ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบันได้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันกันอย่างสูงเพื่อให้ธุรกิจของตนได้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการบริการ อุตสาหกรรมการผลิต เป็นต้น บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ คำว่า ISO ว่ามันคืออะไร และมีบทบาทสำคัญมากน้อยแค่ไหนในเชิงธุรกิจ
ไอเอสโอจริง ๆ แล้ว เป็นชื่อของหน่วยงานหนึ่ง ตั้งอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์เมื่อพูดคำว่า ISO ออกมาแล้ว คนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในวงการนี้ แต่อาจจะพอเห็น หรือได้ยินมาบ้างทาง โทรทัศน์ ตามป้ายโฆษณา หรือตาม web site ต่าง ๆ ก็ดี คงจะนึกไปถึงอะไรที่มันเกี่ยวกับสินค้า, เกี่ยวกับโรงงาน, เกี่ยวกับการผลิต ซึ่งจริง มันก็ใช่ แต่ก็ไม่ถูกต้องไปทั้งหมดเสียทีเดียว

ISO มาจากคำว่า International Standardization and Organization มีชื่อว่าองค์การมาตรฐานสากลหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ.1946 หรือพ.ศ.2489 มีสำนักงานอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีวัตถุประสงค์คล้ายๆกับองค์การการค้าอื่นๆของโลก คือจัดระเบียบการค้าโลกด้วยการสร้างมาตรฐานขึ้นมา

 

ช่วงที่ ISO ก่อตั้งขึ้น เป็นช่วงสงครามโลกก็เพิ่งจะจบลงใหม่ๆดังนั้นประเทศต่างๆก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก ต่างคนต่างขายของโดยมีระบบมาตรฐานไม่เหมือนกันจนกระทั่งในปี 2521 เยอรมนีเป็นตัวตั้งตัวตีให้ทั่วโลกมีมาตรฐานคุณภาพสินค้าเดียวกันส่วนองค์กรมาตรฐานโลกก็จัดตั้งระบบ ISO/TC176 ขึ้นต่อมาอีก1ปีอังกฤษพัฒนาระบบคุณภาพที่เรียกว่า BS5750 ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ จากนั้นในปี 2530 ISO จึงจัดวางระบบการบริหารเพื่อการประกันคุณภาพที่สามารถตรวจสอบได้ผ่านระบบเอกสารหรือที่เรียกว่า อนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 เป็นมาตรฐานที่กำหนดใช้ในทุกประเทศทั่วโลก

วัตถุประสงค์ขององค์การ ISO ก็เพื่อส่งเสริมการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจ และขจัดข้อโต้แย้ง รวมถึงการกีดกัน ทางการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ ในด้านวิชาการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กล่าวง่าย ๆ ได้ว่า บริษัท หรือองค์กรใดได้รับ ISO ก็หมายความว่า สินค้าหรือบริการขององค์กรนั้น เข้าขั้นมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

 

 

 

 

 

 

 

ตัวเลข ISO แต่ละเลข ต่างกันอย่างไร

เลข ISO ที่เราเห็นกันคุ้นตาก็มี ISO 9002 ISO 14000 เป็นต้น หลายคนอาจสงสัยว่าแตกต่างกันอย่างไร ตัวเลขดังกล่าวถูกกำหนดขึ้นเพื่อการแบ่งแนวทางและวิธีการในการบริหารองค์กร ดังนี้

ตัวเลข 9000 เป็นชื่ออนุกรมหนึ่งที่แตกแยกย่อยความเข้มของมาตรฐานงานออกเป็นอีก 3 ระดับ คือ ISO 9001 , ISO 9001 และ ISO 9003 นอกจากนี้ยังมีอีกอนุกรมหนึ่งคือ ISO 14000 เป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมและระบบคุณภาพ   9000 เป็นแนวทางในการเลือกและกรอบในการเลือกใช้มาตรฐานชุดนี้ให้เหมาะสม

ISO 9000 คือการจัดระบบการบริหารเพื่อประกันคุณภาพ ที่สามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบเอกสาร

ISO 9001 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลทั้งการออกแบบ และพัฒนาการผลิต การติดตั้ง และการบริการ  มีระดับความเข้มมากที่สุดคือหน่วยงานที่จะได้รับอนุมัติว่ามีระบบคุณภาพมาตรฐานสากลในระดับนี้จะต้องมีรูปแบบลักษณะการทำงานในองค์กรตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ 20 ข้อ โดยมีการกำกับดูแลตั้งแต่การออกแบบ การพัฒนา การผลิตและการบริการยกตัวอย่างชื่อหัวข้อที่พอจะเข้าใจ เช่น กลวิธีทางสถิติการตรวจสอบการย้อนกลับของผลิตภัณฑ์ การจัดเก็บการเคลื่อนย้าย เป็นต้น

ISO 9002 มาตรฐานระบบคุณภาพ ต้องมีรูปแบบลักษณะการทำงานในองค์กรตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ 19 ข้อ ดูแลเฉพาะระบบการผลิต การติดตั้งและการบริการ (ตัดกลวิธีทางสถิติออกไป)

ISO 9003 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเรื่องการตรวจ และการทดสอบขั้นสุดท้าย

ISO 9004 เป็นแนวทางในการบริหารงานคุณภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเป็นข้อแนะนำ ในการจัดการในระบบคุณภาพ ซึ่งจะมีการกำหนดย่อย ในแต่ละประเภทธุรกิจ

ISO 14000 เป็นระบบมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้องค์กรมีการพัฒนาปรับปรุงสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง

ISO 18000 มาตรฐานระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

.

ในประเทศไทย องค์กรที่ต้องการ ISO จะต้องยื่นขอการรับรองมาตรฐาน จากสถาบันรับรองมาตรฐาน ISO ซึ่งองค์กรนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด ในมาตรฐานที่ระบุไว้และต้องผ่านการตรวจประเมินผล

ขั้นตอนการขอ ISO 9000 เริ่มจากการขอข้อมูล ยื่นคำขอ ตรวจประเมินออกใบรับรอง ตรวจติดตาม ตรวจประเมินใหม่

 ส่วนการเตรียมระบบคุณภาพมี 4 ข้อใหญ่ๆ
1.ทบทวนสถานภาพกิจการปัจจุบัน
2.จัดทำแผนการดำเนินงานและระบบเอกสาร
3.นำระบบบริหารงานคุณภาพไปปฏิบัติ
4.ตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบคุณภาพ

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเรื่องนี้ตกประมาณ 2-3 แสน ถ้าเป็นสินค้าหรือบริการส่งออก รัฐบาลจะช่วยออกเงินให้ครึ่งหนึ่งส่วนเวลาดำเนินการจะประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี

ISO ใช้วัดคุณภาพ ทั้งด้าน 1.โรงแรม ภัตตาคารและการท่องเที่ยว 2.กลุ่มคมนาคม สนามบิน และการสื่อสาร 3.สาธารณสุข โรงพยาบาล คลินิก 4.ซ่อมบำรุง 5.สาธารณูปโภคต่างๆ 6.การจัดจำหน่าย 7.มืออาชีพ การสำรวจ ออกแบบ ฝึกอบรม และที่ปรึกษา 8.บริหารบุคลากรและบริการในสำนักงาน 9.วิทยาศาสตร์ การวิจัยและพัฒนา

 
ISO 9000 สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรชนิดใดขนาดใหญ่ หรือเล็ก
ผลิตสินค้า หรือ ให้บริการอะไร การนำระบบการบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000ไปใช้อย่างแพร่หลายจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. องค์กร/บริษัท
            – การจัดองค์กร การบริหารงาน การผลิตตลอดจนการให้บริการมีระบบและมีประสิทธิภาพ
            – ผลิตภัณฑ์และบริการเป็นที่พึงพอใจของลูกค้าหรือผู้รับบริการและได้รับการยอมรับ
            – ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร
            – ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
2. พนักงานภายในองค์กร/บริษัท
          – มีการทำงานเป็นระบบ
          – เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
         – พนักงานมีจิตสำนึกในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น
       – มีวินัยในการทำงาน -พัฒนาการทำงานเป็นทีมหรือเป็นกลุ่มมีการประสานงานที่ดี และสามารถ
          พัฒนาตนเองตลอดจน   เกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน
3. ผู้ซื้อ/ผู้บริโภค
       – มั่นใจในผลิตภัณฑ์และบริการ ว่ามีคุณภาพตามที่ต้องการ
       – สะดวกประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพซ้ำ
      – ได้รับการคุ้มครองด้านคุณภาพความปลอดภัยและการใช้งาน
สรุป : ISO ถือเป็่นสัญลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์/บริการ นั้น ๆ  ซึ่งถูกรับรองว่ามีมาตรฐานสากล และมีคุณภาพอย่างสูงต่อลูกค้า, แสดงถึงศักยภาพการบริหารงาน/การผลิตสินค้าขององค์กร ที่มีต่อบุคคลภายนอก, และยังคำนึงถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ด้วย ดังนั้น ก่อนที่จะซื้อสินค้า หรือ บริการ พวกเราควรศึกษาข้อมูลของบริษัทนั้นว่าผลิตภายใต้คุณภาพของ ISO หรือไม่
——————————————————————
 ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.engineerthailand.com

www.pakoengineering.com
www.pako.co.th
Line ID : pakoeng
Tel. 02-041-5092 , 09-4690-4630
Email : sales@blog.pako.co.th

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *