เมื่อเราเกิดภาวะวิกฤตฉุกเฉิน หรือภัยพิบัดทางธรรมชาติ ที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น น้ำท่วมฉับพลัน จนไม่สามารถป้องกันได้ เราจะทำการเช็คอุปกรณ์ได้อย่างไร วันนี้ปาโก้มีคำตอบค่ะ

เมื่อกลับเข้าสู่โรงงาน หรือสายการผลิต อย่าเพิ่งเปิดสะพานไฟหลัก ให้ตรวจสอบสะพานไฟของเครื่องจักรหรือตู้ควบคุมก่อน ว่าปลดลงแล้วหรือยัง เพราะอาจเกิดการช๊อตได้ หากทางโรงงานมีการทำประกัน ให้แจ้งทางประกันเพื่อเคลมค่าเสียหาย ถ้าโรงงานไม่ได้ทำประกันไว้ ให้ทำการตรวจสอบอุปกรณ์เบื้องต้น เพื่อความปลอดภัยในชวิตและทรัพย์สิน

การจัดการอุปกรณ์ที่จมอยู่ใต้น้ำ

  1. ปลดสายไฟทั้งหมดออกจากตู้ควบคุม ทั้งด้านเข้า-ออก
  2. ตรวจสอบจุดต่อสาย (Terminal) ต่างๆว่ามีคราบสิ่งสกปรก หรือความชื้นเกาะติดอยู่หรือไม่ และทำความสะอาดให้เรียบร้อย เพระาอาจเกิดไฟลัดวงจรได้
  3. ตรวจสอบสภาพภายนอกของอุปกรณ์ต่างๆ หากมีคราบสกปรกหรือคราบน้ำ ให้ถอดอุปกรณ์แต่ละชิ้นออกมาทำความสะอาด
  4. นำอุปกรณ์ออกมาเป่าให้แห้งด้วย Blower หรือ Silica Gel ดูดความชื้นที่ตกค้างอยู่ภายในอุปกรณ์รูปภาพที่เกี่ยวข้องผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Silica Gel
  5. ตรวจสอบอุปกรณ์ว่ายังอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานหรือไม่ หากสามารถเปิดอุปกรณ์ได้ ให้พยายามทำความสะอาดแผงวงจรภายใน และจุดต่อต่างๆให้สะอาด
  6. เมื่อทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกชิ้นส่วน และมั่นใจว่าสามารถทดสอบการทำงานได้ ให้ทดลองจ่ายไฟในแต่ละอุปกรณ์ และฟังก์ชั่นการทำงาน ว่ายังทำงานปกติอยู่หรือไม่
  7. ถ้าเป็นอุปกรณ์ DC ให้ตรวจสอบ Power Supply 24VCD ก่อน แล้วจึงนำไปใช้เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์อื่นๆต่อไป
  8. ในกรณีของ PLC ให้ปฎิบัติตามคำแนะนำด้านล่าง

-PLC S7-200 ให้ทำตามขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น แล้วสังเกตไฟสถานะแสดงความผิดปกติหรือไม่ ถ้าปกติให้ตรวจสอบการเชื่อมต่อของพอร์ต

-PLC S7-300 ให้ทำการถอด memory card (MMC) จาก CPU และทำการสำรอง program ไว้ในกรณีที่ไม่มี source code เพราะการจ่ายไฟฟ้าเข้าอุปกรณ์ อาจทำให้ข้อมูลเสียหายได้

-PLC S7-400 ควรทำการเปลี่ยน Rack ของ CPU เพราะหากมีสิ่งสกปรกติดค้างภายใน อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเชื่อมต่อได้ เมื่อทำการเปลี่ยน Rack แล้ว ให้ทดลองสร้างโปรแกรมง่ายๆเพื่อทดสอบการทำงานของ CPU หากสามารถทำงานโปรแกรมง่ายๆได้ ให้ทดลองดาวน์โหลดโปรแกรมใช้งานเพื่อทดสอบ แล้วดู LED Status ว่ามี ERROR หรือไม่ หากขึ้น ERROR ให้ติดต่อผู้จัดจำหน่ายชนิดนั้น à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้อง

9.เมื่อทดสอบการทำงานของแต่ละอุปกรณ์ ให้นำอุปกรณ์แต่ละชิ้นประกอบกลับเข้าสู่ตู้ควบคุมดังเดิม และทำการปลดขั้วต่อสายที่อุปกรณ์ (Front connector)

10.จ่ายไฟให้เฉพาะอุปกรณ์ควบคุม แล้วทดสอบการต่อร่วมกันว่าเกิดข้อผิดพลาดหรือไม่

11.ทดสอบปลายสายของอุปกรณ์ทั้ง input และ out put แต่ละอุปกรณ์ว่าเกิดการลัดวงจรหรือไม่ (Loop test)และประกอบเข้าตามเดิม

12.ทดสอบระบบทั้งหมด

Drive Technologies มอเตอร์ไฟฟ้าที่ถูกน้ำท่วมรูปภาพที่เกี่ยวข้อง

  1. ถอดสายไฟทั้งหมดออก และเก็บค่าตั้งศูนย์ coupling Alignment Data เคลื่อนย้ายมอเตอร์ลงจากฐาน
  2. ตรวจสอบค่าทางไฟฟ้า เช่น ค่าความต้านทานของขดลวด(Winding resistance) ความเป็นฉนวนของขดลวดระหว่างเฟสกับกราวด์ (Insulation resistance) ตรวจสภาพหัวเช็คอุณหภูมิ(PTC) และชุดฮิทเตอร์ (Heater) หากพบว่าค่าทางไฟฟ้าต่ำกว่าพิกัดที่กำหนดไว้ในตาราง
  3. ตรวจสอบชิ้นส่วนทางกล ถอดประกับเพลา (Coupling) หรือมู่เล่ (Pulley) ตรวจสอบลักษณะและความตรงของเพลา ถอดฝาครอบใบพัด ถอดประกบเบ้าลูกปืนหน้าหลัง (DE & NDE) ถอดทุ่นโรเตอร์ (Rotor)  ออกจากสเตเตอร์ (Stator) ถอดตลับลูกปืนเก่าออก พร้อมตรวจสอบ
  4. ตรวจเช็คชุดสเตเตอร์ เช็คสายลีด และจุดต่อในขดลวดตรวจเช็คลิ่มปิดร่อง สล๊อท (Slot) ตรวจสอบค่าความเป็นฉนวนของขดลวด ระหว่างเฟสกับกราว                   **หากค่าทางไฟฟ้ามีค่าต่ำกว่าพิกัด ควรพันใหม่**** ทำความสะอาดขดลวดด้วยน้ำยาเคมี โดยใช้ปั๊มแรงดันสูง นำเข้าตู้อบ ตรวจเช็คทางไฟฟ้าและจุ่มน้ำยาวานิช (ถ้าจำเป็น) แล้วนำเข้าตู้อบอีกครั้งผลการค้นหารูปภาพสำหรับ insulation resistance
  5. ทำความสะอาดชิ้นส่วนต่างๆ ด้วยน้ำยาเคมี โดยใช้ปั๊มแรงดันสูง และพ่นเคลือบชิ้นส่วนต่างๆด้วยน้ำยาวานิชแดง นำชิ้นส่วนเข้าตู้อบ
  6. เปลี่ยนตลับลูกปืน (Bearing) ใหม่ อัดจาระบี ตามลักษณะติดตั้งของตลับลูกปืนแล้วประกอบชิ้นส่วนทั้งหมด
  7. ทดสอบมอเตอร์โดยจ่ายแรงดันไฟตามที่กำหนด เช็คอุณหภูมิ กระแสไฟฟ้า เสียงและการสั่นสะเทือน
  8. ทำสีใหม่ตามต้องการ แล้วนำมอเตอร์ไปติดตั้งและหาศูนย์ ทดลองเดินเครื่อง (อาจจะทำหลังจากตรวจสอบส่วนประกอบเครื่องจักรอื่นๆแล้ว) และบันทึกประวัติการซ่อม มอเตอร์ที่ไม่ถูกน้ำท่วม แต่มีความเสี่ยงที่อาจจะเสียหาย เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำท่วมและความชื้นสูงเป็นเวลานาน
  9. ตรวจสอบทางไฟฟ้า เช่น ค่าความเป็นฉนวนของขดลวด สภาพหัวเช็คอุณหภูมิ และ ชุดฮีทเตอร์ หากค่าทางไฟฟ้าต่ำกว่าพิกัด ควรดำเนินการเช่นเดียวกับมอเตอร์ส่วนที่ถูกน้ำท่วม
  10. ตรวจสอบชิ้นส่วนทางกล ด้วยการหมุนเพลาด้วยมือเปล่า หากไม่พบปัญหาให้ทดสอบเดินเครื่องและวัดอุณหภูมิ กระแสไฟฟ้า เสียงและการสั่นสะเทือน

ตารางค่าไฟฟ้า มาตรฐาน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ insulation resistance

 

สามารถดูสินค้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

www.pakoengineering.com

PAKO ENGINEERING

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://bit.ly/2w7VPJq

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *