ทุกคนเคยเจอปัญหาหรือสงสัยกันไหมครับ ว่าวาล์แต่ละตัวที่ชื่อเรียกมันค่อนข้างจะคล้ายกันแบบนี้ “RELIEF VALVE, SAFETY VALVE, SAFETY RELIEF VALVE” มันจะมีหน้าที่หรือการทำงานที่แตกต่างกันอย่างไร?
ผมเชื่อว่าทุกๆคนคงอยากที่จะคลายข้อสงสัยกันแล้ว งั้นเอาอย่างนี้นะครับ!! วันนี้ทาง Pako engineering เราจะมาเล่าให้ฟังกันง่ายๆเลยครับ ว่าวาล์ระบายความดันแต่ละแบบ แต่ละชื่อเนี่ยมันมีหน้าที่อะไรบ้าง
ซึ่งวาล์ระบายความดันจะมีลักษณะการเปิดระบายไม่เหมือนกัน หน้าวาล์วจะถูกออกแบบให้เปิดเพื่อระบายแรงดันส่วนเกินและปิดเมื่อแรงดันลดลงต่ำกว่าที่กำหนด โดยมีลักษณะการเปิดอย่างรวดเร็ว (pop action) หรือค่อย ๆ เปิดตามสัดส่วนแรงดันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบครับ ทุกคนน่าจะอยากรู้กันแล้วใช่ไหมครับว่ามันแตกต่างกันอย่างไร อ้าว!! แล้วจะรอช้าอยู่ทำไมกันมารู้ไปพร้อมๆกันเลยครับ
1. RELIEF VALVE
หน้าที่หลักของวาล์ชนิดนี้คือ จำกัดความดันระบบหรือป้องกันอันตรายจากความดันในระบบที่สูงเกินไปให้มีค่าตามกำหนด RELIEF VALVE
มีโครงสร้าง 2 ลักษณะคือ
-
โครงสร้างแบบพอพเพต
ข้อดีของโครงสร้างแบบพอพเพตคือมีช่วงชักสั้น จึงมีผลทำให้การตอบสนองต่อการทำงานได้รวดเร็วและป้องกันการกระพือของพอพเพตจึงติดตั้งอุปกรณ์ด้านการกระพือที่เรียกว่า แดมปิ้ง พลันเจอร์ (Damping plunger)
-
โครงสร้างแบบสปูล
สำหรับโครงสร้างแบบสปูลจะมีความละเอียดในการควบคุมมากกว่าถ้าด้านขอบของตัวควบคุมทำเป็นร่องบากเล็กๆเอาไว้ แล้วก็ ใช้ระบายของเหลวและเปิดระบายแบบช้าๆ เช่นพวก thermal relief valve ที่ใช้ระบายเวลาของเหลวถูกบล็อคในท่อแล้วยังได้รับความร้อนต่อเนื่อง!! ได้ rated capacity สูงสุดที่ความดันประมาณ 25% เหนือ set P
2.SAFETY VALVE
ตัวนี้ใช้ระบายไอน้ำหรืออากาศอย่างรวดเร็ว (pop-action) เช่นตาม boiler ได้ rated capacity สูงสุดที่ความดันประมาณ 3%,10%,20% เหนือ set P แล้วแต่มาตรฐานการออกแบบจะมีหน้าที่ป้องกันแรงดันในระบบ โดยวาล์วจะเปิดเพื่อระบายแรงดันส่วนที่เกินกว่าที่กำหนดออกเพื่อป้องกันอุปกรณ์ หรือ ผลิตภัณฑ์เสียหาย โดยส่วนใหญ่จะตั้งแรงดันสำหรับระบายที่ maximum allowable working pressure (MAWP) หรือ แรงดันที่ระบบสามารถรับได้
ขั้นตอนการทำงานของระบบ Safety Valve
เมื่อแรงดันภายในอุปกรณ์เพิ่มขึ้นผิดปกติแต่ยังอยู่ในระดับน้อยกว่าที่กำหนด อุปกรณ์จะทำการดึงคัตเอาท์ที่อยู่ในอุปกรณ์ลง และเมื่ออุปกรณ์เข้าสู่สภาพปกติตัวคัตเอาท์ที่อยู่ในอุปกรณ์จะกลับมาทำงานปกติ แต่ถ้าในกรณีที่แรงดันภายในอุปกรณ์เพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่กำหนด (set pressure) ระบบจะทำการระบายแรงดันดังกล่าวออกสู่ภายนอก ซึ่งจะทำให้อุปกรณ์ที่ใช้ระบบ Safety Valve ไม่เกิดการระเบิด
3. SAFETY RELIEF VALVE
ตัวนี้จะเอาไว้ใช้ระบายได้ทั้งของเหลวหรือแก๊สแล้วแต่จะเลือกใช้ เช่นตามโรงงาน chemical and petrochemical plant ส่วนใหญ่!! ปรับให้เป็นได้ทั้ง pop หรือ non-pop action ลักษณะการจะเปิดแบบทีละน้อย หรือ อย่างรวดเร็ว ขึ้นอยู่กับการลักษณะการใช้งานว่าเป็นของเหลว หรือ ก๊าซ จะมีหน้าที่ป้องกันแรงดันในระบบเกิน โดยวาล์วจะเปิดเพื่อระบายแรงดันส่วนที่เกินกว่าที่กำหนดออกเพื่อป้องกันอุปกรณ์ หรือ ผลิตภัณฑ์เสียหาย โดยส่วนใหญ่จะตั้งแรงดันสำหรับระบายที่ maximum allowable working pressure (MAWP) หรือ แรงดันที่ระบบสามารถรับได้ ในระบบไอน้ำเซฟตี้วาล์วจะติดตั้งที่บอยเลอร์ หลังวาล์วลดแรงดัน และ อุปกรณ์ใช้งาน
ทั้งหมดนี้ก็คือหน้าที่ของวาล์ระบายความดัน หลายคนอาจจะรู้อยู่แล้ว และก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้ ก็หวังว่าทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้จะได้ความรู้กลับไปไม่มาก็น้อย ไว้เจอกันครั้งหน้าครับ
สามารถดูสินค้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://bit.ly/2w55EI1
https://bit.ly/2wiN2Uf
https://bit.ly/2BBGnug
https://bit.ly/2MHB5BS