ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ อาทิ คอ, บ่า, ไหล่, หลัง, แขน บางรายปวดเกร็งอย่างรุนแรงจนหันคอ หรือก้มเงยไม่ได้เลย จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน นัยน์ตาและการมองเห็น
สาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรม- Office syndrome
- การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน
- ท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหลังค่อม ท่าก้มหรือเงยคอมากเกินไป
- สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม
- สภาพร่างกายที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย เช่น ภาวะเครียดจากงาน การอดอาหาร การพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายต้องแบกรับความตึงเครียดปราศจากการผ่อนคลาย
อาการปวดเมื่อยล้าตรงกล้ามเนื้อ จะรู้สึกเกร็งเหมือนกล้ามเนื้อถูกดึงรั้ง นานวันเข้าจากอาการแค่ปวดกล้ามเนื้อ อาจกลายเป็นกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ปวดเจ็บตามอวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแขนขา ข้อมือ ไหล่ หลัง ซึ่งปวดมากหรือปวดน้อยก็แล้วแต่การสะสมของโรค
3 สัญญาณเตือนภัย “ออฟฟิศซินโดรม”
- ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดคอ อาจจะเริ่มปวดโดยไม่ได้ทำอะไรหนักเป็นพิเศษ และอาจจะเริ่มปวดเรื้อรังนานขึ้นเรื่อยๆ มากกว่า 1-2 สัปดาห์เป็นต้นไป เนื่องจากนั่งทำงานนานๆ โดยไม่ได้ขยับร่างกาย หรือนั่งในท่าเดิมๆ หรือเก้าอี้และโต๊ะอาจไม่อยู่ในลักษณะที่สมดุลกับร่างกาย
- ปวดศีรษะ หรือปวดหัวไมเกรนบ่อยครั้งขึ้น เนื่องจากความเครียดสะสม ใช้สายตาหนัก นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ และไม่เป็นเวลา
- มือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อค จากการพิมพ์งานบนคอมพิวเตอร์ หรือใช้งานเม้าส์กับคอมพิวเตอร์นานเกินไป อาจทำให้กล้ามเนื้อกดทับประสาท เส้นเอ็นอักเสบ หรือเกิดพังผืดบริเวณนิ้ว และมือได้
แนวทางการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม
- การรักษาด้วยยา
- การรักษาด้วยวิธีทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูและการทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อและปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง
- การปรับสถานีงาน พื้นที่การทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และลักษณะงานให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกายโดยรวม
- การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย
อาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกิดจากการทำงานที่พบได้บ่อยและสามารถดูแลโดยนักภาพภาพบำบัด
- กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (myofascial pain syndrome)
- เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (carpal tunnel syndrome)
- ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท (nerve tension)
- กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ (tennis elbow)
- ปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณฐานนิ้วโป้งอักเสบ (De Quervain’s tendonitis)
- นิ้วล็อก (trigger finger)
- เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (tendinitis)
- ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ (postural back pain)
- หลังยึดติดในท่าแอ่น (back dysfunction)
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://goo.gl/i4QW1v
https://goo.gl/a2w9eu
https://goo.gl/RBPvVa
https://www.sanook.com/health/3089/