สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคน วันนี้ทางปาโก้ มีข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Flowmeter มาฝากกันครับ โดยปกติแล้ว เมื่อเราพูดถึงเครื่องมือวัดเพื่อให้ทราบถึงน้ำหนัก หลายๆคนคงนึกถึง Load cell เพราะว่าเป็นเครื่องมือวัดที่ให้ความแม่นยำมากที่สุดในการชั่ง เพื่อดูปริมาตร แต่หลายครั้งจะมีปัญหาเรื่องของการติดตั้ง ไม่ว่าจะเป็นขนาดภาชนะบรรจุที่ใหญ่มาก หรือเรื่องของพื้นที่ที่จำกัด แม้กระทั่งเรื่องของกระบวนการ การทำงาน ที่ไม่สามารถทำได้ เครื่องมือวัดเลยมีการออกแบบมาหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับงานที่ต่างกันออกไป เช่นพวก Level Sensor (Ultrasonic Radar Hydrostatic) สามารถติดได้ทั้งด้านบน-ล่างของภาชนะบรรจุ แต่หลายครั้งที่ไม่สามารถเจาะภาชนะบรรจุนั้นๆได้ จึงมีเครื่องมือวัดอีกรูปแบบหนึ่ง คือ Flowmeter ที่หลีกเลี่ยงกับการติดตั้งจากภาชนะบรรจุแต่เป็นการติดตั้งกับท่อ

Flowmeter มีหลายรูปแบบมากครับ ซึ่งแต่ละวิธีก็มีหลักการที่ค่อนข้างแตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่ Flowmeter จะเป็นการหาความเร็วแล้วคำนวณออกมาเป็นอัตราการไหล (Q=AV) เช่น วิธีที่ใช้หลักการ Magnetic Flow เป้นวิธีแบบใช้ค่าความต่างของแรงดัน Orifice Flow วิธีแบบเทอร์ไบน์ แต่จะมีแบบ (Gear Flow, Oval Flow) ทีสามารถวัดปริมาตรได้โดยตรงถึง Positive Displacement

Flowmeter ที่วันนี้เราจะมาแนะนำจะพูกถึงหลักการและการนำไปใช้งานเบื้องต้น จริงๆแล้วหน้าที่หลักของ Flowmeter จะเอามาใช้เพื่อควบคุมปริมาณ เมื่อต่อเข้ากับชุด Control และ Valve แล้วก็จะควบคุมการไหล เมื่อนำมาต่อร่วมกับ Control,Valve และ Inverter จะทำการปรับอัตราไหลโดยการควบคุมของปั้ม

หลักการนำ Flowmeter เข้าไปใช้ในงานอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เช่น Magnetic Flow จะเอาไปใช้เพื่อควบคุมอัตราการไหลของกากน้ำตาล ในส่วน Mixing Gear Flow จะเอาไปใช้ควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันพืช หรือถ้าเป็นพวกอุตสาหกรรมยาจะใช้ Turbine Flow จะเอาไว้ควบคุมปริมาณน้ำในการเตรียมการผสมยา วันนี้ทางปาโก้จะมาพูดถึง Flowmeter ที่ใช้กันอยู่เยอะ 3 ชนิดนะครับ งั้นไม่รอช้าไปดูกันเลยครับ

 

1. Turbine Flow

คุณสมบัติเด่น

ตัวนี้จะสามารถใช้วัดได้ทั้งน้ำ และน้ำมัน ส่วนวัสดุจะทำจาก STAINLESS ENCLOSURE สัญญาณ OUTPUT PULSE AND ANALOG มีใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และเภสัชกรรม(ยา) โดยนี้จะต้องใช้กับงานสะอาดเท่านั้นครับ

หลักการทำงาน

โดยโครงสร้างของตัวเทอร์ไบน์มิเตอร์ จะมีใบพัดที่ทำมุมเฉียงกับทิศทางการไหล ขณะที่ Fluid ไหลผ่านจะทำให้ใบพัดหมุนไปตามอัตราการไหลที่ตัว Housing มี Pick off Coil เป็นตัวรับรู้ความเร็วรอบของตัวเทอร์ไบน์

 

2. Magnetic flow

คุณสมบัติเด่น

ตัวนี้จะใช้วัดน้ำดี น้ำเสีย ของเหลว สารเคมี อื่นๆที่ต้องการ Accuracy ไม่เกิน 1% มี OUTPUT PULSE AND ANALOG อีกทั้งมี port RS232 สำหรับการ setup parameter and control มีใช้ในเกือบทุกอุตสาหกรรม

ข้อดีของตัวนี้คือ

  1. พวกนี้จะตอบสนองเฉพาะกับความเร็วของของเหลวความหนืดความหนาแน่นอิสระและความดันแบบคงที่
  2. ความสูง 10: 1
  3. การวัดการไหลแบบทิศทางเดียว
  4. อุณหภูมิของของเหลว -40 องศาเซลเซียสถึง +60 องศาเซลเซียส
  5. Drop แรงดันไม่สำคัญ
  6. หลากหลายขนาด

หลักการทำงาน

Magnetic flow ใช้กฎของฟาราเดย์ เมื่อของเหลวที่เป็นตัวนำไฟฟ้าไหลผ่านสนามแม่เหล็ก จะเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าขึ้นในแนวตั้งฉากกับทิศทางการไหลของสนามแม่เหล็ก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Magnetic flowผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Magnetic flow

 

 

 

 

 

 

3. GEAR FLOW

คุณสมบัติเด่น

FLOWMETER ที่วัดน้ำมันเบนซิล น้ำมันพืช ของเหลวชนิดอื่นๆ ไม่สนใจระยะห่างในการติดตั้ง OUTPUT PULSE มีรุ่น HI-TEMP 200˚CAccuracy 1% มีทั้งรุ่นทำจาก stainless and aluminium ให้เลือก มีใช้มากในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์

หลักการการทำงาน

เมื่อของเหลวไหลผ่านจะทำให้ฟันเฟืองเคลื่อนที่โดยภายในฟันเฟืองจะมีแม่เหล็กฝังอยู่ซึ่งจะมี sensor รับสัญญาณจากชุดเกียร์ จึงทำให้เราเอาสัญญาณที่ได้ไปใช้งาน

 

จริงๆแล้วยังมี Flow อีกตัวหนึ่งที่อยากจะแนะนำก็คือ Rotameter, Constant 

 

คือ Variable area flow meter โดยตัวนี้จะเป็นมิเตอร์ที่ใช้ในการวัดอัตราการไหลที่ใช้ลักษณะของการวัดอัตราการไหลของปริมาตร (volumetric flow rate) โดยตัวนี้จะมีข้อดีคือสามารถรักษาค่าแรงดันตกคร่อมในตัวเครื่องมือวัดที่คงที่ ลดการสูญเสียแรงดันในระบบ และยังมีความเที่ยงตรงสูงในกรณีที่วัดค่า Flow Rate ต่ำๆ โดยตัว โรตามิเตอร์ Rotameter จะอาศัยการอ่านค่าการไหลผ่านสเกลบนตัวท่อใส่ ซึ่งมีลักษณะเรียว (Tapper Pipe) โดยจะมีของไหล หลเข้าจากด้านล่างของโรตามิเตอร์ และไหลออกที่ด้านบนของโรตามิเตอร์ ในขณะที่ของไหลไหลผ่าน


โรตามิเตอร์นั้น ความเร็วของของไหล Velocity Head จะทำให้ลูกลอย ลอยขึ้นและอยู่กับที่เมื่อเกิดความสมดุลระหว่างน้ำหนักของลูกลอยกับความเร็วของของไหล ซึ่งเราสามารถอ่านค่าการไหลนะจุดที่ลูกลอยหยุดอยู่ได้ ซึ่งเครื่องมือวัดอัตราการไหลแบบ Rotameter จะเหมาะสำหรับการใช้งานวัดอัตราการไหล ตั้งแต่ 0.0002 – 4000 l/min

ในส่วนของ Flow นั้นมีหลากหลายชนิดมากๆแต่ละชนิดก็ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป ส่วนวันนี้ที่ทางปาโก้นำมาแนะนเพื่อนๆก็เป็น Flow ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน หวังว่าวันนี้เพื่อนๆทุกคนจะได้ความรู้กลับไปกันไม่มากก็น้อย แล้วพบกันในบทความหน้าวันนี้ลาไปก่อนสวัสดีครับ

สามารถดูสินค้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

www.pakoengineering.com

PAKO ENGINEERING

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://bit.ly/2OrOQlu

https://bit.ly/2CTlFqc

https://bit.ly/2BD8Iik

https://bit.ly/2Qp34oK

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *