2012 ได้มีการหยิบยกหัวข้อที่สำคัญและน่าสนใจมารณรงค์คือ “Water and Food Security: The World is Thirsty Because We are Hungry” ที่กล่าวถึงน้ำและความมั่นคงทางอาหาร โดยเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างปริมาณน้ำที่จำกัด กับปริมาณความต้องการน้ำที่เพิ่มขึ้นสำหรับการผลิตอาหาร ของใช้และการบริโภคที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับพฤติกรรมการบริโภคที่สิ้นเปลือง
 
          ทั้งนี้ หัวข้อเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับประเทศไทยมากเช่นกัน แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศที่ขาดแคลนอาหาร แต่ยังเป็นประเทศที่ผลิตอาหารและส่งออกเป็นอันดับสำคัญของโลก และยังต้องใช้น้ำเป็นทรัพยากรพื้นฐานซึ่งไม่เพียงแค่สำหรับอุปโภค บริโภคโดยตรง แต่ยังเป็นทรัพยากรพื้นฐานสำหรับการผลิตทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม แน่นอนว่า เนื่องในวันน้ำโลกปีนี้ ประชาชนคนไทยก็หวังที่จะได้เห็นแหล่งน้ำต่าง ๆ ได้รับการปกป้อง ได้เห็นแหล่งน้ำสะอาดอยู่ในทุก ๆ ที่ และได้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำที่เต็มไปด้วยอาหาร และสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำอย่างเต็มที่

สำหรับธีมรณรงค์ในแต่ละปี คือ
          – ปี 1994 CARING FOR OUR WATER RESOURCES IS EVERYONE’S BUSINESS
          – ปี 1995 WOMEN AND WATER
          – ปี 1996 WATER FOR THIRSTY CITIES
          – ปี 1997 THE WORLD’S WATER – IS THERE ENOUGH?
          – ปี 1998 GROUNDWATER – THE INVISIBLE RESOURCE
          – ปี 1999 EVERYONE LIVES DOWNSTREAM
          – ปี 2000 WATER FOR THE 21ST CENTURY
          – ปี 2001 WATER FOR HEALTH – TAKING CHARGE
          – ปี 2002 WATER FOR DEVELOPMENT
          – ปี 2003 WATER FOR THE FUTURE
          – ปี 2004 WATER AND DISASTER
          – ปี 2005 WATER FOR LIFE 2005-2015
          – ปี 2006 WATER AND CULTURE
          – ปี 2007 WATER SCARCITY
          – ปี 2008 INTERNATIONAL YEAR OF SANITATION
          – ปี 2009 TRANSBOUNDARY WATERS
          – ปี 2010 WATER QUALITY
          – ปี 2011 WATER FOR CITIES
          – ปี 2012 WATER AND FOOD SECURITY
          – ปี 2013 WATER COOPERATION
          – ปี 2014 WATER AND ENERGY
          – ปี 2015 WATER AND SUSTAINABLE DEVELOPMENT
          – ปี 2016 Water and Jobs
          – ปี 2017 Wastewater
          – ปี 2018 Nature-based Solutions for Water

กิจกรรมวันน้ำโลก

การกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวลมนุษยชาติในเรื่องการอนุรักษ์น้ำ และการพัฒนาแหล่งน้ำ ในวันน้ำโลกประชาชนคนไทยก็หวังที่จะได้เห็นแหล่งน้ำต่าง ๆ ได้รับการปกป้อง ได้เห็นแหล่งน้ำสะอาดอยู่ในทุก ๆ ที่  และได้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำที่เต็มไปด้วยอาหาร และสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำอย่างเต็มที่ องค์การสหประชาชาติได้กำหนดนโยบายการจัดการแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน

จัดการพื้นที่  การจัดการให้พื้นที่ที่มีความต้องการใช้น้ำมากที่แตกต่างกันได้มีโอกาสใช้น้ำอย่างเท่าเทียมกัน ไม่จำกัดว่า ที่ใดต้องการน้ำมาก ที่ใดต้องการน้ำน้อย ควรจัดการแบ่งน้ำให้เสมอภาคกัน

อนุรักษ์แหล่งน้ำ  การจัดกิจกรรมต่างๆ ด้วยการการอนุรักษ์แหล่งน้ำ และพัฒนาแหล่งน้ำให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อแหล่งน้ำ จะทำให้ประชาชนได้มีน้ำที่ใสสะอาดไว้ใช้อุปโภคและบริโภคโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย

การควบคุมดูแล  การควบคุมดูแลการใช้น้ำจากแหล่งต้นน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณการใช้น้ำของแหล่งปลายน้ำ รวมถึงการจัดการกับปัจจัยอื่นๆ โดยดูแลปัจจัยต่างๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อแหล่งน้ำ และการจัดการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเหมาะสม

จัดนิทรรศการเกี่ยวกับน้ำ  การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับ ประโยชน์ของน้ำ และจัดหัวข้อสัมมนา เมื่อน้ำหมดไป จะอยู่ได้อย่างไร ซึ่งจะทำให้ประชาชน ได้เห็นถึง ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น หากมีการใช้น้ำอย่างไม่ประหยัด รวมถึงการแนะนำเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการประหยัดน้ำให้ชาวบ้าน และเยาวชน นักเรียน นักศึกษาได้รับรู้ ว่าผลที่อาจเกิดขึ้น เมื่อใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง

สิ่งที่ควรทำต่อวันน้ำโลก

เพื่อระลึกถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก อีกทั้งยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวลมนุษยชาติ ในเรื่องการอนุรักษ์น้ำอีกด้วย

การอาบน้ำ   การใช้ฝักบัวจะสิ้นเปลืองน้ำน้อยที่สุด รูฝักบัว ยิ่งเล็ก ยิ่งประหยัดน้ำและหากใช้อ่างอาบน้ำจะใช้น้ำถึง 110-200 ลิตร

การล้างมือ  ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเวลาล้างมือ เพราะการใช้สบู่ก้อนล้างมือจะใช้เวลามากกว่าการใช้สบู่เหลว และการใช้สบู่เหลวที่ไม่เข้มข้น จะใช้น้ำน้อยกว่าการล้างมือด้วยสบู่เหลวเข้มข้น

การแปรงฟันและการโกนหนวด  การใช้น้ำบ้วนปากและแปรงฟันโดยใช้แก้ว จะใช้น้ำน้อยกว่าการปล่อยให้น้ำไหลจากก๊อกตลอด ส่วนการโกนหนวด ให้ใช้กระดาษเช็ดก่อน จึงใช้น้ำ จากแก้วมาล้างอีกครั้ง แล้วล้างมีดโกนหนวดโดยการ จุ่มล้างในแก้ว จะประหยัดกว่าล้างโดยตรงจากก๊อก การใช้ชักโครก การใช้ชักโครกจะใช้น้ำมาก และเพื่อการประหยัด โถส้วมแบบตักราดจะสิ้นเปลืองน้ำน้อยกว่าแบบชักโครกหลายเท่า ตรวจสอบชักโครกว่ามีจุดรั่วซึม และไม่ใช้ชักโครกเป็นที่ทิ้งเศษอาหาร กระดาษ สารเคมีทุกชนิดเพราะจะทำให้สูญเสียน้ำจากการชักโครก เพื่อไล่สิ่งของลงท่อ

การซักผ้า และล้างจาน  ขณะทำการซักผ้าไม่ควรเปิดน้ำทิ้งไว้ตลอดเวลา  ควรรวบรวมผ้าให้ได้ มากพอต่อการซักแต่ละครั้ง ทั้งการซักด้วยมือและเครื่องซักผ้า ส่วนจานควรใช้ผ้าเช็ดคราบสกปรกออกก่อน แล้วล้างพร้อมกันในอ่างน้ำ จะประหยัดเวลาประหยัดน้ำ และให้ความสะอาดมากกว่าล้างจากก๊อกโดยตรง  ไม่ปล่อย ให้น้ำไหลทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะจะเป็นการประหยัด ค่าน้ำได้มาก ซึ่งผู้ใช้น้ำส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมการใช้น้ำฟุ่มเฟือย ควรเปลี่ยน วิธีการใช้น้ำตามความเคยชิน มาเป็นการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า

แนวทางการส่งเสริมวันน้ำโลก

แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศที่ขาดแคลนอาหาร แต่ยังเป็นประเทศที่ผลิตอาหารและส่งออกเป็นอันดับสำคัญของโลก และยังต้องใช้น้ำเป็นทรัพยากรพื้นฐานซึ่งไม่เพียงแค่สำหรับอุปโภค บริโภคโดยตรง แต่ยังเป็นทรัพยากรพื้นฐานสำหรับการผลิตทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

นโยบายการจัดการแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน  เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค เพื่อเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์น้ำในรูปแบบต่างๆ และกระตุ้นให้รัฐบาลของแต่ละประเทศและหน่วยงานเอกชนได้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่ออนุรักษ์น้ำให้มากขึ้น 

ใช้น้ำอย่างประหยัด  การใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำ อย่าเปิดน้ำทิ้ง โดยเปล่าประโยชน์ ใช้เท่าที่จำเป็น ตรวจสอบท่อน้ำรั่วภายในบ้าน ด้วยการปิดก๊อกน้ำทุกตัว แล้วจดมิเตอร์ก่อนและหลังฉีดก๊อกน้ำ ลดความถี่ในการล้างรถใช้ถังน้ำ และฟองน้ำในการล้างรถแทนสายยาง เชื่อไหมว่าสามารถประหยัดน้ำได้ถึง 4 เท่า

น้ำจืดที่มีคุณภาพดีจะกลายเป็นทรัพยากรที่ขาดแคลนในอนาคต ผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่งผลให้เกิดความแปรปรวนของฤดูกาล ในบางพื้นที่อาจมีฝนตกหนักและในบางพื้นที่อาจเกิดความแห้งแล้ง การวางแผนเกี่ยวกับการจัดการน้ำในหลายๆพื้นที่อาจไม่เหมือนในอดีต เนื่องจากมีประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นการใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจะเป็นทางหนึ่งที่จะทำให้น้ำต้นทุนมีพอเพียงที่จะใช้อย่างยั่งยืน

(1) การอาบน้ำ การใช้ฝักบัวจะสิ้นเปลืองน้ำน้อยที่สุด รูฝักบัว ยิ่งเล็ก ยิ่งประหยัดน้ำ และหากใช้อ่างอาบน้ำจะใช้น้ำถึง 110-200 ลิตร

(2) การโกนหนวด  โกนหนวดแล้วใช้กระดาษเช็ดก่อน จึงใช้น้ำ จากแก้วมาล้างอีกครั้ง ล้างมีดโกนหนวดโดยการ จุ่มล้างในแก้ว จะประหยัดกว่าล้างโดยตรงจากก๊อก

(3) การแปรงฟัน การใช้น้ำบ้วนปากและแปรงฟันโดยใช้แก้ว จะใช้น้ำเพียง 0.5–1 ลิตร การปล่อยให้น้ำไหล จากก๊อกตลอดการ แปรงฟัน จะใช้น้ำถึง 20–30 ลิตรต่อครั้ง

(4) การใช้ชักโครก การใช้ชักโครกจะใช้น้ำถึง 8–12 ลิตร ต่อครั้ง เพื่อการประหยัด ควรใช้ถุงบรรจุน้ำมาใส่ในโถน้ำ เพื่อลดการใช้น้ำ โถส้วมแบบตักราดจะสิ้นเปลืองน้ำน้อยกว่าแบบชักโครกหลายเท่า หากใช้ชักโครก ควรติดตั้งโถปัสสาวะและโถส้วมแยกจากกัน

(5) การซักผ้า ขณะทำการซักผ้าไม่ควรเปิดน้ำทิ้งไว้ตลอดเวลา จะเสียน้ำถึง 9 ลิตร/นาที ควรรวบรวมผ้าให้ได้ มากพอต่อการซักแต่ละครั้ง ทั้งการซักด้วยมือและเครื่องซักผ้า

(6) การล้างถ้วยชามภาชนะ ใช้กระดาษเช็ดคราบสกปรก ออกก่อน แล้วล้างพร้อมกันในอ่างน้ำ จะประหยัดเวลาประหยัดน้ำ และให้ความสะอาดมากกว่าล้างจากก๊อกโดยตรง ซึ่งจะสิ้นเปลืองน้ำ 9 ลิตร/นาที

(7) การล้างผักผลไม้ ใช้ภาชนะรองน้ำเท่าที่จำเป็น ล้างผัก ผลไม้ ได้สะอาดและประหยัดกว่าเปิดล้างจากก๊อกโดยตรง ถ้าเป็น ภาชนะที่ยกย้ายได้ ยังนำน้ำไปรดต้นไม้ได้ด้วย

(8) การเช็ดพื้น ควรใช้ภาชนะรองน้ำและซักล้างอุปกรณ์ใน ภาชนะก่อนที่จะนำไปเช็ดถู จะใช้น้ำน้อยกว่า การใช้สายยางฉีดล้างทำ ความสะอาดพื้นโดยตรง

(9) การรดน้ำต้นไม้ ควรใช้ฝักบัวรดน้ำต้นไม้แทนการใช้ สายยางต่อจากก๊อกน้ำโดยตรง หากเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง ก็ควรใช้ สปริงเกลอร์ หรือใช้น้ำที่เหลือจากกิจกรรมอื่นมารดต้นไม้ ก็จะช่วย ประหยัดน้ำลงได้

(10) การล้างรถ ควรรองน้ำใส่ภาชนะ เช่น ถังน้ำ แล้วใช้ผ้าหรือ เครื่องมือล้างรถจุ่มน้ำลงในถัง เพื่อเช็ดทำความสะอาดแทนการ ใช้สายยางฉีดน้ำโดยตรง ซึ่งจะเสียน้ำเป็นปริมาณมากถึง 150-200 ลิตร/ครั้ง หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นการใช้น้ำที่ควรใช้จริง อย่างถูกวิธี ไม่เปิดน้ำทิ้งระหว่างการใช้น้ำหรือปล่อยให้น้ำล้น จะ สามารถลดการใช้น้ำได้ถึง 20-50 % ทีเดียว

ปาโก้ หวังว่าทุกท่านจะได้รับความรู้ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ขอบคุณครับ  

สามารถดูสินค้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

www.pakoengineering.com

PAKO ENGINEERING

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://bit.ly/2Ty6cUE

https://bit.ly/2FqKSGy

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *