การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล มีหลักการดังนี้
- ต้องเลือกใช้ชนิดที่ป้องกันอันตรายได้ดี
- ต้องมีน้ำหนักที่เบาเป็นพิเศษและสบายในการสวมใส่
- ต้องมีประสิทธิภาพสูง สามารถป้องกันอันตรายได้ดีที่สุด
- มีราคาย่อมเยาหาซื้อได้ง่าย
- วิธีการใช้เครื่องป้องกันนั้นจะต้องไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป เพราะจะทำให้คนที่ใช้สวมใสเกิดความยุ่งยาก
- ต้องมีสีสันที่เด่นชัด และเป็นสีที่ดูแล้วสะอาดตา
การใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล
- ต้องทราบลักษณะและความต้องการในการใช้อย่างแน่นอนเสียก่อน
- การเลือกใช้จะต้องระมัดระวัง ต้องให้ถูกต้องกับลักษณะของงานมากที่สุด ไม่ให้ขัดขวางการทำงานของคนงานได้ และจะไม่ลดประสิทธิภาพในการทำงาน
- ต้องพยายามให้ผู้ใช้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็น รวมถึงประโยชน์ในการใช้เครื่องป้องกันอันตรายได้
- ต้องมีการอบรมให้คำแนะนำถึงวิธีการเก็บ การรักษา และการใช้จากผู้ที่ชำนาญ
- จะต้องมีระเบียบและข้อบังคับในการใช้ เพื่อให้การใช้มีผลที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ในการใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในโรงงาน
- เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิต
- เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงงาน
- เพื่อช่วยในการประหยัดเวลาที่ใช้ในการผลิตสินค้า
- เพื่อให้พนักงานทุกคนมีความรู้สึกว่า กาปฏิบัติงานนั้น ๆ มีความปลอดภัยตลอดเวลา
- เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตให้สูงขึ้น
ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล
อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในการปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ แบ่งออกเป็น อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย คือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่สวมใส่ลงบนอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะส่วนนั้นๆ โดยเฉพาะ สามารถแบ่งย่อยๆ ออกตามลักษณะที่ใช้ป้องกันได้ ดังนี้
-
อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (Head Protection)
- หมวกกันน็อค (Helmet) หมวกนี้ส่วนใหญ่จะทำจากไฟเบอร์หรือพลาสติกแข็ง หรือวัสดุอื่นที่มีความทึบแสง และไม่ติดไฟ สามารถป้องกันอันตรายจกรังสีอุลตร้าไวโอเลตได้และไม่ทำให้เกิดโรคติดต่อ หมวกชนิดนี้นอกจากจะใช้ป้องกันศีรษะ ก้านคอและใบหูแล้ว ยังสามารถติดกระบังหน้าเพื่อป้องกันวัสดุที่จะกระเด็นใส่หน้า และเมื่อไม่ต้องการใช้ก็เปิดขึ้นไปเหนือศีรษะได้
- กระบังหน้าที่ใช้มือถือ (Hand Shield) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันใบหน้าชนิดหนึ่ง ที่ผู้ใช้รูสึกรำคาญจากการใช้หมวกกันน็อค อุปกรณ์ชนิดนี้ใช้ในการตรวจสอบงานแนวเชื่อม กระบังหน้าชนิดนี้เรียกว่า หน้ากากเชื่อม
การใช้หมวกนิรภัย มีหลักการ 6 ข้อ
– เลือกหมวกให้เหมาะสมกับชนิดของงาน
– ตรวจสอบสภาพหมวกก่อนใช้งานทุกครั้ง
– ปรับหมวกให้กระชับพอดี
-สวมหมวกตรงๆเต็มศีรษะ อย่าให้เอียงไปเอียงมา
– เมื่อใช้งานเสร็จ ควรเก็บรักษาให้ดี
-สวมหมวกตลอดเวลาขณะทำงาน
-
ผ้าคลุมผม
ชุดทำงานของพนักงานหญิงจะมีความพิเศษมากกว่าชุดทำงานของพนักงานชาย เพราะส่วนมากพนักงานหญิงชอบไว้ผมยาว ดังนั้น ควรให้พนักงานหญิงใส่แหคลุมผมป้องกันไม่ให้ได้รับอันตรายจากการทำงานของเครื่องจักรได้บ้าง
-
อุปกรณ์ป้องกันดวงตา (Eye Protection)
- ก๊อกเกิ้ล
- แว่นตา
- เลนส์
อุปกรณ์ป้องกันดวงตา(Eyes Protection)
ดวงตาเป็นส่วนจำเป็นอย่างยิ่งในอวัยวะบนตัวมนุษย์เรา หากเราไม่รู้จักป้องกันดวงตาของเรา. อันตรายอาจจะเกิดขึ้น. ทำให้กลายเป็นคนตาบอด. ไม่สามารถมองเห็นอะไรได้แม้กระทั่งลูกหน้าเมียหรือคนที่คุณรัก. ซึ่งเราสามารถป้องกันอันตรายดวงตาของเราได้. เพียงแค่เราเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม(แว่นนิรภัย)กับสภาพการทำงานนั้น อันตรายที่เกิดขึ้นในขณะทำงานมีสาเหตุได้หลายทาง ดังนี้
- การหลุดกระเด็นของวัสดุ. ที่ก่อให้เกิดอันตรายกะดวงตา. เช่น การเจียระไน. การเชื่อม การหลอมโลหะ ฯลฯ
- ไอของสารเคมีบางชนิด
- แสงและรังสีต่างๆ
- ควันหรือแก๊สพิษและอื่นๆ
ข้อควรคำนึงถึงเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันตา
- ควรเป็นชนิดที่มีกรอบและกระชับเวลาส่วมใส่
- สวมใส่สบาย
- สามารถทำความสะอาดได้ง่าย
- ควรเป็นแบบที่สามารถซ่อมแซมได้ง่าย
- ต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะป้องกันตาทั้งหมด
- ไม่ติดเชื่อได้ง่าย และไม่ติดไฟง่าย
อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า(Face shield)
เป็นวัสดุโค้งครอบใบหน้า เพื่อป้องกันอันตรายต่อใบหน้า และลำคอ จากการกระเด็น กระแทกของวัตถุ หรือสารเคมี
-
อุปกรณ์ป้องกันหู
มีความเสี่ยงอย่างหนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรม โดยทั่วไปถือว่าเสียงที่มีความดังมากกว่า 90 เดซิเบล จะเป็นอัตรายต่อแก้วหู วิธีที่ลดความดันของเสียงมีเทคนิค คือ
- ปลั้กลดเสียง (Ear Plug) เป็นเครื่องป้องกันอันตรายจากเสียงโดยการเสียบเข้าไปในหู อุปกรณ์ที่ใช้ทำปลั้ก
ลดเสียงมีหลายอย่าง เช่น ยาง พลาสติก ขี้ผึ้ง ฝ้าย สำลีเป็นต้น
สำลีหรือฝ้ายธรรมดาช่วยลดความดังของเสียงได้ 8 เดซิเบล
อะคริลิค (acrylic) จะช่วยลดความดังได้ 18 เดซิเบล
ใยแก้ว ช่วยลดความดังของเสียงได้ 20 เดซิเบล
ยางซิลิโคน (silicon rubber) ช่วยลดความดังได้ 15-30 เดซิเบล
ยางอ่อนและยางแข็ง ช่วยลดความดังของเสียงได้ 18-25 เดซิเบล
- ครอบหู เป็นเครื่องป้องกันลดอันตรายเสียงจากชนิดที่ใช้ครอบใบหู ใช้ลดเสียงได้ดีกว่าชนิดปลั้กเสียบ แต่ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ ชนิดที่ทามด้วยของเหลวภายในลดเสียงได้ดีกส่าชนิดที่ทำด้วยพลาสติกหรืโฟม สามารถลดเสียงได้ 30-45 เดซิเบล ***ทั้งปลั้กลดเสียงและครอบหู ถ้านำมาใช้ร่วมกัน จะสามารถลดเสียงได้อีก 3-5 เดซิเบล
-
อุปกรณ์ป้องกันการหายใจ (Respiratory protection equipment)
เป็นอุปกรณ์ช่วยป้องกันอันตราย จากมลพิษเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางปอด ซึ่งเกิดจากการหายใจเอามลพิษ เช่น อนุภาคก๊าซ และไอระเหยที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ หรือเกิดจากปริมาณออกซิเจนในอาการไม่เพียงพอ แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
- ประเภทที่ทำให้อากาศปราศจากมลพิษ ก่อนที่จะเข้าสู่ทางเดินหายใจ (Air purifying devices) ได้แก่
- หน้ากากกรองอนุภาค ทำหน้าที่กรองอนุภาคที่แขวนลอยในอากาศ ซึ่งได้แก่ ฝุ่น ควัน ไอระเหย ก๊าซ ส่วนประกอบที่สำคัญของหน้ากากกรองอนุภาค ได้แก่
- ส่วนหน้ากาก มีหลายขนาด เช่น ขนาด ¼ หน้า ขนาด ½ หน้า หรือขนาดเต็มหน้า
- ส่วนกรองอากาศ ประกอบด้วยวัสดุกรองอากาศ (Filter) ที่นิยมใช้มี 3 ลักษณะ คือ
- ชนิดเป็นแผ่น ทำจากเส้นใยอัด ให้มีความพอเหมาะ สำหรับกรองอนุภาค โดยให้มีประสิทธิภาพการกรองอากาศสูงสุด และแรงต้านทานต่อการหายใจเข้าน้อยที่สุด
- ชนิดที่วัสดุกรองอากาศถูกบรรจุอยู่ในตลับแบบหลวมๆ เหมาะสำหรับกรองฝุ่น
- ชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง โดยนำวัสดุกรองอากาศ ที่มีลักษณะเป็นแผ่นบางมาพับขึ้นลง ให้เป็นจีบบรรจุในตลับ เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิว สำหรับอนุภาคที่จะไปเกาะ และลดแรงต้านการหายใจ
- สายรัดศีรษะ ซึ่งสามารถปรับได้ตามต้องการ เพื่อให้กระชับกับหน้าผู้สวมใส่อยู่เสมอ
นอกจากนี้ ยังมีหน้ากากกรองอนุภาค ชนิดใช้แล้วทิ้ง ส่วนประกอบของหน้ากาก คือ หน้ากาก และวัสดุกรองจะรวมไปชิ้นเดียวกัน ส่วนบนของหน้ากากมีแผ่นโลหะอ่อน ซึ่งสามารถปรับให้โค้งงอได้ ตามแนวสันจมูก เพื่อช่วยให้หน้ากากแนบกับใบหน้าผู้สวมใส่
- หน้ากากกรองก๊าซไอระเหย ทำหน้าที่กรองก๊าซ และไอระเหย ที่แขวนลอยอยู่ในอากาศ
ส่วนประกอบที่สำคัญของหน้ากากกรองก๊าซ และไอระเหย คือ
- ส่วนหน้ากาก และสายรัดศีรษะ เช่นเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้น
- ส่วนกรองอากาศ เป็นตลับ หรือกระป๋องบรรจุสารเคมี ซึ่งเป็นตัวจับมลพิษโดยการดูดซับ หรือทำปฏิกิริยากับมลพิษ ทำให้อากาศที่ผ่านตลับกรองสะอาด ปราศจากมลพิษ ส่วนกรองอากาศนี้สามารถใช้ได้เฉพาะสำหรับก๊าซ หรือไอระเหย แต่ละประเภทตามที่ระบุไว้เท่านั้น เช่น ส่วนกรองอากาศที่ใช้กรองก๊าซแอมโมเนีย จะสามารถป้องกันเฉพาะก๊าซแอมโมเนียเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันมลพิษชนิดอื่นได้ เป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่จะใช้หน้ากากกรองก๊าซ และไอระเหย ควรเลือกซื้อ และหรือเลือกใช้ให้เหมาะสม กับชนิดของมลพิษที่จะป้องกัน ตามที่ American National Standard ได้กำหนดมาตรฐาน (ANSI K 13.1-1973)
- ประเภทที่ส่งอากาศจากภายนอกเข้าไปในหน้ากาก (Atmosphere – supplying respirator) เป็นอุปกรณ์ป้องกันทางหายใจ ชนิดที่ต้องมีอุปกรณ์ส่งอากาศ หรือออกซิเจนให้กับผู้สวมใส่โดยเฉพาะ แบ่งเป็น
-
- ชนิดที่แหล่งส่งอากาศติดที่ตัวผู้สวม (Self-contained breathing apparatus หรือที่เรียกว่า SCBA) ผู้สวมจะพกเอาแหล่งส่งอากาศ หรือถังออกซิเจนไปกับตัว ซึ่งสามารถใช้ได้นานถึง 4 ชั่วโมง ส่วนประกอบของอุปกรณ์นี้ ประกอบด้วยถังอากาศ สายรัดติดกับผู้สวม เครื่องควบคุมความดัน และการไหลของอากาศ จากถังไปยังหน้ากาก ท่ออากาศ และหน้าชนิดเต็มหน้า หลักการทำงานของอุปกรณ์นี้ มี 2 แบบ คือ
- แบบวงจรปิด หลักการคือ ลมหายใจออกจะผ่านเข้าไปในสารดูดซับ เพื่อกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วกลับเข้าไปในภาชนะบรรจุออกซิเจนเหลว หรือออกซิเจนแข็ง หรือสารสร้างออกซิเจน แล้วกลับเข้าสู่หน้ากากอีกครั้ง
- แบบวงจรเปิด หลักการคือ ลมหายใจออกจะถูกปล่อยออกไปไม่หมุนเวียน กลับมาใช้อีก อากาศที่หายใจเข้าแต่ละครั้ง มาจากถังบรรจุออกซิเจน
- ชนิดที่แหล่งส่งอากาศติดที่ตัวผู้สวม (Self-contained breathing apparatus หรือที่เรียกว่า SCBA) ผู้สวมจะพกเอาแหล่งส่งอากาศ หรือถังออกซิเจนไปกับตัว ซึ่งสามารถใช้ได้นานถึง 4 ชั่วโมง ส่วนประกอบของอุปกรณ์นี้ ประกอบด้วยถังอากาศ สายรัดติดกับผู้สวม เครื่องควบคุมความดัน และการไหลของอากาศ จากถังไปยังหน้ากาก ท่ออากาศ และหน้าชนิดเต็มหน้า หลักการทำงานของอุปกรณ์นี้ มี 2 แบบ คือ
-
- ชนิดที่ส่งอากาศไปตามท่อ (Supplied air respirator) แหล่งหรือถังเก็บอากาศจะอยู่ห่างออกไปจามตัวผู้สวม อากาศจะถูกส่งมาตามท่อเข้าสู่หน้ากาก
-
อุปกรณ์ป้องกันลำตัว (Body Protection Equipment)
เป็นอุปกรณ์ที่สวมใส่เพื่อป้องกันอันตราย จากการกระเด็นหกรดของสารเคมี การทำงานในที่มีความร้อนสูง หรือมีสะเก็ดลูกไฟ เป็นต้น
- ชุดป้องกันสารเคมี ทำจากวัสดุที่ทนต่อสารเคมี เช่น โพลีเมอร์ ใยสังเคราะห์ Polyester และเคลือบด้วย polymer ชุดป้องกันสารเคมีมีหลายแบบ เช่น ผ้ากันเปื้อน ป้องกันเฉพาะลำตัว และขา เสื้อคลุมป้องกันลำตัว แขน และขา เป็นต้น
- ชุดป้องกันความร้อน ทำจากวัสดุที่สามารถทนความร้อน โดยใช้งานที่มีอุณหภูมิสูง ถึง 2000ºF เช่น ผ้าที่ทอจากเส้นใยแข็ง (glass fiber fabric) เคลือบผิวด้านนอกด้วยอลูมิเนียม เพื่อสะท้อนรังสีความร้อน หรือทำจากหนัง เพื่อใช้ป้องกันความร้อน และการกระเด็นของโลหะที่ร้อน
- ชุดป้องกันการติดไฟ จากประกายไฟ เปลวไฟ ลูกไฟ วัสดุจากฝ้าย ชุบด้วยสารป้องกันการติดไฟ
- เสื้อคลุมตะกั่ว เป็นเสื้อคลุมที่มีชั้นตะกั่วฉาบผิว วัสดุทำจากผ้าใยแก้วฉาบตะกั่ว หรือพลาสติกฉากตะกั่ว ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่ขณะทำงาน เพื่อป้องกันการสัมผัสรังสี
-
อุปกรณ์ป้องกันมือ (Hand Protection Equipment)
ในการปฏิบัติงานที่ต้องใช้ส่วนของมือ นิ้วมือ และแขน ซึ่งอาจเสี่ยงต่ออันตรายจากการถูกวัตถุมีคม บาด ตัด การขูดขีดทาให้ผิวหนังถลอก การจับของร้อน หรือการใช้มือสัมผัสวัสดุอุปกรณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายอื่น ๆ นั้นจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน โดยใช้ถุงมือหรือเครื่องสวมเฉพาะนิ้วชนิดต่าง ๆ ตามความเหมาะสมกับลักษณะของงานดังนี้
- ถุงมือใยหิน ใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสความร้อนเพื่อป้องกันมิให้มือได้รับอันตรายจากความร้อนหรือไหม้
- ถุงมือใยโลหะ ใช้สำหรับงานที่เกี่ยวกับการใช้ของมีคม ในการหั่น ตัด หรือสัมผัสวัสดุอุปกรณ์ที่แหลมคม หยาบมาก
- ถุงมือยาง ใช้สาหรับงานไฟฟ้า และถุงมือยางที่สวมทับด้วยถุงมือหนังชนิดยาว เพื่อป้องกันการถูกของมีคมบาดหรือทิ่มแทงทะลุ สาหรับใช้ในงานไฟฟ้าแรงสูง
- ถุงมือยางชนิดไวนีลหรือนีโอพรีน ใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสสารเคมีชนิดที่มีฤทธิ์กัดกร่อนหรือซึมผ่านผิวหนังได้
- ถุงมือหนังใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสวัสดุที่หยาบ งานที่มีการขัดผิว การแกะสลัก หรืองานเชื่อมที่มีความร้อนต่ำ
- ถุงมือหนังเสริมใยเหล็ก ใช้สำหรับงานหลอมโลหะหรือถลุงโลหะ
- ถุงมือผ้าหรือเส้นใยทอ ใช้สำหรับงานที่ต้องหยิบจับวัสดุอุปกรณ์เบา ๆ เพื่อป้องกันมือจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ
- ถุงมือผ้าหรือใยทอเคลือบน้ำยา ใช้สาหรับงานที่ต้องสัมผัสสารเคมีโดยทั่วไป เช่น งานหีบห่อ งานบรรจุกระป๋อง หรืออุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ
นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์ป้องกันมือ นิ้วมือ และแขน สำหรับใช้กับงานที่มีลักษณะเฉพาะด้านอื่น ๆ เช่น หนังหุ้มมือหรือเบาะรองมือใช้พันมือและแขน สำหรับงานที่ต้องสัมผัสความร้อนหรืองานที่มีสะเก็ดของร้อนกระเด็นกระทบมือและแขนได้
-
อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง การทำงานในที่สูง (Falling Protection Equipment)
เช่น งานก่อสร้าง งานทำความสะอาด งานไฟฟ้า จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง ได้แก่
-
- เข็มขัดนิรภัย ประกอบด้วยตัวเข็มขัด และเชือกนิรภัย ตัวเข็มขัด ทำด้วยหนังเส้นใยจากฝ้าย และใยสังเคราะห์ ได้แก่ ไนลอน
- สายรัดตัวนิรภัย หรือสายพยุงตัว เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับงานที่เสี่ยงภัย ทำงานในที่สูง ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเคลื่อนตัว ขณะทำงานได้ หรือช่วยพยุงตัวให้สามารถทำงานได้ ในที่ไม่มีจุดยึดเกาะตัวในขณะทำงาน ทำจากวัสดุประเภทเดียวกับเข็มขัดนิรภัย มี 3 แบบ คือ ชนิดคาดหน้าอก เอว และขา และชนิดแขวนตัว
- สายช่วยชีวิต เป็นเชือกที่ผูกหรือยึดติดกับโครงสร้างของอาคาร หรือส่วนที่มั่นคง เชือกนี้จะถูกต่อเข้ากับเชือกนิรภัย และเข็มขัดนิรภัย หรือสายรัดตัวนิรภัย (สายพยุงตัว)
-
อุปกรณ์ป้องกันเท้า (Safety Footwear)
ใช้สำหรับป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการกระแทก หรือวัตถุหรือสารเคมีหกใส่เท้า รวมถึงป้องกันการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าจากการปฎิบัติงาน โดยรองเท้าแบ่งออกตามลักษณะของงาน ดังนี้
- รองเท้าป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า ใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า สวมใส่เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด ทำจากยางธรรมชาติ หรือยางสังเคราะห์
- รองเท้านิรภัย ชนิดหัวรองเท้าเป็นโลหะซึ่งสามารถรองรับน้ำหนักได้ 2500 ปอนด์ และทนแรงกระแทกของวัตถุหนัที่ตกจากที่สูง 1 ฟุต ได้ 50 ปอนด์
- รองเท้าป้องกันสารเคมี ทำจากวัสดุที่ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี เช่น ยางธรรมชาติ ไวนิล นีโอพรีน หรือยางสังเคราะห์
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการปฎิบัติงาน เนื่องจากในขณะปฎิบัติงานอันตรายต่างๆมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้ตัวท่านเกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรสวมใส่อยู่เสมอเพื่อให้การปฎิบัติงานเป็นไปด้วยความปลอดภัยสูงสุด
สามารถดูสินค้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pakoengineering.com
โทร : 09-4690-4630, 02-041-5092
อีเมล : Sales@blog.pako.co.th
facebook : PAKO ENGINEERING
Line : pakoeng
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://goo.gl/yPJzor
https://goo.gl/ZGFEj3
https://goo.gl/kRqSUA