ประแจปอนด์ Torque Wrench คือ ประแจที่สามารถตั้งค่าแรงบิด Torque ได้ มันจะล็อคค่าแรงบิด เมื่อถึงแรงบิดถึงค่าที่ต้องการ ( เวลาที่เราตั้งแรงบิด Torque ไว้ เมื่อบิดประแจจนได้แรงตึงมือที่ต้องการ มันจะรูดดังแกร็กๆ
ประแจปอนด์ Torque Wrench
การเลือกใช้ ประแจปอนด์ ต้องทราบ
- ขนาด หัวน็อตใหญ่สุด ที่จะขัน มี่ ตั้งแต่ 1/4″ 3/8″ 1/2″ 3/4″ 1″ ( มี ชุดAdapter-ลูกบ็อกซ์ รวมอยู่ในชุด )
- ระบบมาตราที่จะใช้วัด เป็น ระบบสากล Metric ( Nm ) หรือ ระบบเครือจักรภพ Imperial ( Ft-Lbs )
- ช่วงแรงบิดหัวน็อต ที่ใช้ 5 – 980 Nm หรือ 15 – 700 Ft-lbs ฯลฯ
งานที่ใช้ประแจปอนด์
- แรงบิดน้อย ด้ามโยกก็สั้นกว่า ค่าแรงบิด ( Bolt torque ) ช่วง ประมาณ 271 Nm (หรือ ประมาณ 200 lb-ft)ใช้ประแจตัวเล็กกว่า
- แรงบิดยิ่งสูงมาก ด้ามโยกก็ยิ่งยากมากค่าแรงบิด ( Bolt torque ) ช่วง ประมาณ 406 Nm (หรือ ประมาณ 300 lb-ft) ถึง 440 Nm (หรือ ประมาณ325 lb-ft) ใช้ประแจตัวใหญ่กว่า
- หน้าแปลนยิ่งตัวใหญ่ ก็ใช้แรงบิดหัวน็อตสูงมากขึ้น ตามขนาดหน้าแปลน
- ถ้าแรงบิดหัวน็อตยึดน้อยเกินไป หน้าแปลนก็จะสลิปเลื่อนเคลือนไหวได้ จะเกิดแรงเฉือน Shear Stress ให้สลักยึดขาดได้
- ถ้าแรงบิดหัวน็อตยึดมากเกินไป จะเกิดความเค้น จาก แรงดึง Tensile Stress ดึงให้สลักยึดขาดได้
คู่มือการขันน็อต
การตั้งแรงบิดประแจปอนด์ ( Torque wrench ) สำหรับวัดค่าแรงบิดหัวน็อตเหล็กเหนียว เกรด SS41
แรงบิดหัวน็อต สำหรับ เหล็กงานกลึง ( Steel grade SS41) ตามมาตราฐาน ASTM A 193 B7/A194 2H
จะตั้งค่าแรงบิด ดังนี้
1) การขันหัวน็อตเข้าชิ้นงาน บริเวณ ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือ อยู่นิ่งกับที่ตลอดเวลา (Static Environment)
- ตั้งค่าแรงบิด ( Bolt torque ) = 271 Nm (หรือ ประมาณ 200 lb-ft)
2) การขันหัวน็อตเข้าชิ้นงาน บริเวณ ที่มีการเคลื่อนไหว หรือ สั่นสะเทือนตลอดเวลา (Dynamic Environment)
- ตั้งค่าแรงบิด ( Bolt torque ) = 406 Nm (หรือ ประมาณ 300 lb-ft) ถึง 440 Nm (หรือ ประมาณ325 lb-ft)
* ต้องขันให้แน่นกว่าในสภาวะ(1) ที่อยู่นิ่ง เพราะแรงสั่นสะเทือนในสภาวะ(2) จะทำให้น็อตคลายตัว หลวมเองได้ในภายหลัง
หมายเหตุ : ด้ามบิดประแจปอนด์ มาตรฐานปกติ ยาว 0.53 M หรือ 1.74 Ft
ใช้ฟองน้ำ ชุบ น้ำสบู่ หรือ น้ำแฟ็บ ลูบให้ทั่วตามหน้าแปลนท่อก็าซ ดูว่ารั่วตรงไหน?
- ใช้ ก้อนดินน้ำมัน Epoxy Putty A/B อัดเข้าไปตามร่องเกลียว และ ร่องประกบของหน้าแปลน
- ใช้ ปืนยิงซีลกาว แบบ Cold Work ตัวใหญ่ๆ เช่น Urethene Gun ยิงอัดฉีดพลาสติกเหลวเข้าไปตามร่องเกลียว และ ร่องประกบของหน้าแปลน
- ใช้ แผ่นเทปซิงค์ฟอยล์ หรือ เทปพลาสติกเหนียวๆหนาๆ หรือ FRP Lamination พันหุ้มทับชั้นนอก อีกชั้นหนึ่ง
- ทำซ้ำ โดยใช้ฟองน้ำ ชุบ น่ำสบุ่ หรือ น้ำแฟ็บ ลูบให้ทั่ว ดูว่ายังรั่วอยู่หรือเปล่า
- ถ้าท่อก็าซแรงดันสูง คงต้อง By pass แก็ส ก่อนทำการอุดรอยรั่ว
ตัวอย่างการใช้งาน เช่น โรงงาน โรงกลั่น โรงแยกก็าซ และ งานต่อโป๊ะวางท่อแก็สในทะเล Submarine Pipe Lay Barge ที่อู่ต่อเรือ เป็นต้น
สามารถดูสินค้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pakoengineering.com
โทร : 09-4690-4630, 02-041-5092
อีเมล : Sales@blog.pako.co.th
facebook : PAKO ENGINEERING
Line : pakoeng
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://goo.gl/wSeLat