อัน

อันตรายนั้นเกิดได้ทุกที่ ยิ่งภายในโรงงานหรือไซต์งานก่อสร้างนั้น มีปัจจัยมากมายที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ สิ่งที่เราทำได้คือต้องปกป้องตัวเองให้ดีที่สุด โดย อุปกรณ์ที่เราใส่นั้น ก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกันที่ทำให้เราปลอดภัยมากขึ้น วันนี้ปาโก้จึงมีบทความเกี่ยวกับเรื่องอุปกรณ์ป้องกันสำหรับนายช่างมาฝากกัน

ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

  1. อุปกรณ์ป้องกันศรีษะ (Head Protection) อาทิเช่น หมวกนิรภัย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันศรีษะจากการถูกกระแทก หรือวัตถุตกลงมากระแทก อีกทั้งยังป้องกันตรายจากไฟฟ้าและสารเคมีเหลว ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันศรีษะที่สำคัญ คือ หมวกนิรภัย (Safety Hat) และหมวกกันศรีษะชน (Bump Hat)
  2. อุปกรณ์ป้องกันดวงตา (Safety Glasses) ใช้สำหรับป้องกันดวงตาจากการกระแทกกับของแข็ง หรืออุบัติเหตุเศษอุปกรณ์แตกหักกระเด็นใส่ และยังป้องกันสารเคมีหรือวัตถุต่างๆกระเด็นเข้าตาจนเกิดอันตรายในขณะปฎิบัติงานได้
  3. อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear Protection) เป็นอุกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันเสียงที่ดังเกินกว่าที่หูเราปกติจะรับได้ คือมีระดับเสียงสูงเกินกว่า 85 เดซิเบล โดยหากว่าระดับเสียงในขณะที่ทำงานสูงเกินกว่า 130 เดซิเบล ถือว่าเป็นตรายต่อการได้ยินของหู และอาจจะทำให้หูบอดหรืออาจจะหูหนวกได้ ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันหูที่สำคัญและเหมาะสมกับการใช้งาน ได้แก่
    1. ปลั๊กลดเสียง (Ear Plug) เป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเสียงที่ดังจนเกินไป โดยเป็นวัสดุที่ทำจากยาง หรือพลาสติกอ่อน ทีมีขนาดที่พอดีกับรูหู และสามารถลดเสียงได้ประมาณ 15 เดซิเบล
    2. ที่ครอบหูลดเสียง (Ear Muffs) เป็นอุปกรณ์ป้องกันตรายจากเสียงแบบครอบหู มีลักษณะคล้ายหูฟังแบบสวมครอบหู โดยมีก้านโค้งครอบศรีษะและใช้วัสดุที่มีความนุ่มหุ้มทับ ในส่วนของตัวครอบหูนั้นถูกออกแบบให้มีลักษณะแตกต่างกันตามการใช้งาน และสามารถลดเสียงได้ประมาณ 25 เดซิเบล
  4. อุปกรณ์ป้องกันมือ (Hand Protection)  ในหลายๆงานมือก็เป็นส่วนสำคัญมากๆเหมือนกันในการทำงาน และใช้สัมผัสเครื่องมือหรือเครื่องจักรต่างๆ ซึ่งก็เป็นส่วนแรกๆเลยก็ว่าได้ที่อาจจะเกิดอันตรายก่อน ดังนั้นจึงควรเลือกถุงมือให้เหมาะสมกับการทำงานได้แก่
    1. ถุงมือยางกันไฟฟ้า: ใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันไฟฟ้าดูดในขณะปฎิบัติงาน
    2. ถุงมือกันความร้อน: อาจเป็นถุงมือหนังหรือถุงมือผ้าขึ้นอยู่กับลักษณะของการทำงาน โดยถุงมือจะต้องมีความหนาและทนทานเมื่อใช้สัมผัสกับวัตถุหรืออุปกรณ์ที่มีความร้อนจะต้องไม่ฉีกขาด
    3. ถุงมือยางชนิดไวนีลหรือนีโอพรีน ใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนหรือซึมผ่านผิวหนังได้
  5. อุปกรณ์ป้องกันเท้า (Safety Footwear) ใช้สำหรับป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการกระแทก หรือวัตถุหรือสารเคมีหกใส่เท้า รวมถึงป้องกันการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าจากการปฎิบัติงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกันในการทำงาน โดยรองเท้าแบ่งออกตามลักษณะของงาน ดังนี้
    1. รองเท้าป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า: ใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า สวมใส่เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด ทำจากยางธรรมชาติ หรือยางสังเคราะห์
    2. รองเท้านิรภัย ชนิดหัวรองเท้าเป็นโลหะซึ่งสามารถรองรับน้ำหนักได้ 2500 ปอนด์ และทนแรงกระแทกของวัตถุหนัที่ตกจากที่สูง 1 ฟุต ได้ 50 ปอนด์
    3. รองเท้าป้องกันสารเคมี ทำจากวัสดุที่ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี เช่น ยางธรรมชาติ ไวนิล นีโอพรีน หรือยางสังเคราะห์

Credit : https://bit.ly/2r6EcX0

สามารถดูสินค้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

www.pakoengineering.com

PAKO ENGINEERING

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *