ซีล (SEAL) โอริง (O-RING)

คือ ชิ้นส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งของอุปกรณ์นิวเมติกส์และไฮดรอลิก ซึ่งมีความสำคัญคือไม่ให้ลมหรือน้ำมันไฮดรอลิกหรือของเหลวอื่นๆไหลผ่านระหว่างช่วงโลหะของกระบอกลูกสูบ วาล์ว ชุดกรองลม ฯลฯ ทำให้อุปกรณ์นิวเมติกส์และไฮดรอลิก ทำงานได้ตามหน้าที่ ตามที่ออกแบบอย่างสมบูรณ์ มีหน้าที่ป้องกันการรั่วซึมของของไหลในระบบ โดยวัสดุที่นิยมใช้ในการนำมาผลิตโอริงในอุตสาหกรรมทั่วไป คือ ยางไนไทร์ (Nitrile) หรือ NBR ซึ่งมีคุณสมบัติทนความร้อนตั้งแต่ –40 องศาเซลเซียส ถึง +110 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังมีวัสดุอื่นๆ ที่ใช้ในการผลิตโอริงอีก เช่น FPM หรือ VITON, PU, TPU และเทฟลอน Teflon (PTEF) ซึ่งยางสังเคราะห์ส่วนใหญ่เป็นโพลิเมอร์ ที่มาจากปิโตรเคมิคัล

วัสดุซีลพื้นฐาน วัสดุซีลที่ดี ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ มีความยืดหยุ่นสูง เหนียวทนทนต่อการสึกหรอทนต่อสารเคมี สามารถใช้งานในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง นอกจากนี้ยังต้องมีราคาถูก อย่างไรก็ตามไม่มีวัสดุทำซีลชนิดใดที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทุกอย่างดังที่กล่าวมา ดังนั้นจึงต้องเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งานให้มากที่สุด

 

ยางสังเคราะห์ยางเอฟพีเอ็มหรือ ไวตัน (FPM, VITON)

เป็นยางสังเคราะห์ประเภท fluorocarbon elastomer เพื่อการใช้งานที่สภาวะอุณหภูมิสูงๆ  ยางไวตันมีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการใช้งานร่วมกับน้ำมันทุกชนิด, สารประกอบคลอริเนต, สารประกอบไฮโดรคาร์บอน, กรดที่มีความรุนแรง และให้ผลลัทธ์ได้อย่างดีเยี่ยมผลิตภัณฑ์จากยางเอฟพีเอ็ม ได้แก่ ชิ้นส่วนอุตสาหกรรมการบิน, โอริงและซีล อุปกรณ์นิวเมติกส์ ฟลูออโรคาร์บอน เป็นยางที่รู้จักกันดีภายใต้ชื่อทางการค้าของบริษัท ดู ปอง ว่า VITON และของบริษัท 3M คือ Fluorel คุณสมบัติของสารชนิดนี้เหมาะสมที่จะใช้ทำซีลมากที่สุด คือมีช่วงอุณหภูมิใช้งานกว้าง (ตั้งแต่-20° ถึง 400° F) มีความแข็งแรง เหนียว ทนต่อการสึกหรอได้ดี รวมทั้งทนต่อโอโซนและประกายไฟ ราคาของฟลูออโรคาร์บอนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับซีลที่ทำจากไนไตรอย่างไรก็ตาม ซีลที่ทำด้วยสารชนิดนี้ก็คุ้มค่ากับราคา

สรุปคุณสมบัติของยางเอฟพีเอ็ม (FPM, VITON)

  • ทนต่อน้ำมัน
  • ทนกรดด่างและสารเคมีทุกชนิด
  • ทนต่อสภาวะอากาศ
  • ทนความร้อนได้สูงตั้งแต่ -40°c ถึง 220°c

 

 

ยางโพลียูรีเทน (Polyurethane, PU)

ผลิตขึ้นครั้งแรกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อใช้ทดแทนยางธรรมชาติ และยังใช้ผลิตผ้าที่มีความทนทาน เคลือบผิวเครื่องบิน โลหะ เพื่อป้องกันการกัดกร่อนและสารเคมี โพลียูรีเทนผลิตจากโพลีออลกับไดไอโซไซยาเนตหรือโพลีเมอริก ไอโซไซยาเนต โพลียูรีเทนส่วนใหญ่เป็นพลาสติกชนิดเทอร์โมเซ็ต คือ ไม่สามารถหลอมเหลวและขึ้นรูปใหม่ได้  ซึ่งผลิตออกมาหลายรูปแบบได้แก่ ท่อลมอัด เป็นโฟมยืดหยุ่น โฟมแข็ง สารเคลือบป้องกันสารเคมี

สรุปคุณสมบัติของยาง POLYURETHANE

  • ทนต่อการเสียดสีได้ดีมาก
  • ทนต่อแรงลมอัดได้สูง
  • ทนน้ำมัน
  • ทนความร้อนได้ -40°c ถึง 100°c

ยางเทอร์โมพลาสติก โพลียูรีเทน (Thermoplastic Polyurethanes) TPU

มีลักษณะอ่อนเหมือนกัน แต่ไม่อ่อนเท่าเนื้อของ TPU จะลื่นกว่าและมีความแข็งกว่า ส่วนใหญ่จะนำมาใช้เป็นยางกันกระแทกที่จะใช้ TPU เป็นวัสดุ ด้วยเหตุผลที่คงทนกว่า ไม่เกิดอาการย้วย วัสดุประเภทนี้จะไม่เสียทรง หรือ สูญเสียทรงน้อยมาก

โพลียูรีเทน สามารถผลิตได้โดยให้อยู่ในสามรูปแบบหลักคือ แบบที่หล่อได้ แบบที่รีดได้ และแบบที่เป็นเทอร์โมพลาสติกสารชนิดนี้ทนต่อความเค้นดึงได้ดีเป็นพิเศษ รวมทั้งยังทนต่อการสึกหลอและการขัดสีได้ดีและยังทนต่อการถูกบีบอัดจนเสียรูป โพลียูรีเทนสามารถใช้กับของเหลวประเภทปิโตรเลียมได้ดี จากคุณสมบัติที่ดีหลายๆด้าน ทำให้โพลียูรีเทนเป็นที่นิยมใช้ในงานลูกสูบไฮดรอลิคที่ใช้งานหนักและใช้เป็นซีลก้านลูกสูบ ข้อจำกัดของโพลียูรีเทน คือการสูญเสียความแข็งแรงและความยืดหยุ่นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น จึงไม่ควรใช้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 200°F หรือ 225°F ส่วนการใช้งานกับไอน้ำหรือน้ำร้อนจะถูกจำกัดอยู่ที่อุณหภูมิ 190°F นอกจากนั้นคุณสมบัติในการรับแรงอัดก็ด้อยกว่าสารประกอบที่ใช้ทำซีลชนิดอื่นๆ ดังนั้นโพลียูรีเทนจึงมักจะถูกออกแบบให้มีวัตถุยืดหยุ่นอื่นเป็นตัวช่วยในงานที่ต้องรับความดันสูง

สรุปคุณสมบัติของยาง TPU

  • ทนต่อการกระแทกได้ดีมาก
  • มีความยืดหยุ่นดี
  • ทนน้ำมัน
  • ทนความร้อนได้ -50°c ถึง 220°c

เทฟลอน (TEFLON)

คำสำคัญ เทฟลอน เป็นชื่อการค้าของสารประกอบพอลิเมอร์ ซึ่งเป็น Thermoplastic fluoropolymer ค้นพบโดย Roy J. Plunkett (1910 -1994) ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทดูปองท์ ในปี 1938 และได้นำมาแพร่หลายออกสู่ตลาดในปี 1946

เทฟล่อน Polytetrafluoroethylene (PTFE) มีคุณสมบัติพิเศษที่เด่นมากคือ สามารถทนทานต่อความร้อนได้ดีเยี่ยม โดยที่คุณสมบัติทางกายภาพเชิงกล และไฟฟ้าไม่เปลี่ยนแปลงที่อุณหภูมิประมาณ 300 C เป็นเวลาแรมเดือน มีความเหนียว ขณะเดียวกันก็ยืดหยุ่นได้ที่อุณหภูมิต่ำ เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีเยี่ยม เฉื่อยต่อสารเคมี และไม่สามารถละลายได้เลยในตัวทำละลายใดๆ และเนื่องจาก PTFE มีราคาค่อนข้างแพง การใช้งานจึงจำกัดเฉพาะงานที่ต้องการความเหนียว , และความทนทานต่อความร้อนเป็นพิเศษเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ซีลของโซลีนอยด์วาล์ว ฯลฯ

สรุปคุณสมบัติของเทฟลอน

  • ไม่ละลายในตัวทำละลายใด ๆ
  • ทนต่อการขุดขีดลื่น
  • หลอมเหลวที่ 342 องศาเซลเซียส
  • ทนทานต่ออุณหภูมิสูง
  • ทนต่อดินฟ้าอากาศ
  • ประโยชน์ของเทฟลอน ใช้เป็นซีลในโซลินอยด์วาล์วและอุปกรณ์ต่างๆ ใช้เคลือบภาชนะเครื่องใช้ในครัว บรรจุภัณฑ์ของอาหาร

ข้อดีของยางแต่ละชนิด

คุณสมบัติ-ชนิดยาง Viton TEFLON TPU
ยืดหยุ่นสูง
ทนสึกหรอ
ฉนวนไฟฟ้า
ทนน้ำมัน
ทนโอโซน
ทนเคมี
ทนสารละลาย
ทนร้อนจัด/เย็นจัด
ป้องกันรั่วซึม
ไม่เป็นพิษ
ไม่มีกลิ่น/รส
ทนกรด
ยืดติดโลหะ
กันสนิม

วัสดุซีลอื่นๆ

1. นีโอปรีน เป็นยางสังเคราะห์ที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุด มีคุณสมบัติทนต่อปิโตรเลียมเหลวได้ดีกว่ายางธรรมชาติ แต่นีโอปรีนไม่ทนต่อสารอื่นอีกหลายชนิดดังนั้น เมื่อต้องการปิดกั้นของเหลว ซึ่งเป็นสารผสมกันหลายๆอย่าง จึงควรพิจารณาถึงองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย

2. ไนโตร หรือ Buna-N เป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมการผลิตซีล ยางไนไตรถูกนำมาใช้ในการผลิตซีลมากกว่าสารประกอบยืดหยุ่นอื่นๆ ทั้งนี้เพราะมีคุณสมบัติทนต่อปิโตรเลียมได้ดีและมีช่วงอุณหภูมิใช้งานตั้งแต่ –40 ° ถึง 225°F สารประกอบไนไตรบางชนิดสามารถใช้งานได้ในช่วงอุณหภูมิที่กว้างกว่านี้ หรือบางชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆอีก

3. บิวทิล มีคุณสมบัติในการยอมให้สารซึมผ่านได้ต่ำ ซึ่งหมายความว่าก๊าซจะสามารถซึมผ่านบิวทิลได้ในอัตราที่ช้ากว่าสารยืดหยุ่นอื่นๆ คุณสมบัติข้อนี้และช่วงอุณหภูมิใช้งานที่กว้าง (-65° ถึง225° F) ทำให้บิลทิลเป็นที่นิยมใช้ในการกันรั่วสำหรับก๊าซ

4. เอทิลีน โพรพิลีน เป็นยางที่มีคุณสมบัติทนทานต่อน้ำร้อนและไอน้ำดีมาก รวมทั้งยังทนต่อ แสงอัลตร้าไวโอเล็ต ออกซีเจน โอโซน กรดอ่อนๆ และเบส นอกจากนี้ยังมีอุณหภูมิใช้งานในช่วงกว้างตั้งแต่ -65° จนถึง 300°F ทนต่อความเค้นดึง และการสึกหรอได้สูงอีกด้วย แต่เอธิลีน โพรพิลีนมีอัตราการพองตัวสูงมาก โดยเฉพาะในปิโตรเลียม ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ซีลที่ทำจากสารนี้ในงานดังกล่าว

5. ซิลิโคน มีช่วงอุณหภูมิใช้งานที่กว้างมากยกตัวอย่างเช่น สารประกอบซิลิโคนบางชนิดยังคงความยืดหยุ่นได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า -175°F และบางชนิดทนต่ออุณหภูมิถึง 700°F ได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ช่วงอุณหภูมิใช้งานของซิลิโคนตามมาตราฐานทั่วไป คือ -65° ถึง 350°F สารประกอบของซิลิโคนยังมีคุณสมบัติไม่ติดไฟ ทนต่อโอโซนและทนต่อแรงกดได้ดี แต่สารประกอบพวกนี้ ไม่ทนต่อปิโตรเลียมเหลว ถึงแม้จะสามารถใช้ได้ดีกับน้ำมันที่มีจุด aniline point สูง นอกจากนั้นซิลิโคนยังมีคุณสมบัติในการทนต่อการขัดสีและแรงดึงด้อยกว่าสารยืดหยุ่นอื่นๆ ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้ซิลิโคนไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นวัสดุสำหรับไดนามิกซีล

6. ฟลูออโรซิลิโคน มีช่วงอุณหภูมิใช้งานกว้างเช่นเดียวกับ ซิลิโคน (ตั้งแต่ -100° ถึง 300°F) แต่คุณสมบัติที่แตกต่างกันก็คือฟลูออโรซิลิโคนจะทนต่อปิโตรเลียมเหลวได้ดีกว่า แต่สารประกอบชนิดนี้มักไม่นิยมใช้ทำไดนามิกซีล เนื่องจากทนความเค้นดึงได้น้อย และไม่ทนต่อการขัดสี และยังมีราคาแพงกว่า ไนไตร ประมาณ 15 เท่า

7. ฟอสโฟไนตริลิค ฟลูออไรอีลาสโตเมอร์ (PNF) ซึ่งผลิตโดย The Ethy Corp. ภายใต้ลิขสิทธืของ Firestone Tire and Rubber Co. มีช่วงอุณหภูมิใช้งานและคุณสมบัติทางกายภาพเหมือนกับฟลูออโรซิลิโคน แต่ว่ามีความทนทานกว่า จึงเหมาะสมกับการใช้งานที่มีการเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตามคุณสมบัติในการรับแรงอัดยังด้อยกว่า ฟลูออโรซิลิโคน

8. Atlas เป็นชื่อทางการค้าของบริษัท Asahi Glass Co. ประเทศญี่ปุ่น เป็นสารประกอบโพลีเมอร์ของเตตระฟลูออโรเอทิลีน และ โพรพิลีน มักจะถูกนำมาใช้กับน้ำมัน เพราะทนต่อไฮโดรเจนซัลไฟต์, อัมมัน, กรดและไอน้ำ รวมทั้งทนต่ออุณหภูมิสูงถึง 570°F ในบางสภาวะ

9. บิวทาดีน เป็นสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติคล้ายกับยางธรรมชาติแต่มีข้อด้อยคือไม่ทนต่อปิโตรเลียมเหลวและเสื่อมสภาพง่าย ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการนำยางชนิดนี้มาใช้ทำซีล

10. อีพิคคอโรไฮดริน ถูกใช้อย่างแพร่หลายภายใต้ชื่อทางการค้าว่าไฮดรินและเฮอคลอ (Hydrin & Herelor) ผลิตโดย B.F. Goodrich and Hercules Inc. มีคุณสมบัติทนต่อปิโตรเลียมเหลวและโอโซนได้ดี อุณหภูมิใช้งานอยู่ในช่วง -40° ถึง 300°F แต่ที่อุณหภูมิสูงเช่น 300° F สารนี้จะทนต่อความเค้นอัดไม่ดีนัก

11. คาลเรซ เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ของบริษัท ดูปอง ซึ่งเป็นสารจำพวกเปอร์ฟลูออโรอีลาสโตเมอร์ ใช้กันมากในงานเคมีและงานที่อุณหภูมิสูง ซีลที่ทำด้วยสารชนิดนี้เป็นซีลที่มีอุณหภูมิสูง ซีลที่ทำด้วยสารชนิดนี้เป็นซีลที่มีคุณภาพสูง มีอุณหภูมิใช้งานสูงถึง 500°F

12. โพลีอะครีเลท มีความทนทานต่อปิโตรเลียมเหลว การเกิดออกซิเดชั่น โอโซน แสงอาทิตย์ และอุณหภูมิสูงถึง 325°F ในน้ำมันร้อนๆ ข้อเสียที่สำคัญของโพลีอะครีเลทคือไม่สามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิต่ำ ส่วนคุณสมบัติในการทนต่อแรงอัด และการกันน้ำก็ด้อยกว่าสารยืดหยุ่นอื่นๆ อีกหลายอย่าง และราคาก็สูงกว่าไนไตร

13. โพลีซัลไฟต์ รู้จักกันในชื่อ (Thiokol) สารนี้ทนต่อตัวทำละลายได้ลายชนิด รวมทั้งอีเธอร์ซึ่งไม่สามารถซีลได้ด้วยสารยืดหยุ่นชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ยังทนต่อความเค้นสูง ทนต่อออกซิเจน โอโซน และยังรักษาความยืดหยุ่นได้ที่อุณหภูมิต่ำๆ แต่ไม่สามารถทนต่อความร้อนได้มากนัก

14. SBR, GRS หรือบูนา-เอส เป็นยางที่มีคุณสมบัติจำกัดในการใช้ทำซีลเช่นเดียวกับยางธรรมชาติ SBR ไม่สามารถใช้กับปิโตรเลียมเหลว ไม่ทนต่อโอโซน และสภาพอากาศทั่วไป แต่เมื่อทำเป็นสารประกอบที่เหมาะสมจะทนต่อการขัดสีได้เป็นอย่างดี เป็นซีลที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ เพราะทนต่อของเหลวที่ไม่ใช่ปิโตรเลียมที่ใช้ในระบบเบรก และระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ นอกจากนี้ SBR ยังทนต่อการเสื่อมสภาพได้ดีเช่นเดียวกับไนไตร

15. โพลีเอสเตอร์ มีความทนทานต่อสารเคมีเป็นพิเศษ รวมทั้งมีความแข็งแรงและทนต่อการขัดสี เช่นเดียวกับยูรีเทน แต่ทนต่อแรงกดได้ไม่ดี ในการใช้งานส่วนใหญ่จะใช้สารชนิดนี้ร่วมกับวัสดุที่มีความสามารถในการคืนตัวที่ดีกว่า โพลีเอสเตอร์มักใช้ทำแพ็กกิงซึ่งใช้กับงานหนักที่มีอุณหภูมิใช้งานสูง หรือใช้กับของเหลวที่ไม่สามารถใช้กับโพลียูรีเทนได้

 

ซีลกันน้ำมัน (Oil Seal)

เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรทำหน้าที่กันของเหลวที่ใช้เป็นสารหล่อลื่นในส่วนที่มีการเคลื่อนตัวและเสียดสีของเครื่องจักรทำให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีอายุการใช้งานยาวนานรวมถึงยังสามารถกันการรั่วของน้ำ, สารเคมี หรือ ป้องกันฝุ่นเข้าเครื่องจักร

โครงสร้างส่วนประกอบของออยซีล(Oil Seal) จะประกอบด้วย 3ส่วนสำคัญหลักๆ
1. Elastomeric Sealing Matterial (ขอบซีลหลัก)
2. Metal Case (โครงซีล)
3. Gartor Spring (สปริงกด)

การทำงานของออยซีล (Oil Seal)          
จะถูกประกอบอยู่ในชิ้นส่วนเครื่องจักรกลที่เป็นจุดสัมผัสเคลื่อนที่ โดยการสวมเข้ากับเพลา ให้ยางขอบซีลหลัก(Elastomeric Sealing) สัมผัสกับเพลา และโครงซีล(Metal Case)ยึดติดแน่นกับเฮ้าซิ่ง(Housing) ซึ่งออยซีล(Oil Seal) จะปิดกันน้ำมัน, จารบี, สารหล่อลื่น ฯ ที่อยู่ระหว่างตลับลูกปืนกับออยซีล(Oil Seal) “กันไม่ให้รั่วไหลออกด้านนอก และป้องกันฝุ่นผง,สิ่งสกปรก,น้ำ ฯ ไม่ให้เข้าสู่ภายในด้วยเช่นกันเครื่องจักรกลหรือกลไก” ต้องการให้เกิดการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมทั้งอายุการทำงานที่ใช้ยาวนาน อย่างเหมาะสม ออยซีล(Oil Seal) จะสัมผัสกับเพลาตลอดเวลาทั้งขณะที่เพลาหยุดนิ่งและเพลาหมุนฉะนั้น หากมีการรั่วซึมของน้ำมันหรือสารหล่อลื่นอื่นๆ “รวมทั้งฝุ่นสิ่งสกปรกเข้าไปได้ จะทำให้เครื่องจักรสะดุดเดินไม่เรียบ เสียหายก่อน ถึงเวลาอันควร จึงจำเป็นต้องมี” ออยซีล(Oil Seal) เพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าว..

วัสดุที่ใช้ผลิตเป็นส่วนประกอบออยซีล (Oil Seal Material) 
ยางขอบซีลหลัก (Elastomeric Sealing Material) วัสดุที่นำมาผลิตใช้ผลิตยางขอบซีลหลัก (Sealing Material)ในออยซีล(Oil Seal)จะมีการใช้อยูด้วยกันหลายชนิดแต่ที่นิยมใช้กันมากในชิ้นส่วนเครื่องจักรกลทั่วๆไปก็มีไม่กี่ชนิด ส่วนชนิดที่ต้องการความพิเศษมากๆก็จะถูกผลิตและนำไปใช้เฉพาะทาง(Special List) เท่านั้นแต่ราคาก็จะสูงไปด้วยเช่นกัน วัสดุที่นิยมกันพอสรุปได้ดังนี้ ..
NBR ความต้านทานต่อน้ำมันและความร้อนระดับหนึ่งในช่วงอุณหภูมิ -40 °C ถึง 120 °C(oil) หรือ 90°C(water) ขณะเดียวกันยังมีความยืดหยุ่นและมีความต้านทานต่อแรงกดบีบอัด ยางไนไตรยังมีคุณสมบัติเชิงกลที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับยางชนิดอื่น ๆ และมีความต้านทานการสึกหรอสูง จึงนิยมใช้กันมาก
EPDM กันรั่วซึมในของเหลวไฮดรอลิคส์ และในระบบเบรก  มีช่วงอุณหภูมิการทำงานในวงกว้าง  -65 °F ถึง 300 °F (-55 °C ถึง150 °C) นอกจากนี้นี้ยังใช้ในการอบไอน้ำและอุณหภูมิที่ต่ำกว่าการใช้งานที่อุณหภูมิปรกติด้วย Silicone สภาวะความเย็นได้ดีที่ -75 °F (-59 °C) เมื่อเทียบกับซิลิโคน มีช่วงอุณหภูมิที่กว้างที่ในช่วงอุณหภูมิ 350 °F(180°C)ถึง 100 °F(38°C) ซึ่งใช้งานได้อย่างยอดเยี่ยมสำหรับงานแรงดันต่ำในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง และสภาพอากาศที่เย็นจัดๆ ได้เป็นอย่างดี

………………………………………………………………………………………………………..

นั่นก็คือเรื่องของซีลและวัสดุต่างๆ ที่ใช้ผลิตซีล ซึ่งหวังว่าเมื่อท่านได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุชนิดต่างๆ แล้ว จะสามารถเลือกซีลที่เหมาะสมกับงานของท่านได้นะคะ

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *