วาล์วติดหัวขับ เป็นตัวช่วยในการทำงานของเราให้ง่ายขึ้น แต่ถ้าหากพูดถึงการเปิด-ปิดของวาล์ว โดยทั่วไปเราจะควบคุมโดยใช้ด้ามจับ (Lever Operator)หรือพวงมาลัย(Gear Box) แต่บางสายการผลิตในอุตสาหกรรมมีความจำเป็นที่ต้องใช้วาล์วหัวขับ ส่วนเหตุผลที่ควรใช้ วาล์วติดหัวขับ สามารถตามอ่านได้ตามลิงค์นี้ค่ะ https://pakoengineering.com/blog/2020/pnumatic-actuator/
ในครั้งนี้เราจะมาพูดถึงส่วนประกอบของวาล์วติดหัวขับกันว่าควรมีอะไรบ้าง ดังนี้
1.วาล์ว (Valve)
วาล์วที่ส่วนใหญ่นิยมติดหัวขับ คือ บอลวาล์ว(Ball Valve) และ วาล์วผีเสื้อ(Butterfly Valve) เนื่องจากเป็นวาล์วที่มีการเปิด-ปิดบ่อยครั้ง ทำให้เป็นที่นิยมในการติดหัวขับ รวมถึงรูปแบบของวาล์วที่มีการทำงานไม่ซับซ้อนมากเกินไปหรือขนาดของวาล์วใหญ่เกินกำลังคนจะเปิด-ปิดได้ และหัวขับที่ติดกับวาล์วประเภทนี้โดยส่วนใหญ่จะมีจำหน่ายอย่างแพร่หลาย ด้วยการทำงานที่มักจะมีการสั่งการเป็นระบบโดยใช้วาล์วจำนวนมากในสายงานผลิต
โดยบอลวาล์ว(Ball Valve) ที่ใช้ติดหัวขับจะมีบอลวาล์ว 2ชิ้น (2pc)และบอลวาล์ว 3ชิ้น(3pc) การทำงานของบอลวาล์วเป็นแบบเปิด-ปิด สามารถใช้แบบเกลียวธรรมดา (Screw)หรือใส่หน้าแปลน (Flange)ก็ได้เช่นกัน
ในส่วนของวาล์วผีเสื้อ(Butterfly Valve) ใช้สำหรับควบคุมการไหลและใช้การเปิด-ปิด มีทั้งแบบหน้าแปลนประกบรู(Double Flange)และบัตเตอร์ฟลายวาล์วแบบหลายรู (Rux Type) โดยเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน
2.หัวขับ (Actuator)
หัวขับที่ใช้สำหรับติดวาล์วมีสองประเภท คือ
1.หัวขับลม (Pneumatic Actuator) – ใช้ลมในการควบคุมให้วาล์วเปิด-ปิด เราต้องทราบค่าแรงดันที่จะใช้ในการทำงาน เพื่อหาหัวขับที่เหมาะสมกับการใช้งาน
2.หัวขับไฟฟ้า (Elcetric Actuator) – ใช้ไฟฟ้าในการควบคุมให้วาล์วเปิด-ปิด แรงดันไฟฟ้าจะใช้ค่า 24VDC, 220VAC เป็นต้น
ซึ่งเราต้องรู้ขนาดของวาล์วที่จะนำหัวขับไปติด เพื่อที่จะคำนวณค่าทอร์กได้ (ค่าทอร์ก = แรงบิด) โดยทั่วไปประเภทการทำงานของหัวขับที่สองประเภทนั้นเหมือนกัน คือ
- Single Acting : เคลื่อนตัวในขาไปด้วยลม,ไฟฟ้าและเคลื่อนตัวกลับด้วยสปริง
- Double Acting : เคลื่อนตัวในขาไปด้วยลม,ไฟฟ้าและเคลื่อนตัวขากลับด้วยลม,ไฟฟ้า
ในส่วนของหัวขับจะมีช่องไว้สำหรับข้อต่อสายลม (tube fitting, silencer) เพื่อเก็บเสียงการทำงานของหัวขับ
3.กล่องลิมิตสวิตซ์ (Limit Switch Box)
กล่องลิมิตสวิตซ์เป็นกล่องที่ไว้ใช้บอกสถานะและตั้งระยะการเปิด-ปิดของวาล์ว มีอีกชื่อเรียกคือ Valve Position Monitor โดยที่เราต้องรู้ขนาดหัวขับหรือขนาดวาล์วที่จะนำไปติดเพราะ Key Pad จะไม่เท่ากัน เป็นตัวเลือกเสริมสำหรับการติดหัวขับวาล์ว เพื่อที่จะช่วยให้สะดวกในการรู้สถานะการทำงานของวาล์วมากขึ้น
4.โซลินอยด์ (Solenoid)
โซลินอยด์วาล์วที่นำมาใช้สำหรับการติดวาล์วหัวขับคือ โซลินอยด์นามัวร์ (Solenoid Namur) ซึ่งช่วยเรื่องควบคุมการเปิด-ปิดของวาล์วด้วยไฟฟ้า โดยใช้ขดลวดแม่เหล็ก (Coil) ในการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าเพื่อคอยคุมหัวขับ เราสามารถออกแบบวงจรให้เหมาะสมกับการใช้งานของเราได้ โดยมีสถานะการทำงานดังนี้
- สถานะปกติปิด (NC)-การตั้งค่าให้จ่ายไฟฟ้าเข้าสู่คอล์ยของวาล์ว เมื่อเวลาที่มีสารไหลผ่านและเราต้องการให้ปิดวาล์วเพื่อไม่ให้สารไหลออกไปได้
- สถานะปกติเปิด (NC)-การตั้งค่าให้จ่ายไฟฟ้าเข้าสู่คอล์ยของวาล์ว เมื่อเวลาที่มีสารไหลผ่านและเราต้องการให้เปิดวาล์วเพื่อให้สารไหลออกไปได้
โซลินอยด์วาล์วและลิมิตสวิตซ์บ็อกซ์ถือเป็นตัวเลือกเสริมในการใช้งาน อีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้เราทำงานง่ายขึ้น ประหยัดเวลา
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับการเลือกใช้วาล์วติดหัวขับคือ เราต้องทราบว่าเราใช้กับงานประเภทไหน เช่น งานน้ำทั่วไป, งานน้ำร้อน, งานน้ำเสีย, งานลม เป็นต้น ขนาดของวาล์วที่เราต้องการจะใช้และวัสดุของวาล์วที่เราต้องการ
การใช้วาล์วหัวขับ (Actuator) จะช่วยให้เราสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลาในการทำงาน สามารถควบคุมวาล์วในที่ห่างไกลได้โดยไม่เปลืองกำลังคนและเหมาะอย่างมากสำหรับการใช้ในงานผลิตที่มีการวางระบบที่ต้องใช้การทำงานตลอดเวลา
เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกท่านเลือกวาล์วติดหัวขับที่เหมาะกับงานที่ท่านใช้ได้มากขึ้น
www.pakoengineering.com
Inbox : m.me/pako.engineering
: 09-4690-4630, 02-041-5092
: mkt@blog.pako.co.th
Line : @pakoeng
ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจ