ไดอะแฟรมซีล (diaphragm seal) เป็นเคมีคอลซีล (chemical seal) รูปแบบหนึ่ง ทำหน้าที่แยกของไหลในระบบออกจากเครื่องมือวัดความดัน โดยของไหลในระบบส่งผ่านความดัน (pressure) ให้กับแผ่นไดอะแฟรม (diaphragm plate) ทำให้เกิดการโก่งตัวและส่งผ่านพลังงานต่อให้ของเหลวที่บรรจุอยู่ในท่อแคพพิลลารีเหนือแผ่นไดอะแฟรมเพื่อส่งต่อความดันให้กับเครื่องมือวัด
ไดอะแฟรมซีลเหมาะสำหรับการวัดความดัน (pressure measurement) ของไหลในระบบที่มีสารแขวนลอยปะปนโดยที่ของไหลไม่ต้องสัมผัสกับเครื่องมือวัด จึงไม่เกิดปัญหาการอุดตัน ของเหลวที่นิยมใช้เติมในท่อแคพิลลารีส่วนใหญ่ คือ น้ำมันซิลิโคนซึ่งมีเสถียรภาพดีในย่านอุณหภูมิสูงถึง 200°C
การเลือกใช้วัสดุของซีล/ไดอะแฟรม และตัวเรือนเพื่อให้สามารถใช้งานวาล์วได้เหมาะสมกับงาน มีดังนี้
1. ซีลประเภทต่างๆ
- EPDM (ethylene-propylene)
เหมาะสำหรับงานอุณภูมิช่วง -20 องศา ถึง 180 องศา ช่วงอุณหภูมิที่ใช้ได้จะสูงกว่าช่วงของ NBR ทนต่อการเสื่อมสภาพจากความร้อน สตรีม โอโซน ออกซิเจน มีความยืดหยุ่นสูง แต่ทนต่อแรงดึงต่ำ ทนต่อการฉีกขาดสูงโดยเฉพาะช่วงอุณหภูมิสูง compression set ต่ำมาก ทนต่อการล้าตัวสูง และสามารถทนสารเคมีได้ดีอีกด้วย แต่ไม่ทนต่อน้ำ
- FFPM (perfluoroelastomer)
เป็นวัสดุที่ใช้กับซีล ทนต่อสารเคมี งานอุณหภูมิสูง โดยเฉพาะงานเกี่ยวกับ อาหารและยา (pharmaceutical applications)
- FPM (fluoroelastomer)
เหมาะกับงานช่วงอุณหภูมิสูง สามารถใช้ได้ดีกับสารจำพวกน้ำมัน เช่น petroleum oils, gasoline, dry-cleaning fluids jet fluids เป็นต้น ไม่เหมาะกับ halogenated hydrocarbons ช่วงอุณหภูมิการใช้งานอยู่ที่ -40 องศา ถึง 190 องศา
- NBR (nitrile)
เป็นยางชนิดพื้นฐานที่ใช้ได้กับงานทั่วไป เช่น petroleum oils อากาศ น้ำ กรดอ่อนๆ petroleum gases light oil เป็นต้น คุณสมบัติทั่วไปคือ มีความยืดหยุ่นสูง ทนต่อแรงดึง ทนต่อการเสื่อมสภาพ และน้ำมัน ช่วงอุณหภูมิการใช้งานอยู่ที่ -20 องศา ถึง 90 องศา
- PTFE
มีคุณสมบัติทนอุณหภูมิสูงได้ดี และทนการกัดก่อนของสารเคมีได้ดีอีกด้วย ช่วงอุณหภูมิที่สามารถใช้งานได้ดีจะอยู่ที่ -270 องศา ถึง 250 องศา
2. ตัวเรือน Body โดยทั่วไปจะใช้งานกัน 2 แบบ ได้แก่
Plastics
- PA (polyamide) body
เป็นวัสดุพื้นฐานในการใช้งาน สามารถทนความร้อน และสารเคมีได้
- PC (polycarbonate)body
เหมาะกับงานน้ำ น้ำเค็ม (water application, salt solutions, polar solvents) ไม่เหมาะกับ non-polar solvents มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน
- PE (polyethylene)body
เหมาะกับงานอุณหภูมิสูง มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดี ทนการกัดกร่อนของสารเคมีได้ในระดับหนึ่ง
- PP (polypropylene)body
มีคุณสมบัติทนต่ออุณหภูมิ และ กัดกร่อนในระดับหนึ่ง (เช่น inorganic salts, mineral acid gases เป็นต้น) เหมาะกับงาน steam sterilization
Metals
- Al (aluminum)
สามารถใช้งานกับ น้ำมัน และ ก๊าซเชื้อเพลิง (gasoline applications) ได้ดี
- bronze
ใช้ประกอบเป็นตัวเรือนของวาล์ว
- Brass
ใช้ประกอบเป็นตัวเรือนของวาล์ว
- Stainless steel AISI 304
ใช้ประกอบเป็นตัวเรือน ใช้ทำสปริง หรือ โครงสร้างภายใน
- Stainless steel AISI 316L
ใช้ประกอบเป็นตัวเรือน ใช้ทำสปริง หรือ โครงสร้างภายใน มีความทนทานมากกว่า AISI 304
…………………………………………………………….
สามารถดูสินค้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pakoengineering.com
โทร : 09-4690-4630, 02-041-5092
อีเมล : Sales@blog.pako.co.th
facebook : PAKO ENGINEERING
Line : pakoeng / @pakoeng(อย่าลืมใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะ)
ขอบคุณข้อมูลจาก
การวัดและเครื่องมือวัด ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร (นวภัทรา และ ทวีพล , 2555)
https://goo.gl/7UTJwk