กลีเซอรีน เป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืด และมีรสหวาน โดยปกติมาจากน้ำมันของพืช ซึ่งโดยทั่วไปคือ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม กลีเซอรีนสามารถละลายได้ดีในแอลกอฮอล์และน้ำ แต่ไม่ละลายในไขมัน เนื่องจากกลีเซอรีนมีคุณสมบัติทางเคมีที่หลากหลายจึงสามารถนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารเคมีอื่นๆได้

ด้วยคุณสมบัติที่สามารถละลายในแอลกอฮอล์และน้ำได้นี่เอง จึงนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ซึ่งกลีเซอรีนบริสุทธิ์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายรูปแบบ เช่น ใช้เป็นส่วนผสมหรือเป็นตัวช่วยในกระบวนการผลิตเครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำและสุขอนามัยส่วนบุคคล อาหาร ยาสีฟัน ยาสระผม และนิยมใช้มาหในอุตสาหกรรมสบู่ เพราะกลีเซอรีนเป็นส่วนช่วยหล่อลื่นเหมือนมอยซ์เจอร์ไรเซอร์เพื่อปกป้องผิวไม่ให้แห้งและดูดซับความชื้นเมื่อสัมผัสกับอากาศซึ่งจะทำให้รู้สึกว่าผิวมีความชุ่มชื้น อ่อนโยนต่อผิว ขจัดความสกปรกที่ฝังแน่น ไม่ทำให้อุดตันรูขุมขน รวมทั้งปลอดภัยต่อผิวหนัง
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

การที่กลีเซอรีนเป็นสารที่ไม่มีพิษในทุกๆรูปแบบของการประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะใช้เป็นสารตั้งต้นหรือสารเติมแต่ง ทำให้กลีเซอรีนเป็นสารเคมีที่ได้รับความสนใจและนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ด้วยการทำยาเหน็บทวาร ใช้เป็นยาระบาย และยังสามารถใช้เป็ฯยาเฉพาะที่สำหรับปัญหาทางผิวหนังหลายชนิด รวมถึง โรงผิวหนัง ผื่น แผลไฟลวก แผลกดทับ และบาดแผลจากของมีคม กลีเซอรีนถูกใช้เพื่อรักษาโรคเหงือกได้ด้วย เนื่องจากกลีเซอรีนสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องได้

กลีเซอรีน (glycerine) อาจจะเรียกได้หลายชื่อ เช่น glycerol, glycerin, หรือ 1,2,3-propanetriol สามารถเขียนสูตรโมเลกุลทางเคมีได้เป็น CH 2 OHCHOHCH 2 OH เป็นสารไม่มีกลิ่น(odorless) ไม่มีสี(colorless) รสหวาน(sweet-tasting) เหมือนน้ำเชื่อม(syrupy liquid) . กลีเซอรีน (glycerine) เป็น trihydric alcohol . หลอมเหลวที่ 17.8 องศาเซลเซียส เดือดและสลายตัว( Boil & decomposition) ที่ 290 องศาเซลเซียส, ละลายในน้ำและ เอทานอล ดูดกลืนน้ำจากอากาศ จึงนำไปทำเป็น moistener ในเครื่องสำอาง กลีเซอรีน จะอยู่นรูปแบบของ (glycerides) ในไขและน้ำมันพืชและน้ำมันสัตว์

กลีเซอรีน สามารถสังเคราะห์ได้จาก Propylene และจากการหมักน้ำตาลด้วยsodium bisulfite และยีสต์(yeast) และมีการผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล

กลีเซอรีน ถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น

Why Oil PG

การเติม กลีเซอรีน (glycerine) ที่ preesure gauge ในอุตสาหกรรม


ประโยชน์ของกลีเซอรีนใน Pressure Gauge

ด้วยลักษณะของกลีเซอรีน ที่มีความหนืด จะช่วยดูดซับแรงสั่นสะเทือนและความดันกระชากที่เกิดขึ้นภายในตัว Pressure Gauge ทำให้ระบบกลไกการทำงานเคลื่อนไหวช้าลง ลดแรงเสียดทานและทำให้เกิดการสึกหรอที่น้อยลง นอกจากนี้คุณสมบัติการหล่อลื่นของกลีเซอรีน มีผลให้ระบบกลไกการทำงานของ Pressure Gauge ทำงานได้ดีไม่ติดขัด
ด้วยเหตุผลข้างต้น การเลือก Pressure Gauge ที่เหมาะสมกับการใช้งานจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานและช่วยยืดอายุการใช้งาน Pressure Gauge ให้ยาวนานยิ่งขึ้น

กรณีใดควรใช้ Pressure Gauge ที่มีกลีเซอรีน
1. จุดที่ใช้งานมีการสั่นสะเทือนตลอดเวลา เช่น บนเครื่องจักรที่ทำงานตลอดเวลา
2. จุดวัดความดันที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาะแวดล้อมอย่างรุนแรง (จากร้อนจัดแล้วเย็นจัด)

สุดท้ายนี้สิ่งสำคัญคือการอ่านค่าความดันของ Pressure Gauge ที่มีกลีเซอรีนให้ถูกต้องทำได้ดังนี้ค่ะ
1. เปิด (ตัด) จุกยาง เพื่อลดความดันสะสมที่เกิดขึ้นในตัว Pressure Gauge กรณีที่มีการเติมกลีเซอรีน ก่อนอ่านค่าความดัน
2. ให้หน้าปัด Pressure Gauge อยู่ในระดับสายตาขณะอ่านค่า
3. รอจนความดันไม่มีการเปลี่ยนแปลงก่อนอ่านค่าและบันทึกผล เพราะความหนืดของกลีเซอรีน ทำให้การตอบสนองช้ากว่าปกติ
4. เคาะเบาๆที่หน้าปัดของ Pressure Gauge เพื่อสังเกตตัวเข็มและกลไกการทำงานว่าอยู่ในสภาพปกติ

สุดท้ายนี้เพื่อนๆจะเลือกใช้แบบไหน ก็เลือกให้เหมาะกับการใช้งานด้วยนะคะ

สามารถดูสินค้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  www.pakoengineering.com

โทร : 09-4690-4630, 02-041-5092
อีเมล : Sales@blog.pako.co.th

facebook : PAKO ENGINEERING

Line : pakoeng

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://goo.gl/NnUEKu

ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง ปาโก้จำหน่ายวาล์วและสินค้าเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น 

โฟลมิเตอร์ โรตามิเตอร์ วัดการไหล เกจวัดแรงดัน Pressure_gauge เพรชเชอร์เกจ valvecontrol valveคอนโทรลวาล์ววาล์วติดหัวขับเซฟตี้วาล์วโซลินอยด์วาล์ว

บริการให้คำปรึกษา แนะนำสินค้าที่เหมาะกับลักษณะการใช้งานของท่าน และจัดหาสินค้าให้ท่านตามต้องการค่ะ

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ icon-1289754_960_720.png

ทำความรู้จัก PAKO ENGINEERING บริการจัดส่งทั่วประเทศ

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ line@.jpg

สนใจ Product เพิ่มเติมติดต่อเราได้ทาง
FACEBOOK : 
Pako Engineering
 Well Flowmeter
Pressure gauge OCTA 

เข้าชมเว็บไซต์ของเราได้ที่   www.pako.co.th  
www.pakoengineering.com

Line ID   : @pakoeng

Tel. : 0-2041-5092,09-4690-4630

Fax            : 0-2041-5093

E-Mail    : mkt@blog.pako.co.th 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *