อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะที่ไหนหรือเมื่อไหร่ก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้เสมอถ้าเราอยู่ในความประมาท ยิ่งงานในโรงงานหรืออุตสาหกรรมนั้น ควรระวังตัวให้มากกว่าเดิม เพราะอาจจะเกิดอันตรายร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว วันนี้ปาโก้จึงมีบทความเกี่ยวกับเรื่องอุบัติเหตุและอันตรายๆต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับทั้งตัวเราและเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆมาฝากทุกคน
ในเบื้องต้นเราสามารถแยกประเภทของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในสำนักงานได้เป็น 7 ประเภท ดังนี้
การพลัดตกหกล้ม
เป็นอุบัติเหตุที่สามารถเกิดได้บ่อยมากที่สุด แต่มักจะถูกมองข้ามจนดูเป็นเรื่องธรรมดาและไม่ค่อยได้มีการบันทึกไว้ ดังนั้นหากเกิดมีการสอบสวนอุบัติเหตุ สามารถบันทึกการสูญเสียอย่างละเอียดแล้ว จะพบว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากการพลัดตกหกล้มจัดได้เป็น 3 ลักษณะดังนี้
– การลื่นหรือการสะดุดหกล้ม ลักษณะที่เกิดจะมีทั้งที่ลื่นล้มในพื้นที่ หรือพื้นที่ปูพรม ตรงตำแหน่งรอยต่อของพรม การสะดุดหกล้มมักจะเกิดจากการที่มีสิ่งของวางขวาง หรือมีสายไฟห้อยโยงไว้ เช่น สายไฟจากปลั๊กต่อที่พื้นหรือเต้าเสียบ หรือสายไฟที่ลากยาวไปตามพื้น โดยไม่ได้ติดเทปไว้ มักทำให้มีการเตะหรือสะดุดหกล้มอยู่เสมอ ยิ่งโดยเฉพาะตรงบริเวณบันไดขึ้นลง อาจมีการลื่นและสะดุดหกล้มได้ง่ายๆ โดยเฉพาะพนักงานสาว ๆ มักใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุทำให้เกิดการสะดุดและหกล้มได้
– เก้าอี้ล้ม มักจะเกิดขึ้นจากการที่นั่ง หรือเลื่อนเก้าอี้ที่มีล้อหมุน โดยการใช้เท้าดันออกให้ไถลแรงจนเกินไป ในบางกรณีเกิดจากการเอนไปข้างหลังมากเกินไปจนเกิดการหงายไปข้างหลัง หรือบางทีสาเหตุหลักๆก็มาจากการที่ ตัวเก้าอี้เองนั้นเกิดความชำรุดเสียหาย บริเวณขาตั้ง หรือล้อเองก็ตาม ทำให้เกิดความไม่มั่นคงเวลานั่ง จนทำให้เกิดการล้มจนอาจสร้างความบาดเจ็บได้
– การตกจากที่สูง มักจะมีสาเหตุจากการยืนบนโต๊ะหรือเก้าอี้ที่ไม่สมดุลย์ ไม่มีความมั่นคง เช่น เก้าอี้มีล้อ โต๊ะหรือกล่องที่วางรองรับไม่แข็งแรง เมื่อขึ้นไปยืนหยิบของลงมาอาจทำให้ตกลงมาเป็นอันตรายได้ ซึ่งในอาคารสถานที่บางแห่งอาจมีการเปิดช่องไว้ แล้วไม่ปิดให้เรียบร้อย อาจทำให้พลาดตกลงไปเป็นอันตรายได้
การยกเคลื่อนย้ายวัสดุ
ในการยกของซึ่งใช้ท่าทางการทำงานที่ผิดวิธี โดยไม่ได้รับการฝึกอบรมการจัดขั้นตอนหรือกระบวนการทำงานที่ไม่เหมาะสม ทำให้ผู้ทำงานต้องเอื้อมหรือเขย่งจนก่อให้เกิดอุบัติเหตุและอันตรายได้ การยกน้ำหนักมากเกินไปนั้นก่อให้เกิดการหักงอของกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดไหล่ อาการกดทับของประสาท และอาจจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บเรื้อรังได้ หลักการยกเคลื่อนย้ายวัสดุต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างถูกวิธีและฝึกให้เป็นนิสัย เพื่อไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บตามที่กล่าวมาข้างต้นได้
การถูกชนหรือชนกับสิ่งของ
ในบางพื้นที่แคบๆหรือในมุมอับเกินไปมักจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการชนกัน หรือชนกับสิ่งของควรจะจัดพื้นที่เพื่อความเหมาะสม อีกทั้งควรจัดกระจกเงาติดตำแหน่งแยกทางเพื่อป้องกันการชน
การที่วัตถุตกลงมากระแทก
วัตถุที่ตกมักจะวางอยู่ในตำแหน่งที่สูง และไม่มั่นคง เมื่อเกิดการสั่นสะเทือนจะมีการขยับและเลื่อนตำแหน่ง จนอาจทำให้มีการตกหรือหล่นลงมาถูกศีรษะของผู้ที่อยู่ด้านล่าง หรือการเปิดลิ้นชักของตู้เก็บเอกสาร ผู้ปฏิบัติงานบางคนมักจะเปิดลิ้นชักค้างไว้และไปหาเอกสารในชั้นอื่นต่อไปเรื่อย ๆ ปริมาณเอกสารที่มากจะไหลมาอยู่ในทิศทางเดียวกันทำให้ตู้เก็บเอกสารขาดเกิดล้มลงมาทับหรือกระแทกจนเกิดอันตรายได้ เครื่องเย็บ หรือเครื่องตัดกระดาษอาจก่อให้เกิดการกระแทก บาดเจ็บที่มือหรือข้อมือ ซึ่งล้วนทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน
การถูกบาด
อุปกรณ์สำนักงานหรือภายในโรงงานบางอย่างจะมีความคมเช่น คัตเตอร์ตัดกระดาษหรือขอบมุมต่างๆ หลายคนไม่ทราบวิธีการใช้อุปกรณ์เหล่านี้อย่างถูกต้องทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือแม้แต่กระทั่งกระดาษที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสารก็มีความคม เคยเกิดกรณีที่โดนกระดาษบาดจนเลือดออกมาแล้ว
การเกี่ยวและหนีบ
ในบางครั้งจะพบว่ามีการจัดวางของ ซึ่งยื่นออกมาจนมีการเกี่ยวผู้อื่นได้ บางครั้งจะพบการถูกประตู หน้าต่าง หรือตู้หนีบจนเกิดการบาดเจ็บ ซึ่งบางครั้งก็มาจากการแต่งตัวของพนักงานเอง
อัคคีภัย
จะถือว่าเป็นอุบัติเหตุประเภทที่รุนแรงที่สุด และเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดมากที่สุด ดังนั้นจึงมีการฝึกปฏิบัติ การฝึกซ้อมการป้องกันและระงับอัคคีภัยและการอพยพในสำนักงานจึงมีความจำเป็นๆอย่างมาก
อันตรายจากสภาพแวดล้อม
ในสำนักงานถ้าพูดถึงในทางด้านกายภาพ ก็ได้แก่ อุณหภูมิ แสง เสียง การระบาย อากาศ ตลอดจนถึงรังสีที่เกิดจากอุปกรณ์เครื่องใช้ ซึ่งถ้าหากมีอุณหภูมิหรือคุณภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม เช่น ร้อนเกินไป หรือหนาวเกินไปย่อมก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ เช่น โรคปวดศีรษะจากการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงานลดลง แสงสว่างในที่ทำงานมีเพียงพอแก่ลักษณะงานที่ทำหรือไม่ ถ้ามีมากเกินไปจนแสงจ้า หรือแสงน้อยเกินไป ก็มีผลต่อการทำงานโดยตรง ต่อการปฏิบัติงานเช่นกัน ซึ่งที่กล่าวมาเป็นต้นเหตุ ก่อให้เกิด การเกิดอุบัติเหตุ หรือสภาพห้องที่มีเสียงดังรบกวนต่อสมาธิและการปฏิบัติงานก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน และนอกจากสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพแล้ว ยังมีสภาพแวดล้อมด้านเคมี คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ภายในสำนักงานนั้นไม่มีสารเคมี แต่ปริมาณสารเคมีที่ใช้ในสำนักงานมากน้อยเพียงใด น้อยคนนักที่ให้ความสนใจ อาจเนื่องมาจากสารเคมีต่าง ๆ มาอยู่ในลักษณะแฝงร่วมกับวัสดุและครุภัณฑ์สำนักงาน
อันตรายจากเครื่องถ่ายเอกสาร
เครื่องถ่ายเอกสารเป็นอุปกรณ์สำนักงาน ที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ทุกสำนักงานจะขาดไม่ได้ เนื่องจากประโยชน์ที่ได้รับมากมายจนผู้ใช้ละเลยถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการใช้เครื่องถ่ายเอกสารเป็นเวลานาน ปกติแล้วเครื่องถ่ายเอกสารมีส่วนประกอบที่สำคัญอัน ได้แก่ แม่พิมพ์ที่เป็นโลหะ ลูกกลิ้งที่เคลือบด้วยโลหะ ประเภทซิลิเนี่ยม หรือ แคดเมี่ยม และรังสีอัลตราไวโอเลต จะสังเกตุเห็นขณะถ่ายเอกสาร เครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นเครื่องถ่ายเอกสารระบบแห้งจะใช้สะดวกแต่ขณะที่ใช้ก็จะมีอันตรายต่อสุขภาพจากสารเคมีต่าง ๆ ได้แก่ 1. ในหมึกพิมพ์จะมีสาร คาร์ซิโนเจน ซึ่งเป็นสารก่อเกิดมะเร็ง ผงคาร์บอน เมื่อผงคาร์บอนทำปฏิกิริยากัน สารไนโตรไพริน สารอะโรเมติกโพลี ไซคลิคไฮโดคาร์บอน สารเทอโม-พลาสติกเรซิน ขณะที่เครื่องทำงานจะมีกลิ่นฉุน จากปฏิกิริยาของสารเคมีดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้ใช้ที่ต้องสัมผัสนาน ๆ จะมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ง่วงซึม รู้สึกมึนชา 2. โลหะที่ใช้เคลือบลูกกลิ้ง เช่น ซิริเนียม หรือ แคดเมียม มีผลต่อผิวหนังทำให้เกิดความระคายเคือง มีตุ่มแดงหรือผื่นคัน นอกจากนั้นสารไตรไน โตรฟลูออริโนน เป็นสารก่อเกิดมะเร็ง 3. รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นแหล่งกำเนิดความร้อน มีอันตรายต่อผิวหนังและสายตา ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ผิวหนังเกรียมไหม้ ถ้าสัมผัสนานอาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง 4. โอโซน เกิดขณะที่เครื่องกำลังทำงาน เกิดมาจากรังสีอัลตราไวโอเลต โดยที่ออกซิเจนจะรวมตัวกัน จนกลายเป็นโอโซน เมื่อผู้ใช้หายใจเข้าไปจะมีผลต่อระบบประสาท มีอาการง่วง มึนศีรษะ ปากคอแห้ง ระคายระบบทางเดินหายใจ ระคายตาและผิวหนัง 5. น้ำยาที่อาบกระดาษที่ใช้ในการถ่ายเอกสาร ได้แก่ สารฟอร์มัลดิไฮด์ ทำให้มีการระคายเคือง ของผิวหนัง ขณะที่ใช้งานอาจทำให้ผู้สัมผัสเป็นโรคผิวหนังอักเสบ
การป้องกันอันตราย
1. การติดตั้งเครื่องถ่ายเอกสาร ไม่ควรตั้งติดผนังจนเกินไป ควรตั้งในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อให้สารเคมีที่ออกมาขณะปฏิบัติงาน เจือจางลงเพื่อลดการสัมผัสสารเคมีของผู้ปฏิบัติงานได้ ถ้าสามารถติดตั้งในที่โล่งไม่ใช่ในมุมอับได้จะดีมาก หรือแยกเครื่องถ่ายเอกสารออกจากห้องผู้ปฏิบัติงานอื่นๆเลย
2. ถ้าได้กลิ่นฉุนหรือไหม้ เนื่องจากการใช้งานมาก ต้องเลิกใช้ชั่วคราว หรือถ้าจำเป็น แจ้งช่างหรือผู้รับผิดชอบ
3. การบำรุงรักษาเครื่องเป็นประจำอยู่เสมอ จะช่วยให้ลดสารเคมีที่อาจเพิ่มปริมาณจากการใช้งาน
4. อย่ามองแสง อัลตราไวโอเลต ควรใช้แผ่นปิดทุกครั้งที่ใช้ถ่ายเอกสาร
5. ขณะที่เปลี่ยนถ่ายสารเคมี หรือผงคาร์บอน ผู้ปฏิบัติงานควรใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ได้แก่ถุงมือยางและที่ครอบปาก
4 อันตรายและโรคที่เกิดกับการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (VDT)
ปัจจุบันเกือบทุกสำนักงานมีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย ปัญหาจากคอมพิวเตอร์ยุคเก่าๆถูกแก้ไขมามากมายแล้ว แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่ทำงานที่เกี่ยวข้องยังต้องใช้สายตาในการเพ่งมองจอภาพจนเกิดอาการตาล้า และการกดแป้นพิมพ์หรือนั่งทำงานกับเครื่องเป็นเวลานานโดยไม่ได้มีการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆเลย จะส่งผลต่อปัญหาความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ข้อมือ หัวไหล่ หลังหรือเอว และมีความเครียดซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีอาการหงุดหงิด ขาดสมาธิ เกิดความล้า ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากการทำงานหรือขนาดของโต๊ะและเก้าอี้ของผู้ปฏิบัติงานไม่เหมาะสม ตลอดจนถึงท่าทางการทำงานซึ่งมีผลการหมุนเวียนของโลหิตไม่สะดวก กล้ามเนื้อของร่างกายจะได้รับออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความเมื่อยล้า และปวดเมื่อยตามส่วนต่าง ๆ นอกจากนั้นระยะเวลาในการทำงานมีผลต่อการล้า จำเป็นต้องพิจารณาแก้ไขลักษณะงาน เช่น ทำงานอื่นร่วมด้วย หรือหากต้องอ่านหรือใช้แป้นพิมพ์ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรที่จะกำหนดระยะเวลาในการสัมผัสว่าทำเพียง 50 นาที และพัก 10 นาที เพื่อใช้มีช่องว่างได้พักผ่อนสายตาและข้อมือ
CR. https://bit.ly/2Daoa77
ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง ปาโก้จำหน่ายวาล์วและสินค้าเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น
โฟลมิเตอร์ โรตามิเตอร์ วัดการไหล เกจวัดแรงดัน Pressure_gauge เพรชเชอร์เกจ valvecontrol valveคอนโทรลวาล์ววาล์วติดหัวขับเซฟตี้วาล์วโซลินอยด์วาล์ว
บริการให้คำปรึกษา แนะนำสินค้าที่เหมาะกับลักษณะการใช้งานของท่าน และจัดหาสินค้าให้ท่านตามต้องการค่ะ
ทำความรู้จัก PAKO ENGINEERING บริการจัดส่งทั่วประเทศ
สนใจ Product เพิ่มเติมติดต่อเราได้ทาง
FACEBOOK :
Pako Engineering
Well Flowmeter
Pressure gauge OCTA
เข้าชมเว็บไซต์ของเราได้ที่ www.pako.co.th
www.pakoengineering.com
Line ID : @pakoeng
Tel. : 0-2041-5092,09-4690-4630
Fax : 0-2041-5093
E-Mail : sales@blog.pako.co.th