ทำความรู้จักกับ การเกิดโพรงอากาศ (Cavitation) กันดีกว่า
เมื่อของเหลวไหลผ่านวาล์วที่ปิดลงบางส่วนทำให้ความดันจลน์เพิ่มขึ้นและความดันสถิตของของเหลวลดลงซึ่งอาจลดลงถึงความดันไอของของเหลวทำให้ของเหลวในย่านความดันต่ำเริ่มกลายเป็นฟองไอและรวมตัวกันกลายเป็นโพรงไอ เมื่อของเหลวและโพรงไอเลื่อนตัวออกห่างจากวาล์วความดันจลน์เริ่มลดลงความดันสถิตเพิ่มมากขึ้นทำให้โพรงไอดังกล่าวยุบตัวลงอย่างรวดเร็ว จากปรากฏการดังกล่าวทำให้เกิดการกระแทกกันของอนุภาคของเหลวบริเวณที่โพรงไอยุบตัวทำให้แรงดับบริเวณดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นในช่วงสั้น ๆ ถ้าแรงดันดังกล่าวเกิดใกล้กับผนังท่อหรือวาล์วจะทำให้เกิดการสึกหรอได้ ปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดในระบบท่อคอนเดนเซทเนื่องจากน้ำมีอุณหภูมิสูงความดันไอของของเหลวจะเพิ่มขึ้นทำให้เกิดฟองไอได้ง่าย
Cavitation หรือปรากฏการณ์การเกิดโพรงไอ หรือโพรงอากาศ เป็นปรากฏการณ์ในการเปลี่ยนสถานะของน้ำจากของเหลวเป็นไอและมีปริมาตรเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายตัวและยุบตัวลงในภายหลังเนื่องมาจากเมื่อน้ำไหลผ่านส่วนต่างๆของปั้มนั้น น้ำจะเปลี่ยนแปลงความเร็วในการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาอันเนื่องมาจากพื้นที่หน้าตัดที่เปลี่ยนแปลงหรือรูปร่างลักษณะของปั้มและสถานการณ์อื่น ๆ ที่ส่งผลให้แรงดันของน้ำเพิ่มขึ้นและลดลงอยู่ตลอดเวลา
การเกิด Cavitation นั้นเกิดจากการที่มีฟองอากาศเกิดขึ้นในปั๊ม(Pump) ขณะปั๊มทำงาน โดยผลของการเกิด Cavitation นั้นจะทำให้ชิ้้นส่วนของปั๊ม เกิดความเสียหาย เช่นการเกิด Cavitation Pitting หรือการเกิด Dry Running ทำให้ Shaft Seal เกิดการรั่ว
การเกิด Cavitation นั้นเกิดมาจากหลายสาเหตุ
- NPSH(A) < NPSH(R)
- การใช้งานปั๊มใกล้กับอุณหภูมิจุดเดือดของของเหลว
- การเลือกปั๊มไม่เหมาะสมเช่น ปั๊มทำ flow ได้สูงเกินไป
- การใช้งานขณะที่ด้าน suction มีการทำ vacuum
กลไกสำคัญในการเกิด Cavition คือการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงความดัน เมื่อความดันลดลงจะทำให้จุดเดือดของของเหลวลดลง ทำให้ของเหลวเกิดการเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอ แล้วเข้าไปสะสมในห้องปั๊ม ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นกับปั๊ม ปรากฎการณ์นี้เรียกว่า การเกิด Cavitation
การแก้ไขสามารถทำได้โดยการอัดอากาศเข้าที่ส่วนหลังของวาล์วเพื่อลดการรวมตัวของฟองไอแต่วิธีดังกล่าวอาจก่อให้เกิดปัญหาค้อนน้ำและการอ่านค่าผิดพลาดในอุปกรณ์ควบคุมของระบบได้ นอกจากวิธีอัดอากาศยังสามารถแก้ไขด้วยการเพิ่มขนาดท่อด้านหลังวาล์วอย่างทันทีดันใดเพื่อป้องกันโพรงไอยุบตัวใกล้กับผนังท่อโดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 เท่า และ ความยาวประมาณ 8 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางท่อปกติ
ปาโก้ หวังว่าทุกท่านจะได้รับความรู้ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ขอบคุณครับ
สามารถดูสินค้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
www.pakoengineering.com
PAKO ENGINEERING
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://1th.me/sHVb
https://1th.me/W92y