ในงานของช่างนั้น มีหลายประเภทที่ต้องเสี่ยงอันตราย ทั้งจากสิ่งแวดล้อม เครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องจักรต่างๆ ความระมัดระวังและสติในการทำงาน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากแทบจะเป็นอันดับ 1 ในการทำงาน วันนี้ปาโก้จึงมีบทความเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในงานช่างและวิธีการป้องกันมาฝากกันจ้า ไปดูกันเลย

1. อัตรายที่เกิดจากตัวของบุคคล อาจจะมาจากเรื่องสภาพร่างกาย การแต่งกายที่ไม่รัดกุม หรือไม่เหมาะสม หรือเรื่องทรงผมการไว้เล็บ ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดอันตรายได้ อีกทั้งยังรวมถึงเรื่องสภาวะอารณ์ หรือสติที่มีตอนทำงานด้วย ซึ่งทางที่ดีควรมีสติอยู่เสมอว่าทำอะไรอยู่ เพราะอันตรายสามารถเกิดได้ทุกที่ทุกเวลาจริงๆ
2. อันตรายที่เกิดจากเครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุต่างๆ เช่นเครื่องจักรเกิดชำรุด เครื่องมือเสื่อมสภาพไม่คมหรือส่วนที่ป้องกันอันตรายเกิดการชำรุดหรือทำงานผิดพลาด อีกทั้งในเรื่องการจัดวางวัสดุที่ไม่เป็นระเบียบ ใช้เครื่องมือผิดประเภทกับงานที่ทำ สายไฟฟ้าเก่าหรือมีรอยรั่ว การเก็บวัสดุเชื้อเพลิงไม่ถูกหลักวิธี
3. อันตรายที่เกิดจากการจัดระบบการทำงานและสถานที่ที่ใช้ปฎิบัติงาน การวางแผนการทำงานไม่ดีไม่รอบคอบ ทำงานผิดขั้นตอนที่ควรจะเป็น ทำงานไม่เป็นระบบทั้งกับตัวเองและเพื่อนร่วมงาน สถานที่ทำงานแออัด หรืออากาศไม่ปลอดโปร่ง จนทำให้หายใจไม่สะดวก มืดทึบเกินไป น็อตยึดอุปกรณ์ต่างๆชำรุด หรือผุพัง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ทั้งนั้น

กฎโรงงานและการป้องกันอุบัติเหตุในโรงงาน

ทุกโรงงานจะมีกฎระเบียบที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประเภทงานที่ทำและการตัดสินใจของเจ้าของโรงงานหรือหัวหน้างานด้วย ซึ่งปาโก้มีกฎมาตรฐานที่เป็นพื้นฐานที่ต้องทำในการทำงานในโรงงานมายกตัวอย่างมาให้ดูกัน

1. สวมชุดสำหรับใช้ในการปฎิบัติงานโดยเฉพาะ และสวมด้วยความรัดกุม ไม่รุ่มราม
2. สวมหมวกและรองเท้านิรภัยเสมอเมื่ออยู่ในพื้นที่โรงงาน เพื่อป้องกันของตกใส่หัวและอาจจะไปเหยียบของมีคมได้
3. ถอดเครื่องประดับต่างๆออกในเวลาที่ทำการปฎิบัตงาน (สร้อย แหวน นาฬิกา)
4. ไม่นำของมีคมติดตัว หรือใส่ไว้ในเสื้อผ้าขณะที่ปฎิบัตงาน
5. ไม่หยอกล้อหรือเล่นกันในเวลาปฎิบัตงาน
6. ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่อยู่ในสภาพดีไม่ชำรุดเท่านั้น
7. ผู้ที่ไว้ผมยาว ต้องผูกมัด หรือสวมหมวกครอบคลุมให้เรียบร้อย ไม่รุ่มร่าม
8. ไม่นำเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ต่างๆออกไปนอกโรงงาน
9. มีสติเตือนตัวเองให้พึงระวังอันตรายต่างๆอยู่เสมอ เพราะอุปกรณ์ฺเสียก็เปลี่ยนได้ แต่ร่างกายไม่สามารถหาอะไรมาแทนได้
10. เมื่อมีอุบัติเหตุหรือเกิดการบาดเจ็บไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ต้องรายงานให้ผู้ควบคุมทราบทันที
11.ไม่นำวัสดุในการฝึกมาเล่นโดยที่ไม่มีครูฝึกอยู่
12. อย่ายกของที่มีน้ำหนักมากๆ เพียงคนเดียว เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังเสีย
13. รักษาเครื่องไม่เครื่องมือและเครื่องจักรต่างๆให้เหมือนเป็นของตัวเอง เพื่อยืดอายุในการใข้งานให้สามารถใช้ได้ยาวนาน
15. ต้องระวังเพื่อนร่วมงานและคนข้างๆเสมอ ไม่เหม่อลอย

ดูแลความปลอดภัยและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น


ในงานช่างพื้นฐานการปฎิบัติงานช่างไม่ว่าจะเป็นช่างอะไรก็ตาม อาจเกิดอันตรายจากการใช้เครื่องมือช่าง และการทำงานอื่นได้ ดังนั้นภายในสถานที่ทำงานควรมีอุปกรณ์ในการรักษาพยาบาลเตรียมพร้อมไว้อยู่เสมอ ซึ่งควรมีอุปกรณ์และยาสามัญประจำบ้านสำหรับรักษาอาการบาดเจ็บ และการเจ็บไข้ เช่น การรักษาบาดแผลสด อาการไข้ ปวดท้อง ท้องเสีย เป็นต้น นอกจากนี้ สิ่งที่ควรระวังอีกอย่างหนึ่งในการทำงาน คือ การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ภายในบ้่านเรือนที่อยู่อาศัย และโรงงาน เพราะหากเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือสายไฟฟ้าชำรุด มีการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้าลงสู่พื้น หรือตัวนำไฟฟ้าอื่นๆ อาจทำให้ผู้ใช้หรือผู้ถูกกระแสไฟฟ้า เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ จึงมีความจำเป็่นที่จะต้องเรียนรู้การดูแลรักษาความปลอดภัย และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้ใช้ในตอนที่จำเป็นเพื่อช่วยเหลือตนเอง และเพื่อนร่วมงานที่อยู่ใกล้เคียงที่เกิดจากอุบัติเหตุ ทั้งจากสิ่งที่คาดไม่ถึงและความประมาทของตนเอง – กรณีคนถูกไฟฟ้าดูดติดกับเสา ผนัง หรือสิ่งอื่นใดจะต้องใช้ไม้แห้งงัดออกให้ห่างเสียก่อน แล้วจึงทำการช่วยเหลือต่อไป

– กรณีคนถูกไฟฟ้าดูดติดกับเสา ผนัง หรือสิ่งอื่นใดจะต้องใช้ไม้แห้งงัดออกให้ห่างเสียก่อน แล้วจึงทำการช่วยเหลือต่อไป
– สับคัตเอาท์ลงก่อนทุกครั้ง เพื่อหยุดกระแสไฟฟ้า
– กรณีที่ผู้เกิดอุบัติเหตุกำสายไฟ หรือราวเหล็กที่มีกระแสไฟไหลผ่านไว้แน่น ผู้ช่วยเหลือจะต้องสวมถุงมือ ทุบให้มือที่กำหลุดออกมาเสียก่อน
– กรณีที่ผู้ประสบเหตุเกิดการหายใจติดขัด เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจเอาอากาศได้จะต้องผายปอด โดยการใช้ฝ่ามือทั้งสองทาบให้ตั้งฉากซึ่งกันและกัน โดยวางมือลงบริเวณส่วนล่างของกระดูกหน้าอกเหนือลิ้นปี่ แขนเหยียดตรง ใช้น้ำหนักกดลง ให้กระดูกหน้าอกส่วนล่างต่ำลงราว 40-50 มม. และกดน้ำหนักให้หน้าอกขยายทำการติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอด้่วยความเร็วไม่ต่ำกว่่า 60 ครั้งต่อนาที และความแรงที่กดต้องพอสมควร
– การช่วยผู้ป่วยที่หมดสติล้วงคอเอาสิ่งที่่ติดอยู่ในปากออกให้หมด แหงนคอตั้งเชิดไม่ให้ลิ้นตกอุดทางการหายใจของผู้ป่วย แยกลิ้่นให้หลุดออกจากหลอดลม โดยยกคอให้สูง กดศีรษะลงให้หน้าหงาย ลิ้นจะหลุดออกจากหลอดลม อากาศไหลได้สะดวก
– เคลื่อนย้ายผู้ป่วย จะต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่กระดูกหัก การเกร็งเมื่อหยุดหายใจเมื่อถูกไฟฟ้าดูด เป็นลม ช็อก

Cr. https://bit.ly/1TXhhIY

สามารถดูสินค้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

www.pakoengineering.com

PAKO ENGINEERING

ขอบคุณข้อมูลจาก

One Response

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *