ความดัน (อังกฤษ: pressure; สัญลักษณ์ p หรือ P) เป็นปริมาณชนิดหนึ่งในทางฟิสิกส์ หมายถึง อัตราส่วนระหว่างแรงที่กระทำตั้งฉากซึ่งทำโดยของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ต่อพื้นที่ของสารใด ๆ (ของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส) ความดันเป็นปริมาณสเกลาร์ ซึ่งเป็นปริมาณที่มีแต่ขนาดไม่มีทิศทาง
ชนิดของความดัน
-
ความดันอากาศ หรือความกดอากาศ
-
ความดันไอ
-
ความดันของเหลว
ความดันอากาศ หรือความกดอากาศ
แรงดันอากาศบนพื้นที่ขนาดไม่เท่ากัน จะมีค่าไม่เท่ากัน ถ้าพื้นที่มากแรงดันอากาศที่กระทำต่อพื้นที่นั้นก็มากด้วย ค่าของแรงดันอากาศต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่รองรับนั้น เรียกว่า ความดันอากาศ ในการพยากรณ์อากาศนิยมเรียกความดันอากาศว่า ความกดอากาศ ความกดอากาศแบ่งเป็น 2 ประเภท
- ความกดอากาศสูง หมายถึง บริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่าบริเวณข้างเคียง บริเวณที่มีความกดอากาศสูงจะมีท้องฟ้าแจ่มใส และอากาศหนาวเย็น กระแสลมจะพัดเวียนออกจากศูนย์กลางในทิศทางตามเข็มนาฬิกา
- ความกดอากาศต่ำ หมายถึง บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่าบริเวณข้างเคียง บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ท้องฟ้าจะมีเมฆมากกระแสลมจะพัดเข้าหาศูนย์กลางคล้ายก้นหอยในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
ประโยชน์ของความดันอากาศ
- การดูดน้ำออกจากขวดโดยใช้หลอดดูด
- การดูดของเหลวเข้าหลอดหยดหรือเข็มฉีดย
- การเจาะกระป๋องนมต้องเจาะ 2 รู เพื่อให้อากาศในกระป๋องนมมีความดันอากาศเท่ากับความดันภายนอกกระป๋องนมทำให้สามารถเทนมออกจากกระป๋องนมได้
- การถ่ายของเหลวโดยสายยางจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่งที่อยู่ต่างระดับกัน เรียกว่า กาลักน้ำ
- การใช้แป้นยางดูดติดกับกระจกเพื่อยึดสิ่งของให้ติดกับกระจก
ความดันไอ
คือ ความดันของไอ (ไอนี้เกิดจากโมเลกุลหรืออะตอมหนีจากของเหลวหรือของแข็ง) ที่อุณหภูมิกำหนดสำหรับสารเฉพาะ มีความดันที่ซึ่งไอของสารนั้นอยู่ในจุด สมดุล กับสถานะที่เป็น ของเหลว หรือ ของแข็งของมัน นี่คือ ความดันไอสมดุล (equilibrium vapor pressure) หรือ ความดันไออิ่มตัว (saturation vapor pressure) ของสาร ที่อุณหภูมินั้น คำว่าความดันไอบ่อยครั้งเข้าใจว่าเป็น ความดันไออิ่มตัว สารที่มีความดันไอสูงที่อุณหภูมิปกติเราเรียกภาวการณ์นี้ว่าระเหย (volatile)
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันไอ
- แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของของเหลว ถ้าสารที่มีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมากความดันไอจะต่ำ เพราะโอกาสที่โมเลกุลจะชนะแรงดึงดูดกลายเป็นไอนั้นยาก
- อุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิของระบบสูง ย่อมทำให้โมเลกุลของสารมีพลังงานจลน์สูงขึ้นโอกาสที่จะระเหยกลายเป็นไอมีมากขึ้นความดันไอก็จะเพิ่มขึ้น
- สารชนิดเดียวกัน ที่อุณหภูมิเท่ากันย่อมมีความดันไอเท่ากันเสมอไม่ว่าสารนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่ากัน นั่นคือ ความดันไอไม่ขึ้นอยู่กับปริมาตรของสาร
- ความดันไอ จะเกิดขึ้นที่ภาวะสมดุลเท่านั้น ดังนั้นต้องพิจารณาในระบบปิดเสมอ
- สารที่มีจุดเดือดต่ำ จะมีความดันไอสูง เพราะสารนั้นระเหยง่ายส่วนสารที่มีจุดเดือดสูงความดันไอจะต่ำเพราะสารนั้นระเหยยาก
ความดันของเหลว
ขึ้นอยู่กับระดับความลึกและความหนาแน่น เช่น เมื่อผู้ที่ว่ายน้ำดำน้ำลงไปก้นสระน้ำ ความดันก็คือน้ำหนักของน้ำที่อยู่เหนือผู้ดำน้ำทั้งหมด ยิ่งดำลึกเท่าไรก็ยิ่งมีความดันมากเท่านั้น และหากเปลี่ยนจากน้ำกลายเป็นของเหลวที่มีความหนาแน่นมากกว่า เช่น น้ำทะเล ความดันก็จะเพิ่มมากขึ้น
คุณสมบัติของความดันในของเหลว
- ของเหลวที่บรรจุอยู่ในภาชนะ จะออกแรงดันต่อผนังภาชนะที่สัมผัสกับของเหลวในทุกทิศทาง โดยจะตั้งฉากกับผนังภาชนะเสมอ
- ทุก ๆ จุดในของเหลว จะมีแรงดันกระทำต่อจุดนั้นทุกทิศทุกทาง
- สำหรับของเหลวชนิดเดียวกันความดันของของเหลวจะเพิ่มขึ้นตามความลึก และที่ระดับความลึกเท่ากันความดันของเหลวจะเท่ากัน
- ในของเหลวต่างชนิดกัน ณ ความลึกเท่ากัน ความดันของของเหลวจะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของของเหลวนั้น
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันของของเหลว
1.ความลึกของของเหลว
-ของเหลวไม่ว่าจะอยู่ในภาชนะรูปร่างใดก็ตาม ถ้าที่ระดับความลึกเดียวกัน ความดันของของเหลวจะเท่ากัน
-แต่ถ้าระดับความลึกต่างกัน ของเหลวที่อยู่ระดับลึกกว่า จะมีความดันมากกว่า
2.ความหนาแน่นของของเหลว
-ของเหลวต่างชนิดกันจะมีความดันต่างกัน โดยของเหลวที่มีความหนาแน่นมาก จะมีความดันสูงกว่าของเหลวที่มีความหนาแน่นน้อย
เกจ์วัดความดัน (Pressure Gauge)
คือ อุปกรณ์ที่สามารถวัดและควบคุมความดันแบบเข็ม สะดวกในการติดตั้งและใช้งาน สามารถวัดได้ทั้ง Absolute Gauge, Gauge Pressure , Vacuum Pressure และ Differential Pressure เหมาะสำหรับลูกค้าทุกประเภทอุตสาหกรรม ที่มีความต้องการวัดความดันแบบง่ายๆ และรวดเร็ว
สามารถดูสินค้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://bit.ly/2v9LrjM
https://bit.ly/2M0TCse