ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ water meter drawing

องค์ประกอบของมิเตอร์น้ำที่จะต้องตรวจสอบหลักๆ ประกอบด้วย

1. วาล์วปิด-เปิด จากมิเตอร์เข้าบ้าน
2. มิเตอร์น้ำ เป็นตัววัดปริมาณการใช้น้ำ ปกติจะมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร
3. วาล์วปิด-เปิด น้ำจากการประปา เข้ามิเตอร์

ตัวเลขที่มิเตอร์น้ำไม่หมุน ในขณะที่มีการใช้น้ำ

  • การใช้ประเภทของมิเตอร์น้ำหรือขนาดของมิเตอร์น้ำที่ไม่เหมาะสมกับปริมาณของน้ำที่ต้องการจะวัดค่า เช่น ปริมาณน้ำที่ใช้ น้อยมาก แต่มิเตอร์มีขนาดใหญ่
  • มิเตอร์น้ำประเภทที่มีความละเอียดในการวัดค่าไม่มากพอที่จะสามารถตรวจจับปริมาณการใช้น้ำได้
  • กระแสน้ำที่ไหลผ่านมาตรวัดน้ำมีแรงดันสูงมาก จนทำให้มาตรวัดน้ำเสียหายได้
  • สิ่งสกปรกที่ปะปนอยู่ในน้ำประปาพัดเข้าไปในมิเตอร์น้ำและไปเกาะที่ใบพัดของมิเตอร์น้ำ ทำให้ใบพัดไม่สามารถหมุนได้ส่งผลให้มิเตอร์น้ำชำรุด

พบว่ามีน้ำรั่วซึม ออกมาจากมิเตอร์น้ำ

ถ้าพบว่าน่าจะมีน้ำรั่วซึมออกมาจากมิเตอร์น้ำ, หน้าปัดมิเตอร์น้ำร้าว หรือมีน้ำเข้าไปในหน้าปัด อาจเป็นไปได้ว่ามีการเกิดแรงกระแทกของกระแสน้ำทำให้มาตรวัดน้ำเกิดความเสียหาย

สัญญาณความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับมิเตอร์น้ำ

ตัวเลขที่มิเตอร์น้ำหมุนถอยหลัง

อาจเป็นไปได้ว่าได้ติดตั้งมาตรวัดน้ำผิดด้าน ให้สังเกตุลูกศรที่มาตรวัดน้ำว่าชี้ไปทิศทางใด และติดตั้งให้มาตรวัดน้ำอยู่ตรงกับทิศทางการไหลของน้ำ

ตัวเลขที่มิเตอร์น้ำเพิ่ม ในขณะที่ไม่มีการใช้น้ำ

เมื่อพบเหตุการณ์ดังกล่าว ให้อ่านค่าที่มิเตอร์น้ำ หลังจากนั้นให้ปิดก็อกทุกจุดของบ้าน รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆที่มีการใช้น้ำ ตรวจสอบว่ามีการลืมปิดสายยาง ก็อก หรือมีจุดใดที่ยังมีการใช้น้ำหรือไม่ และให้หยุดการใช้น้ำในทุกจุดของบ้านสักประมาณ 1 ชั่วโมง และมาอ่านค่าที่มิเตอร์น้ำอีกครั้ง ถ้าตัวเลขบนหน้าปัดมิเตอร์น้ำยังหมุนอยู่แสดงว่ามีจุดที่น้ำรั่วไหล สามารถสอบถามช่างประปาเพื่อมาตรวจสอบว่ามีจุดรั่วที่ใดหรือไม่

ในกรณีที่เป็นมิเตอร์ตามที่อยู่อาศัยควรแจ้งเจ้าหน้าที่การประปาให้ทราบถึงปัญหา ไม่ควรดำเนินการซ่อม แก้ไข หรือทำการดัดแปลงใดใด เนื่องจากมิเตอร์น้ำถือว่าเป็นทรัพย์สินของการประปา และการแจ้งเจ้าหน้าที่ให้เข้ามาดูแลยังแสดงถึงความบริสุทธ์ใจในการแจ้งปัญหาต่อหน่วยงานที่ควบคุม ไม่ได้มีความมุ่งหวังจะทำการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้น้ำแต่อย่างใด เมื่อพบว่าได้มีการซ่อมแซม ดัดแปลง หรือแก้ไขมิเตอร์น้ำโดยพละการ เจ้าของบ้านยังจำเป็นต้องเสียค่าปรับให้การประปาอีกด้วย ทั้งนี้ถ้าเป็นกรณีที่เป็นคอนโด อาคารที่พักอาศัยที่มีนิติบุคคลให้การดูแล ควรมีการแจ้งให้นิติบุคคลทราบถึงความผิดปกติและดำเนินการแก้ไขต่อไป

สามารถดูสินค้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  www.pakoengineering.com

โทร : 09-4690-4630, 02-041-5092
อีเมล : Sales@blog.pako.co.th

facebook : PAKO ENGINEERING

Line : pakoeng

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://bit.ly/2urkkzC

https://bit.ly/2KQXcFH

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *