ปราชญ์ – คือผู้มาความรุ้ที่สามารถสร้างให้เกิดสิ่งที่น่าอัศจรรย์ได้ แม้แต่ในวรรณคดี หรือหนังสงครามชื่อดังก็ยังต้องมีตัวละครที่คอยวางแผนการเพื่อให้งานต่างๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
และต่อไปนี้ แอดก็ขอนำเสนออีกหนึ่งความคิดที่เป็นการแบ่งระดับของนักปราชญ์ ที่มีตั้งแต่
1. ปราชญ์นักท่องตำราและคัมภีร์ มาสอน บรรยาย ให้คนอื่นได้ฟัง
2. ปราชญ์ระดับนักเขียน ทั้งกวี และเขียนคัมภีร์ให้แนวคิดคนทั่วไปได้ได้ แต่ไม่สามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงของตนเองได้โดยตรง ต้องอาจมีคนนำไปปรับใช้ จึงจะเกิดผลในทางปฏิบัติ
3. ปราชญ์ระดับการพัฒนาชีวิตตนเองและครอบครัว ที่สามารถนำความรู้ที่ตนคิดขึ้นมาใช้ในชีวิตจริงของตนเองได้โดยตรง และอาจมีคนนำไปปรับใช้ จึงจะเกิดผลในทางปฏิบัติในพื้นที่ต่างๆ
4. ปราชญ์ระดับช่วยพัฒนาชุมชน ที่สามารถนำความรู้ที่ตนคิดขึ้นมาใช้ในชีวิตจริงของตนเอง และยังช่วยพัฒนาชุมชน ได้โดยตรง แต่ก็ได้เฉพาะพื้นที่ที่ตนคุ้นเคย
5. ปราชญ์ระดับพัฒนาองค์กร ที่สามารถนำความรู้ที่ตนคิดขึ้นมาใช้ในชีวิตจริงของตนเอง และยังช่วยพัฒนาบริหารจัดการองค์กร ได้โดยตรง แต่ก็ได้เฉพาะในองค์กรที่ตนสังกัดและคุ้นเคย
6. ปราชญ์ระดับกู้แผ่นดิน ที่สามารถนำความรู้ที่ตนคิดขึ้นมาใช้ในชีวิตจริงของตนเอง และยังช่วยพัฒนาบริหารจัดการประเทศชาติ ได้ในทุกระดับ
ในประเทศไทยเราก็มีกันหลายระดับ ที่ทำให้ประเทศไทยยังคงพัฒนามาได้ระดับหนึ่ง แม้อาจจะเตาะแตะในบางมุมก็ตาม
ดังนั้นความเข้าใจในด้านนี้ อาจจะทำให้เราทำงานสนับสนุนการพัฒนาภูมิปัญญาของเครือข่ายปราชญ์ได้ดีว่าเดิมและทำให้ทราบ ว่าเราควรจะเน้นสนับสนุนในระดับใด มาน้อยเพียงใด และไม่ควรมองว่าทุกปราชญ์ต้องเหมือนกัน หรือเท่าเทียมกันที่ เราจะต้องมีทั้ง ประเภท ระดับ จำนวน อย่างสอดคล้องกับความจำเป็นของประเทศชาติและสังคมในระดับต่างๆ และสนับสนุนให้ท่านได้ทำงาน ตามระดับที่ท่านถนัด ใช้ได้อย่างสมเหตุสมผล ไม่สับสนในการพัฒนา การใช้งาน และ การสนับสนุนการพัฒนาและการทำงานของปราชญ์แต่ละท่าน แต่ละระดับและต้องหลีกเลี่ยง
“ การนำนางงามจักรวาลมาเป็นคนใช้ ” อย่างที่ครูบาสุทธินันท์บ่นให้ฟังเป็นประจำ
หรือ “การยกย่องจนเกินความจริง” ทำให้เราใช้คนไม่ถูกกับงานได้ครับ…..
ที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/138299
I like this web site it’s a master piece! Glad I noticed this ohttps://69v.topn google.Raise range