Solenoid valve สำหรับหัวขับลม
โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) คือ วาล์วที่ทำงานด้วยไฟฟ้ามีทั้งแบบ 2/2, 3/2, 4/2, 5/2 และ 5/3 ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึง โซลีนอยด์แบบ 3/2, และ 5/2 ทางสำหรับติดกับหัวขับลม หรือที่เราเรียกว่า Solenoid valve Namur( โซลีนอยด์แบบนามัวร์)
- Solenoid valve 3/2 way (โซลินอยด์วาล์ว 3/2 ทาง) หรือโซลินอยด์วาล์ว แบบ 3 รูใช้งาน 2 ตำแหน่ง ลักษณะวาล์วเป็นทรงสี่เหลี่ยมมีคอยด์อยู่ด้านใดด้านหนึ่งของวาล์ว และมีสปูนอยู่ภายใน วาล์วประกอบไปด้วยรู Pจ่ายลม (Port P) รู Aใช้งาน (Port A) รู Rระบายลม (Port R) ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ โซลินอยด์วาล์วกับงานนิวเมติกส ์เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆ เช่น กระบอกลม วาล์วลูกสูบแบบปกติปิด เป็นต้น การทำงานของโซลินอยด์วาล์วแบบ 3/2 ทาง แบบปกติปิด ตำแหน่งเริ่มต้นของวาล์วPort P อยู่ในสถานะปิด เมื่อจ่ายไฟ สปูนจะเลื่อน และต้านแรงสปริงเพื่อเปลี่ยนทิศทางวาล์ว ลมจะไปที่ Port A เมื่อหยุดจ่ายไฟ สปริงจะดันสปูนกลับให้มาอยู่ตำแหน่งเริ่มต้น และลมจาก Port A จะระบายทิ้งที่ Port
โซลินอยด์วาล์วแบบ3/2ทาง สามารถแยกตามสถานะเริ่มต้นของวาล์วได้ 2 แบบ คือ
- โซลินอยด์วาล์วแบบ 3/2 ทาง แบบปกติปิด (Normally Close : NC)
- โซลินอยด์วาล์วแบบ 3/2 ทาง แบบปกติเปิด (Normally Open : NO)
-
Solenoid valve 5/2 way (โซลินอยด์วาล์ว 5/2 ทาง) หรือโซลินอยด์วาล์วแบบ 5 รูใช้งาน2 ตำแหน่ง ลักษณะการทำงานวาล์วคล้ายกับโซลินอยด์วาล์วแบบ 3/2 ทาง แต่มีรูใช้งานเพื่มขึ้น ประกอบด้วย Port P จ่ายลม Port AและB ใช้งาน Port R,S ระบายลม โซลินอยด์วาล์ว5/2ทาง แบ่งตามการควบคุมวาล์วได้ 2 แบบ คือ
- โซลินอยด์วาล์ว 5/2 ทาง โดยการสั่งงานด้วยขดลวดไฟฟ้า 1 ข้าง (Single coil)
- โซลินอยด์วาล์ว 5/2 ทาง โดยการสั่งงานด้วยขดลวดไฟฟ้า 2 ข้าง (Double coils)
โซลีนอยด์วาล์ว 5/2 ทาง แบบคอยล์เดียว ควบคุมกลไกด้วยสปริง
จากภาพ port (P)1 ใช้สำหรับต่อลมเข้า port (B)4 อาจจะต่อเข้ากับปลายด้านหนึ่งของกระบอกลม เพื่อทำให้กระบอกลมยืด
ออก port (A)2 ต่อเข้ากับปลายอีกด้านหนึ่งของกระบอกลม เพื่อทำให้กระบอกลมหดเข้า จากตำแหน่งปกติก่อนจ่ายกระแสไฟให้กับโซลีนอยด์วาล์ว แรงดันลมจาก port (P)1 ก็จะไหลออกไปยัง port (A)2 ทำให้กระบอกลมหดเข้า และเมื่อมีการจ่ายกระแสไฟให้กับโซลีนอยด์วาล์ว ขดลวดโซลีนอยด์ก็จะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ผลักให้แกนวาล์วเอาชนะแรงต้านของสปริง จึงทำให้แรงดันลมที่ port (P)1 ไหลออกไปยัง port (B)4 จึงทำให้กระบอกลมยืดออก และแรงดันลมที่ค้างอยู่ภายในกระบอกลม ก็จะถูกปล่อยทิ้งออกไปทาง port (E)3 นั่นเอง และเช่นเดียวกัน เมื่อหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าสปริงก็จะดันให้แกนวาล์วเคลื่อนที่กลับไปยังตำแหน่งเดิม กระบอกลมก็จะหดเข้า แล้วดันลมที่ค้างอยู่อีกด้านหนึ่งออกมาทาง port (E)5