วาล์วมีความหลากหลายมาในงานอุตสาหกรรม และสามารถแบ่งได้เป็นประเภทพื้นฐานดังนี้

ชนิด คำอธิบาย
Ball valve

สำหรับการเปิดปิด โดยไม่ทำให้แรงดันตก เหมาะสำหรับการเปิดปิดที่รวดเร็ว โดยจะมีองศาการปิดที่ 90°
Butterfly valve

 

สำหรับการเปิดปิด ในท่อที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ๆ
Ceramic Disc valve

 

 

สำหรับที่ต้องมีการเปิด-ปิดบ่อยๆ และสารที่ไหลผ่านมีการขัดสี กัดกร่อน สร้างความสึกหรอ
Clapper valve

สำหรับงานดับเพลิง โดยจะยอมให้มีการเปิดได้จากทางเดียว เมื่อมีการต่อท่อเท่านั้น
Check valve or non-return valve

DISCO

 

Dual plate

Swing

สำหรับบังคับให้สาร ไหลไปทางเดียว หรือ ป้องกันการไหลย้อนกลับ
Choke valve

 23 22 21

สำหรับงานที่มีการเปลี่ยนแปลงความดันอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างสมดุล ตัววาล์วจะต่อกับกระบอกสูบ เพื่อทำการปรับสมดุล ส่วนใหญ่ใช้ในงานปิโตรเลียม
Diaphragm valve

สำหรับการเปิด-ปิด โดยใช้แผ่นไดอะแฟรม ส่วนใหญ่ใช้ในงาน นิวเมติกซ์ หรือ ไฮโดรลิก
Gate valve

สำหรับการเปิด-ปิด ทั่วไป ไม่ทำให้แรงดันตก
Globe valve

สำหรับการเปิด-ปิด เร่ง-หรี่ โดยสามารถปรับระดับการไหลของสารได้
Knife valve

เหมือนกับ Gate Valve แต่จะใช้ในงานที่ของไหล มีความหนืด มีสารแขวนลอย หรือ สิ่งสกปรก
Needle valve

สำหรับการเปิด-ปิด เร่ง-หรี่ โดยสามารถปรับระดับการไหลของสารได้ โดยเป็นงานที่ต้องการปรับในระดับที่มีความละเอียดสูง
Pinch valve

สำหรับการเปิด-ปิด เร่ง-หรี่ โดยสามารถปรับระดับการไหลของสารได้ โดยของไหลมีความหนืด มีสารแขวนลอย หรือ ส่ิงสกปรก
Piston valve

สำหรับการเปิด-ปิด เร่ง-หรี่ โดยสามารถปรับระดับการไหลของสารได้ โดยมีสารแขวนลอย
Plug valve

สำหรับการเปิด-ปิด โดยจะทำให้เกิดแรงดันตก
Poppet valve

 

สำหรับการเปิด-ปิด เร่ง-หรี่ ใช้ในงานยานยนต์ เครื่องยนต์ เพื่อปรับส่วนผสมของเชื้อเพลิง
Spool valve

สำหรับการควบคุมไฮโดรลิก
Thermal expansion valve

สำหรับการเปิด-ปิด เร่ง-หรี่ ใช้ในงานปรับอากาศ         ทำความเย็น
Pressure regulator or pressure reducing valve

(PRV)

สำหรับการเปิด-ปิด เร่ง-หรี่ ใช้ในงานปรับแรงดัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานไอน้ำ เพื่อลดแรงดันให้ได้ตามความต้องการ     ใช้งาน
Sampling valves

ใช้สุ่มเก็บตัวอย่าง… อาหาร, น้ำ, ยา, เคมี เพื่อตรวจวัดคุณภาพสิ่งนั้น
โดยไม่ต้องเปิดท่อ เปิดถัง ให้เกิดการปนเปื้อน
Safety valve

 

วาล์วเพื่อความปลอดภัย มีไว้ระบายความดันส่วนเกินออกจากระบบ เพื่อไม้ให้เกิดการระเบิด

อุปกรณ์ใกล้ตัวเราอย่างมือถือ หรือเจาะจงลงไปก็ แบตมือถือ, พาวเวอร์แบงค์ บางยี่ห้อมี Safety valve ด้วย

หน้าที่ก็เหมือนกัน ระบายความดันออก ไม่ให้ระเบิด อันเกิดจากแบตเสื่อม ร้อนบวม เป่งเต็มที่ก็ระเบิดเลย
Safety valve จะปลดปล่อยความดันนั้นออกมา ไม่ให้ระเบิด

Foot valve

คนไทยเรียกวาวล์หัวกะโหลก  คือวาวล์ตัวล่างสุดที่จะใช้ดูดน้ำ  ในการดูดน้ำจากที่ๆต่ำกว่าปั้ม จะต้องมีน้ำหล่อหรือล่อ โดยต้องเติมน้ำลงในปั้ม เมื่อน้ำลงในปั้มมันจะลงไปในท่อด้วย  วาวล์ตัวนี้ทำหน้าที่กั้นน้ำไม่ให้ไหลลงไปในบ่อ  เมื่อเปิดปั้ม น้ำในท่อและที่ตัวปั้มจะดึงเอาน้ำในบ่อขึ้นมาได้   วาวล์ตัวนี้จะมีเกลียว(ใน)ข้างเดียว

Foot valve หน้าที่ เป็นตัวกักเก็บน้ำ ไม่ไหลย้อนกลับ จากปั๊มน้ำลงบ่อ หรือลงถังเก็บน้ำจนหมด เพื่อให้การใช้งานปั๊มในครั้งต่อไป

Solenoid valve

 

 

 

โซลินอยด์ (Solenoid) เป็นอุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่มีหลักการทำงานคล้ายกับรีเลย์(Relay) ภายในโครงสร้างของโซลินอยด์จะประกอบด้วยขดลวดที่พันอยู่รอบแท่งเหล็กที่ภายในประกอบด้วยแม่เหล็กชุดบนกับชุดล่าง เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดที่พันรอบแท่งเหล็ก ทำให้แท่งเหล็กชุดล่างมีอำนาจแม่เหล็กดึงแท่งเหล็กชุดบนลงมาสัมผัสกันทำให้ครบวงจรทำงาน เมื่อวงจรถูกตัดกระแสไฟฟ้าทำให้แท่งเหล็กส่วนล่างหมดอำนาจแม่เหล็ก สปริงก็จะดันแท่งเหล็กส่วนบนกลับสู่ตำแหน่งปกติ จากหลักการดังกล่าวของโซลินอยด์ก็จะนำมาใช้ในการเลื่อนลิ้นวาล์วของระบบนิวแมติกส์ การปิด-เปิดการจ่ายน้ำหรือของเหลวอื่นๆ โครงสร้างของ Solenoid โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ เลื่อนวาล์วด้วยโซลินอยด์วาล์วกลับด้วยสปริง (Single Solenoid Valve) และเลื่อนวาล์วด้วยโซลินอยด์วาล์วกลับด้วยโซลินอยด์วาล์ว (Double Solenoid Valve) ในที่นี้ใช้แบบ เลื่อนวาล์วด้วยโซลินอยด์วาล์วกลับด้วยสปริง (Single Solenoid Valve)

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *