เครื่องวัดอุณหภูมิ หรือ เทอร์โมมิเตอร์ คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิหรือระดับของความร้อนโดยใช้หลักการวัดที่แตกต่างกันมากมาย แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือแบบดิจิตอลซึ่งมีหน้าจอแสดงผลแบบดิจิตอล และมีโพรบติดตั้งอยู่ที่ตัวเครื่อง พกพาได้สะดวกสามารถแสดงผลอุณหภูมิได้ทั้งแบบองศาเซลเซียสและองศาฟาเรนไฮต์ เมื่อต้องการที่จะเลือกเครื่องวัดอุณหภูมิไว้ใช้งาน สิ่งที่จะต้อง พิจารณามากเช่นช่วงการวัดอุณหภูมิ, ความละเอียด, ความถูกต้องของที่ได้จากการวัด และที่สำคัญ เพื่อนๆควรพิจารณาสิ่งแวดล้อมที่จะนำเครื่องวัดอุณหภูมิไปใช้ ให้เหมาะสม
เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นประเภทต่างๆ
1. Humidity Meter (เครื่องวัดความชื้น)
Humidity Meter คือเครื่องวัดปริมาณไอน้ำในอากาศ โดยไอน้ำคือสถานะที่เป็นก๊าซของน้ำซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ความชื้นจะเป็นตัวบ่งชี้ความเป็นไปได้ที่จะเกิดฝน, หิมะ, ลูกเห็บ, น้ำค้างหรือหมอก การวัดความชื้นแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ
- ความชื้นสัมบูรณ์ (Absolute Humidity)
- ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity)
- ความชื้นจำเพาะ (Specific Humidity)
2. ไฮโกรมิเตอร์ (Hygrometer)
ไฮโกรมิเตอร์คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดความชื้นในอากาศ ไฮโกรมิเตอร์รุ่นใหม่นิยมใช้อุณหภูมิของการควบแน่น (Dew Point) หรือการเปลี่ยนแปลงประจุหรือความต้านทางไฟฟ้าเพื่อคำนวณหาค่าความชื้นที่แตกต่างกัน
3. เครื่องวัดอุณหภูมิในทางอุตุนิยมวิทยา
เครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บมูลสถานะของบรรยากาศในเวลาที่กำหนด อุตุนิยมวิทยาคือวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งทีไม่ใช้การทดลองในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์แต่จะใช้อุปกรณ์สำหรับเฝ้าสังเกตการณ์ในภาคสนามแทน ตัวแปรที่สำคัญสองอย่างที่ทำให้การวัดสภาพอากาศได้อย่างถูกต้องคือลมและความชื้นในอากาศ
ประเภทของเครื่องมือในทางอุตุนิยมวิทยาอื่นๆ เช่น
- บารอมิเตอร์สำหรับวัดความกดอากาศ
- อะนิโมมิเตอร์สำหรับวัดความเร็วลม
- ไฮโกรมิเตอร์สำหรับวัดความชื้นสัมพัทธ์และค่าอุณหภูมิจุดน้ำค้าง ( Dew Point)
- ไพรานอมิเตอร์ (Pyranometer) เป็นเครื่องมือวัดการแผ่รังสีของแสงอาทิตย์บนพื้นผิวระนาบ
- ซีโลมิเตอร์ (Ceilometers) คือเครื่องมือที่ใช้เลเซอร์วัดค่าระดับความสูงของฐานเมฆ และสามารถวัดความเข้มข้นของละอองภายในชั้นบรรยากาศ
4. เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิมีดังต่อไปนี้
- เทอร์โมคัปเปิล
- เทอร์มิสเตอร์
- เทอร์โมมิเตอร์ชนิดต่างๆ
- ไพรอมิเตอร์
- รังสีอินฟาเรด
หลักการทำงาน
การวัดอุณหภูมิทำได้โดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิโดยใช้ปรอทซึ่งเมื่อถูกความร้อนจะขยายตัวและหดตัวเมื่ออุณหภูมิลดลง ซึ่งทำให้ของเหลวมีความยาวมากขึ้นหรือสั้นลงขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ
ทุกวันนี้เครื่องวัดอุณหภูมิจะถูกสอบเทียบกับมาตรฐานในหน่วยต่างๆ เช่น
1. เซลเซียส (Celsius) ใช้ในแคนาดา และอังกฤษ
2. ฟาเรนไฮต์ (Fahrenheit) ใชัในสหรัฐอเมริกา
3. เคลวิน (Kelvin) ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่
1.หลักการวัดอุณหภูมิโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเชิงกล
- เทอร์มอมิเตอร์แบบหลอดแก้วเปิด
หลักการวัดของเทอร์มอมิเตอร์แบบหลอดแก้วปิด คือ เมื่อของเหลวประเภทปรอทหรือแอลกอฮอล์ได้รับความร้อนหรือความเย็นแล้ว ของเหลวนั้นจะเกิดการขยายหรือหดตัว โดยเครื่องมือวัดนี้จะบรรจุปรอทหรือแอลกอฮอล์ลงในหลอดแก้วปิด ขณะที่ข้างในหลอดแก้วเป็นสุญญากาศ โดยในหลอดแก้วจะมีขนาดทางเดินเป็นรูเล็กๆ สำหรับให้ของเหลวขยายหรือหดตัว ส่วนข้างนอกของหลอดแก้วจะมีแถบสเกลสำหรับอ่านค่าอุณหภูมิ ซึ่งอาจเป็นองศาเซลเซียส (°C) หรือฟาเรนไฮต์ (°F) โดยวิธีการอ่านค่าสามารถอ่านได้จากการที่ของเหลวขยายตัวหรือหดตัวเป็นความดันที่ขีดต่างๆในการใช้งานเครื่องมือวัดนี้โดยทั่วไปแล้ว ถ้าไม่มีส่วนป้องกันหลอดแก้วจะนิยมใช้ในห้องปฏิบัติการ (Laboratory) แต่ถ้าต้องการนำไปติดตั้งในกระบวนการผลิต (ตามท่อหรือถังที่ต้องการวัดอุณหภูมิ) จำเป็นจะต้องมีส่วนป้องกันการเสียหายต่อหลอดแก้ว (Metal Guard)
- เทอร์มอมิเตอร์แบบอาศัยการเปลี่ยนแปลงความดัน (Filled Thermal System)
เครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบนี้ได้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในระบบนิวเมติก โดยใช้เป็นตัวแสดงค่าของสัญญาณอุณหภูมิหรือเป็นอุปกรณ์ส่งสัญญาณอุณหภูมิซึ่งเป็นสัญญาณลมมาตรฐานด้วยในตัว ส่วนใหญ่อุปกรณ์ประเภทนี้จะใช้งานในการแสดงค่าเป็นจุดในงานสนาม (Local Instrument) หรือใช้เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Area)
หลักการทำงานของเครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบนี้ จะอาศัยหลักการขยายตัวหรือหดตัวของของไหลซึ่งอาจอยู่ในรูปของของเหลว (Liquid) ไอน้ำ (Vapour) หรือก๊าซ (Gas) ก็ได้ โดยที่ของไหลจะเกิดการขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน แต่ถ้าของไหลได้รับความเย็นจะเกิดการหดตัวซึ่งเหมือนกับหลักการของเครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบหลอดแก้วปิดนั่นเอง เมื่อกำหนดให้ของไหลอยู่ในปริมาตรที่จำกัด เมื่อของไหลมีการขยายตัวหรือหดตัวจะเกิดการเปลี่ยนแปลงค่าความดันขึ้นโดยค่าความดันที่เปลี่ยนแปลงจะสัมพันธ์กับค่าของอุณหภูมิที่เกิดขึ้น
- เครื่องวัดอุณหภูมิแบบแถบโลหะคู่
เครื่องมือวัดอุณหภูมิชนิดนี้จะมีแถบโลหะคู่ ซึ่งเป็นโลหะ 2 ชนิด ที่มีสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนไม่เท่ากันซึ่งยึดติดกัน เมื่อได้รับความร้อนโลหะทั้งสองชนิดจะขยายตัวไม่เท่ากันจึงทำให้แถบโลหะโก่งตัว ถ้ายึดปลายด้านหนึ่งไว้แล้วปลายอีกด้านหนึ่งจะเบี่ยงเบนไปตามค่าของอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง โดยระยะการโก่งตัวของโลหะคู่นี้จะขึ้นอยู่กับ
1.ความแตกต่างของสัมประสิทธิ์การขยายตัวของแถบโลหะทั้งสอง
2.ความยาวของแถบโลหะคู่
3.ความร้อนที่เกิดจากระดับอุณหภูมิ
จากตัวแปรทั้ง 3 ข้อนี้จะใช้เป็นค่าที่กำหนดความไว (Sensitivity) ของเครื่องมือวัดอุณหภูมิด้วย
การเลือกโลหะผสมที่มีความแตกต่างของค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อน ในปัจจุบันใช้ Invar ซึ่งเป็นโลหะที่มีสัมประสิทธิ์การขยายตัวมากจะเป็นโลหะผสมระหว่างนิกเกิล เหล็ก โครเมียม และแมงกานีส การเพิ่มความยาวของแถบโลหะคู่สามารถเพิ่มได้โดยการขดขึ้นรูปในลักษณะเป็นขดซ้อน (Multiple Helix)
เครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบแถบโลหะคู่เหมาะสำหรับการแสดงค่าอุณหภูมิ ณ จุดที่ติดตั้งสำหรับส่วนของขดสำหรับส่วนของขด Helix ที่มีผลโดยตรงต่อการวัดอุณหภูมิจะอยู่ตรงส่วนปลายของ Sheath ที่สอดหรือจุ่มอยู่ในของไหลที่ต้องการทราบอุณหภูมิ ย่านใช้งานของเครื่องมือวัดนี้จะอยู่ในช่วง -180 °C ถึง 550 °C แต่ที่อุณหภูมิต่ำๆ อัตราการเบี่ยงเบนของเข็มจะตกลงอย่างรวดเร็ว เครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบนี้จะมีราคาถูก หลักการง่าย และให้ความไวในการวัดที่ดี แต่การสอบเทียบและปรับเทียบทำได้ค่อนข้างยาก แต่โดยทั่วไปควรเลือกย่านวัดให้แสดงค่าอยู่ที่ประมาณ 75% ของค่าเต็มสเกล (Full scale) ขึ้นไป
2.หลักการวัดอุณหภูมิโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางไฟฟ้า
- อาร์ทีดี (Resistor Temperature Detector : RTD)
อาร์ทีดีเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานโดยอาศัยหลัการเปลี่ยนค่าความต้านทานของขดลวดโลหะที่เปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ โดยอาร์ทีดีที่ใช้งานในอุตสาหกรรมที่เรียกว่า Platinum Resistance Thermometer (พีอาร์ที) มีแบบ 2 แบบด้วยกัน คือ Pt50 และ Pt100 โดยที่
- อาร์ทีดีแบบ Pt50 หมายถึง ค่าความต้านทาน Rt = 50 Ω ที่อุณหภูมิ 0 ˚C
- อาร์ทีดีแบบ Pt100 หมายถึง ค่าความต้านทาน Rt = 100 Ω ที่อุณหภูมิ 0 ˚C
โดยทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะนิยมใช้อาร์ทีดีแบบ Pt100 มากที่สุด และ เป็นแบบสาย
โครงสร้างของอาร์ทีดี ประกอบด้วยลวดโลหะที่มีความยาวค่าหนึ่งพันอยู่บนแกนที่เป็นฉนวนไฟฟ้าซึ่งมีคุณสมบัติทนต่อความร้อน โดยแกนที่ใช้เป็นสารประเภทเซรามิก หรือแก้ว เช่น อะลูมินาบริสุทธิ์ สภาพภายนอกของอาร์ทีดีจะดูคล้ายกับเทอร์โมคัปเปิล
เนื่องจากอาร์ทีดีเป็นอุปกรณ์ประเภทงานเฉื่อยงาน (Passive Element) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีค่ากำลังเอาต์พุตน้อยกว่าอินพุต ดังนั้นการนำเอาอาร์ทีดีไปประยุกต์ใช้งานจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ส่งสัญญาณหรือทรานสมิตเตอร์ ซึ่งเป็นวงจรที่ใช้ในการแปลงค่าความต้านทาน Rt เป็นสัญญาณแรงดันไฟฟ้ามาตรฐานเพื่อใช้ในการส่งสัญญาณต่อไป (ในปัจจุบันได้มีการนำอาร์ทีดีกับทรานสมิตเตอร์ต่ออยู่ร่วมกันภายในเครื่องมือวัดแล้ว)
- ทอร์มอเวลล์
เทอร์มอเวลล์เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กับเซนเซอร์วัดอุณหภูมิแบบอาร์ทีดีและเทอร์มอคัปเปิล เพื่อเสริมความแข็งแรงทนทานให้แก่ตัวเซนเซอร์และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับตัวเซนเซอร์จากสภาวะการใช้งาน และเป็นตัวกลางไม่ให้ของไหลที่ต้องการวัดค่าอุณหภูมิมาสัมผัสโดยตรงกับเซนเซอร์ เพื่อลดการกัดกร่อนจากของไหล อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความสะดวกในการซ่อมบำรุงรักษาเมื่อต้องเปลี่ยนตัวเซนเซอร์อีกด้วย
เทอร์มอเวลล์อาจมีทั้งที่เป็นโลหะและอโลหะ ในทางปฏิบัติอาจเรียกชื่อต่างกันไป ดังเช่น อาจเรียกว่า “Protecting Well” หรือ “Bulb” เป็นต้น โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 4 แบบ
- แบบ Lagging เหมาะสำหรับใช้งานทั่วไป
- แบบ Taped เป็นแบบเรียวมีด้านโคนโต เหมาะสำหรับงานวัดของไหลที่มีความเร็วของการไหลสูง
- แบบ flange จะใช้ต่อกับกระบวนการด้วยหน้าแปลน เหมาะสำหรับการวัดที่ของไหลที่เป็นสารกัดกร่อน
- แบบเสริมโคนให้แข็งแรงเป็นพิเศษ โดยที่ด้านโคนจะโตและลดขนาดที่ปลายของเทอร์มอเวลล์ลง เพื่อให้ผลการวัดรวดเร็วขึ้น
สำหรับโลหะที่ใช้ทำเทอร์มอเวลล์มีอยู่หลายชนิด เช่น คาร์บอนสตีล สแตนเลสสตีล นิกเกิล อัลลอย เป็นต้น
การเลือกใช้งานเทอร์มอเวลล์ทั่วไปมีข้อพิจารณา ดังนี้
- ขนาดของรูและความลึก (Bores & Depth)
- การเลือกวัสดุที่ใช้ทำเทอร์มอเวลล์ต้องคำนึงถึงผลกระทบของของไหลที่จะสัผัสกับเทอร์มอเวลล์เป็นหลัก ว่าจะเกิดการกัดกร่อนหรือไม่และทนต่อความดันได้หรือไม่ โดยทั่วไปจะใช้วิธีการเปิดตารางคุณสมบัติของวัสดุ ตัวอย่างเช่น คาร์บอนสตีล สามารถใช้ได้กับงานที่มีอุณหภูมิสูงถึงประมาณ 700 °C และ stainless Steel เช่น SS304 SS316 สามารถใช้ได้กับงานอุณหภูมิสูงที่อยู่ในช่วง 900 °C ถึง 1000 °C ได้ดีและทนต่อการกัดกร่อนสูงกว่าแบบที่ทำจากคาร์บอนสตีล
- เทอร์มอคัปเปิล (Thermocouple)
หลักการของเทอร์มอคัปเปิล ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1821 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ช่อ โธมัส ซีเบ็ค (Thomas Seebeck) ที่พบว่าเมื่อนำลวดโลหะ 2 เส้น ที่ทำด้วยโลหะต่างชนิดกันมาเชื่อปลายทั้งสองเข้าด้วยกัน ถ้าปลายจุดที่ต่อทั้งสองได้รับอุณหภูมิที่ต่างกันจะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรเส้นลวดทั้งสอง และถ้าเปิดปลายจุดต่อด้านหนึ่งออก จะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าขึ้นที่ปลายด้านเปิดจะเป็นสัดส่วนกับผลต่างของอุณหภูมิที่จุดต่างทั้งสอง
e AB = α∆T
เมื่อ e AB คือ แรงดันไฟฟ้าที่วัดได้ หน่อยเป็น V
α คือ ค่าสัมประสิทธิ์ของซีเบ็ค
∆T คือ ผลต่างของอุณหภูมิ หน่อยเป็น K
การทดลองของซีเบ็ค
หลักการของเทอร์มอคัปเปิล
เทอร์มอคัปเปิลที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรรมนั้นมีอยู่หลายแบบด้วยกัน คือ แบบ S, R, B, T, E, K และ J สำหรับ K, J เป็นแบบที่ได้รับการยอมรับและนิยมนำไปประยุกต์ใช้งานมาก
ข้อพิจารณาสำหรับการเลือกใช้เทอร์มอคัปเปิลจะเป็นเช่นเดียวกับกรณีของอาร์ทีดี แต่โดยทั่วไป ถ้าต้องการเลือกใช้ระหว่างอาร์ทีดีและเทอร์มอคัปเปิลนั้น จะพิจารณาไว้ว่า ถ้าอุณหภูมิที่ต้องการวัดมีค่าต่ำกว่า 550 °C และไม่คำนึงถึงความไวในการวัด จะนิยมเลือกใช้อาร์ทีดีมากกว่า เนื่องจากราคาติดตั้งเครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบเทอร์มอคัปเปิลในการใช้งานมีราคาแพงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับราคาค่าติดตั้งกับเครื่องมือวัดทั้งแบบอาร์ทีดีและแบบเทอร์มอคัปเปิลได้รับความนิยมมากที่สุด
3.หลักการวัดอุณหภูมิโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเชิงแสงและการแผ่รังสี
การวัดอุณหภูมิแบบนี้เป็นการวัดโดยไม่มีการสัมผัสโดยตรงกับวัตถุที่ต้องการวัดค่าอุณหภูมิ เพราะใช้วิธีการวัดโดยอาศัยการแผ่รังสีความร้อนและแสงของวัตถุเพื่อบอกค่าอุณหภูมิของวัตถุแทน ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของการแผ่รังสีกับการเปลี่ยนแปลงของความยาวคลื่นและอุณหภูมิด้านล่างนี้ โดยความยาวคลื่นจะอยู่ในย่านไมครอน (x 10-6)
คุณสมบัติทั่วไปของการแผ่รังสีในช่วงอุณหภูมิ 1000 °F ถึง 2800 °F พลังงานที่แผ่ออกมาเป็นรูปแสง แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 1000 °F จนถึงอุณหภูมิห้อง พลังงานที่แผ่ออกมาจะอยู่ในรูปของการแผ่รังสีความร้อน (Thermal Radiation) โดยที่ ณ จุดอุณหภูมิที่แตกต่างกัน จะมีความยาวคลื่นหรือความถี่ของพลังงานแตกต่างกันออกไปด้วย
ความเข้มข้นการแผ่รังสีกับการเปลี่ยนแปลงความยาวคลื่นและอุณหภูมิ
ระดับความยาวคลื่น
เครื่องมือวัดอุณหภูมิที่อาศัยการแผ่รังสีความร้อนและแสงของวัตถุ จะถูกเรียกว่า “ไพโรมิเตอร์” (Pyrometer) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ชนิดที่มีการวัดคลื่นรังสีที่ตามนุษย์มองเห็น (Optical Pyrometer) และชนิดที่มีการวัดคลื่นรังสีอินฟราเรด (Infrared Pyrometer) โดยปกติความยาวคลื่นของแสงที่ตามนุษย์มองเห็นได้อยู่ในช่วงประมาณ 0.3 µm ถึง 0.7 µm เท่านั้น แต่อินฟราเรดมีความยาวคลื่นสูงกว่าในย่านที่ตามนุษย์มองเห็นได้ โดยอยู่ในช่วง 0.75 µm ถึง 1000 µm ที่มีความยาวคลื่นสูงกว่านี้จะเป็นย่าน Radar และ Ultrasonic, X-Ray และ Gramma-Ray เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นและความเข้มข้นของการแผ่รังสีที่อุณหภูมิต่างๆจะขึ้นอยู่กับสภาพผิวของวัตถุด้วย โดยผิวสีดำจะแผ่รังสีออกมาดีที่สุด ในปัจจุบันหลักการวัดอุณหภูมิโดยอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเชิงแสงและการแผ่รังสีที่นิยมใช้มากที่สุด คือ ไพโรมิเตอร์แบบอินฟราเรด ส่วนไพโรมิเตอร์แบบอื่นๆ มีการใช้น้อยมากในการควบคุมประบวนการทางอุตสาหกรรม
- ไพโรมิเตอร์แบบอินฟราเรด
เครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบนี้ นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการวัดค่าอุณหภูมิเป็นครั้งคราว ซึ่งเป็นการตรวจสอบสภาพเฉพาะจุด เช่น การตรวจสอบความร้อนขากข้อต่อสายไฟ หรือต้องการหาจุด Hot-spot ที่ตัวหม้อแปลง โดยที่เครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบอื่น ไม่สามารถทำได้เครื่องมือวัดแบบอนฟราเรดจะมีตัวตรวจวัดอุณหภูมิซึ่งเป็นสารประเภทกึ่งตัวนำที่เรียกว่า “โฟตอน” (Photon) หรือใช้เทอร์มอไพล์เป็นตัวรับคลื่นแสง เมื่อโฟตอนหรือเทอร์มอไพล์ได้รับพลังงานความร้อนที่อยู่ในรูปของการแผ่รังสีความร้อน จะเกิดเป็นแรงดันไฟฟ้ามากขึ้น ทำให้สามารถวัดค่าอุณหภูมิของวัตถุต่างๆได้ สำหรับการเลือกใช้งานจะพิจารณาจากย่านวัด และ Accuracy Class เท่านั้น
4.หลักการวัดอุณหภูมิโดยวิธีการทางเคมี
การวัดอุณหภูมิโดยวิธีการทางเคมี จะอาศัยการเปลี่ยนแปลงสีของสารเคมีเมื่อได้รับความร้อนหรือหลอมละลาย การวัดอุณหภูมิด้วยหลักการนี้ จะนิยมใช้เฉพาะแต่ในห้องปฏิบัติการ (Laboratory) หรือใช้ทดสอบชิ้นงานเท่านั้น
- ดินสอ (Crayons)
ดินสอใช้สำหรับวัดอุณหภูมิที่ผิวของชิ้นงาน
ดินสอใช้สำหรับวัดอุณหภูมิที่ผิวของชิ้นงานดังรูปด้านล่าง ทำได้โดยขีดเป็นแนวบนชิ้นงาน เมื่ออุณหภูมิถึงจุดที่แต่ละสีระบุไว้ แนวที่ขีดจะละลาย สามารถเลือกใช้งานเพื่อวัดค่าได้ที่จุดอุณหภูมิต่างๆตั้งแต่ 30 °C ถึง 1250 °C ส่วนวิธีการใช้งานควรระวังผิวของชิ้นงานมีความสกปรก
- แล็กเกอร์ (Lacquer)
แล็กเกอร์ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิที่ผิวของชิ้นงาน
แล็กเกอร์ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิที่ผิวของชิ้นงานดังรูปด้านล่าง เป็นการใช้สารเคมีทาหรือพ่นไว้บางๆลงพื้นผิวของชิ้นงาน แล็กเกอร์จะแห้งในเวลาอันรวดเร็ว เมื่ออุณหภูมิถึงจุดที่ระบุไว้ บริเวณผิวส่วนที่ถูกเคลือบด้วยแล็กเกอร์จะละลายอย่างรวดเร็ว สามารถเลือกใช้งานเพื่อวัดค่าที่มีอุณหภูมิต่างๆตั้งแต่ 30 °C ถึง 1250 °C สำหรับข้อควรระวังในการใช้งานก็คล้ายกับแบบดินสอ
- แบบ Pellet
แบบ Pellet
แบบ Pellet ดังรูปด้านล่าง เป็นแบบแรกของเครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบสารเคมีที่นำมาใช้งานในกระบวนการอุตสาหกรรม ซึ่งมีลักษณะเหมือนเป็นเม็ดยา การบอกค่าอุณหภูมิตามจุดต่างๆจะใช้ช่วงเวลายาวกว่าสองแบบแรก ดังเช่น ใช้บอกอุณหภูมิตามจุดต่างๆเพื่อกำหนด Heat Zone ในเตาเผา (Furnace) การใช้งานเมื่ออุณหภูมิถึงจุดที่ระบุจะเปลี่ยนสี สามารถเลือกใช้งานเพื่อวัดค่าที่อุณหภูมิต่างๆตั้งแต่ 30 °C ถึง 1800 °C
- แบบแผ่น (Labels)
แบบแผ่น ดังรูปด้านล่าง จะมีสารเคมีฉาบอยู่บนแผ่นกระดาษเป็นวงๆพร้อมทั้งระบุจุดอุณหภูมิสำหรับแต่ละวง โดยค่าอุณหภูมิสำหรับแต่ละวง โดยค่าอุณหภูมิที่ระบุไว้จะมีค่าเดียวกันหรือหลายค่าก็ได้ ด้านหลังจะมีกาวสำหรับใช้ปะลงในที่ๆต้องการทราบย่านอุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นถึงค่าใดที่ได้ระบุไว้สารเคมีที่ฉาบอยู่ภายในวงจรเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีอื่นๆ หลังจากทราบค่าแล้วสามารถเก็บกระดาษที่ใช้วัดไว้เป็นข้อมูลของการวัดได้ด้วย โดยปกติในแต่ละแผ่นจะมีอยู่หลายจุดอุณหภูมิโดยเปลี่ยนค่าจุดละ 10 °F หรือบางแบบเปลี่ยนค่าจุดละ 25 °F สามารถเลือกใช้งานเพื่อวัดค่าที่อุณหภูมิต่างๆ ตั้งแต่ 100 °F ถึง 400 °F เหมาะสำหรับงานซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้า
วิธีการวัดค่าอุณหภูมิโดยวธีการทางเคมีเป็นวิธีที่เหมาะสมวิธีหนึ่ง เนื่องจากค่าที่วัดได้ถูกต้อง รวดเร็ว ประหยัด สะดวกกว่าวิธีอื่นๆ อีกทั้งผู้ใช้งานไม่ต้องมีประสบการณ์มากนัก
หลักของการเลือกซื้อเครื่องมือวัดในงานอุตสาหกรรม
โดยทั่วไปในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือการตรวจสอบชิ้นงานในกระบวนการผลิตตามโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับลักษณะงานเพื่อช่วยในการตรวจสอบคุณภาพของงานนั้นๆไม่ให้เกิดการความผิดพลาดจนทำให้เกิดเกิดความเสียหายต่อองค์กรได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหลักหลักของการเลือกซื้อเครื่องมือวัด สิ่งที่ต้องคำนึงถึง มีดังนี้
- ลักษณะของงานที่ต้องการวัด คือ การระบุเฉพาะตัวงานที่ต้องการนำเครื่องมือวัดไปใช้งาน เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการและค่าที่ต้องการเพื่อนำค่าที่ได้จากการตรวจสอบงานนั้นๆมาวิเคราะห์และปรับปรุงหรือรักษาคุณภาพของงานไม่ให้เกิดความเสียหาย
- ความสะดวกในการใช้งาน คือ เครื่องมือวัดที่ดีควรที่จะสามารถใช้งานได้ในลักษณะที่หลากหลายกล่าว คือ ต้องสามารถพกพาได้สะดวกเมื่อต้องการในตัวเครื่องออกไปวัดในภาคสนาม หรือมีฟังก์ชั่นที่สามารถรองรับการวัดค่าได้หลายพารามิเตอร์ที่สำคัญควรเป็นเครื่องมือที่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมเช่น ทนต่อการกระแทกในระดับหนึ่งหรือทนต่อละอองน้ำหรือใช้งานในที่ที่มีความชื้นได้
- ช่วงการวัด ความละเอียดและค่าความแม่นยำในการวัด คือ ควรเลือกช่วงของการวัดให้สามารถครอบคลุมเกี่ยวกับงานที่ต้องการวัดและเลือกความละเอียดให้เหมาะสมในการอ่านค่าที่สำคัญที่สุดคือความแม่นยำในการวัดเพราะจะเป็นตัวบอกถึงความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับค่าที่วัดได้จากตัวเครื่องมือวัด ซึ่งผู้ใช้ควรจะนำมาพิจารณาในการใช้งานด้วยเพื่อให้ได้ค่าในการวัดที่ใกล้เคียงกับค่าจริงมากที่สุด เพื่อเก็บเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ต่อไป
- มาตรฐานการรับรองคุณภาพและความปลอดภัยและราคาตัวเครื่อง คือ มาตรฐานที่รับรองคุณภาพจากประเทศต่างๆ ก็มีความหมายถึงการผ่านการทดสอบในเครื่องวัดที่เป็นที่ยอมรับของประเทศนั้นๆ ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจในคุณภาพของเครื่องมือวัดมากยิ่งขึ้นและปัจจัยอีกอย่างที่ควรนำมาพิจารณา คือ เรื่องของราคาตัวเครื่องกล่าว คือ ไม่ควรซื้อเครื่องที่มีราคาแพงเกินความจำเป็นเพราะส่วนใหญ่แล้วเครื่องที่มีราคาสูงมักจะมีฟังก์ชั่นเสริมมากมาย ควรเลือกตัวเครื่องที่มีฟังก์ชั่นพอดีและให้ครอบคลุมกับงานเรามากกว่า
การประยุกต์ใช้งาน
เครื่องวัดอุณหภูมิจำเป็นสำหรับหลายวัตถุประสงค์ ตั้งแต่ภาคครัวเรือนไปจนถึงภาคอุตสาหกรรม
ในครัวการวัดอุณหภูมิสำหรับอาหาร ในทำนองเดียวกันในตู้เย็นจะช่วยรักษาอุณหภูมิที่กำหนดไว้ ในโรงงานเครื่องวัดอุณหภูมิในเตาสามารถเปิดและปิดเตาได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเลือกเครื่องวัดอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งานเช่น
- การตรวจสอบเครื่องยนต์
- ระบบปรับอากาศ
- การขนส่งและยานยนต์
- อุตสาหกรรมอาหาร
- สำหรับการหาสาเหตุของปัญหาที่ซ่อนอยู่
- สำหรับการสำรวจอาคารเพื่อตรวจวัดความชื้นและการรั่วไหล
- สำหรับการระบุการสูญเสียพลังงานอันเนื่องมาจากฉนวนกันความร้อนที่ไม่ดี, ข้อบกพร่องทางไฟฟ้า และปัญหาเกี่ยวกับระบบประปา
- สำหรับห้องปฏิบัติการและห้องเก็บของ
สามารถดูสินค้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pakoengineering.com
โทร : 09-4690-4630, 02-041-5092
อีเมล : Sales@blog.pako.co.th
facebook : PAKO ENGINEERING
Line : pakoeng
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://goo.gl/FjASPk
https://goo.gl/85s1Zy
https://www.essexparts.com/temperature-paint-kit
https://goo.gl/qtSUDb
https://www.omega.com/pptst/STK_PLT_LAQ.html
https://goo.gl/XFTekx