ถังบำบัดน้ำเสีย แซทส์ คือ ถังบำบัดน้ำเสีย หรือ ถังส้วมที่มีระบบบำบัดน้ำปฏิกูลให้กลายเป็นน้ำดีก่อนระบายลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ โดยไม่ต้องให้น้ำซึมลงสู่ใต้ดิน อย่างบ่อเกรอะบ่อซึม จึงช่วยแก้ปัญหาอาคารที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ดินซึมน้ำได้ไม่ดี ไม่ให้ส้วมอุดตันหรือบ่อส้วมทะลักเกิดน้ำเน่าส่งกลิ่นเหม็นอันจะทำลายสภาพแวดล้อม

บ่อเกรอะ หรือ ถังเกรอะ และบ่อซึม ( Septic tank )

 

คือบ่อเปล่าๆ ที่เอามีไว้เพื่อให้มีการตกตะกอนจาก น้ำเสียจากชักโครก ซึ่งจะมีตะกอน ส่วนที่ลอยจะถูกดักไว้โดยท่อตัวที หรือที่กั้นเพื่อให้น้ำเสียที่ตกตะกอนปนออกไปจากบ่อ

 

 

 

 

ลักษณะการทำงาน

  • ใช้วิธีตกตะกอนในธรรมชาติในการบำบัด
  • มีจุลชีพในการบำบัด
  • ประสิทธิภาพในการบำบัด 30-60%
  • น้ำใสปนก้อนละลายไหลไปสู่ถังถัดไป ( ปล่อยให้ไหลไป ) หากไม่ไหลก็ไม่ไป หากตะกอนเต็มก็ไม่ไป
  • ต้องสูบตะกอน หรือ สูบส้วมปีละครั้ง
  • ไม่ใช้ไฟฟ้า
  • ไม่ต้องดูแลอะไรมาก

บ่อซึม

คือบ่อที่ต่อจากบ่อเกรอะ มีไว้เพื่อระบายน้ำสู่ดิน ที่อยู่บริเวณนั้น ซึ่งหากน้ำท่วม มีแรงดันน้ำ หรือ ดินเหนียว ดินแข็ง ทำให้ซึมยาก หรือ ไม่ซึมเลยนั้น น้ำเสียก็มีโอกาสในการ ย้อนกลับไปถังบ่อเกรอะได้

ถังดักไขมัน 

ทำหน้าที่ดักไขมันก่อนถังบำบัดอื่นๆ หากน้ำเสียนั้นมีไขมันที่ ” ลอย” อยู่บนผิวน้ำ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ถังดักไขมัน 

 

ถังแซท แบบไม่ใช้อากาศ หรือ ถังบำบัดแบบไร้อากาศ (Anaerobic tank )

คือ Concept ถังเหมือน Septic tank คือมีการตกตะกอนก้อนในช่องแรก  และได้เพิ่มช่อง และพื้นที่สัมผัสในส่วนเกรอะให้จุลชีพมีที่อยู่มากขึ้นคือให้จุลชีพเกาะตัวได้ดี เกิดการบำบัดได้ดีกว่าถังเปล่า

  • ใช้วิธีตกตะกอนในธรรมชาติในการบำบัด
  • มีจุลชีพในการบำบัดใช้ได้
  • ประสิทธิภาพในการบำบัด 60 – 80 %
  • มีการดักตะกอนก้อนลอย ทำให้แยกชั้นน้ำเสียได้ดีกว่าบ่อเกรอะ
  • ต้องสูบตะกอน 3 – 5 ปีครั้ง หรือ ไม่ต้องเลย
  • ไม่ใช้ไฟฟ้า
  • ไม่ต้องดูแลอะไรมาก
  • อัตราการไหลของน้ำ ( ปริมาณน้ำเสีย ) ตั้งแต่ 600 ลิตร ถีง 4000 ลิตร / วัน

ดังนั้นหาก BOD เข้าไม่เกิน 100 mg/l หล่ะก็ BOD ออกจะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน( < 20 mg/l )
จึงเหมาะกับน้ำเสียที่มีน้ำเสียไม่สกปรกมากๆ BOD < 100

  • บ้าน
  • อพาร์มเมนต์
  • โรงแรม
  • รีสอร์ท
  • ร้านค้า
  • อาคารพาณิชย์ เป็นต้น

ถัง แซท แบบใช้อากาศ หรือ ถังบำบัดแบบใช้อากาศ ( Sewage treatment plant : STP)

    • ใช้วิธีตกตะกอนในธรรมชาติในการบำบัด
    • มีจุลชีพในการบำบัดแบบดีเยี่ยม ( มีทั้งแบบไร้อากาศ ใช้อากาศ )
    • ประสิทธิภาพในการบำบัด  90-95 %
    • มีการดักตะกอนก้อนลอย ทำให้แยกชั้นน้ำเสียได้ดีกว่าบ่อเกรอะ
    • ไม่ต้องสูบตะกอน ไม่ต้องเลย
    • ใช้ไฟฟ้า ( เสียตังค์ )
    • แพงกว่าแบบอื่น
    • อัตราการไหล ( ปริมาณน้ำเสีย ) 1000 – 100,000 ลิตร / วันScreen Shot 2018-01-07 at 10.18.00 PM

 

ถังบำบัดแบบใช้อากาศ จึงเหมาะกับน้ำเสียที่มีน้ำเสียที่สกปรกกลางๆ ไปจนถึงมาก

  • โครงการ ที่ต้อง approve EIA
  • โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
  • โรงแรมขนาดกลาง ถีง ใหญ่
  • อพารต์เมนต์ขนาดกลาง ถึง ใหญ่
  • บ้านจัดสรร
  • ที่ล้างรถ
  • ร้านอาหาร
  • ร้านซักผ้า
  • โรงพยาบาล
  • ตลาดสด เป็นต้น

 

 

โดยทั่วไปผู้ผลิตถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป มักจะระบุขนาดที่เหมาะสมไว้ในรายละเอียดผลิตภัณฑ์ หรือหากต้องการคำนวณเองสามารถทำได้ โดยนำ “จำนวนผู้อาศัย” คูณกับ “ปริมาณน้ำเสีย” (คิดเป็น ร้อยละ 80 ของปริมาณน้ำใช้ต่อวัน) จากนั้นคูณเข้ากับ “เวลาที่ใช้ในการบำบัด” (ประมาณ 1.5 วัน) ได้ตามสูตรดังนี้

ขนาดถังบำบัดน้ำเสีย (ลิตร)  =   จำนวนผู้อยู่อาศัย  x 0.8 x ปริมาณน้ำใช้ต่อคนต่อวัน (ลิตร) x1.5 

ยกตัวอย่างเช่น ในเขตนครหลวง ใช้น้ำเฉลี่ยต่อคน วันละ 200 ลิตร ถ้ามีคนอาศัยในบ้าน 5 คน ควรเลือกถังบำบัดน้ำเสีย ขนาด (5×0.8x200x1.5) = 1,200 ลิตร เป็นต้น


สามารถดูสินค้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  www.pakoengineering.com

โทร : 09-4690-4630, 02-041-5092
อีเมล : Sales@blog.pako.co.th

facebook : PAKO ENGINEERING

Line : pakoeng

ขอบคุณข้อมูลจาก

ไทยถาวรรุ่งโรจน์

https://goo.gl/wiwPsq
https://goo.gl/42wfsS

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *