Flowmeter – เครื่องมือวัดการไหล

เครื่องมือวัดการไหล หรือ Flow ของทุกชนิดที่ไหลหรือเคลื่อนที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นของเหลว (Liquid Flow), ลม (Air Flow), แก๊ส (Gas Flow) ถือเป็นของไหลทั้งสิ้น ในงานอุตสาหกรรม ของไหลดังกล่าวถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตโดยอาจจะเป็นวัตถุดิบหรือแหล่ง พลังงานที่สำคัญ สถานะของของไหลซึ่งหากไม่มีการควบคุมหรือบังคับให้ไหลไปในทิศทางที่ต้องการ ย่อมไม่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมของไหลดังกล่าวมีหลายชนิด ทั้งชนิดที่เป็นสวิทช์ On-Off และ ชนิดที่เป็น Flow Sensor (Flow Transmitter หรือ Flow Meter ที่สามารถแสดงค่าได้)

คำว่า Flowmeter มาจากคำว่า  Flow (การไหล) + Meter (มาตรวัด, เครื่องวัด) รวมกัน แปลว่า เครื่องมือวัดการไหล นั่นเอง

เขียนยังไงดีล่ะ โฟลมิเตอร์ หรือ โฟลว์มิเตอร์ ???

ปัจจุบันมีเขียนคำนี้ทับศัพท์กันหลากหลายแบบ แต่ที่ ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง เราเขียนว่า โฟลมิเตอร์ 

 

โรตามิเตอร์

โรตามิเตอร์ ก็คือ โฟลมิเตอร์ หรืออุปกรณ์วัดการไหลชนิดหนึ่งนั่นเอง (เป็นหนึ่งในหลายๆ ชนิด)

โรตามิเตอร์ (rotameter) เป็นอุปกรณ์ใช้วัดการไหล (flow measurement) ที่สามารถใช้วัดการไหลได้ทั้งของเหลวและก๊าซ โครงสร้างโดยทั่วไปของโรตามิเตอร์ประกอบด้วยท่อแก้วใสลักษณะเป็นรูปทรงกรวยวางตัวอยู่ในแนวตั้ง ภายในมีลูกลอย (float) ที่สามารถเลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้อย่างอิสระตามค่าอัตราการไหลของของไหล (รูปที่ 1) โดยทั่วไปลูกลอยทำจากทองเหลือง สแตนเลส หรือพลาสติกชนิดพิเศษ ลูกลอยที่อยู่ภายในโรตามิเตอร์มีหลายรูปทรง (รูปที่ 2) มีจุดอ่านค่าแสดงไว้บนลูกลอย ออกแบบตามคุณสมบัติของไหลที่ต้องการวัดการไหลและย่านการวัด (range) อัตราการไหล เช่น ลูกลอยแบบทรงกลมเหมาะสำหรับการวัดอัตราการไหลในย่านความเร็วต่ำ สำหรับรูปทรงอื่น ๆ มีความเหมาะสมกับการใช้งานแต่ละงานที่แตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่ใช้ลูกลอยที่มีขอบเพื่อสร้างลักษณะการไหลแบบปั่นป่วน (turbulent flow)

มีข้อดีคือสามารถรักษาค่าแรงดันตกคร่อมในตัวเครื่องมือวัดที่คงที่ ลดการสูญเสียแรงดันในระบบ และยังมีความเที่ยงตรงสูงในกรณีที่วัดค่า Flow Rate ต่ำๆ โดยตัว โรตามิเตอร์ Rotameter จะอาศัยการอ่านค่าการไหลผ่านสเกลบนตัวท่อใส่ ซึ่งมีลักษณะเรียว (Tapper Pipe) โดยจะมีของไหล หลเข้าจากด้านล่างของโรตามิเตอร์ และไหลออกที่ด้านบนของโรตามิเตอร์ ในขณะที่ของไหลไหลผ่านโรตามิเตอร์นั้น ความเร็วของของไหล Velocity Head จะทำให้ลูกลอย ลอยขึ้นและอยู่กับที่เมื่อเกิดความสมดุลระหว่างน้ำหนักของลูกลอยกับความเร็วของของไหล ซึ่งเราสามารถอ่านค่าการไหลนะจุดที่ลูกลอยหยุดอยู่ได้ ซึ่งเครื่องมือวัดอัตราการไหลแบบ Rotameter จะเหมาะสำหรับการใช้งานวัดอัตราการไหลตั้งแต่ 0.0002 – 4000 l/min

โดยทั่วไปท่อทรงกรวยทำจากแก้วใสเพื่อให้สามารถสังเกตเห็นการเคลื่อนที่ของลูกลอยได้อย่างชัดเจน ซึ่งความทนทานของโรตามิเตอร์ชนิดท่อแก้วขึ้นอยู่กับสภาวะการใช้งาน โดยความทนทานของท่อแก้วจะลดลงหรือเกิดการแตกได้ง่ายภายใต้สภาวะการใช้งานความดัน (pressure) สูง หรืออุณหภูมิ (temperature) สูง ดังนั้น ในการใช้งานบางกรณีที่ไม่สามารถใช้ท่อแก้วได้อาจออกแบบพิเศษใช้ท่อโลหะ หรือในจุดใช้งานที่ไม่สามารถอ่านค่าโดยตรงจากลูกลอยได้อาจใช้โรตามิเตอร์ร่วมกับเครื่องมือวัดระดับ (level measurement) หรือระยะการเคลื่อนที่ (displacement measurement) ของลูกลอย โดยทำการสอบเทียบ (calibration) ค่าระยะการเคลื่อนที่ที่วัดได้กับค่าอัตราการไหลที่เกิดขึ้น

…………….

และนั้นก็คือสาระความรู้เกี่ยวกับโฟลมิเตอร์ และโรตามิเตอร์นั่นเองค่ะ

และยังมีโฟลมิเตอร์ตัวใหม่ๆ เข้ามาอีกหลายรุ่นนะคะ ลองสอบถามเข้ามาได้เลยค่ะ

Brand: WELL #ยี่ห้อ WELL
บริการจัดส่งฟรีทั่วประเทศ
(เมื่อยอดสั่งซื้อรวมก่อน Vat เกิน 5,000 บาทขึ้นไป)
.
 ขอบคุณลูกค้าที่ไว้วางใจในสินค้าและบริการของเราค่ะ
สนใจสินค้าอื่นๆ เพิ่มเติมติดต่อได้ทาง
www.pakoengineering.com
www.pako.co.th
Line ID : pakoeng
Tel. 02-041-5092 , 09-4690-4630
Email : sales@blog.pako.co.th

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *