Syphon “ไซฟอน” หรือที่หลายๆคนเรียกกันว่า “ไส้ไก่” “หางหมู” ประโยชน์ของมัน เอาไว้ ลดอุณหภูมิของของไหลก่อนเข้าถึงเครื่องมือวัด โดยทั่วไปแล้ว นิยมติดตั้งร่วมกับ Pressure Gauge เมื่อต้องการวัดความดันของของไหลที่อยู่ในสถานะไอหรือไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูง ซึ่งมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ และวัสดุ มาดูกันเลยยยย
Syphon “ไซฟอน” มีแบบใดบ้าง
syphon หลายแบบ ได้แก่
1. แบบขดลวด ( Coil Pipe Syphon )
ไซฟอนแบบขดลวด จะเป็นแบบที่มีพื้นที่ผิวสำหรับถ่ายเทความร้อนมาก การลดอุณหภูมิในการใช้ไซฟอนแบบขดจะขึ้นอยู่กับ 5 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของขดไซฟอน , ขนาดความยาวรวมของขด, ความหนาของท่อไซฟอน , อุณหภูมิรอบรอบตัวไซฟอน , และสภาพการถ่ายเทอากาศของห้อง (Ventilation)
2. แบบแทงก์ (Tank Syphon)
แบบแทงก์นี้ผลการใช้งานจะด้อยกว่าแบบขด ก่อนการใช้งานต้องเติม Fluid ลงไปในแทงก์ก่อนเพื่อทำหน้าที่เป็นซีลไปด้วย คือช่วยป้องกันไม่ให้ Fluid ในระบบเข้าไปถึงตัววัดความดัน
การใช้งานต้องวางให้ตั้งฉากกับแนวระดับเสมอ ไม่ให้ Fluid ที่เติมไหลไปปนกับในระบบ
3. แบบหางหมู และแบบที่สร้างไว้ในท่อ ( Pig Tail & Internal )
ไซฟอนแบบหางหมู มีลักษณะคล้ายแบบขด แต่ดัดตัวไซฟอนเพียงรอบเดียว เมื่อมีการถ่ายเทความร้อนให้กับบรรยากาศรอบรอบ ไซฟอนก็จะกลั่นตัวเป็นของเหลว ซึ่งเกิดขึ้นเองในสภาวะปกติ ไซฟอนบางชนิดได้รับการออกแบบพิเศษให้อยู่ภายในข้อต่อ มองไม่เห็นจากภายนอก ซึ่งใช้พื้นที่ผิวของข้อต่อเป็นพื้นที่ระบายความร้อน
4. U-Syphon
Syphon “ไซฟอน” มีวัสดุใดบ้าง
- Cast Steel
- Stainless 304
สาระน่ารู้ อากาศหรือสารที่เราเติมไว้เป็นโลห์นี้ อาจเกิดการผิดพลาดจากกรณีตัวมันเองเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไอและปนกัน (Mixed Phase Condition) เข้าไปที่ Pressure Gauge ในตัวเครื่องมือวัด ดั้งนั้นเราก็จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานของเรานั่นเอง
อ้างอิง : สมศักดิ์ กีรติวุฒิเศรษฐ์. (2558). หลักการและการใช้งานเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ส.ส.ท.