ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Engineering

 

     สวัสดีครับวันนี้ทาง ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง มีข้อสงสัยอะไรบางอย่างแบบไม่ค่อยมีเหตุผลสัดเท่าไรครับ 5555 เพื่อนๆเคยสงสัยกันไหมครับว่า คำว่า Engineer หรือ วิศวกร จริงๆแล้วคำนี้เนี่ยมีที่มาจากไหน? รากฐานของคำนี้คืออะไร เราจะมาไขข้อสงสัยไปพร้อมๆกันนะครับEngineer (วิศวกร) มาจาก Engine (เครื่องจักร) รึเปล่า ?

     ถ้าลองมองลงไปให้ลึกถึงรากศัพท์ที่แท้จริงของคำว่า Engineer ที่หมายถึงวิศวกร เชื่อว่าเพื่อนๆหลายคนคงจะคิดว่า วิศวกรก็คือคนงานคุมเครื่องจักรดีๆนี่เอง และคิดว่าคำว่า Engineer ก็คงมาจากคำว่า Engine ซึ่งแปลว่าเครื่องจักรเครื่องยนต์ แล้วจะให้บอกว่าไม่ใช่คนคุมเครื่องจักรเครื่องยนต์ได้ยังไง ต้องได้ซิ เพราะว่าถึงแม้วิศวกรบางตำแหน่งจะมีหน้าที่ในการคุมเครื่องจักรด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่านี่คือสิ่งเดียวที่วิศวกรทำได้

จริงๆแล้วคำว่า Engineering นั้นมาจากภาษาลาตินว่า Engenium ครับ ซึ่งมีความหมายว่า “ความเป็นอัจฉริยะที่ติดตัวมาโดยกำเนิด” แต่ถ้าเรามองลึกลงไปอีก จะมาจากคำว่า Eignere ที่มีความหมายโดยตรงนะครับถึงการสร้างหรือการประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ดังนั้นถ้าจะให้ความหมายของคำว่าวิศวกรให้ดูเลิศหรูและอยู่บนพื้นฐานความจริง คงต้องหมายความว่า   “ผู้สร้างอันเป็นอัจฉริยะ” เป็นไงครับ สุดยอดใช่ไหมล่ะ?

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

พระวิศวกรรมหรือพระวิษณุ บรมครูแห่งการช่าง

ความเป็นมาของวิศวกรนะครับ ตั้งแต่โบราณ มองลงไปในศาสนาพราหมณ์ฮินดู “พระวิศวกรรม คือ บรมครูผู้ยิ่งใหญ่แห่งการช่างทั้งปวง” พระองค์เป็นมหาเทพผู้สร้างบ้านเรือน พระราชวังและนครต่างๆ แต่ด้วยว่าคนไทยมีการเรียกพระวิศวกรรมว่าพระวิศณุกรรมด้วย จนในที่สุดก็ได้ลดนามของพระองค์ให้เหลือเพียงพระวิษณุ ทำให้หลายต่อหลายคนสับสนและเข้าใจผิดว่าพระวิษณุที่เป็นเทพองค์สำคัญคู่กับพระพรมหมและพระศิวะเป็นเทพองค์เดียวกันกับพระวิศวกรรม ซึ่งถือว่าเป็นความเชื่อที่ผิดมากๆ และที่สำคัญ“สีเลือดหมู“ที่เป็นสีประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็มาจากสีพระโลหิตของพระวิศวกรรมนั่นเอง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องยิงหิน

เครื่องยิงหินคือผลงานของวิศวกรสมัยก่อน

ว่ากันด้วยวิศวกรในอดีตนั้นก็มีบทบาทมานานพอดูเหมือนกันนะครับ ในช่วงแรกๆนั้นเนี่ยวิศวกรก็มีบทบาทมากหน่อยทางด้านการทหาร ไม่ว่าจะเป็นการสร้างค่าย คู ประตูเมือง หอรบ หรือพวกอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ อย่างเช่น เครื่องยิงก้อนหินหรือปืนใหญ่ที่ใช้ในการถล่มฐานศัตรูล้วนแต่เป็นผลงานของวิศวกรทั้งนั้น นอกจากทางการทหารแล้ว ยังมีกลุ่มที่คอยสร้างถนน ขุดคูคลองและสร้างความเจริญอื่นๆ ดังนั้นวิศวกรจึงแยกออกเป็นหลายแขนงเพื่อดูแลเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ยิ่งเมื่อก้าวเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมแล้ว บทบาทของวิศวกรก็ยิ่งเพิ่มขึ้นและหลากหลายมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

 

วันนี้ทางปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง หวังว่าทุกคนที่สงสัยเหมือนกับผมคงจะได้คำตอบกลับไปกันไม่มากก็น้อยนะครับสำหรับความเป็นมาของคำว่า “Engineering” วันนี้ทางปาโก้ เอ็นจิเนียริ่งต้องขอตัวลาไปก่อน แล้วพบกันในบทความต่อๆไปนะครับ สวัสดีครับ

 

 

 

สามารถดูสินค้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

www.pakoengineering.com

PAKO ENGINEERING

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://bit.ly/2PVVjWx

https://bit.ly/2prF1th

https://bit.ly/2O03aET

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *