งานกลึง คือ การตัดโลหะโดยให้ชิ้นงาน (work piece) หมุนรอบตัวเองโดยมีดกลึงเคลื่อนที่เข้าหาชิ้นงาน การกลึงมีสองลักษณะใหญ่คือ
- การกลึงปาดหน้า คือ การตัดโลหะโดยให้มีดตัดชิ้นงานไปตามแนวขวาง
- การกลึงปอก คือ การตัดโลหะโดยให้มีดตัดเคลื่อนที่ตัดชิ้นงานไปตามแนวขนานกับแนวแกนของชิ้นงาน
เครื่องกลึง (Lathe)
เป็นเครื่องจักรกลที่มีความสำคัญมาก มีใช้กันอย่างตั้งแต่ยุคต้น ๆ เป็นเครื่องมือกลประเภทแปรรูปโลหะทรงกระบอกเป็นหลัก สำหรับกลึง เจาะ คว้านรูได้มากมาย เพื่อผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรเครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ สำหรับงานผลิตและงานซ่อม งานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนต้องมีเครื่องกลึงเป็นหลัก เครื่องกลึงจึงได้ชื่อว่า ราชาเครื่องกล (The King of all Machines)
เครื่องกลึง ทำงานโดยการจับยึดชิ้นงานให้แน่นและหมุน ขณะที่ชิ้นงานหมุน ชิ้นงานจะถูกตัดเฉือนด้วยมีดกลึง ซึ่งจะเคลื่อนไปตามความยาวของชิ้นงาน เรียกว่า การกลึงปอกหรือมีดกลึงเคลื่อนที่ตัดเฉือนชิ้นงานตามแนวขวาง เรียกว่า การกลึงปาดหน้า (Facing)งานกลึงเป็นกรรมวิธีแปรรูปงานขั้นพื้นฐาน ที่มีความสำคัญในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ช่างเทคนิคที่ปฏิบัติงานในสายกระบวนการผลิต จะต้องศึกษาส่วนประกอบและหน้าที่ของเครื่องกลึงตลอดจนมีดกลึงที่ใช้ปฏิบัติที่ใช้ปฏิบัติงานลักษณะต่าง ๆ เพื่อสามารถปฏิบัติงานตามแบบสั่งงานได้อย่างมีคุณภาพและบำรุงรักษาเครื่องกลึงได้ถูกต้องด้วย
- การกลึงหยาบ คือการกลึงงานลึก ๆ ป้อนหยาบ ๆ เท่าที่มีดกลึงกับเครื่องกลึงจะทำได้ เพื่อประหยัดเวลาในการทำงาน
- การกลึงละเอียด คือการกลึงงานโดยป้อนลึกน้อย ๆ ป้อนทางด้านข้างช้า ๆ ใช้ความเร็วสูงกว่า
การกลึงหยาบ ใช้มีดกลึงสำหรับกลึงละเอียด ใช้การหล่อเย็นหรือหล่อลื่น จะช่วยให้ผิวงานเรียบขึ้น เพื่อกลึงงานให้เรียบร้อย ได้ขนาดตามที่กำหนดหลังจากที่กลึงหยาบแล้ว
.
ชนิดของเครื่องกลึง
.
1. เครื่องกลึงยันศูนย์ (Engine Lathe)
ส่วนประกอบและหน้าที่ของเครื่องกลยันศูนย์
1.1 ชุดหัวเครื่องกลึง (Head Stock) ชุดส่วนที่อยู่ซ้ายสุดของเครื่อง ใช้ในการขับหัวจับ หรือขับชิ้นงานให้หมุนด้วยความเร็วรอบต่าง ๆ มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้
.
1.1.1 ชุดส่งกำลัง (Transmission) เครื่องกลึงจะส่งกำลังขับงานกลึงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (Motor) โดยส่งกำลังผ่านสายพานลิ่ม (V-Belt) และผ่านชุดเฟือง (Gear) mสามารถปรับความเร็วรอบได้ระดับต่าง ๆ เพื่อไปขับเพลาหัวจับงาน (Spindle) ให้หมุนสำหรับเครื่องกลึงรุ่นเก่าจะปรับความเร็วรอบของเพลาหัวจับงานโดยใช้ล้อสายพาน (Pulley) ที่มีหลายขั้น ซึ่งแต่ละขั้นจะให้ความเร็วรอบแตกต่างกัน
.
1.1.2 ชุดเฟืองทด (Gears) ใช้ทดความเร็วรอบในการกลึงมี 2 ชุด คือ ชุดที่อยู่ภายในหัวเครื่องและชุดที่อยู่ภายนอกหัวเครื่องกลึง
.
1.1.3 แขนปรับความเร็วรอบ (Spindle Speed Selector) เป็นแขนที่อยู่ส่วนบนหรือส่วนหน้าของเครื่องใช้สำหรับโยกเฟืองที่อยู่ภายในหัวเครื่องให้ขบกันเพื่อให้ได้ความเร็วรอบต่างๆ ตามต้องการ
.
1.1.4 ชุดเพลาหัวเครื่องกลึง (Spindle) มีลักษณะรูปทรงกระบอกเจาะรูกลวงตลอดด้านหน้าจะเป็นรูเรียวแบบมอร์สเพื่อใช้ประกอบกับหัวศูนย์ เพลาหัวเครื่องกลึงใช้จับกับหัวจับเครื่องกลึง มี 4 แบบ คือเพลาหัวเครื่องกลึงแบบเกลียว เพลาหัวเครื่องกลึงแบบเรียว เพลาหัวเครื่องกลึงแบบลูกเบี้ยว และเพลาหัวเครื่องกลึงแบบสกรูร้อย
.
1.2 ชุดแท่นเลื่อน (Carriage)
ชุดแท่นเลื่อนเป็นส่วนประกอบที่ใช้ควบคุมและรองรับเครื่องมือตัดเพื่อให้เครื่องมือตัดของเครื่องกลึงเลื่อนไป-มาในทิศทางตามแนวยาวหรือตามขวางของสะพานแท่นเครื่อง ชุดแท่นเลื่อนมีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ชุดแคร่คร่อม (Saddle) และชุดกล่องเฟือง (Apron)
- แคร่คร่อม (Saddle) เป็นส่วนที่อยู่บนสะพานแท่นเครื่อง (Bed) เพื่อรองรับชุดป้อมมีด และชุดกล่องเฟือง แคร่คร่อมสามารถเลื่อนไป-มาในแนวนอน ซึ่งใช้ในงานกลึงปอก
- แท่นเลื่อนขวาง (Cross Slide) เป็นส่วนที่ยึดอยู่บนแคร่คร่อม สามารถเลื่อนไป-มาด้วยสกรู ใช้ในการกลึงปาดหน้า หรือป้อนลึก
- แท่นเลื่อนบน (Compound Rest) เป็นส่วนที่ยึดอยู่บนแท่นปรับองศา สามารถเลื่อนไป-มา ด้วยชุดสกรู ใช้ในการกลึงเรียว (Taper) หรือกลึงมุมต่าง ๆ หรือใช้ทำหน้าที่เช่นเดียวกับแท่นเลื่อนขวาง
- ที่ปรับองศา เป็นส่วนที่ยึดอยู่บนแท่นเลื่อนขวางและอยู่ใต้แท่นเลื่อนบนสามารถปรับเป็นองศาต่าง ๆ
.
1.3 ชุดกล่องเฟือง (APRON) ประกอบด้วยเฟืองทด ใช้ในกรณีกลึงอัตโนมัติ ชุดกล่องเฟืองประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ
1.3.1 มือหมุนแท่นเลื่อน (Traversing Hand Wheel) ใช้สำหรับหมุนชุดแท่นเลื่อนให้เคลื่อนที่ในแนวซ้าย – ขวา
1.3.2 แขนโยกป้อนกลึงอัตโนมัติ (Fed Selector) ใช้สำหรับโยกป้อนกลึงอัตโนมัติ
1.3.3 แขนโยกกลึงเกลียว (Lead screw Engagement Lever) ใช้สำหรับโยกกลึงเกลียว
1.3.4 ปุ่มดึงสำหรับกลึงเกลียว (Controls Forward or Reverse) ใช้สำหรับดึงเปลี่ยนชุดเฟืองกลึงเกลียว
1.3.5 ปุ่มดึงสำหรับกลึงปอกผิวอัตโนมัติ (Feed Lever) ใช้สำหรับดึงเปลี่ยนทิศทางการเดินป้อนอัตโนมัติของแท่นเลื่อนขวางหน้าหลัง
.
1.4 ป้อมมีด (Tool Post)
เป็นส่วนที่อยู่บนสุดใช้จับยึดมีดกลึง มีดคว้าน สำหรับกลึงงานป้อมมีดมีหลายชนิด เช่น ชนิดมาตรฐาน (Standard-type Lathe Tool Post) ชนิดสะพาน 4 มีด (Four-way Turret Tool Post) และชนิดสะพานมีดทางเดียว เป็นต้น
.
1.5 ชุดท้ายแท่น (Tail Stock)
เป็นส่วนที่อยู่ด้านขวามือ ท้ายสุดของเครื่องกลึง ใช้สำหรับจับยันศูนย์ (Lathe Center) เพื่อใช้ประคองงานกลึงที่ยาว ๆ ไม่ให้สั้น หรือหัวจับส่วน (Drill Chuck) เพื่อจับดอกสว่าน (Drill) ดอกเจาะยันศูนย์ (Center Drill) เป็นต้น นอกจากนี้ยันศูนย์ท้ายแท่น ยังสามารถเยื้องศูนย์ เพื่อใช้ในการกลึงเรียวที่มีความวิธีหนึ่งยาวมาก ๆ ได้อีกยันศูนย์ท้ายแท่นสามารถเลื่อนไป-มา และล็อกได้ทุกตำแหน่งบนสะพานแท่นเครื่อง
.
1.6 สะพานแท่นเครื่อง (Bed)
เป็นส่วนที่อยู่ล่างสุด ใช้รองรับส่วนต่าง ๆ ของเครื่องกลึง ทำจากเหล็กหล่อ ส่วนบนสุดจะเป็นรายเลื่อน (Bed Way) ที่เป็นรูปตัววี คว่ำและส่วนแบน รางเลื่อนจะผ่านมาชุบผิวแข็งและขุดระดับมากแล้ว จึงสึกหรอยาก ส่วนล่างสุดของสะพานแท่นเครื่องจะเป็นฐานรองและส่วนที่เก็บระบบปั๊มน้ำหล่อเย็น
.
1.7 ระบบป้อน (Feed Mechanism)
เป็นชุดที่มีความสัมพันธ์กับระบบส่งถึงการทำงานของเครื่องกลึง ซึ่งสามารถปรับความเร็วของเพลาหัวเครื่องได้ สามารถปรับอัตราป้อนกลึงตามแนวยาวและแนวขวาง ให้มีความหยาบหรือละเอียด สามารถกลึงอัตโนมัติและยังสามารถกลึงเกลียวได้ทั้งระบบอังกฤษ (หน่วยเป็นนิ้ว) ละระบบเมตริก (หน่วยเป็นมิลลิเมตร) ระบบป้อนประกอบด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ คือ ชุดเฟืองป้อน ชุดเฟืองขับ เพลาป้อน และเพลานำ ดังภาพด้านล่าง ซึ่งแต่ละส่วนนี้จะมีการทำงานที่สัมพันธ์กันตลอดเวลา
.
1.8 การกำหนดขนาดของเครื่องกลึง
ขนาดของเครื่องกลึงจะมีการกำหนดมาตรฐานจากความสามารถของเครื่องกลึงหลายส่วนแต่ที่นิยมบอกขนาดมาตรฐานจะบอกที่ขนาดความสูงของศูนย์เหนือแท่นเครื่อง (Radius or One Half Swing) ขนาดที่นิยมใช้งานกัน คือ 125 มม. 150 มม. 240 มม. ขนาดมาตรฐานเครื่องกลึง มีดังนี้
ตัวอย่าง เครื่องกลึงขนาด 125 มม.
- ความสูงของศูนย์เหนือแท่น (R) ไม่น้อยกว่า 125 มม. หรือมีขนาดความโตงานที่จับได้สูงสุด (A) 150 มม.
- ระยะห่างระหว่างปลายยันศูนย์หัวเครื่องและท้ายเครื่อง (B) ไม่น้อยกว่า 750 มม.
- ความยาวของแท่นเครื่อง (C) เครื่องกลึงบางยี่ห้อไม่ได้ระบุขนาดมา
- รูแกนเพลาที่หัวเครื่องมีขนาดไม่น้อยกว่า 32 มม.
- ขนาดเรียวที่เพลาหัวเครื่องไม่เล็กกว่าเรียวมอร์ส เบอร์ 3
.
1.9 ระบบน้ำหล่อเย็น (Cooling Pump)
จะอยู่ที่ฐานรองของเครื่องกลึง ซึ่งจะประกอบด้วยปั๊ม (Pump) ที่จุ่มอยู่ในถังของน้ำหล่อเย็น และสายยางน้ำหล่อเย็นที่โผล่ขึ้นมา และจับยึดอยู่บนชุดแท่นเลื่อน ซึ่งจะพ่นน้ำหล่อเย็นตรงกับงานตลอดเวลา
…………….
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://machinetoolsintroduction.blogspot.com/p/4.html
หลังจากที่ได้เรียนรู้ส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องกลึงกันไปแล้วนะคะ ในบทความถัดไป ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง จะมานำเสนอเรื่องของ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องกลึง กันค่ะ
อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่
www.pakoengineering.com/blog
www.pakoengineering.com
www.pako.co.th
ช่องทางใหม่ล่าสุด
ให้คุณได้รับข่าวสารสินค้าใหม่และโปรโมชั่นพิเศษก่อนใคร
แอดมาเลย ที่ @pakoeng (อย่าลืมใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะ)